ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก

หน้าที่ ๓๑๙.

เรวตพุทธวงศ์ที่ ๕
ว่าด้วยประวัติพระเรวตพุทธเจ้า
[๖] สมัยต่อมาจากพระพุทธเจ้าพระนามว่า สุมนะ พระพิชิตมารพระนาม ว่าเรวตะ เป็นนายกของโลก มีพระคุณสูงสุดไม่มีใครเปรียบเทียบ เสมอ แม้พระองค์อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ก็ทรงประกาศธรรม กำหนดด้วยขันธ์และธาตุที่ใครๆ ยังมิได้ประกาศ ในภพน้อยใหญ่ ในกาลที่พระองค์ทรงแสดงธรรม ธรรมาภิสมัยมี ๓ ครั้ง ธรรมาภิ สมัยครั้งที่ ๑ จะพึงกล่าวโดยคำนวณไม่ได้ ในกาลเมื่อพระเรวต มหามุนี ทรงสั่งสอนแนะนำพระเจ้าอรินทมหาราช ธรรมาภิสมัยครั้ง ที่ ๒ ได้มีแก่มนุษย์และเทวดาพันโกฏิ พระนราสภเสด็จออกจาก ที่เร้น ๗ วัน ทรงสั่งสอนแนะนำมนุษย์และเทวดาในผลชั้นสูง ร้อยโกฏิ พระเรวตบรมศาสดา ทรงมีการประชุมพระภิกษุขีณาสพ ผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบ คงที่ ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ พระภิกษุที่มา ประชุมกันล่วงทางที่จะนับได้ ครั้งที่ ๒ พระภิกษุที่มาประชุมกัน แสนโกฏิ ในกาลเมื่อพระองค์ผู้ไม่มีใครเสมอด้วยพระปัญญา ทรง ประกาศธรรมจักรแล้ว ทรงประชวรจวนจะเสด็จนิพพาน ครั้งนั้น พระภิกษุผู้ขีณาสพที่มาเฝ้าพระมหามุนี เพื่อทูลถามอาการประชวร ประชุมกันเป็นครั้งที่ ๓ แสนโกฏิ สมัยนั้นเราเป็นพราหมณ์นามว่า อติเทพ ได้เข้าไปเฝ้าพระเรวตพุทธเจ้าแล้ว ถึงพระองค์เป็นสรณะ ได้ชมเชยศีล สมาธิและพระปัญญาคุณอันยอดเยี่ยมของพระองค์ แล้วได้ทูลถวายจีวรแก่พระองค์ตามกำลัง แม้พระเรวตพุทธเจ้าผู้เป็น นายกของโลก พระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์เราว่า ผู้นี้จักได้เป็น พระพุทธเจ้าในโลก ................ ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์แม้นั้นแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใส

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๒๐.

อย่างยิ่ง เราอธิษฐานวัตรในการบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้ยิ่งขึ้น แม้ ครั้งนั้น เราระลึกถึงพระพุทธการกธรรมนั้น แล้วตามเพิ่มพูนว่า เราจักนำมาซึ่งธรรมนั้นอันเป็นธรรมที่เราปรารถนายิ่ง พระนครชื่อว่า สุธัญญกะ พระมหากษัตริย์พระนามว่าวิปุละ เป็นพระชนกของ พระเรวตบรมศาสดา พระนางวิปุลาเป็นพระชนนี พระองค์ทรง ครอบครองอคารสถานอยู่ ๖,๐๐๐ ปี ทรงมีปราสาทอันประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อสุทัสนะ รัตนัคฆิ และอาเวฬะ ตกแต่งสวยงาม เกิดเพราะบุญกรรม ทรงมีพระสนมนารีกำนัลในสามโกฏิสามแสน- นาง ล้วนประดับประดาสวยงาม พระมเหสีพระนามว่าสุทัสนา พระโอรสพระนามว่าวรุณ พระพิชิตมารทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงเสด็จออกผนวชด้วยรถอันเป็นราชยานที่นั่งต้น ทรงบำเพ็ญเพียร อยู่ ๗ เดือนเต็ม พระเรวตมหาวีรชินเจ้าผู้เป็นนายกของโลก อัน พรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศธรรมจักร ประทับอยู่ ณ วรุ- ณาราม พระองค์ทรงมีพระวรุณเถระและพระพรหมเทวเถระเป็น พระอัครสาวก พระเถระชื่อสัมภวะเป็นพุทธอุปัฏฐาก พระภัททาเถรี พระสุภัททาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา แม้พระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอ เหมือนพระองค์นั้น ก็ได้ตรัสรู้ที่ควงไม้กากะทิง วรุณอุบาสกและ สรภอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก นางปาลาอุบาสิกาและนางอุปปาลา อุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นมีพระองค์สูง ๘๐ ศอก ทรงเปล่งปลั่งพระรัศมีสว่างไสวไปทั่วทิศ ดังพระอาทิตย์ อุทัย ฉะนั้น พระรัศมีอันเป็นระเบียบสว่างไสว ที่เกิดในพระพุทธ- สรีระแผ่ไปโยชน์หนึ่งโดยรอบ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในขณะ นั้น มนุษย์มีอายุหกหมื่นปี พระองค์ทรงดำรงพระชนมายุเท่านั้น ทรงช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้นวัฏสงสารได้เป็นอันมาก ทรงแสดงกำลัง พระพุทธเจ้าแล้ว ประกาศอมตธรรมในโลก ไม่ทรงมีอุปาทานเสด็จ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๒๑.

นิพพาน เพราะสิ้นความถือมั่นว่าเป็นผู้เลิศ ทรงมีพระวรกายมีรัศมี ดังแก้ว พระธรรมก็ไม่มีอะไรเหมือน หายไปหมดทุกอย่าง สังขาร ทั้งปวงว่างเปล่าหนอ พระเรวตพุทธเจ้าผู้ทรงยศ มีพระปัญญามาก เสด็จนิพพานแล้ว พระธาตุของพระองค์แผ่ไปกว้างขวางในประเทศ นั้นๆ ฉะนี้แล.
จบเรวตพุทธวงศ์ที่ ๕


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๗๔๔๑-๗๔๙๕ หน้าที่ ๓๑๙-๓๒๑. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=33&A=7441&Z=7495&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=33&item=186&items=1&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=33&item=186&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=33&item=186&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=33&item=186&items=1&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=186              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_33

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :