ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
พระอภิธรรมปิฎก
เล่ม ๔
กถาวัตถุปกรณ์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
มหาวรรค
ปุคคลกถา
นิคหะ ๘
นิคหะ ที่ ๘
อนุโลมปัญจกะ
[๑] สกวาที ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ปรวาที ถูกแล้ว ส. สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ ๑- เป็นปรมัตถะ ๒- ท่านหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตาม สภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ส. ท่านจงรับรู้นิคหะ ๓- หากว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วยเหตุ นั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่ง @๑. สัจฉิกัตถะ สภาวะที่จริงแท้ ๒. ปรมัตถะ อรรถอันยิ่ง อันอุดม อันไม่ต้องยึดถือด้วยอาการมีการฟังตาม @กันมาเป็นต้น ทั้งนี้หมายถึงสภาวธรรมที่จำแนกเป็นขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ รวม ๕๗ อย่าง @๓. นิคหะ การข่ม การปราบปราม เห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ ผิด แต่ถ้าไม่พึงกล่าว ว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดย สัจฉิกัตถปรมัตถ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ที่ท่านกล่าวใน ปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถ- *ปรมัตถ์ ดังนี้ ผิด
อนุโลมปัญจกะ จบ
-----------------------------------------------------
ปฏิกัมมจตุกกะ
[๒] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตาม สภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม. ๑- หากว่า ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่ง เห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ ผิด แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถ- @๑. ปฏิกรรม การกระทำคืนคือ ปัดไม่รับนิคหกรรม *ปรมัตถ์, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถ- *ปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล นั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ ผิด
ปฏิกัมมจตุกกะ จบ
-----------------------------------------------------
นิคคหจตุกกะ
[๓] ป. ก็ถ้าท่านยังจะยืนยันว่า กล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถ- *ปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล นั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ไซร้ ด้วยเหตุนั้น ท่านเมื่อยังปฏิญาณอยู่ข้าง ปฏิเสธบุคคลอย่างนี้ ด้วยปฏิญญานี้ ก็ต้องนิคหะอย่างนี้ ดังนั้น เราจึงนิคหะท่าน ท่านถูกนิคหะ ชอบแล้วเทียว. หากท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง กล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะ นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่ หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ ผิด แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็น สัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้นตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ นี้เป็นความผิดของท่าน
นิคคหจตุกกะ จบ
-----------------------------------------------------
อุปนยนจตุกกะ
[๔] ป. หากนิคหะที่เราทำแก่ท่านนี้ เป็นนิคหะชั่วไซร้ ท่านจงเห็นอย่างเดียวกัน นั่นแหละในนิคหะที่ท่านได้ทำแก่เรา ในกรณีว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดย สัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็น บุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ก็เราผู้ปฏิญาณอยู่ข้างรับรองบุคคลอย่างนี้ ด้วย ปฏิญญานี้ อันท่านไม่พึงนิคหะอย่างนี้ ดังนั้น ท่านนิคหะเรา เราจึงถูกนิคหะชั่วเทียว คือนิคหะ ว่า หากว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สภาวะ ใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถ- *ปรมัตถ์ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตาม สภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ก็ต้องไม่กล่าว ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า ข้าพเจ้าหยั่ง เห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ นี้เป็นความผิดของท่าน
อุปนยนจตุกกะ จบ
-----------------------------------------------------
นิคมจตุกกะ
[๕] ป. เราไม่พึงถูกนิคหะอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้นแหละ ที่ท่านนิคหะเราว่า "หากว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สภาวะใด เป็น สัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ที่ ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่ พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะ นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็น ปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ ผิด ดังนี้ จึงกลับเป็นความผิดของท่าน ด้วยเหตุนั้นแหละ นิคหะที่ท่านทำแล้วจึงทำไม่ชอบ ปฏิกรรม ข้าพเจ้าได้ทำชอบแล้ว การดำเนินความข้าพเจ้าได้ทำชอบแล้วแล
นิคมจตุกกะ จบ
นิคหะที่ ๑ จบ
-----------------------------------------------------
นิคหะที่ ๒
ปัจจนีกปัญจกะ
[๖] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตาม สภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ป. ท่านจงรับรู้นิคหะ, หากท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วย เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็น บุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิ- *กัตถปรมัตถ์, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิ- *กัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็น บุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ ผิด
ปัจจนีกปัญจกะ จบ
-----------------------------------------------------
ปฏิกัมมจตุกกะ
[๗] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ท่านหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตาม สภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ส. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม. หากว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วย เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็น บุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตาม สภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตาม สภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ ผิด
ปฏิกัมมจตุกกะ จบ
-----------------------------------------------------
นิคคหจตุกกะ
[๘] ส. ก็ท่านยังจะยืนยันว่า กล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถ- *ปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ไซร้ ด้วยเหตุนั้น ท่านเมื่อยังปฏิญาณอยู่ข้างรับรอง บุคคลอย่างนี้ ด้วยปฏิญญาอย่างนี้ ก็ต้องนิคหะอย่างนี้ ดังนั้น เราจึงนิคหะท่าน ท่านถูกนิคหะ ชอบแล้วเทียว. หากว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง กล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดย สัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่ง เห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึง กล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็น สัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ นี้เป็นความผิดของท่าน
นิคคหจตุกกะ จบ
-----------------------------------------------------
อุปนยนจตุกกะ
[๙] ส. หากนิคหะที่เราทำแก่ท่านนี้ เป็นนิคหะชั่วไซร้ ท่านจงเห็นอย่างเดียวกัน นั่นแหละ ในนิคหะที่ท่านได้ทำแก่เรา ในกรณีว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่ หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ก็เราผู้ปฏิญาณอยู่ข้างปฏิเสธบุคคล อย่างนี้ ด้วยปฏิญญานี้ อันท่านไม่พึงนิคหะอย่างนี้ ดังนั้นท่านนิคหะเรา เราจึงถูกนิคหะชั่วเทียว คือนิคหะว่า หากว่า ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง กล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะ นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้า ไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดย สัจฉิกัตถปรมัตถ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ที่ท่าน กล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่ พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะ นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ นี้เป็นความผิดของท่าน
อุปนยนจตุกกะ จบ
-----------------------------------------------------
นิคมจตุกกะ
[๑๐] ส. เราไม่พึงถูกนิคหะอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้นแหละ ที่ท่านนิคหะเราว่า "หากว่า ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถ- *ปรมัตถ์ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถ- *ปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล นั้น ตามสภาวนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็น สัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ ผิด" ดังนี้ จึงกลับเป็นความผิดของท่านด้วยเหตุนั้นแหละ นิคหะที่ท่านทำแล้ว จึงทำไม่ ชอบ ปฏิกรรมข้าพเจ้าได้ทำชอบแล้ว การดำเนินความข้าพเจ้าได้ทำชอบแล้วแล
นิคมจตุกกะ จบ
นิคหะที่ ๒ จบ
นิคหะ ที่ ๓
[๑๑] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลในที่ทั้งปวง ๑- โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ส. ท่านจงรับรู้นิคหะ, หากว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วย เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลในที่ทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ที่ท่าน กล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึง กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลในที่ทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ ผิด แต่ถ้า ไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลในที่ทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลในที่ทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ ผิด ฯลฯ
นิคหะที่ ๓ จบ
-----------------------------------------------------
นิคหะ ที่ ๔
[๑๒] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลในกาลทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ส. ท่านจงรับรู้นิคหะ, หากว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วย เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลในกาลทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ที่ท่าน @๑. หมายถึง สรีระ เอาความว่า สรรพางค์กาย กล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึง กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลในกาลทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึง กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลในกาลทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้า หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้า หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลในกาลทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ ผิด ฯลฯ
นิคหะ ที่ ๕
[๑๓] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลในสภาวธรรมในสภาวะทั้งปวง ๑- โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ส. ท่านจงรับรู้นิคหะ, หากว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วย เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลในสภาวธรรมทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่ พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลในสภาวธรรมทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้า ไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลในสภาวธรรมทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ก็ต้องไม่ กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลในสภาว- *ธรรมทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ ผิด ฯลฯ @๑. หมายถึง ขันธ์ และอายตนะเป็นต้น
นิคหะ ที่ ๖
[๑๔] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลในที่ทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ป. ท่านจงรับรู้นิคหะ, หากว่า ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลในที่ทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่ พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลในที่ทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึง กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลในที่ทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้า ไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่ หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลในที่ทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ ผิด ฯลฯ
นิคหะ ที่ ๗
[๑๕] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลในกาลทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ป. ท่านจงรับรู้นิคหะ, หากว่า ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลในกาลทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ ไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลในกาลทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ ผิด, แต่ ถ้าไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลในกาลทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ก็ต้องไม่กล่าว ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล ในกาลทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ ผิด ฯลฯ
นิคหะ ที่ ๘
[๑๖] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลในสภาวธรรมทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ป. ท่านจงรับรู้นิคหะ, หากว่า ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วย เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลในสภาวธรรมทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถ- *ปรมัตถ์, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถ- *ปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลในสภาวธรรมทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลในสภาวธรรมทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถ- *ปรมัตถ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ที่ท่านกล่าวใน ปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลในสภาวธรรมทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดังนี้ ผิด ฯลฯ
นิคหะ ๘ จบ
-----------------------------------------------------
สุทธิกสังสันทนา
[๑๗] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นรูป โดยสัจฉิกัตถ- ปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ส. ท่านจงรับรู้นิคหะ, หากว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจ หยั่งเห็นรูป โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็ เป็นอื่น, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถ- *ปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นรูป โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่ง เห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นรูป โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ที่ท่านกล่าวในปัญหา นั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นรูป โดยสัจฉิ- *กัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯลฯ [๑๘] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นเวทนา โดยสัจฉิ- *กัตถปรมัตถ์ หรือ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นสัญญา ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นสังขาร ฯลฯ ดุจหยั่งเห็น วิญญาณ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ส. ท่านจงรับรู้นิคหะ, หากว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจ หยั่งเห็นวิญญาณ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจ หยั่งเห็นวิญญาณ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้า หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ที่ท่านกล่าว ในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็น วิญญาณ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯลฯ [๑๙] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นจักขายตนะ โดย สัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นโสตายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นฆานายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นชิวหายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นกายายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นรูปายตนะ ฯลฯ ดุจ หยั่งเห็นสัททายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นคันธายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นรสายตนะ ฯลฯ ดุจ หยั่งเห็นโผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นมนายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นธัมมายตนะ โดย สัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ ฯลฯ [๒๐] ... ดุจหยั่งเห็นจักขุธาตุ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็น โสตธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นฆานธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นชิวหาธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นกายธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นรูปธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นสัททธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นคันธธาตุ ฯลฯ ดุจ หยั่งเห็นรสธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นโผฏฐัพพธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นจักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจ หยั่งเห็นโสตวิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นฆานวิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นชิวหาวิญญาณ ธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นกายวิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นมโนธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นมโน- *วิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นธัมมธาตุ ฯลฯ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ ฯลฯ [๒๑] ... ดุจหยั่งเห็นจักขุนทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็น โสตินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นฆานินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นชิวหินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็น กายินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นมนินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นชีวิตินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นอิตถิน- *ทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นปุริสินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นสุขินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นทุกขินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นโสมนัสสินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นอุเปกขินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นสัทธินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นวิริยินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นสตินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นสมาธินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นปัญญินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็น อัญญินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ ป. ถูกแล้ว ส. อัญญาตาวินทรีย์ เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ส. ท่านจงรับรู้นิคหะ หากว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจ หยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า อัญญาตา- *วินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็น บุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึง กล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตา- *วินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯลฯ [๒๒] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ๑- และ ท่านก็หยั่งเห็นรูป โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม, หากว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และท่านก็หยั่งเห็นรูป โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง กล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า พระผู้มี @๑. อํ. จตุกฺก หน้า ๑๒๕ ข้อ ๙๖, อภิ. ป. หน้า ๑๓๖ ข้อ ๑๐ พระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และข้าพเจ้าก็หยั่งเห็นรูป โดยสัจฉิ- *กัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อ เกื้อกูลตน มีอยู่ และข้าพเจ้าก็หยั่งเห็นรูป โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และ ข้าพเจ้าก็หยั่งเห็นรูป โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯลฯ ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และ ท่านก็หยั่งเห็นเวทนา ฯลฯ และท่านก็หยั่งเห็นสัญญา ฯลฯ และท่านก็หยั่งเห็นสังขาร ฯลฯ และ ท่านก็หยั่งเห็นวิญญาณ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม หากว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และท่านก็หยั่งเห็นวิญญาณ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึง ต้องกล่าวว่า วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า พระ ผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และข้าพเจ้าก็หยั่งเห็นวิญญาณ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้า ไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และข้าพเจ้าก็หยั่งเห็นวิญญาณ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้น พึงกล่าวได้ว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล ตน มีอยู่ และข้าพเจ้าก็หยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณเป็น อื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯลฯ [๒๓] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และ ท่านก็หยั่งเห็นจักขายตนะโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ ฯลฯ และท่านก็หยั่งเห็นโสตายตนะ ฯลฯ และท่านก็หยั่งเห็นธัมมายตนะ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ ฯลฯ [๒๔] ... ท่านก็หยั่งเห็นจักขุธาตุ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ ฯลฯ และท่านก็หยั่ง เห็นกายธาตุ ฯลฯ และท่านก็หยั่งเห็นรูปธาตุ ฯลฯ และท่านก็หยั่งเห็นโผฏฐัพพธาตุ ฯลฯ และ ท่านก็หยั่งเห็นจักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ และท่านก็หยั่งเห็นมโนวิญญาณธาตุ ฯลฯ และท่านก็หยั่ง เห็นธัมมาธาตุ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ ฯลฯ [๒๕] ... และท่านก็หยั่งเห็นจักขุนทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ ฯลฯ และท่าน ก็หยั่งเห็นโสตินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ ฯลฯ และท่านก็หยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ ฯลฯ ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และ ท่านก็หยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม หากว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และท่านก็หยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วยเหตุนั้น นะท่านจึงต้องกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึง กล่าวได้ว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และข้าพเจ้าก็ หยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัตฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และข้าพ- *เจ้าก็หยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ ว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และข้าพเจ้าก็หยั่งเห็น อัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลอื่น ก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯลฯ
สุทธิกสังสันทนา จบ
-----------------------------------------------------
โอปัมมสังสันทนา
[๒๖] ส. ท่านหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นเวทนาโดยสัจฉิกัตถ- *ปรมัตถ์ รูปเป็นอื่น เวทนาก็เป็นอื่น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถ- ปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ส. ท่านจงรับรู้นิคหะ, หากว่าท่านหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่ง เห็นเวทนาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ รูปเป็นอื่น เวทนาก็เป็นอื่น (อย่างเดียวกัน) ท่านหยั่งเห็น บุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่าน จึงต้อง กล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น. ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่ง เห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นเวทนาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ รูปเป็นอื่น เวทนาก็เป็น อื่น ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึง กล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็ เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นเวทนาโดย สัจฉิกัตถปรมัตถ์ รูปเป็นอื่น เวทนาก็เป็นอื่น ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจ หยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์. ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถ- *ปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นเวทนาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ รูปเป็นอื่น เวทนาก็เป็นอื่น ข้าพเจ้าหยั่งเห็น บุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯลฯ [๒๗] ส. ท่านหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นสัญญาโดยสัจฉิกัตถ- *ปรมัตถ์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นสังขาร ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ รูปเป็นอื่น วิญญาณก็เป็นอื่น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถ- *ปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ส. ท่านจงรับรู้นิคหะ, หากว่า ท่านหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจ หยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ รูปเป็นอื่น วิญญาณก็เป็นอื่น (อย่างเดียวกัน) ท่าน หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่าน จึงต้องกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้า หยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ รูปเป็นอื่น วิญญาณ ก็เป็นอื่น ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็ เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณโดย สัจฉิกัตถปรมัตถ์ รูปเป็นอื่น วิญญาณก็เป็นอื่น ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวไว้ว่า ข้าพเจ้าหยั่ง เห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ รูปเป็นอื่น วิญญาณก็ เป็นอื่น ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯลฯ [๒๘] ส. ท่านหยั่งเห็นเวทนาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นสัญญา ฯลฯ ดุจ หยั่งเห็นสังขาร ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ เวทนา เป็นอื่น รูปก็เป็นอื่น หรือ ฯลฯ [๒๙] ส. ท่านหยั่งเห็นสัญญาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นสังขาร ฯลฯ ดุจ หยั่งเห็นวิญญาณ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นรูป ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นเวทนาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ สัญญา เป็นอื่น เวทนาก็เป็นอื่น หรือ ฯลฯ [๓๐] ส. ท่านหยั่งเห็นสังขารโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณ ฯลฯ ดุจ หยั่งเห็นรูป ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นเวทนา ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นสัญญาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ สังขารเป็น อื่น สัญญาก็เป็นอื่น หรือ ฯลฯ [๓๑] ส. ท่านหยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นรูป ฯลฯ ดุจหยั่ง เห็นเวทนา ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นสัญญา ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นสังขารโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ วิญญาณเป็น อื่นสังขารก็เป็นอื่น หรือ ฯลฯ ป. ถูกแล้ว ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถ- ปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ส. ท่านจงรับรู้นิคหะ, หากว่า ท่านหยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจ หยั่งเห็นสังขารโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ วิญญาณเป็นอื่น สังขารก็เป็นอื่น (อย่างเดียวกัน) ท่าน หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วยเหตุนั้นนะ ท่านจึงต้องกล่าวว่า วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นสังขารโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ วิญญาณ เป็นอื่น สังขารก็เป็นอื่น ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณโดย สัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึง กล่าวว่า วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถ- *ปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นสังขารโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ วิญญาณเป็นอื่น สังขารก็เป็นอื่น ข้าพเจ้า หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ที่ท่านกล่าวในปัญหา นั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นสังขารโดย สัจฉิกัตถปรมัตถ์ วิญญาณเป็นอื่น สังขารก็เป็นอื่น ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯลฯ [๓๒] ส. ท่านหยั่งเห็นจักขายตนะโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นโสตายนะ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นธัมมายตนะโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ จักขายตนะเป็นอื่น ธัมมายตนะก็เป็นอื่น หรือ ฯลฯ [๓๓] ส. ท่านหยั่งเห็นโสตายตนะ ฯลฯ ท่านหยั่งเห็นธัมมายตนะโดยสัจฉิกัตถ- *ปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นจักขายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นมนายตนะโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ธัมมายตนะ เป็นอื่น มนายตนะก็เป็นอื่น หรือ ฯลฯ [๓๔] ส. ท่านหยั่งเห็นจักขุธาตุโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นโสตธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นธรรมธาตุโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ จักขุธาตุเป็นอื่น ธรรมธาตุก็เป็นอื่น หรือ ฯลฯ [๓๕] ส. ท่านหยั่งเห็นโสตธาตุ ฯลฯ ท่านหยั่งเห็นธรรมธาตุโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นจักขุธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นมโนวิญญาณธาตุโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ธรรมธาตุเป็นอื่น มโนวิญญาณธาตุก็เป็นอื่น หรือ ฯลฯ [๓๖] ส. ท่านหยั่งเห็นจักขุนทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นโสตินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ จักขุนทรีย์เป็นอื่น อัญญาตาวินทรีย์ก็เป็นอื่น หรือ ฯลฯ [๓๗] ส. ท่านหยั่งเห็นโสตินทรีย์ ฯลฯ ท่านหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถ- *ปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นจักขุนทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นอัญญินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ อัญญาตา วินทรีย์เป็นอื่น อัญญินทรีย์ก็เป็นอื่น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดย สัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ส. ท่านจงรับรู้นิคหะ, หากว่า ท่านหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถ- *ปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นอัญญินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น อัญญินทรีย์ก็ เป็นอื่น (อย่างเดียวกัน) ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็ เป็นอื่น ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถ- *ปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นอัญญินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น อัญญินทรีย์ก็ เป็นอื่น ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้อง ไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นอัญญินทรีย์โดยสัจฉิ- *กัตถปรมัตถ์ อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น อัญญินทรีย์ก็เป็นอื่น ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถ- *ปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าว ได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นอัญญินทรีย์โดยสัจฉิ- *กัตถปรมัตถ์ อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น อัญญินทรีย์ก็เป็นอื่น ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิ- *กัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตา- *วินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯลฯ [๓๘] ป. ท่านหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นเวทนาโดยสัจฉิกัตถ- *ปรมัตถ์ รูปเป็นอื่น เวทนาก็เป็นอื่น หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และท่าน ก็หยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม หากว่า ท่านหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจ หยั่งเห็นเวทนาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ รูปเป็นอื่น เวทนาก็เป็นอื่น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และท่านก็หยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วยเหตุนั้น นะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นเวทนาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ รูปเป็นอื่น เวทนาก็เป็นอื่น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และข้าพเจ้า หยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ ถ้าไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิ- *กัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นเวทนาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ รูปเป็นอื่น เวทนาก็เป็นอื่น พระผู้มีพระ ภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และข้าพเจ้าหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปร- *มัตถ์ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ รูป เป็นอื่น เวทนาก็เป็นอื่น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และข้าพเจ้าหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯลฯ [๓๙] ป. ท่านหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นสัญญา ฯลฯ ดุจหยั่ง เห็นสังขาร ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ รูปเป็นอื่น วิญญาณก็เป็นอื่น หรือ ฯลฯ [๔๐] ป. ท่านหยั่งเห็นเวทนาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นสัญญา ฯลฯ ดุจหยั่ง เห็นสังขาร ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ เวทนาเป็นอื่น รูปก็เป็นอื่น หรือ ฯลฯ [๔๑] ป. ท่านหยั่งเห็นสัญญาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นสังขาร ฯลฯ ดุจ หยั่งเห็นวิญญาณ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นรูป ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นเวทนาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ สัญญา เป็นอื่น เวทนาก็เป็นอื่น หรือ ฯลฯ [๔๒] ป. ท่านหยั่งเห็นสังขารโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณ ฯลฯ ดุจ หยั่งเห็นรูป ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นเวทนา ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นสัญญาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ สังขาร เป็นอื่น สัญญาก็เป็นอื่น หรือ ฯลฯ [๔๓] ป. ท่านหยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นรูป ฯลฯ ดุจหยั่ง เห็นเวทนา ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นสัญญา ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นสังขารโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ วิญญาณ เป็นอื่น สังขารก็เป็นอื่น หรือ ฯลฯ [๔๔] ป. ท่านหยั่งเห็นจักขายตนะโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นโสตายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นธัมมายตนะโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ จักขายตนะเป็นอื่น ธัมมายตนะก็เป็นอื่น หรือ ฯลฯ [๔๕] ป. ท่านหยั่งเห็นโสตายตนะ ฯลฯ ธัมมายตนะโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่ง เห็นจักขายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นมนายตนะโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ธัมมายตนะเป็นอื่น มนายตนะ ก็เป็นอื่น หรือ ฯลฯ [๔๖] ป. ท่านหยั่งเห็นจักขุธาตุ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นโสตธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นธรรมธาตุโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ จักขุธาตุเป็นอื่น ธรรมธาตุก็เป็นอื่น หรือ ฯลฯ [๔๗] ป. ท่านหยั่งเห็นโสตธาตุโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ฯลฯ ท่านหยั่งเห็นธรรมธาตุ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นจักขุธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นมโนวิญญาณธาตุโดยสัจฉิกัตถ- *ปรมัตถ์ ธรรมธาตุเป็นอื่น มโนวิญญาณธาตุก็เป็นอื่น หรือ ฯลฯ [๔๘] ป. ท่านหยั่งเห็นจักขุนทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นโสตินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ จักขุนทรีย์เป็นอื่น อัญญาตาวินทรีย์ก็เป็น อื่น หรือ ฯลฯ [๔๙] ป. ท่านหยั่งเห็นโสตินทรีย์ ฯลฯ อัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นจักขุนทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นอัญญิณทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ อัญญาตาวินทรีย์ เป็นอื่น อัญญินทรีย์ก็เป็นอื่น หรือ ฯลฯ ส. ถูกแล้ว ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และ ท่านก็หยั่ง เห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม, หากว่า ท่านหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถ- *ปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นอัญญินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น อัญญินทรีย์ก็ เป็นอื่น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และท่านก็หยั่งเห็น อัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น อัญญินทรีย์ก็เป็นอื่น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และข้าพเจ้าก็หยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดย สัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นอัญญินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น อัญญินทรีย์ก็เป็นอื่น พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และ ข้าพเจ้าหยั่งเห็น อัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ดุจหยั่งเห็นอัญญินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น อัญญินทรีย์ก็เป็นอื่น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อ เกื้อกูลตน มีอยู่ และข้าพเจ้าหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯลฯ
โอปัมมสังสันทนา จบ
-----------------------------------------------------
จตุกกนยสังสันทนา
[๕๐] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. รูปเป็นบุคคลหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ส. ท่านจงรับรู้นิคหะ, หากว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูปเป็นบุคคล, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นบุคคล ดังนี้ ผิด, แต่ ถ้าไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นบุคคล ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่ พึงกล่าวว่า รูปเป็นบุคคล ดังนี้ ผิด ฯลฯ [๕๑] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลในรูปหรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจากรูปหรือ ฯลฯ รูปในบุคคลหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ส. ท่านจงรับรู้นิคหะ, หากว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วย เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูปในบุคคล, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้า หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปในบุคคล ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึง กล่าวว่า รูปในบุคคล ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ที่ท่าน กล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าว ว่า รูปในบุคคล ดังนี้ ผิด ฯลฯ [๕๒] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เวทนาเป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคลในเวทนาหรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจาก เวทนาหรือ ฯลฯ เวทนาในบุคคลหรือ ฯลฯ สัญญาเป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคลในสัญญาหรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจากสัญญาหรือ ฯลฯ สัญญาในบุคคลหรือ ฯลฯ สังขารเป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจากสังขารหรือ ฯลฯ สังขารในบุคคลหรือ ฯลฯ วิญญาณเป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคล ในวิญญาณหรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจากวิญญาณหรือ ฯลฯ วิญญาณในบุคคลหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ส. ท่านจงรับรู้นิคหะ, หากว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า วิญญาณในบุคคล, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณในบุคคล ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณในบุคคล ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถ- *ปรมัตถ์, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณในบุคคล ดังนี้ ผิด ฯลฯ [๕๓] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. จักขายตนะเป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคลในจักขายตนะหรือ ฯลฯ บุคคล อื่นจากจักขายตนะหรือ ฯลฯ จักขายตนะในบุคคลหรือ ฯลฯ ธัมมายตนะเป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคลในธัมมายตนะหรือ ฯลฯ ธัมมายตนะในบุคคล หรือ ฯลฯ [๕๔] ... จักขุธาตุเป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคลในจักขุธาตุหรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจาก จักขุธาตุหรือ ฯลฯ จักขุธาตุในบุคคลหรือ ฯลฯ ธรรมธาตุเป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคลในธรรมธาตุ หรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจากธรรมธาตุหรือ ฯลฯ ธรรมธาตุในบุคคลหรือ ฯลฯ [๕๕] ... จักขุนทรีย์เป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคลในจักขุนทรีย์หรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจาก จักขุนทรีย์หรือ ฯลฯ จักขุนทรีย์ในบุคคลหรือ ฯลฯ อัญญาตาวินทรีย์เป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคล ในอัญญาตาวินทรีย์หรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจากอัญญาตาวินทรีย์หรือ ฯลฯ อัญญาตาวินทรีย์ในบุคคล หรือ ฯลฯ ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ส. ท่านจงรับรู้นิคหะ, หากท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วยเหตุ นั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์ในบุคคล, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์ในบุคคล ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์ในบุคคล ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดย สัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์ในบุคคล ดังนี้ ผิด ฯลฯ [๕๖] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ ฯลฯ ส. ถูกแล้ว ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ดังนี้ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. รูปเป็นบุคคลหรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม, หากว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูปเป็นบุคคล, ที่ท่านกล่าวในปัญหา นั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ แต่ ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นบุคคลดังนี้ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นบุคคล ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระ ผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึง กล่าวได้ว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นบุคคล ดังนี้ ผิด ฯลฯ [๕๗] ป. ท่านไม่พึงหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ดังนี้ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. บุคคลในรูปหรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจากรูปหรือ ฯลฯ รูปในบุคคลหรือ ฯลฯ เวทนาเป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคลในเวทนาหรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจากเวทนาหรือ ฯลฯ เวทนา ในบุคคลหรือ ฯลฯ สัญญาเป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคลในสัญญาหรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจากสัญญา หรือ ฯลฯ สัญญาในบุคคลหรือ ฯลฯ สังขารเป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคลในสังขารหรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจากสังขารหรือ ฯลฯ วิญญาณเป็นบุคคลหรือ ฯลฯ สังขารในบุคคลหรือ ฯลฯ วิญญาณ ในบุคคลหรือ ฯลฯ หรือ ฯลฯ บุคคลในวิญญาณหรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจากวิญญาณหรือ ฯลฯ วิญญาณในบุคคลหรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม, หากว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า วิญญาณในบุคคล, ที่ท่านกล่าวใน ปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ แต่ไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณในบุคคล ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณในบุคคลก็ต้อง ไม่กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่, ที่ท่านกล่าวใน ปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ แต่ไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณในบุคคล ดังนี้ ผิด ฯลฯ [๕๘] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ดังนี้ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. จักขายตนะเป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคลในจักขายตนะหรือ ฯลฯ บุคคล อื่นจากจักขายตนะหรือ ฯลฯ จักขายตนะในบุคคลหรือ ฯลฯ ธัมมายตนะเป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคลในธัมมายตนะหรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจากธัมมายตนะหรือ ฯลฯ ธัมมายตนะในบุคคลหรือ ฯลฯ จักขุธาตุเป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคลในจักขุธาตุหรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจากจักขุธาตุหรือ ฯลฯ จักขุธาตุ ในบุคคลหรือ ฯลฯ ธัมมธาตุเป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคลในธัมมธาตุหรือ ฯลฯ บุคคลอื่น จากธัมมธาตุหรือ ฯลฯ ธัมมธาตุในบุคคลหรือ ฯลฯ [๕๙] ... จักขุนทรีย์เป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคลในจักขุนทรีย์หรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจาก จักขุนทรีย์หรือ ฯลฯ จักขุนทรีย์ในบุคคลหรือ ฯลฯ อัญญาตาวินทรีย์เป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคล ในอัญญาตาวินทรีย์หรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจากอัญญาตาวินทรีย์หรือ ฯลฯ อัญญาตาวินทรีย์ในบุคคล หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม, หากว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์ในบุคคล, ที่ท่าน กล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ แต่ไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์ในบุคคล ดังนี้ ผิด, แต่ไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์ ในบุคคล ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่, ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ แต่ไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์ในบุคคล ดังนี้ ผิด ฯลฯ
จตุกกนยสังสันทนา จบ.
-----------------------------------------------------
ลักขณยุตติกตา
[๖๐] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลมีปัจจัยหรือ ฯลฯ บุคคลไม่มีปัจจัยหรือ ฯลฯ บุคคลเป็นสังขตะ หรือ ฯลฯ บุคคลเป็นอสังขตะหรือ ฯลฯ บุคคลเที่ยงหรือ ฯลฯ บุคคลไม่เที่ยงหรือ ฯลฯ บุคคล มีนิมิตหรือ ฯลฯ บุคคลไม่มีนิมิตหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ย่อ [๖๑] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ดังนี้ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. บุคคลมีปัจจัยหรือ ฯลฯ บุคคลไม่มีปัจจัยหรือ ฯลฯ บุคคลเป็นสังขตะ หรือ ฯลฯ บุคคลเป็นอสังขตะหรือ ฯลฯ บุคคลเที่ยงหรือ ฯลฯ บุคคลไม่เที่ยงหรือ ฯลฯ บุคคล มีนิมิตหรือ ฯลฯ บุคคลไม่มีนิมิต หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ลักขณยุตติกตา จบ.
-----------------------------------------------------
วจนโสธนะ
[๖๒] ส. บุคคลเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้ สภาวะที่หยั่งเห็นได้ ก็เป็นบุคคล หรือ? ป. บุคคลเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้ แต่สภาวะที่หยั่งเห็นได้บางอย่างเป็นบุคคล บางอย่างไม่เป็นบุคคล ส. บุคคลบางอย่างเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้ บางอย่างเป็นสภาวะที่หยั่งเห็น ไม่ได้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๖๓] ส. บุคคลเป็นสภาวะที่จริงแท้ (สัจฉิกัตถะ) สภาวะที่จริงแท้ ก็เป็นบุคคล หรือ? ป. บุคคลเป็นสภาวะที่จริงแท้ แต่สภาวะที่จริงแท้บางอย่างเป็นบุคคล บาง อย่างไม่เป็นบุคคล ส. บุคคลบางอย่างเป็นสภาวะที่จริงแท้ บางอย่างไม่เป็นสภาวะที่จริงแท้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น [๖๔] ส. บุคคลเป็นสภาวะที่ประสบอยู่ สภาวะที่ประสบอยู่ ก็เป็นบุคคล หรือ? ป. บุคคลเป็นสภาวะที่ประสบอยู่ แต่สภาวะที่ประสบอยู่ บางอย่างเป็น บุคคล บางอย่างไม่เป็นบุคคล ส. บุคคลบางอย่างเป็นสภาวะที่ประสบอยู่ บางอย่างไม่เป็นสภาวะที่ประสบอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๖๕] ส. บุคคลเป็นสภาวะที่ปรากฏอยู่ สภาวะที่ปรากฏอยู่ ก็เป็นบุคคล หรือ? ป. บุคคลเป็นสภาวะที่ปรากฏอยู่ แต่สภาวะที่ปรากฏอยู่ บางอย่างเป็นบุคคล บางอย่างไม่เป็นบุคคล ส. บุคคลบางอย่างเป็นสภาวะที่ปรากฏอยู่ บางอย่างไม่เป็นสภาวะที่ปรากฏอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๖๖] ส. บุคคลเป็นสภาวะที่มีอยู่ สภาวะที่มีอยู่ก็เป็นบุคคลหรือ? ป. บุคคลเป็นสภาวะที่มีอยู่ แต่สภาวะที่มีอยู่บางอย่างเป็นบุคคล บางอย่าง ไม่เป็นบุคคล ส. บุคคลบางอย่างเป็นสภาวะที่มีอยู่ บางอย่างไม่เป็นสภาวะที่มีอยู่หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๖๗] ส. บุคคลเป็นสภาวะที่มีอยู่ แต่สภาวะที่มีอยู่ไม่เป็นบุคคลทั้งหมดหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลเป็นสภาวะที่ไม่มีอยู่ แต่สภาวะที่ไม่มีอยู่ไม่บุคคลทั้งหมดหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
วจนโสธนะ จบ.
-----------------------------------------------------
ปัญญัตตานุโยค
[๖๘] ส. บุคคลชื่อว่ามีรูป เพราะรูปธาตุ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลชื่อว่ามีกาม เพราะกามธาตุหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๖๙] ส. สัตว์ทั้งหลายชื่อว่ามีรูป เพราะรูปธาตุ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สัตว์ทั้งหลายชื่อว่ามีกาม เพราะกามธาตุ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๐] ส. บุคคลชื่อว่าไม่มีรูป เพราะอรูปธาตุ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลชื่อว่ามีกาม เพราะกามธาตุ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๑] ส. สัตว์ทั้งหลายชื่อว่าไม่มีรูป เพราะอรูปธาตุ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สัตว์ทั้งหลายชื่อว่ามีกาม เพราะกามธาตุ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๒] ส. บุคคลชื่อว่ามีรูป เพราะรูปธาตุ บุคคลชื่อว่าไม่มีรูป เพราะอรูปธาตุ และมีบางคนเคลื่อนจากรูปธาตุแล้ว เข้าถึงอรูปธาตุ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลมีรูป ขาดสูญไปแล้ว บุคคลไม่มีรูป เกิดขึ้นใหม่ หรือ ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๓] ส. สัตว์ทั้งหลายชื่อว่ามีรูป เพราะรูปธาตุ สัตว์ทั้งหลายชื่อว่าไม่มีรูป เพราะ อรูปธาตุ และมีบางคนเคลื่อนจากรูปธาตุแล้ว เข้าถึงอรูปธาตุ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สัตว์มีรูป ขาดสูญไปแล้ว สัตว์ไม่มีรูปเกิดขึ้นใหม่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๔] ส. บัญญัติว่ากายหรือว่าสรีระก็ดี ว่าสรีระหรือว่ากายก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติ ทั้งสองนี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บัญญัติว่าบุคคลหรือว่าชีพก็ดี ว่าชีพหรือว่าบุคคลก็ดี รวมเพ่งถึงบุคคล บัญญัติทั้งสองนี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. กายเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ส. ท่านจงรับรู้นิคหะ, หากว่า บัญญัติว่ากายหรือว่าสรีระก็ดี ว่าสรีระหรือว่า กายก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติทั้งสองนี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน บัญญัติว่าบุคคลหรือว่าชีพก็ดี ว่าชีพหรือว่าบุคคลก็ดี รวมเพ่งถึงบุคคล บัญญัติทั้ง สองนี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน กายเป็นอื่น บุคคล ก็เป็นอื่น ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น, ที่ท่านกล่าวในปัญหา นั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า บัญญัติว่ากายหรือว่าสรีระก็ดี ว่าสรีระหรือกายก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติ ทั้งสองนี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน บัญญัติว่าบุคคล หรือว่าชีพก็ดี ว่าชีพหรือบุคคลก็ดี รวมเพ่งถึงบุคคล บัญญัติทั้งสองนี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถ อันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน กายเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น แต่ไม่พึงกล่าวว่า ชีพ เป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น ก็ต้อง ไม่กล่าวว่า บัญญัติว่ากายหรือว่าสรีระก็ดี ว่าสรีระหรือว่ากายก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติทั้งสอง นี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน บัญญัติว่าบุคคลหรือว่า ชีพก็ดี ว่าชีพหรือว่าบุคคลก็ดี รวมเพ่งถึงบุคคล บัญญัติทั้งสองนี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอัน เดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน กายเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า บัญญัติว่ากายหรือว่าสรีระก็ดี ว่าสรีระหรือว่ากายก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติทั้ง สองนี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน บัญญัติว่าบุคคลหรือ ว่าชีพก็ดี ว่าชีพหรือว่าบุคคลก็ดี รวมเพ่งถึงบุคคล บัญญัติทั้งสองนี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอัน เดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน กายเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น แต่ไม่พึงกล่าวว่า ชีพ เป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯลฯ [๗๕] ป. บัญญัติว่ากายหรือว่าสรีระก็ดี ว่าสรีระหรือว่ากายก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติ ทั้งสองนี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ดังนี้ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. กายเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม, หากว่า บัญญัติว่ากายหรือว่าสรีระก็ดี ว่าสรีระหรือว่า กายก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติทั้งสองนี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะ ท่านจึงต้องกล่าวว่า กายเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า บัญญัติว่ากายหรือว่าสรีระก็ดี ว่าสรีระหรือว่ากายก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติทั้งสองนี้ก็อย่างเดียว กัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคล ผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนมีอยู่ แต่ไม่พึงกล่าวว่า กายเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึง กล่าวว่า กายเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า บัญญัติว่ากายหรือว่าสรีระก็ดี ว่าสรีระหรือ ว่ากายก็ดีรวมเพ่งถึงกาย บัญญัติทั้งสองนี้ ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ที่ท่านกล่าวใน ปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า บัญญัติว่ากายหรือว่าสรีระก็ดี ว่าสรีระหรือว่ากายก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติทั้งสองนี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน พระผู้มี พระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ แต่ไม่พึงกล่าวว่า กายเป็นอื่น บุคคล ก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯลฯ
ปัญญัตตานุโยค จบ.
-----------------------------------------------------
คติอนุโยค
[๗๖] ส. บุคคลท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลนั้นเอง ท่องเที่ยวไปจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวว่าอย่างนั้น ฯลฯ [๗๗] ส. บุคคลท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลอื่นท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๘] ส. บุคคลท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลนั้นเองด้วย บุคคลอื่นด้วย ท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จาก โลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๙] ส. บุคคลท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลนั้นเอง ก็มิได้ท่องเที่ยวไป บุคคลอื่นก็มิได้ท่องเที่ยวไป จากโลก นี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๘๐] ส. บุคคลท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไป บุคคลอื่นท่องเที่ยวไป บุคคลนั้นเองด้วย บุคคลอื่นด้วย ท่องเที่ยวไป บุคคลนั้นก็มิได้ท่องเที่ยวไป บุคคลอื่นก็มิได้ท่องเที่ยวไป จาก โลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๘๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลนั้นท่องเที่ยวไปเจ็ดครั้งเป็นอย่างยิ่ง แล้วจะเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะสิ้นสัญโญชน์ทั้งปวง ๑- ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลก็ท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ นะสิ [๘๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลก นี้ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การท่องเที่ยวไปของ สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพัน แล่นไปอยู่ ท่องเที่ยว @๑. ขุ. อิติวุตฺตก. ข้อ ๒๐๒ หน้า ๒๔๓ ไปอยู่นี้ มีเบื้องต้นเบื้องปลายที่ตามรู้ไม่ได้ เงื่อนต้นไม่ปรากฏ ๑- ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่ จริงมิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. ถ้าอย่างนั้นบุคคลก็ท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ นะสิ [๘๓] ส. บุคคลท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บางคนเป็นมนุษย์แล้วเป็นเทวดาก็มีหรือ ป. ถูกแล้ว ส. มนุษย์ก็คนนั้นแหละ เทวดาก็คนนั้นแหละ (เป็นคนเดียวกัน) หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. มนุษย์ก็คนนั้นแหละ เทวดาก็คนนั้นแหละ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลเป็นมนุษย์แล้วเป็นเทวดา เป็นเทวดาแล้วเป็นมนุษย์ เป็นผู้เกิดเป็น มนุษย์ เทวดาเป็นอื่น ผู้เกิดเป็นมนุษย์ก็เป็นอื่น (เป็นคนละคน) คำว่า บุคคลนั้นเอง ท่องเที่ยวไป นี้ผิด ฯลฯ ก็ถ้าว่า บุคคลท่องเที่ยวไป บุคคลนั้นเองเคลื่อนจากโลกนี้ไป สู่โลกอื่น ไม่ใช่บุคคลอื่น เมื่อเป็นเช่นนี้ ความตายก็จักไม่มี แม้ปาณาติบาตก็หยั่งเห็นไม่ได้ กรรมมีอยู่ ผลของกรรมมีอยู่ ผลของกรรมทั้งหลายที่ทำแล้วมีอยู่ เมื่อกุศลและอกุศลให้ผลอยู่ คำว่า บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไป นี้ผิด ฯลฯ @๑. สํ. นิ. ข้อ ๔๒๑ หน้า ๒๑๒ ส. บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บางคนเป็นมนุษย์แล้วเป็นยักษ์ ... เป็นเปรต ... เป็นสัตว์นรก ... เป็นสัตว์ เดียรัจฉาน ... เป็นอูฐ ... เป็นลา ... เป็นโค ... เป็นสุกร ... เป็นกระบือ ... ก็มีหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. มนุษย์ก็คนนั้นแหละ กระบือก็คนนั้นแหละ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. มนุษย์ก็คนนั้นแหละ กระบือก็คนนั้นแหละ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลเป็นมนุษย์แล้วเป็นกระบือ เป็นกระบือแล้วเป็นมนุษย์ เป็นผู้เกิด เป็นมนุษย์ กระบือเป็นอื่น ผู้เกิดเป็นมนุษย์ก็เป็นอื่น คำว่า บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไป นี้ผิด ฯลฯ ก็ถ้าว่า บุคคลท่องเที่ยวไป บุคคลนั้นเองเคลื่อนจากโลกนี้ ไปสู่โลกอื่น ไม่ใช่บุคคลอื่น เมื่อ เป็นเช่นนี้ ความตายก็จักไม่มี แม้ปาณาติบาตก็จะหยั่งเห็นไม่ได้ กรรมมีอยู่ ผลของกรรมมีอยู่ ผลของกรรมทั้งหลายที่ทำแล้วมีอยู่ เมื่อกุศลและอกุศลให้ผลอยู่ คำว่า บุคคลนั้นเองท่องเที่ยว ไป นี้ผิด ฯลฯ ส. บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บางคนเป็นกษัตริย์แล้วเป็นพราหมณ์ก็มีหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. กษัตริย์ก็คนนั้นแหละ พราหมณ์ก็คนนั้นแหละ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. บางคนเป็นกษัตริย์แล้วเป็นแพศย์ ... เป็นศูทรก็มี หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. กษัตริย์ก็คนนั้นแหละ ศูทรก็คนนั้นแหละ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. บางคนเป็นพราหมณ์แล้วเป็นแพศย์ ... เป็นศูทร ... เป็นกษัตริย์ก็มีหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พราหมณ์ก็คนนั้นแหละ กษัตริย์ก็คนนั้นแหละ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. บางคนเป็นแพศย์แล้วเป็นศูทร ... เป็นกษัตริย์ ... ไปเป็นพราหมณ์ ก็มีหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. แพศย์ก็คนนั้นแหละ พราหมณ์ก็คนนั้นแหละ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. บางคนเป็นศูทรแล้วเป็นกษัตริย์ ... เป็นพราหมณ์ ... เป็นแพศย์ ก็มีหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ศูทรก็คนนั้นแหละ แพศย์ก็คนนั้นแหละ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. คนมือด้วยก็ไปเป็นคนมือด้วยเทียวหรือ ... คนเท้าด้วนก็ไปเป็นคนเท้า ด้วนเทียวหรือ ... คนด้วนทั้งมือและเท้าก็ไปเป็นคนด้วนทั้งมือและเท้าเทียวหรือ ... คนหูวิ่น ... คนจมูกโหว่ ... คนทั้งหูวิ่นทั้งจมูกโหว่ ... คนนิ้วด้วน ... คนนิ้วแม่มือด้วน ... คนเอ็นใหญ่ ขาด ... คนมือหงิก ... คนมือแป ... คนเป็นโรคเรื้อน ... คนเป็นต่อม ... คนเป็นโรคกลาก ... คนเป็นโรคมองคร่อ ... คนเป็นโรคลมบ้าหมู ... อูฐ ... โค ... ลา ... สุกร ... กระบือ ก็ไปเป็น กระบือเทียวหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๘๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลก อื่นสู่โลกนี้ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. บุคคลผู้เป็นโสดาบัน เคลื่อนจากมนุษยโลกเข้าถึงเทวโลกแล้ว คงเป็น โสดาบันเทียวแม้ในเทวโลกนั้น มิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า บุคคลผู้เป็นโสดาบันเคลื่อนจากมนุษยโลก เข้าถึงเทวโลกแล้ว คงเป็นโสดาบันเทียวแม้ในเทวโลกนั้น ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า บุคคลนั้นเองท่อง เที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ [๘๕] ส. ท่านทำความตกลงแล้วว่า บุคคลผู้เป็นโสดาบันเคลื่อนจากมนุษยโลก เข้า ถึงเทวโลกแล้ว คงเป็นโสดาบันเทียวแม้ในเทวโลกนั้น และด้วยเหตุนั้น (จึงวินิจฉัยว่า) บุคคลนั้นเทียวท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ท่านได้ทำความตกลงว่า บุคคลผู้เป็นโสดาบันเคลื่อนจากมนุษยโลกเข้าถึง เทวโลกแล้ว คงเป็นมนุษย์แม้ในเทวโลกนั้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๘๖] ส. บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ไม่เป็นอื่น ไม่แปรผัน ท่องเที่ยวไป หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๘๗] ส. ไม่เป็นอื่น ไม่แปรผัน ท่องเที่ยวไป หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. คนมือด้วนก็ไปเป็นคนมือด้วนเทียวหรือ ... คนเท้าด้วนก็ไปเป็นคนเท้า ด้วนเทียวหรือ ... คนด้วนทั้งมือและเท้าก็ไปเป็นคนด้วนทั้งมือและเท้าเทียวหรือ ... คนหูวิ่น ... คนจมูกโหว่ ... คนทั้งหูวิ่นจมูกโหว่ ... คนนิ้วด้วน ... คนนิ้วแม่มือด้วน ... คนเอ็นใหญ่ขาด ... คนมือหงิก ... คนมือแป ... คนเป็นโรคเรื้อน ... คนเป็นต่อม ... คนเป็นโรคกลาก ... คน เป็นโรคมองคร่อ ... คนเป็นโรคลมบ้าหมู ... อูฐ ... โค ... ลา ... สุกร ... กระบือก็ไปเป็น กระบือเทียวหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๘๘] ส. บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เป็นผู้มีรูปท่องเที่ยวไปหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เป็นผู้มีรูปท่องเที่ยวไปหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เป็นผู้มีเวทนา ฯลฯ เป็นผู้มีสัญญา ฯลฯ เป็นผู้มีสังขาร ฯลฯ เป็นผู้ มีวิญญาณท่องเที่ยวไปหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เป็นผู้มีวิญญาณท่องเที่ยวไปหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๘๙] ส. บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เป็นผู้ไม่มีรูปท่องเที่ยวไปหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เป็นผู้ไม่มีรูปท่องเที่ยวไป หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เป็นผู้ไม่มีเวทนา ฯลฯ เป็นผู้ไม่มีสัญญา ฯลฯ เป็นผู้ไม่มีสังขาร ฯลฯ เป็นผู้ไม่มีวิญญาณท่องเที่ยวไปหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เป็นผู้ไม่มีวิญญาณท่องเที่ยวไปหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๙๐] ส. บุคคลนั้นแหละท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. รูปท่องเที่ยวไปหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. รูปท่องเที่ยวไปหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณท่องเที่ยวไปหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. วิญญาณท่องเที่ยวไปหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๙๑] ส. บุคคลนั้นแหละ ท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. รูปไม่ท่องเที่ยวไปหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. รูปไม่ท่องเที่ยวไปหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่นหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ไม่ท่องเที่ยวไปหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. วิญญาณไม่ท่องเที่ยวไปหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. หากว่า บุคคลแตกดับไปในเมื่อขันธ์ทั้งหลายแตกดับไป ก็เป็นอุจเฉททิฏฐิ ที่พระพุทธเจ้าทรงเว้นขาดแล้ว หากว่า บุคคลไม่แตกดับไปในเมื่อขันธ์ทั้งหลายแตกดับไป บุคคล ก็จะเที่ยง (และดังนั้น) จะเสมอเหมือนกับนิพพาน.
คติอนุโยค จบ.
-----------------------------------------------------
อุปาทาปัญญัตตานุโยค
[๙๒] ส. เพราะอาศัยรูป จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. รูปไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความแปร ไปเป็นธรรมดา หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถึงบุคคลก็ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็น ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มี ความแปรไปเป็นธรรมดา หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะอาศัยเยทนา ฯลฯ เพราะอาศัยสัญญา ฯลฯ เพราะอาศัยสังขาร ฯลฯ เพราะอาศัยวิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลขึ้นหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. วิญญาณไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็น ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มี ความแปรไปเป็นธรรมดา หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถึงบุคคลก็ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็น ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความแปรไปเป็นธรรมดา หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๙๓] ส. เพราะอาศัยรูป จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะอาศัยรูปเขียว จึงบัญญัติบุคคลเขียวขึ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะอาศัยรูปเหลือง ฯลฯ เพราะอาศัยรูปแดง ฯลฯ เพราะอาศัย รูปขาว ฯลฯ เพราะอาศัยรูปที่เห็นได้ ฯลฯ เพราะอาศัยรูปที่เห็นไม่ได้ ฯลฯ เพราะอาศัยรูปที่ กระทบไม่ได้ จึงบัญญัติบุคคลที่กระทบไม่ได้ขึ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๙๔] ส. เพราะอาศัยเวทนา จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะอาศัยเวทนาเป็นกุศล จึงบัญญัติบุคคลเป็นกุศลขึ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะอาศัยเวทนาเป็นกุศล จึงบัญญัติบุคคลเป็นกุศลขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เวทนาเป็นกุศล มีผล มีวิบาก มีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลน่าฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำลัง มีสุขเป็นวิบาก หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถึงบุคคลเป็นกุศล ก็มีผล มีวิบาก มีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผล น่าฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๙๕] ส. เพราะอาศัยเวทนา จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะอาศัยเวทนาเป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคลเป็นอกุศลขึ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะอาศัยเวทนาเป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคลเป็นอกุศลขึ้นหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เวทนาเป็นอกุศล มีผล มีวิบาก มีผลไม่น่าปรารถนา มีผลไม่น่าใคร่ มี ผลไม่น่าฟูใจ มีผลแสลง มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถึงบุคคลเป็นอกุศล ก็มีผล มีวิบาก มีผลไม่น่าปรารถนา มีผลไม่น่าใคร่ มีผลไม่น่าฟูใจ มีผลแสลง มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๙๖] ส. เพราะอาศัยเวทนา จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะอาศัยเวทนาเป็นอัพยากฤต จึงบัญญัติบุคคลเป็นอัพยากฤตขึ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะอาศัยเวทนาเป็นอัพยากฤต จึงบัญญัติบุคคลเป็นอัพยากฤตขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เวทนาเป็นอัพยากฤต ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความ สิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็น ธรรมดา มีความแปรไปเป็นธรรมดา หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถึงบุคคลเป็นอัพยากฤต ก็ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มี ความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับ ไปเป็นธรรมดา มีความแปรไปเป็นธรรมดา หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะอาศัยสัญญา ฯลฯ เพราะอาศัยสังขาร ฯลฯ เพราะอาศัยวิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะอาศัยวิญญาณเป็นกุศล จึงบัญญัติบุคคลเป็นกุศลขึ้นหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะอาศัยวิญญาณเป็นกุศล จึงบัญญัติบุคคลเป็นกุศลขึ้นหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. วิญญาณเป็นกุศล มีผล มีวิบาก มีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลน่าฟูใจ มีผลแสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถึงบุคคลเป็นกุศล ก็มีผล มีวิบาก มีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผล น่าฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๙๗] ส. เพราะอาศัยวิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะอาศัยวิญญาณเป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคลเป็นอกุศลขึ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะอาศัยวิญญาณเป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคลเป็นอกุศลขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. วิญญาณเป็นอกุศล มีผล มีวิบาก มีผลไม่น่าปรารถนา มีผลไม่น่าใคร่ มี มีผลไม่น่าฟูใจ มีผลแสลง มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถึงบุคคลเป็นอกุศล ก็มีผล มีวิบาก มีผลไม่น่าปรารถนา มีผลไม่น่าใคร่ มีผลไม่น่าฟูใจ มีผลแสลง มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๙๘] ส. เพราะอาศัยวิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะอาศัยวิญญาณเป็นอัพยากฤต จึงบัญญัติบุคคลเป็นอัพยากฤตขึ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะอาศัยวิญญาณเป็นอัพยากฤต จึงบัญญัติบุคคลเป็นอัพยากฤตขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. วิญญาณเป็นอัพยากฤต ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความ สิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็น ธรรมดา มีความแปรไปเป็นธรรมดา หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถึงบุคคลเป็นอัพยากฤต ก็ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความ สิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไป เป็นธรรมดา มีความแปรไปเป็นธรรมดาหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๙๙] ส. เพราะอาศัยจักษุพึงกล่าวว่า บุคคลมีจักษุ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เมื่อจักษุดับไปแล้ว พึงกล่าวว่า บุคคลมีจักษุดับไปแล้วหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะอาศัยโสตะ ฯลฯ เพราะอาศัยฆานะ ฯลฯ เพราะอาศัยชิวหา ฯลฯ เพราะอาศัยกาย ฯลฯ เพราะอาศัยมโน พึงกล่าวว่า บุคคลมีมโน หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เมื่อมโนดับไปแล้ว พึงกล่าวว่า บุคคลมีมโนดับไปแล้วหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๐๐] ส. เพราะอาศัยมิจฉาทิฏฐิ พึงกล่าวว่า บุคคลเป็นมิจฉาทิฏฐิ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เมื่อมิจฉาทิฏฐิดับไปแล้ว พึงกล่าวว่า บุคคลเป็นมิจฉาทิฏฐิดับไปแล้ว หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๐๑] ส. เพราะอาศัยมิจฉาสังกัปปะ ฯลฯ เพราะอาศัยมิจฉาวาจา ฯลฯ เพราะอาศัย มิจฉากัมมันตะ ฯลฯ เพราะอาศัยมิจฉาอาชีวะ ฯลฯ เพราะอาศัยมิจฉาวายามะ ฯลฯ เพราะอาศัย มิจฉาสติ ฯลฯ เพราะอาศัยมิจฉาสมาธิ ฯลฯ พึงกล่าวว่า บุคคลมีมิจฉาสมาธิ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เมื่อมิจฉาสมาธิดับไปแล้ว พึงกล่าวว่า บุคคลมีมิจฉาสมาธิดับไปแล้ว หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๐๒] ส. เพราะอาศัยสัมมาทิฏฐิ พึงกล่าวว่า บุคคลเป็นสัมมาทิฏฐิหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เมื่อสัมมาทิฏฐิดับไปแล้ว พึงกล่าวว่า บุคคลเป็นสัมมาทิฏฐิดับไปแล้ว หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะอาศัยสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ เพราะอาศัยสัมมาวาจา ฯลฯ เพราะอาศัย สัมมากัมมันตะ ฯลฯ เพราะอาศัยสัมมาอาชีวะ ฯลฯ เพราะอาศัยสัมมาวายมะ ฯลฯ เพราะอาศัย สัมมาสติ ฯลฯ เพราะอาศัยสัมมาสมาธิ พึงกล่าวว่า บุคคลมีสัมมาสมาธิ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เมื่อสัมมาสมาธิดับไปแล้ว พึงกล่าวว่า บุคคลมีสัมมาสมาธิดับไปแล้ว หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๐๓] ส. เพราะอาศัยรูป เพราะอาศัยเวทนา จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะอาศัยขันธ์ ๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒ คนขึ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะอาศัยรูป เพราะอาศัยเวทนา เพราะอาศัยสัญญา เพราะอาศัยสังขาร เพราะวิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะอาศัยขันธ์ ๕ จึงบัญญัติบุคคล ๕ ขึ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๐๔] ส. เพราะอาศัยจักขายตนะ เพราะอาศัยโสตายตนะ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะอาศัยอายตนะ ๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒ ขึ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๐๕] ส. เพราะอาศัยจักขายตนะ เพราะอาศัยโสตายตนะ ฯลฯ เพราะอาศัย ธัมมายตนะ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะอาศัยอายตนะ ๑๒ จึงบัญญัติบุคคล ๑๒ ขึ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๐๖] ส. เพราะอาศัยจักขุธาตุ เพราะอาศัยโสตธาตุ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะอาศัยธาตุ ๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒ ขึ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๐๗] ส. เพราะอาศัยจักขุธาตุ เพราะอาศัยโสตธาตุ ฯลฯ เพราะอาศัยธัมมธาตุ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะอาศัยธาตุ ๑๘ จึงบัญญัติบุคคล ๑๘ ขึ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๐๘] ส. เพราะอาศัยจักขุนทรีย์ เพราะอาศัยโสตินทรีย์ จึงบัญญัติบุคคลขึ้นหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะอาศัยอินทรีย์ ๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒ ขึ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๐๙] ส. เพราะอาศัยจักขุนทรีย์ เพราะอาศัยโสตินทรีย์ ฯลฯ เพราะอาศัยอัญญา- ตาวินทรีย์ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะอาศัยอินทรีย์ ๒๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒๒ ขึ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๑๐] ส. เพราะอาศัยเอกโวการภพ (ภพแห่งสัตว์มีขันธ์หนึ่ง) จึงบัญญัติบุคคล หนึ่งขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะอาศัยจตุโวการภพ (ภพแห่งสัตว์มีขันธ์ ๔) จึงบัญญัติบุคคล ๔ ขึ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๑๑] ส. เพราะอาศัยเอกโวการภพ จึงบัญญัติบุคคลหนึ่งขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะอาศัยปัญจโวการภพ (ภพแห่งสัตว์มีขันธ์ ๕) จึงบัญญัติบุคคล ๕ ขึ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๑๒] ส. ในเอกโวการภพ มีบุคคลเพียงหนึ่ง หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ในจตุโวการภพ มีบุคคลเพียง ๔ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๑๓] ส. ในเอกโวการภพ มีบุคคลเพียงหนึ่ง หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ในปัญจโวการภพ มีบุคคลเพียง ๕ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๑๔] ส. เพราะอาศัยต้นไม้ จึงบัญญัติเงาไม้ขึ้น ฉันใด ฉันนั้นแหละ เพราะ อาศัยรูป จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ? ส. เพราะอาศัยต้นไม้ จึงบัญญัติเงาไม้ขึ้น แม้ต้นไม้ก็ไม่เที่ยง แม้เงาไม้ก็ ไม่เที่ยง ฉันใด ฉันนั้นแหละ เพราะอาศัยรูปจึงบัญญัติบุคคลขึ้น แม้รูปก็ไม่เที่ยง แม้บุคคล ก็ไม่เที่ยง หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะอาศัยต้นไม้ จึงบัญญัติเงาไม้ขึ้น ต้นไม้เป็นอื่น เงาไม้ก็เป็นอื่น ฉันใด ฉันนั้นแหละ เพราะอาศัยรูป จึงบัญญัติบุคคลขึ้น รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะอาศัยบ้าน จึงบัญญัติชาวบ้านขึ้น ฉันใด ฉันนั้นแหละ เพราะ อาศัยรูป จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ? ส. เพราะอาศัยบ้าน จึงบัญญัติชาวบ้านขึ้น บ้านเป็นอื่น ชาวบ้านก็เป็นอื่น ฉันใด ฉันนั้นแหละ เพราะอาศัยรูป จึงบัญญัติบุคคลขึ้น รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะอาศัยรัฐ จึงบัญญัติราชาขึ้น ฉันใด ฉันนั้นแหละ เพราะอาศัยรูป จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ? ส. เพราะอาศัยรัฐ จึงบัญญัติราชาขึ้น รัฐเป็นอื่น ราชาก็เป็นอื่น ฉันใด ฉันนั้นแหละ เพราะอาศัยรูป จึงบัญญัติบุคคลขึ้น รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ตรวน ไม่ใช่ผู้ถูกจำตรวน ตรวนมีแก่ผู้ใด ผู้นั้นต่างหากชื่อว่า ผู้ถูก จำตรวน ฉันใด ฉันนั้นแหละ รูปไม่ใช่ผู้มีรูป รูปมีแก่ผู้ใด ผู้นั้นต่างหากชื่อว่า ผู้มีรูป หรือ? ส. ตรวน ไม่ใช่ผู้ถูกจำตรวน ตรวนมีแก่ผู้ใด ผู้นั้นต่างหากชื่อว่า ผู้ถูก จำตรวน ตรวนเป็นอื่น ผู้ถูกจำตรวนก็เป็นอื่น ฉันใด ฉันนั้นแหละ รูปไม่ใช่ผู้มีรูป รูปมีแก่ผู้ ใด ผู้นั้นต่างหากชื่อว่า ผู้มีรูป รูปเป็นอื่น ผู้มีรูปก็เป็นอื่น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๑๕] ส. บัญญัติบุคคลขึ้นในเพราะจิตแต่ละดวง หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลในเพราะจิตแต่ละดวง ย่อมเกิด แก่ ตาย จุติ และ อุปบัติ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลนั้น หรือว่าบุคคลอื่น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่า เด็กชาย หรือว่าเด็กหญิง หรือ? ป. พึงกล่าวได้ ส. ท่านจงรับรู้นิคหะ, หากว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลนั้นหรือว่าบุคคลอื่น ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึง กล่าวว่าเด็กชาย หรือว่าเด็กหญิง, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่าบุคคลนั้น หรือว่าบุคคลอื่น แต่พึงกล่าวได้ว่าเด็กชาย หรือว่าเด็กหญิง ดังนี้ ผิด, ก็หรือหากว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น พึงกล่าวได้ว่าเด็กชายหรือว่าเด็กหญิง ด้วย เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น พึงกล่าวได้ว่า บุคคลนั้นหรือว่าบุคคลอื่น, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลนั้น หรือว่าบุคคลอื่น แต่พึงกล่าวว่าเด็กชายหรือเด็กหญิงดังนี้ ผิด [๑๑๖] ส. เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่าบุคคลนั้น หรือว่าบุคคลอื่น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่าสตรี หรือว่าบุรุษ ... ว่า คฤหัสถ์ หรือว่าบรรพชิต ... ว่าเทวดา หรือว่ามนุษย์ หรือ? ป. พึงกล่าวได้ ส. ท่านจงรับรู้นิคหะ, หากว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลนั้น หรือบุคคลอื่น ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึง กล่าวว่าเทวดา หรือว่ามนุษย์, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึง กล่าวว่าบุคคลนั้น หรือบุคคลอื่น แต่พึงกล่าวได้ว่าเทวดา หรือว่ามนุษย์ดังนี้ ผิด, ก็หรือหาก ว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น พึงกล่าวได้ว่าเทวดา หรือว่ามนุษย์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง กล่าวว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น พึงกล่าวได้ว่าบุคคลนั้น หรือว่าบุคคลอื่น, ที่ท่านกล่าวใน ปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่าบุคคลนั้น หรือว่าบุคคล อื่น แต่พึงกล่าวได้ว่าเทวดา หรือว่ามนุษย์ ดังนี้ ผิด ฯลฯ [๑๑๗] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. บุคคลใดเห็น เห็นรูปใด เห็นด้วยจักษุใด พึงกล่าวได้ว่า บุคคลนั้น เห็น เห็นรูปนั้น เห็นด้วยจักษุนั้นมิใช่ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า บุคคลใดเห็น เห็นรูปใด เห็นด้วยจักษุใด พึงกล่าวได้ว่า บุคคลนั้นเห็น เห็นรูปนั้น เห็นด้วยจักษุนั้น ด้วยเห็นนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ข้าพเจ้า หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ [๑๑๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. บุคคลใดฟัง ฯลฯ บุคคลใดดม ฯลฯ บุคคลใดลิ้ม ฯลฯ บุคคลใดถูก ต้อง ฯลฯ บุคคลใดรู้ รู้ธัมมารมณ์ใด รู้ด้วยมโนใด พึงกล่าวได้ว่า บุคคลนั้นรู้ รู้ธัมมารมณ์ รู้ด้วยมโนนั้น มิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า บุคคลใดรู้ รู้ธัมมารมณ์ใด รู้ด้วยมโนใด พึงกล่าวได้ว่า บุคคลนั้นรู้ รู้ธัมมารมณ์นั้น ด้วยมโนนั้น ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็น บุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ [๑๑๙] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลใดมิได้เห็น มิได้เห็นรูปใด มิได้เห็นด้วยจักษุใด ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลนั้นเห็น ไม่พึงกล่าวว่าเห็นรูปนั้น ไม่พึงกล่าวว่าเห็นด้วยจักษุนั้น มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า บุคคลใดมิได้เห็น มิได้เห็นรูปใด มิได้เห็นด้วยจักษุใด ไม่พึง กล่าวว่าบุคคลนั้นเห็น ไม่พึงกล่าวว่าเห็นรูปนั้น ไม่พึงกล่าวว่าเห็นด้วยจักษุนั้น ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ [๑๒๐] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลใดมิได้ฟัง ฯลฯ บุคคลใดมิได้ดม ฯลฯ บุคคลใดมิได้ลิ้ม ฯลฯ บุคคลใดมิได้รู้ มิได้รู้ธัมมารมณ์ใด มิได้รู้ด้วยมโนใด ไม่พึงกล่าวว่าบุคคลนั้นรู้ ไม่พึงกล่าวว่า รู้ธัมมารมณ์นั้น ไม่พึงกล่าวว่ารู้ด้วยมโนนั้น มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่าบุคคลใดมิได้รู้ มิได้รู้ธัมมารมณ์ใด มิได้รู้ด้วยมโนใด ไม่พึงกล่าว ว่าบุคคลนั้นรู้ ไม่พึงกล่าวว่ารู้ธัมมารมณ์นั้น ไม่พึงกล่าวว่ารู้ด้วยมโนนั้น ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ [๑๒๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นสัตว์ทั้งหลาย จุติอยู่ อุปบัติอยู่ เลวบ้าง ประณีตบ้าง มีพรรณะงามบ้าง มีพรรณะทรามบ้าง เป็นสุคติ บ้าง เป็นทุคติบ้าง ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่ง สัตว์ทั้งหลายว่าเป็นไปตามกรรม ๑- ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? @๑. ม. ม. ข้อ ๗๕๖ หน้า ๖๘๗ ส. ถูกแล้ว ป. ถ้าอย่างนั้น ก็หยั่งเห็นบุคคลได้ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์น่ะสิ ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้ง- *หลาย เราเห็นสัตว์ทั้งหลายจุติอยู่ อุปบัติอยู่ เลวบ้าง ประณีตบ้าง มีพรรณะงามบ้าง มีพรรณะ ทรามบ้าง เป็นสุคติบ้าง เป็นทุคติบ้าง ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งสัตว์ทั้งหลายว่าเป็นไปตามกรรม ดังนี้ ด้วยเหตุนั้นแหละ ท่านจึงหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคทรงเห็นรูปหรือทรงเห็นบุคคล ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ อัน บริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ป. ทรงเห็นรูป ส. รูปคือบุคคล รูปจุติ รูปอุปบัติ รูปเป็นไปตามกรรม หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. พระผู้มีพระภาคทรงเห็นรูปหรือทรงเห็นบุคคล ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ อัน บริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ป. ทรงเห็นบุคคล ส. บุคคล คือรูป คือรูปายตนะ คือรูปธาตุ คือสีเขียว คือสีเหลือง คือ สีแดง คือสีขาว คือสิ่งที่รู้ได้ด้วยจักษุ กระทบที่จักษุ มาสู่คลองจักษุ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. พระผู้มีพระภาคทรงเห็นรูปหรือทรงเห็นบุคคล ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ อัน บริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ป. ทรงเห็นทั้งสองอย่าง ส. ทั้งสองอย่างคือรูป คือรูปายตนะ คือรูปธาตุ ทั้งสองอย่างคือสีเขียว ทั้งสองอย่างคือสีเหลือง ทั้งสองอย่างคือสีแดง ทั้งสองอย่างคือสีขาว ทั้งสองอย่างคือสิ่งที่รู้ได้ ด้วยจักษุ ทั้งสองอย่างกระทบที่จักษุ ทั้งสองอย่างมาสู่คลองจักษุ ทั้งสองอย่างจุติ ทั้งสองอย่าง อุปบัติ ทั้งสองอย่างเป็นไปตามกรรม หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อุปาทาปัญญัตตานุโยค จบ
-----------------------------------------------------
กัลยาณวรรค ๑-
[๑๒๒] ป. ท่านหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. ท่านหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้างกรรมดีกรรมชั่ว หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๓] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้างกรรมดี กรรมชั่ว หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ท่านหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้างบุคคลนั้นหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ท่านหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้างบุคคลนั้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี ความขาดแห่งวัฏฏะก็ไม่มี ความดับรอบอย่าง หาเชื้อมิได้ ก็ไม่มี แก่บุคคลนั้น ๆ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @๑. ตอนนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ปุริลการานุโยค" [๑๒๔] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้างกรรมดี กรรมชั่วหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะหยั่งเห็นบุคคล ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้างบุคคลหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๕] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้างกรรมดี กรรมชั่ว หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะหยั่งเห็นนิพพาน ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้างนิพพาน หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๖] ส.เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้างกรรมดี กรรมชั่ว หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะหยั่งเห็นมหาปฐพี ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้างมหาปฐพี หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๗] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้างกรรมดี กรรมชั่ว หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะหยั่งเห็นมหาสมุทร ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้างมหาสมุทร หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๘] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้างกรรมดี กรรมชั่ว หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะหยั่งเห็นขุนเขาสิเนรุ ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้างขุนเขาสิเนรุ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๙] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้างกรรมดีกรรม ชั่ว หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะหยั่งเห็นน้ำ ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้างน้ำ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๓๐] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้างกรรมดี กรรมชั่วหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะหยั่งเห็นไฟ ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้างไฟ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๓๑] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้างกรรมดี กรรมชั่ว หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะหยั่งเห็นลม ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้างลม หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๓๒] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้างกรรมดี กรรมชั่ว หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะหยั่งเห็นหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้าง หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๓๓] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้างกรรมดี กรรมชั่ว หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. กรรมดีกรรมชั่วเป็นอื่น ผู้ทำ ผู้สร้างกรรมดีกรรมชั่ว ก็เป็นอื่น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๓๔] ป. ท่านหยั่งเห็นวิบากของกรรมดีกรรมชั่ว หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. ท่านหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดี กรรมชั่ว หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะหยั่งเห็นวิบากของกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวย วิบากของกรรมดีกรรมชั่ว หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ท่านหยั่งเห็นผู้เสวย บุคคลผู้เสวยวิบากนั้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ท่านหยั่งเห็นผู้เสวย บุคคลผู้เสวยวิบากนั้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี ความขาดแห่งวัฏฏะก็ไม่มี ความดับรอบอย่าง หาเชื้อมิได้ก็ไม่มี แก่บุคคลนั้นๆ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะหยั่งเห็นวิบากของกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงเห็นบุคคล ผู้เสวย วิบากของกรรมดีกรรมชั่ว หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะหยั่งเห็นบุคคล ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้เสวยบุคคล หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะหยั่งเห็นวิบากของกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงเห็นบุคคลผู้เสวย วิบากของกรรมดีกรรมชั่ว หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะหยั่งเห็นนิพพาน ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้เสวยนิพพานหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะหยั่งเห็นวิบากของกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวย วิบากของกรรมดีกรรมชั่ว หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะหยั่งเห็นมหาปฐพี เพราะหยั่งเห็นมหาสมุทร เพราะหยั่งเห็นขุนเขา สิเนรุ เพราะหยั่งเห็นน้ำ เพราะหยั่งเห็นไฟ เพราะหยั่งเห็นลม ฯลฯ เพราะหยั่งเห็นหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวย หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะหยั่งเห็นวิบากของกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงเห็นบุคคลผู้เสวยวิบาก ของกรรมดีกรรมชั่ว หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. วิบากของกรรมดีและกรรมชั่วเป็นอื่น บุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดี กรรมชั่ว ก็เป็นอื่น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๓๕] ป. ท่านหยั่งเห็นสุขอันเป็นทิพย์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. ท่านหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยสุขอันเป็นทิพย์ หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๓๖] ส. เพราะหยั่งเห็นสุขอันเป็นทิพย์ ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยสุขอัน เป็นทิพย์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ท่านหยั่งเห็นผู้เสวย บุคคลผู้เสวยสุขอันเป็นทิพย์นั้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ท่านหยั่งเห็นผู้เสวย บุคคลผู้เสวยสุขอันเป็นทิพย์นั้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี ความขาดแห่งวัฏฏะก็ไม่มี ความดับรอบอย่าง หาเชื้อมิได้ก็ไม่มี แก่บุคคลนั้นๆ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๓๗] ส. เพราะหยั่งเห็นสุขอันเป็นทิพย์ ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยสุขอัน เป็นทิพย์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะหยั่งเห็นบุคคล ฉะนั้นจึงเห็นผู้เสวยบุคคล หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๓๘] ส. เพราะหยั่งเห็นสุขอันเป็นทิพย์ ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยสุขอันเป็น ทิพย์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะหยั่งเห็นนิพพาน ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยนิพพาน หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๓๙] ส. เพราะหยั่งเห็นสุขอันเป็นทิพย์ ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยสุขอันเป็น ทิพย์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะหยั่งเห็นมหาปฐพี ฯลฯ เพราะหยั่งเห็นมหาสมุทร เพราะหยั่งเห็น ขุนเขาสิเนรุ เพราะหยั่งเห็นน้ำ เพราะหยั่งเห็นไฟ เพราะหยั่งเห็นลม ฯลฯ เพราะหยั่งเห็นหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๔๐] ส. เพราะหยั่งเห็นสุขอันเป็นทิพย์ ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยสุขอันเป็น ทิพย์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สุขอันเป็นทิพย์เป็นอื่น บุคคลผู้เสวยสุขอันเป็นทิพย์ก็เป็นอื่น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๔๑] ป. ท่านหยั่งเห็นสุขของมนุษย์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. ท่านหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยสุขของมนุษย์ หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๔๒] ส. เพราะหยั่งเห็นสุขของมนุษย์ ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยสุขของ มนุษย์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ท่านหยั่งเห็นผู้เสวย บุคคลผู้เสวยสุขของมนุษย์นั้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ท่านหยั่งเห็นผู้เสวย บุคคลผู้เสวยสุขของมนุษย์นั้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี ความขาดแห่งวัฏฏะก็ไม่มี ความดับรอบอย่าง หาเชื้อมิได้ก็ไม่มี แก่บุคคลนั้นๆ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๔๓] ส. เพราะหยั่งเห็นสุขของมนุษย์ ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยสุขของ มนุษย์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะหยั่งเห็นบุคคล ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้เสวยบุคคล หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๔๔] ส. เพราะหยั่งเห็นสุขของมนุษย์ ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยสุขของ มนุษย์หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะหยั่งเห็นนิพพาน ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยนิพพาน หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๔๕] ส. เพราะหยั่งเห็นสุขของมนุษย์ ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยสุขของ มนุษย์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะหยั่งเห็นมหาปฐพี ฯลฯ เพราะหยั่งเห็นมหาสมุทร เพราะหยั่งเห็น ขุนเขาสิเนรุ เพราะหยั่งเห็นน้ำ เพราะหยั่งเห็นไฟ เพราะหยั่งเห็นลม ฯลฯ เพราะหยั่งเห็น หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๔๖] ส. เพราะหยั่งเห็นสุขของมนุษย์ ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยสุขของ มนุษย์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สุขของมนุษย์เป็นอื่น บุคคลผู้เสวยสุขของมนุษย์ก็เป็นอื่นหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๔๗] ป. ท่านหยั่งเห็นทุกข์ที่มีในอบาย หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. ท่านหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในอบาย หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๔๘] ส. เพราะหยั่งเห็นทุกข์ที่มีในอบาย ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มี ในอบาย หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ท่านหยั่งเห็นผู้เสวย บุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในอบายนั้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ท่านหยั่งเห็นผู้เสวย บุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในอบายนั้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี ความขาดแห่งวัฏฏะก็ไม่มี ความดับรอบอย่าง หาเชื้อมิได้ก็ไม่มี แก่บุคคลนั้นๆ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๔๙] ส. เพราะหยั่งเห็นทุกข์ที่มีในอบาย ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มี ในอบาย หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะหยั่งเห็นบุคคล ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้เสวยบุคคล หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๕๐] ส. เพราะหยั่งเห็นทุกข์ที่มีในอบาย ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มี ในอบาย หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะหยั่งเห็นนิพพาน ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยนิพพาน หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๕๑] ส. เพราะหยั่งเห็นทุกข์ที่มีในอบาย ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มี ในอบาย หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะหยั่งเห็นมหาปฐพี ฯลฯ เพราะหยั่งเห็นมหาสมุทร เพราะหยั่งเห็น ขุนเขาสิเนรุ เพราะหยั่งเห็นน้ำ เพราะหยั่งเห็นไฟ เพราะหยั่งเห็นลม ฯลฯ เพราะหยั่งเห็นหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๕๒] ส. เพราะหยั่งเห็นทุกข์ที่มีในอบาย ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มี ในอบาย หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ทุกข์ที่มีในอบายเป็นอื่น บุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในอบายก็เป็นอื่น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๕๓] ป. ท่านหยั่งเห็นทุกข์ที่มีในนรกหรือ? ส. ถูกแล้ว ป. ท่านหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในนรก หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๕๔] ส. เพราะหยั่งเห็นทุกข์ที่มีในนรก ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีใน นรก หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ท่านหยั่งเห็นผู้เสวยบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในนรกนั้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ท่านหยั่งเห็นผู้เสวยบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในนรกนั้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี ความขาดแห่งวัฏฏะก็ไม่มี ความดับรอบอย่าง หาเชื้อมิได้ก็ไม่มี แก่บุคคลนั้นๆ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๕๕] ส. เพราะหยั่งเห็นทุกข์ที่มีในนรก ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มี ในนรก หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะหยั่งเห็นบุคคล ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้เสวยบุคคล หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๕๖] ส. เพราะหยั่งเห็นทุกข์ที่มีในนรก ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มี ในนรก หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะหยั่งเห็นนิพพาน ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยนิพพาน หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๕๗] ส. เพราะหยั่งเห็นทุกข์ที่มีในนรก ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มี ในนรก หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะหยั่งเห็นมหาปฐพี ฯลฯ เพราะหยั่งเห็นมหาสมุทร เพราะหยั่งเห็น ขุนเขาสิเนรุ เพราะหยั่งเห็นน้ำ เพราะหยั่งเห็นไฟ เพราะหยั่งเห็นลม เพราะหยั่งเห็นหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๕๘] ส. เพราะหยั่งเห็นทุกข์ที่มีในนรก ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีใน นรก หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ทุกข์ที่มีในนรกเป็นอื่น บุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในนรกก็เป็นอื่น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๕๙] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจงหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้าง ผู้เสวย วิบากกรรมดีกรรมชั่ว หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลนั้นทำ บุคคลนั้นเองเสวย หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. บุคคลนั้นทำ บุคคลนั้นเองเสวย หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สุขและทุกข์ตัวทำเอง หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๖๐] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้าง ผู้เสวย วิบากกรรมดีกรรมชั่ว หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลอื่นทำ บุคคลอื่นเสวย หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. บุคคลอื่นทำ บุคคลอื่นเสวย หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สุขและทุกข์บุคคลอื่นทำให้หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๖๑] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้าง ผู้เสวยวิบากกรรมดีกรรมชั่ว หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลนั้นและบุคคลอื่นทำ บุคคลนั้นและบุคคลอื่นเสวย หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. บุคคลนั้นและบุคคลอื่นทำ บุคคลนั้นและบุคคลอื่นเสวย หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สุขและทุกข์ตัวทำเองด้วย คนอื่นทำให้ด้วย หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๖๒] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้ทำ ผู้สร้าง ผู้เสวยวิบากกรรมดีกรรมชั่ว หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลนั้นทำก็หาไม่ บุคคลนั้นเองเสวยก็หาไม่ บุคคลอื่นทำก็หาไม่ บุคคลอื่นเสวยก็หาไม่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. บุคคลนั้นทำก็หาไม่ บุคคลนั้นเองเสวยก็หาไม่ บุคคลอื่นทำก็หาไม่ บุคคลอื่นเสวยก็หาไม่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สุขและทุกข์อาศัยสภาพที่มิใช่การทำของตนเอง ไม่ใช่การทำของคนอื่น เกิดขึ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๖๓] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้ทำ ผู้สร้าง ผู้เสวยกรรมดีกรรมชั่ว หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลนั้นทำ บุคคลนั้นเองเสวย บุคคลอื่นทำ บุคคลอื่นเสวย บุคคล นั้นและบุคคลอื่นทำ บุคคลนั้นและบุคคลอื่นเสวย บุคคลนั้นทำก็หาไม่ บุคคลนั้นเองเสวยก็หา ไม่ บุคคลอื่นทำก็หาไม่ บุคคลอื่นเสวยก็หาไม่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. บุคคลนั้นทำ บุคคลนั้นเองเสวย บุคคลอื่นทำ บุคคลอื่นเสวย บุคคล นั้นและบุคคลอื่นทำ บุคคลนั้นและบุคคลอื่นเสวย บุคคลนั้นทำก็หาไม่ บุคคลนั้นเองเสวย ก็หาไม่ บุคคลอื่นทำก็หาไม่ บุคคลอื่นเสวยก็หาไม่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สุขและทุกข์ตัวทำเอง สุขและทุกข์คนอื่นทำให้ สุขและทุกข์ตัวทำเอง ด้วย คนอื่นทำให้ด้วย สุขและทุกข์อาศัยสภาพที่มิใช่การทำของตนเอง มิใช่การทำของบุคคล อื่นเกิดขึ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๖๔] ป. กรรมมีอยู่ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. บุคคลผู้ทำกรรมก็มีอยู่ หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะกรรมมีอยู่ ฉะนั้นบุคคลผู้ทำกรรมจึงมีอยู่ หรือ ป. ถูกแล้ว ส. ผู้สร้างบุคคลผู้ทำกรรมนั้นก็มีอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ผู้สร้างบุคคลผู้ทำกรรมนั้นก็มีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี ความขาดแห่งวัฏฏะก็ไม่มี ความดับรอบอย่าง หาเชื้อมิได้ก็ไม่มีแก่บุคคลนั้นๆ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะกรรมมีอยู่ ฉะนั้นบุคคลผู้ทำกรรมจึงมีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะบุคคลมีอยู่ ฉะนั้นผู้สร้างบุคคลจึงมีอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะกรรมมีอยู่ ฉะนั้นบุคคลผู้ทำกรรมจึงมีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะนิพพานมีอยู่ ฉะนั้นผู้สร้างนิพพานจึงมีอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะกรรมมีอยู่ ฉะนั้นบุคคลผู้ทำกรรมจึงมีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะมหาปถพีมีอยู่ ฯลฯ เพราะมหาสมุทรมีอยู่ ฯลฯ เพราะขุนเขาสิเนรุ มีอยู่ ฯลฯ เพราะน้ำมีอยู่ ฯลฯ เพราะไฟมีอยู่ เพราะลมมีอยู่ ฯลฯ เพราะหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่ามีอยู่ ฉะนั้น ผู้สร้างหญ้า ไม้ และ ต้นไม้เจ้าป่า จึงมีอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะกรรมมีอยู่ บุคคลผู้ทำกรรมจึงมีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. กรรมเป็นอื่น บุคคลผู้ทำกรรมก็เป็นอื่น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ป. วิบากมีอยู่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. บุคคลผู้เสวยวิบากมีอยู่ หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะวิบากมีอยู่ ฉะนั้นบุคคลผู้เสวยวิบากจึงมีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ผู้เสวยบุคคลผู้เสวยวิบากนั้นมีอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ผู้เสวยบุคคลผู้เสวยวิบากนั้นมีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี ความขาดแห่งวัฏฏะก็ไม่มี ความดับรอบอย่าง หาเชื้อมิได้ก็ไม่มี แก่บุคคลนั้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะวิบากมีอยู่ ฉะนั้นบุคคลผู้เสวยวิบากจึงมีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะบุคคลมีอยู่ ฉะนั้นผู้เสวยบุคคลจึงมีอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะวิบากมีอยู่ ฉะนั้นบุคคลผู้เสวยวิบากจึงมีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะนิพพานมีอยู่ ฉะนั้นบุคคลผู้เสวยนิพพานจึงมีอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะวิบากมีอยู่ ฉะนั้นบุคคลผู้เสวยวิบากจึงมีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะมหาปถพีมีอยู่ ฯลฯ เพราะมหาสมุทรมีอยู่ ฯลฯ เพราะขุนเขาสิเนรุ มีอยู่ ฯลฯ เพราะน้ำมีอยู่ ฯลฯ เพราะไฟมีอยู่ ฯลฯ เพราะลมมีอยู่ ฯลฯ เพราะหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่ามีอยู่ ฉะนั้นผู้เสวยหญ้า ไม้ และ ต้นไม้เจ้าป่าจึงมีอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เพราะวิบากมีอยู่ ฉะนั้นบุคคลผู้เสวยวิบากจึงมีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. วิบากเป็นอื่น บุคคลผู้เสวยวิบากก็เป็นอื่น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ย่อ
กัลยาณวรรค จบ
อภิญญานุโยค
[๑๖๕] ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็น บุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. บุคคลบางคนที่แสดงฤทธิ์ได้ก็มีอยู่ มิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า บุคคลบางคนที่แสดงฤทธิ์ได้มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง กล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. บุคคลบางคนที่ฟังเสียงด้วยโสตธาตุเพียงดังทิพย์ได้ ฯลฯ ที่รู้จิตของบุคคล อื่นได้ ฯลฯ ที่ตามระลึกชาติหนหลังได้ ฯลฯ ที่เห็นรูปด้วยจักษุเพียง ดังทิพย์ได้ ฯลฯ ที่ทำให้แจ้งซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะได้ มีอยู่ มิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า บุคคลบางคนที่ทำให้แจ้งซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะได้มีอยู่ ด้วย เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่า บุคคลบางคนที่แสดงฤทธิ์ได้มีอยู่ และด้วย เหตุนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ผู้ใดแสดงฤทธิ์ได้ ผู้นั้นแหละเป็นบุคคล ผู้ใดแสดงฤทธิ์ไม่ได้ ผู้นั้น ไม่ใช่บุคคล หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ผู้ใดฟังเสียงด้วยโสตธาตุเพียงดังทิพย์ได้ ฯลฯ ผู้ใดรู้จิตคนอื่นได้ ฯลฯ ผู้ ใดตามระลึกชาติหนหลังได้ ฯลฯ ผู้ใดเห็นรูปด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ได้ ฯลฯ ผู้ใดทำให้แจ้งซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะได้ ผู้นั้นแหละเป็นบุคคล ผู้ใด ทำให้แจ้งซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะไม่ได้ ผู้นั้นไม่ใช่บุคคล หรือ ฯลฯ ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น
อภิญญานุโยค จบ
-----------------------------------------------------
ญาตกานุโยค
[๑๖๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. มารดามีอยู่มิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า มารดามีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคล ได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. บิดามีอยู่ ฯลฯ พี่น้องชายมีอยู่ พี่น้องหญิงมีอยู่ กษัตริย์มีอยู่ พราหมณ์ มีอยู่ แพศย์มีอยู่ ศูทรมีอยู่ คฤหัสถ์มีอยู่ บรรพชิตมีอยู่ เทวดามีอยู่ มนุษย์มีอยู่ มิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า มนุษย์มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคล ได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ [๑๖๗] ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่า มารดามีอยู่ และด้วยเหตุนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคล ได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมไม่เป็นมารดาแล้วเป็นมารดามีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมไม่เป็นบุคคลแล้วเป็นบุคคลมีอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมไม่เป็นบิดา ฯลฯ ไม่เป็นพี่น้องชายไม่เป็นพี่น้อง หญิง ไม่เป็นกษัตริย์ ไม่เป็นพราหมณ์ ไม่เป็นแพศย์ ไม่เป็นศูทร ไม่เป็น คฤหัสถ์ ไม่เป็นบรรพชิต ไม่เป็นเทวดา ไม่เป็นมนุษย์แล้วเป็นมนุษย์ มีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมไม่เป็นบุคคลแล้วเป็นบุคคลมีอยู่หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๖๘] ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่า มารดามีอยู่ และด้วยเหตุนั้นจึงหยั่งเห็น บุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลบางคนซึ่งเดิมเป็นมารดาแล้วไม่เป็นมารดามีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมเป็นบุคคลแล้วไม่เป็นบุคคลมีอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. บุคคลบางคนซึ่งเดิมเป็นบิดา เป็นพี่น้องชาย เป็นพี่น้องหญิง เป็น กษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ เป็นศูทร เป็นคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิต เป็นเทวดา เป็นมนุษย์ แล้วไม่เป็นมนุษย์มีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมเป็นบุคคลแล้วไม่เป็นบุคคลมีอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๖๙] ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. บุคคลเป็นโสดาบันมีอยู่ มิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า บุคคลเป็นโสดาบันมีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. บุคคลเป็นสกทาคามีมีอยู่ ฯลฯ บุคคลเป็นอนาคามีมีอยู่ ฯลฯ บุคคลเป็น พระอรหัตมีอยู่ ฯลฯ บุคคลเป็นพระขีณาสพผู้อุภโตภาควิมุตมีอยู่ ฯลฯ บุคคลเป็นพระขีณาสพผู้ปัญญาวิมุตมีอยู่ บุคคลเป็นพระอริยะผู้กายสักขี มีอยู่ ฯลฯ บุคคลเป็นพระอริยะผู้ทิฏฐิปัตตะมีอยู่ ฯลฯ บุคคลเป็น พระอริยะผู้สัทธาวิมุตมีอยู่ ฯลฯ บุคคลเป็นพระอริยะผู้ธัมมานุสารีมีอยู่ บุคคลเป็นพระอริยะผู้สัทธานุสารีมีอยู่ มิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า บุคคลเป็นพระอริยะผู้สัทธานุสารีมีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่าน จึงต้องกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ [๑๗๐] ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่า บุคคลเป็นโสดาบันมีอยู่ และด้วยเหตุนั้น จึงหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมไม่เป็นโสดาบัน แล้วเป็นโสดาบันมีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมไม่เป็นบุคคลแล้วเป็นบุคคลมีอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมไม่เป็นสกทาคามี ... ไม่เป็นอนาคามี ... ไม่เป็นพระ อรหันต์ ... ไม่เป็นพระขีณาสพผู้อุภโตภาควิมุต ... ไม่เป็นพระขีณาสพ ผู้ปัญญาวิมุต ... ไม่เป็นพระอริยะผู้กายสักขี ... ไม่เป็นพระอริยะผู้ ทิฏฐิปัตตะ ... ไม่เป็นพระอริยะผู้สัทธาวิมุต ... ไม่เป็นพระอริยะผู้ ธัมมานุสารี ... ไม่เป็นพระอริยะผู้สัทธานุสารีแล้วเป็น พระอริยผู้ สัทธานุสารีมีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมไม่เป็นบุคคลแล้วเป็นบุคคลมีอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๗๑] ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่า บุคคลผู้โสดาบันมีอยู่ และด้วยเหตุนั้น จึง หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมเป็นโสดาบันแล้วไม่เป็นโสดาบันมีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมเป็นบุคคลแล้วไม่เป็นบุคคลมีอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมเป็นสกทาคามี ... เป็นอนาคามีแล้ว ไม่เป็นอนาคามี มีอยู่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมเป็นบุคคล แล้วไม่เป็นบุคคลมีอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๗๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. อริยบุคคล ๔ คู่ ๘ จำพวก มีอยู่มิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า อริยบุคคล ๔ คู่ ๘ จำพวกมีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าว ว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ [๑๗๓] ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่า อริยบุคคล ๔ คู่ ๘ จำพวก มีอยู่ และด้วย เหตุนั้น จึงหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. อริยบุคคล ๔ คู่ ๘ จำพวก ปรากฏขึ้นได้เพราะความปรากฏขึ้นแห่งพระ พุทธเจ้า หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลปรากฏขึ้นได้ เพราะความปรารถนาแห่งพระพุทธเจ้า หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. บุคคลปรากฏขึ้นได้ เพราะความปรารถนาแห่งพระพุทธเจ้า หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว บุคคลขาดสูญไป บุคคล ไม่มีอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๗๔] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลเป็นสังขตะ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. บุคคลเป็นอสังขตะ หรือ ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. บุคคลเป็นสังขตะก็ไม่ใช่ เป็นอสังขตะก็ไม่ใช่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. บุคคลเป็นสังขตะก็ไม่ใช่ เป็นอสังขตะก็ไม่ใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ยังมีส่วนสุดที่ ๓ อื่นนอกเหนือสังขตะและอสังขตะอีกหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ยังมีส่วนสุดที่ ๓ อื่นนอกเหนือสังขตะและอสังขตะอีกหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธาตุนี้มี ๒ อย่าง ๒ อย่างเป็นไฉน ธาตุเป็นสังขตะ ๑ ธาตุเป็นอสังขตะ ๑ นี้แล ธาตุ ๒ อย่าง ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ยังมีส่วนสุดที่ ๓ อื่นนอกเหนือสังขตะและ อสังขตะอีกนะสิ ส. บุคคลเป็นสังขตะก็ไม่ใช่ เป็นอสังขตะก็ไม่ใช่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สังขตะเป็นอื่น อสังขตะก็เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ขันธ์ทั้งหลายเป็นสังขตะ นิพพานเป็นอสังขตะ บุคคลเป็นสังขตะก็ไม่ใช่ เป็นอสังขตะก็ไม่ใช่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ขันธ์ทั้งหลายเป็นอื่น นิพพานก็เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่นหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. รูปเป็นสังขตะ นิพพานเป็นอสังขตะ บุคคลเป็นสังขตะก็ไม่ใช่ เป็น อสังขตะก็ไม่ใช่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. รูปเป็นอื่น นิพพานก็เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเป็นสังขตะ นิพพานเป็นอสังขตะ บุคคลเป็นสังขตะก็ไม่ใช่ เป็นอสังขตะก็ไม่ใช่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. วิญญาณเป็นอื่น นิพพานก็เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๗๕] ส. บุคคลมีความเกิดขึ้นปรากฏ มีความเสื่อมปรากฏ เมื่อตั้งอยู่ มีความ แปรปรวนปรากฏ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลเป็นสังขตะหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตธรรมมี สังขตลักษณะ ๓ อย่างนี้ คือ สังขตธรรมทั้งหลาย มีความเกิดขึ้น ปรากฏมีความเสื่อมปรากฏเมื่อตั้งอยู่มีความแปรปรวนปรากฏ ดังนี้ ๑- บุคคลก็มีความเกิดขึ้นปรากฏ ความเสื่อมก็ปรากฏ เมื่อตั้งอยู่ความ แปรปรวนก็ปรากฏ ถ้าอย่างนั้น บุคคลก็เป็นสังขตะน่ะสิ ส. ความเกิดขึ้นแห่งบุคคลไม่ปรากฏ ความเสื่อมไม่ปรากฏ เมื่อตั้งอยู่ความ แปรปรวนไม่ปรากฏ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลเป็นอสังขตะ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตธรรมมีอสังขต ลักษณะ ๓ อย่างนี้ คือ ความเกิดขึ้นแห่งอสังขตธรรมทั้งหลาย @๑. อํ. ติกฺก. ข้อ ๔๘๖ หน้า ๑๙๒ ไม่ปรากฏ ความเสื่อมไป ไม่ปรากฏ เมื่อตั้งอยู่ ความแปรปรวน ไม่ปรากฏ ดังนี้ ๑- ความเกิดขึ้นแห่งบุคคลก็ไม่ปรากฏ ความเสื่อมก็ไม่ ปรากฏเมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนก็ไม่ปรากฏ ถ้าอย่างนั้น บุคคลก็เป็น อสังขตะนะสิ [๑๗๖] ส. บุคคลผู้ปรินิพพานแล้ว คงมีอยู่ในนิพพาน หรือไม่มีอยู่ในนิพพาน ป. คงมีอยู่ในนิพพาน ส. บุคคลผู้ปรินิพพาน เป็นผู้เที่ยง หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ป. บุคคลผู้ปรินิพพานแล้ว ไม่มีอยู่ในนิพพาน ส. บุคคลผู้ปรินิพพานแล้ว เป็นผู้ขาดสูญ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปกิณณกะ
[๑๗๗] ส. บุคคลอาศัยอะไรตั้งอยู่? ป. อาศัยภพตั้งอยู่ ส. ภพไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางไปเป็นธรรมดา มีความดับไป เป็นธรรมดา มีความแปรไปเป็นธรรมดา หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. แม้บุคคลก็ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็น ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางไปเป็นธรรมดา มีความ ดับไปเป็นธรรมดา มีความแปรไปเป็นธรรมดา หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. แม้บุคคลก็ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็น ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางไปเป็นธรรมดา มีความ ดับไปเป็นธรรมดา มีความแปรไปเป็นธรรมดา หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๗๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. บุคคลบางคนที่เสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาอยู่ มีอยู่ มิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า บุคคลบางคนที่เสวยสุขเวทนาอยู่ก็รู้ชัดว่าเราเสวยสุขเวทนาอยู่ มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิ- กัตถปรมัตถ์ ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. บุคคลบางคนที่เสวยทุกขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา อยู่ ฯลฯ ที่เสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุข- เวทนาอยู่ มีอยู่มิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า บุคคลบางคนที่เสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่าเราเสวย อทุกขมสุขเวทนาอยู่ มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า หยั่งเห็น บุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่า บุคคลบางคนที่เสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาอยู่ มีอยู่ และด้วยเหตุนั้น จึงหยั่งเห็นบุคคลได้โดย สัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ผู้ใดเสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาอยู่ ผู้นั้นเทียว เป็นบุคคล ผู้ใดเสวยสุขเวทนา ไม่รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาอยู่ ผู้นั้น ไม่เป็นบุคคล หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ผู้ใดเสวยทุกขเวทนาอยู่ ฯลฯ ผู้ใดเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ผู้นั้นเทียวเป็นบุคคล ผู้ใดเสวยอทุกขม- สุขเวทนาอยู่ ไม่รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ผู้นั้นไม่เป็น บุคคลหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่า บุคคลบางทีเสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาอยู่ และด้วยเหตุนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ- ปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สุขเวทนาเป็นอื่น ผู้เสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่าเราเสวยสุขเวทนาอยู่ ก็เป็นอื่น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ทุกขเวทนาเป็นอื่น ฯลฯ อทุกขมสุขเวทนาเป็นอื่น ผู้เสวยอทุกขม- เวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ก็เป็นอื่น หรือ? [๑๗๙] ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. บุคคลบางคนที่เป็นผู้พิจารณาเห็นกายอยู่ มีอยู่ มิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า บุคคลบางคนที่เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีอยู่ ด้วยเหตุ นั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ส. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. บุคคลบางคนที่เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ ที่เป็นผู้ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ ที่เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีอยู่มิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า บุคคลบางคนที่เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีอยู่ ด้วย เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่า บุคคลบางคนที่เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกาย อยู่ มีอยู่ และด้วยเหตุนั้น จึงหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ผู้ใดเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ผู้นั้นเทียวเป็นบุคคล ผู้ใดไม่เป็น ผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ผู้นั้นไม่เป็นบุคคล หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ผู้ใดเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ เป็นผู้พิจารณาเห็นจิต ในจิตอยู่ ฯลฯ เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ ผู้นั้นเทียว เป็นบุคคล ผู้ใดไม่เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ ผู้นั้นไม่เป็นบุคคล หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่า บุคคลบางคนที่เป็นผู้พิจารณาเห็นกายใน กายอยู่ มีอยู่ และด้วยเหตุนั้น จึงหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. กายเป็นอื่น บุคคลที่เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ก็เป็นอื่น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เวทนาเป็นอื่น ฯลฯ จิตเป็นอื่น ฯลฯ ธรรมเป็นอื่น บุคคลที่เป็นผู้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ ก็เป็นอื่น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๘๐] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า โมฆราชะ เธอจงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ หยั่งเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ ถอนอัตตานุทิฏฐิเสีย เธอพึงเป็น ผู้ข้ามพ้นมัจจุราชเสีย ได้ด้วยอาการอย่างนี้ เพราะมัจจุราชย่อมไม่ แลเห็นบุคคลผู้หยั่งเห็นโลกอยู่อย่างนี้ ดังนี้ ๑- เป็นสูตรที่มีอยู่จริง มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ นะสิ [๑๘๑] ส. บุคคลหยั่งเห็น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ร่วมกับรูปหยั่งเห็นหรือ หรือว่าเว้นจากรูปหยั่งเห็น ป. ร่วมกับรูปหยั่งเห็น ส. ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ป. เว้นจากรูป หยั่งเห็น ส. ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. บุคคลหยั่งเห็น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. อยู่ภายในหยั่งเห็นหรือ หรือว่าออกไปภายนอกแล้วจึงหยั่งเห็น ป. อยู่ภายในหยั่งเห็น ส. ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @๑. ขุ. สุ. ข้อ ๔๓๙ หน้า ๕๔๙ ป. ออกไปภายนอกแล้วจึงหยั่งเห็น ส. ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๘๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. พระผู้มีพระภาคมีปกติตรัสคำจริง ตรัสสมกาล ตรัสเรื่องที่เป็นจริง ตรัสถูกต้อง ตรัสไม่ผิด ตรัสไม่คลาดเคลื่อนมิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ตน มีอยู่ ๑- ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถ้าอย่างนั้น ก็หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ น่ะสิ ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. พระผู้มีพระภาค มีปกติตรัสคำจริง ตรัสสมกาล ตรัสเรื่องที่เป็นจริง ตรัสถูกต้อง ตรัสไม่ผิด ตรัสไม่คลาดเคลื่อน มิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลคนเดียวเมื่อ บังเกิดขึ้นในโลก ย่อมบังเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คนมาก เพื่อความสุข ของคนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายดังนี้ ๒- เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? @๑. อํ. จตุ. ข้อ ๙๖ หน้า ๑๒๕, อภิ. ปุ. ข้อ ๑๐ หน้า ๑๓๖ @๒. อํ. เอก. ข้อ ๑๓๙ หน้า ๒๘ ส. ถูกแล้ว ป. ถ้าอย่างนั้น ก็หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ น่ะสิ [๑๘๓] ส. หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาค มีปกติตรัสคำจริง ตรัสสมกาล ตรัสเรื่องที่เป็นจริง ตรัสถูกต้อง ตรัสไม่ผิด ตรัสไม่คลาดเคลื่อน มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ดังนี้ เป็นสูตร มีอยู่จริง มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ นะสิ [๑๘๔] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาค มีปกติตรัสคำจริง ตรัสสมกาล ตรัสเรื่องที่เป็นจริง ตรัสถูกต้อง ตรัสไม่ผิด ตรัสไม่คลาดเคลื่อน มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า อริยสาวกไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลงว่า เมื่อบังเกิด ทุกข์เท่านั้นบังเกิดขึ้น เมื่อดับ ทุกข์เท่านั้นดับไป ในข้อนี้อริยสาวกนั้นหยั่งรู้ได้โดยไม่ต้องอาศัยผู้อื่นทีเดียว เพียง เท่านี้แลกัจจานะ เป็นสัมมาทิฏฐิ ดังนี้ ๑- เป็นสูตร มีอยู่จริง มิใช่หรือ? @๑. สํ. ส. ข้อ ๔๓ หน้า ๒๑ ป. ถูกแล้ว ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ นะสิ [๑๘๕] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระวชิราภิกษุณีได้กล่าวกะมารผู้มีบาปว่าดังนี้ ดูกรมารท่านเชื่อว่าเป็น สัตว์หรือหนอ นั่นเป็นความเห็นของท่านหรือหนอ นี้เป็นกลุ่มสังขาร ล้วน ๆ ในกลุ่มสังขารนี้จะค้นหาสัตว์ไม่ได้ เพราะคุมส่วนทั้งหลาย เข้า เสียงเรียกว่ารถจึงมีได้ แม้ฉันใด เมื่อขันธ์ทั้งหลายยังมีอยู่ สมมติว่าสัตว์ก็มีได้ฉันนั้น. ความจริงทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้น ตั้งอยู่และเสื่อมสิ้นไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์นะสิ [๑๘๖] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ดังนี้ พระพุทธเจ้าข้า ที่กล่าวกันว่า โลกสูญ โลกสูญ นั้น ด้วยเหตุเพียงไรพระเจ้าข้า จึงจะ กล่าวได้ว่า โลกสูญ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์ เพราะสูญโดยตนหรือโดยของที่เนื่องกับตน ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า โลกสูญ อะไรเล่าอานนท์ที่สูญโดยตนหรือโดยของที่เนื่องกับตน จักษุแล สูญโดยตนหรือโดยของที่เนื่องกับตน รูปสูญ ฯลฯ จักขุ วิญญาณสูญ ฯลฯ จักขุสัมผัสสูญ ฯลฯ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย จึงเกิดความรู้สึกเสวยอารมณ์ สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ทุกข์ ไม่สุข ก็ตาม อันใด แม้อันนั้น ก็สูญโดยตนหรือโดยของที่เนื่องกับตน โสตะสูญ ฯลฯ @๑. สํ. ส. ข้อ ๕๕๔ หน้า ๑๙๘ เสียงสูญ ฯลฯ ฆานะสูญ ... กลิ่นสูญ ฯลฯ ชิวหาสูญ ... รสสูญ ฯลฯ กายสูญ ... โผฏฐัพพะสูญ ฯลฯ มโนสูญ ... ธัมมารมณ์สูญ ... มโน วิญญาณสูญ ... มโนสัมผัสสูญ ... เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย จึงเกิด ความรู้สึกเสวยอารมณ์ สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ทุกข์ไม่สุขก็ตาม อันใด แม้อันนั้น ก็สูญโดยตนหรือโดยของเนื่องกับตน ดูกรอานนท์ เพราะสูญโดยตนหรือโดยของที่เนื่องกับตน ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า โลกสูญ ดังนี้ ๑- เป็นพระสูตร มีอยู่จริง มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ นะสิ [๑๘๗] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาค มีปกติตรัสคำจริง ตรัสสมกาล ตรัสเรื่องที่เป็นจริง ตรัสถูกต้อง ตรัสไม่ผิด ตรัสไม่คลาดเคลื่อน มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อตนก็ดีมีอยู่ พึงมีคำ พูดว่า ของที่เนื่องกับตนของเราหรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า อย่างนั้นพระพุทธเจ้าข้า ตรัสว่า เมื่อของที่เนื่องกับตนก็ดีมีอยู่ พึงมี คำพูดว่า ตนของเราหรือ กราบทูลว่า อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อทั้งตนและของที่เนื่องกับตนจะหยั่งเห็น ไม่ได้ โดยความเป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ เหตุเป็นที่ตั้ง แห่งทิฏฐิว่า โลกก็อันนั้น ตนก็อันนั้น เรานั้นละไปแล้ว จักเป็นผู้ เที่ยง ยั่งยืน คงที่ มีอันไม่แปรไปเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่อย่างนั้น เทียวคงที่เสมอไป ดังนี้ ก็เป็นธรรมของคนพาลบริบูรณ์สิ้นเชิง มิใช่ หรือ กราบทูลว่า ไม่พึงเป็นอะไรๆ อื่นพระพุทธเจ้าข้า เป็นธรรมของ คนพาลบริบูรณ์สิ้นเชิงทีเดียว พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้ ๒- เป็นสูตรมีอยู่ จริง มิใช่หรือ? @๑. ขุ. ป. ข้อ ๖๓๓ หน้า ๕๕๐ @๒. ม. มู. ข้อ ๖๘๔ หน้า ๒๗๕ ป. ถูกแล้ว ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ นะสิ [๑๘๘] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาค มีปกติตรัสคำจริง ตรัสสมกาล ตรัสเรื่องที่เป็นจริง ตรัสถูกต้อง ตรัสไม่ผิด ตรัสไม่คลาดเคลื่อน มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรเสนิยะ ศาสดา ๓ จำพวกนี้มี อยู่ปรากฏ อยู่ในโลก ๓ จำพวกเป็นไฉน ศาสดาบางคนในโลกนี้ บัญญัติอัตตา โดยความเป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ ทั้งในปัจจุบัน ทั้งใน สัมปรายภพ อนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ บัญญัติอัตตาโดยความ เป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ แต่ในปัจจุบันไม่บัญญัติเช่น นั้นในสัมปรายภพ อนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ ไม่บัญญัติอัตตา โดยความเป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ ทั้งในปัจจุบัน ทั้งใน สัมปรายภพ ใน ๓ จำพวกนั้น ศาสดาที่บัญญัติอัตตาโดยความ เป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ ทั้งในปัจจุบัน ทั้งใน สัมปรายภพ นี้เรียกว่า สัสสตวาท ศาสดาที่บัญญัติอัตตา โดย ความเป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ แต่ในปัจจุบัน ไม่บัญญัติ เช่นนั้นในสัมปรายภพ นี้เรียกว่า อุจเฉทวาท ศาสดาที่ไม่บัญญัติ อัตตาโดยความเป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ นี้เรียกว่า สัมมาสัมพุทธะ ดูกรเสนิยะ ศาสดา ๓ จำพวกนี้แล มีอยู่ ปรากฏอยู่ในโลก ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ นะสิ @๑. เทียบ อภิ. ปุ. ข้อ ๑๐๓ [๑๘๙] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคเจ้า มีปกติตรัสคำจริง ตรัสสมกาล ตรัสเรื่องที่เป็นจริง ตรัสถูกต้อง ตรัสไม่ผิด ตรัสไม่คลาดเคลื่อน มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า หม้อเนยใส หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ใครๆ ที่ทำหม้อเนยใสมีอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ นะสิ [๑๙๐] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาค มีปกติตรัสคำจริง ตรัสสมกาล ตรัสเรื่องที่เป็นจริง ตรัสถูกต้อง ตรัสไม่ผิด ตรัสไม่คลาดเคลื่อน มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าหม้อน้ำมัน ... หม้อน้ำผึ้ง ... หม้อน้ำอ้อย ... หม้อ น้ำนม ... หม้อน้ำ ... ภาชนะน้ำดื่ม ... กระติกน้ำดื่ม ... ขันน้ำดื่ม ... นิตยภัต ... ธุวยาคู หรือ ป. ถูกแล้ว ส. ยาคูบางอย่าง เป็นของเที่ยง ยั่งยืน คงทน มีอันไม่แปรไปเป็นธรรมดา หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ น่ะสิ ฯลฯ ย่อ
ปุคคลกถา จบ
ปริหานิกถา
[๑๙๑] สกวาที พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตผลได้หรือ? ปรวาที ถูกแล้ว ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตผลได้ในภพทั้งปวงหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตผลได้ในภพทั้งปวง หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เหตุเสื่อมของพระอรหันต์ (มีได้) ในภพทั้งปวง หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ป. ถูกแล้ว ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้ในกาลทั้งปวง หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เหตุเสื่อมของพระอรหันต์ (มีได้) ในกาลทั้งปวง หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระอรหันต์ทุกองค์เทียว เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. พระอรหันต์ทุกองค์เทียว เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เหตุเสื่อมของพระอรหันต์ (มีได้) ทุกองค์เทียว หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๙๒] ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระอรหันต์เมื่อเสื่อมจากอรหัตผล ย่อมเสื่อมจากผลทั้งสี่ หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ป. เศรษฐีดำรงตำแหน่งเศรษฐีอยู่ด้วยทรัพย์สี่แสน เมื่อทรัพย์แสนหนึ่งสิ้น ไป ย่อมเสื่อมจากตำแหน่ง หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. ย่อมเสื่อมจากสมบัติทั้งปวง หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เศรษฐีดำรงตำแหน่งเศรษฐีอยู่ด้วยทรัพย์สี่แสน เมื่อทรัพย์แสนหนึ่งสิ้น ไป เป็นผู้ควรจะเสื่อมจากสมบัติทั้งปวงหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระอรหันต์ เมื่อเสื่อมจากอรหัตผล เป็นผู้ควรจะเสื่อมจากผลทั้งสี่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๙๓] ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตผลได้หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๙๔] ส. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๙๕] ส. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๙๖] ส. พระโสดาบันย่อมไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระอรหันต์ย่อมไม่เสื่อมจากอรหัตผลหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. พระสกทาคามีย่อมไม่เสื่อมจากสกทาคามิผลหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระอรหันต์ย่อมไม่เสื่อมจากอรหัตผลหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. พระอนาคามีย่อมไม่เสื่อมจากอนาคามิผลหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระอรหันต์ย่อมไม่เสื่อมจากอรหัตผลหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๙๗] ส. พระโสดาบันย่อมไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระอนาคามีย่อมไม่เสื่อมจากอนาคามิผลหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. พระสกทาคามีย่อมไม่เสื่อมจากสกทาคามิผลหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระอนาคามีย่อมไม่เสื่อมจากอนาคามิผลหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๙๘] ส. พระโสดาบันย่อมไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลหรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระสกทาคามีย่อมไม่เสื่อมจากสกทาคามิผลหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๙๙] ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระอรหันต์ เมื่อเสื่อมจากอรหัตผล ย่อมตั้งอยู่ในธรรมอะไร? ป. ในอนาคามิผล ส. พระอนาคามี เมื่อเสื่อมจากอนาคามิผล ย่อมตั้งอยู่ในธรรมอะไร? ป. ในสกทาคามิผล ส. พระสกทาคามี เมื่อเสื่อมจากสกทาคามิผล ย่อมตั้งอยู่ในธรรมอะไร? ป. ในโสดาปัตติผล ส. พระโสดาบัน เมื่อเสื่อมจากโสดาปัตติผล ย่อมตั้งอยู่ในภูมิแห่งปุถุชน หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ท่านจงรับรู้นิคหะ, หากว่า พระอรหันต์เมื่อเสื่อมจากอรหัตผลย่อมตั้ง อยู่ในอนาคามิผล พระอนาคามีเมื่อเสื่อมจากอนาคามิผลย่อมตั้งอยู่ใน สกทาคามิผล พระสกทาคามีเมื่อเสื่อมจากสกทาคามิผลย่อมตั้งอยู่ใน โสดาปัตติผล ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า พระโสดาบันเมื่อ เสื่อมจากโสดาปัตติผล ย่อมตั้งอยู่ในภูมิแห่งปุถุชน [๒๐๐] ส. พระอรหันต์ เมื่อเสื่อมจากอรหัตผล ย่อมตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถัดจากโสดาปัตติผลท่านก็ทำให้แจ้ง ซึ่งอรหัตผลทีเดียว หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ใครละกิเลสได้มากกว่า พระอรหันต์หรือพระโสดาบัน ? ป. พระอรหันต์ ส. หากว่า พระอรหันต์ละกิเลสได้มากกว่า และพระอรหันต์เสื่อมจาก อรหัตผลได้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า พระโสดาบันเสื่อมจาก โสดาปัตติผลได้

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๑-๒๓๒๐ หน้าที่ ๑-๙๘. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=1&Z=2320&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=37&item=1&items=1897              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=37&item=1&items=1897&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=37&item=1&items=1897              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=37&item=1&items=1897              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_37

แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :