ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
สุมนพุทธวงศ์ที่ ๔
ว่าด้วยพระประวัติพระสุมนพุทธเจ้า
[๕] ในสมัยต่อมาจากพระพุทธมงคล มีพระพุทธเจ้าพระนามว่าสุมนะ ไม่มีใครเสมอเหมือนโดยธรรมทั้งปวง อุดมกว่าสรรพสัตว์ ครั้งนั้น พระศาสดาทรงตีกลองอมฤตเภรีในเมขลบุรี พระศาสนาของพระ องค์มีองค์ ๙ ประกอบด้วยธรรมอันขาว พระศาสดาพระองค์นั้น ทรงชำระกิเลสแล้ว ทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม ทรงสร้างนคร คือ พระสัทธรรม เป็นเมืองประเสริฐสุด ทรงสร้างถนนใหญ่ คือ สติปัฏฐานอันเลิศล้ำ ไม่มีอะไรคั่น ไม่คด เป็นถนนตรง ไพบูลย์ กว้างขวาง ทรงลาดสามัญผล ๕ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ และสมาบัติ ๘ ไว้บนถนนนั้น ชนเหล่าใดเป็นผู้ไม่ประมาท ประกอบด้วยหิริและความเพียร ชนเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมถือเอา คุณอันประเสริฐนี้ได้ตามสบาย พระศาสดาทรงรื้อขนมหาชนขึ้นด้วย โยคธรรมนั้นอย่างนี้ ทรงยังเทวดาและมนุษย์แสนโกฏิให้ตรัสรู้ใน

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๑๗.

ครั้งแรก ในกาลเป็นที่ทรงแสดงธรรมครั้งที่ ๒ ที่พระมหาวีรเจ้า ตรัสสอนหมู่เดียรถีย์ เทวดาและมนุษย์แสนโกฏิได้ตรัสรู้ธรรม ในกาลเมื่อเทวดาและมนุษย์ผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกันมาทูลถาม ปัญหานิโรธ อันเป็นความสงสัยแห่งใจ ในการทรงแสดงธรรม เครื่องแสดงนิโรธแม้ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่เทวดา และมนุษย์เก้าหมื่นโกฏิ พระสุมนบรมศาสดาทรงมีการประชุม พระสาวกขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบคงที่ ๓ ครั้ง เมื่อพระ ผู้มีพระภาคทรงจำพรรษาแล้ว ในวันสังฆปวารณา พระตถาคตทรง ปวารณาพร้อมด้วยพระสาวกแสนโกฏิ ต่อแต่นั้นในการประชุมที่ ภูเขาทองอันสุกอร่ามพระสาวกมาประชุมกันครั้งที่ ๒ เก้าหมื่นโกฏิ ในกาลเมื่อท้าวสักกเทวราชเสด็จเข้าเฝ้า เพื่อทรงเยี่ยมพระพุทธเจ้า พระสาวกมาประชุมกันครั้งที่ ๓ แปดหมื่นโกฏิ สมัยนั้นเราเป็น พญานาคราชมีฤทธิ์มาก มีนามชื่อว่าอตุละ เป็นผู้ก่อสร้างกุศล เจริญขึ้น ครั้งนั้น เราพร้อมด้วยหมู่ญาติออกจากนาคพิภพ เอาดนตรี ทิพย์ไปบรรเลงบูชาพระพิชิตมารพร้อมด้วยพระสงฆ์ ถวายข้าวน้ำให้ พระสงฆ์สาวกแสนโกฏิ ฉันจนเพียงพอ แล้วถวายผ้าเฉพาะรูปละคู่ ได้เข้าถึงพระพิชิตมารกับทั้งพระสงฆ์นั้นเป็นสรณะ แม้พระสุมน- พุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลกพระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์เราว่านี้จักได้ เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ................ ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์แม้นั้นแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใส อย่างยิ่ง เราอธิษฐานวัตรในการบำเพ็ญบารมีให้ยิ่งขึ้น พระมหา- กษัตริย์พระนามว่าสุทัตตะ เป็นพระชนกของพระสุมนบรมศาสดา พระชนนีพระนามว่าสิริมา พระองค์ทรงครอบครองอคารสถานอยู่ เก้าพันปี ทรงมีปราสาทอันประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อว่าจันทะ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๑๘.

สุจันทะและวฏังสะ มีพระสนมนารีกำนัลในหกล้านสามแสนนาง ล้วนประดับประดาสวยงาม พระมเหสีพระนามว่าวฏังสกี พระราช โอรสพระนามว่าอนูปโม พระพิชิตมารทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงเสด็จออกผนวชด้วยพระยาคชสารยานพระที่นั่งต้น ทรงบำเพ็ญ เพียร ๑๐ เดือนเต็ม พระมหาวีรสุมนเจ้าผู้เป็นนายกของโลก อัน พรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ เมขลนคร อันเป็นเมืองประเสริฐสุด พระองค์ทรงมีพระสรณเถระ และพระ- ภาวิตัตตเถระเป็นพระอัครสาวก ทรงมีพระเถระนามว่าอุเทนเป็น พระพุทธอุปัฏฐาก พระโสณาเถรีและพระอุปโสณาเถรีเป็นพระ- อัครสาวิกา แม้พระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือนพระองค์นั้น ก็ได้ตรัสรู้ที่ควงไม้กากะทิง วรุณอุบาสกและสรณอุบาสกเป็นอัคร อุปัฏฐากจาลาอุบาสิกาและอุปจาลาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา พระ- พุทธเจ้าพระองค์นั้น พระองค์สูง ๙๐ ศอก มีพระรัศมีเปล่งปลั่งดัง ทองคำล้ำค่า ส่องสว่างจ้าไปในหมื่นโลกธาตุ ขณะนั้น มนุษย์มีอายุ เก้าหมื่นปี พระองค์ดำรงพระชนมายุอยู่เท่านั้น ทรงช่วยหมู่ชนให้ ข้ามพ้นวัฏสงสารได้มากมาย พระสัมพุทธเจ้าทรงช่วยคนที่ควรข้าม ให้ข้าม ทรงช่วยคนที่ควรตรัสรู้ให้ตรัสรู้ แล้วเสด็จปรินิพพาน เหมือนพระจันทร์ดับ พระขีณาสพเหล่านั้น และพระพุทธเจ้าผู้ไม่ มีใครเปรียบพระองค์นั้น แสดงรัศมีอันไม่มีอะไรเสมอเหมือนแล้ว นิพพาน ญาณและรัตนตรัยอันไม่มีอะไรเทียบเคียงเหล่านั้นหายไป หมดสิ้น สังขารทั้งปวงว่างเปล่าหนอ พระสุมนพุทธเจ้าผู้ทรงยศ เสด็จนิพพาน ณ อังคาราม พระสถูปของพระองค์สูง ๔ โยชน์ ประดิษฐานอยู่ ณ อังคารามนั้นแล.
จบสุมนพุทธวงศ์ที่ ๕


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๗๓๗๙-๗๔๔๐ หน้าที่ ๓๑๖-๓๑๘. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=33&A=7379&Z=7440&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=33&item=185&items=1&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=33&item=185&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=33&item=185&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=33&item=185&items=1&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=185              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_33

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :