ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑
             [๒๔๕]  ก็โดยสมัยนั้นแล  พระฉัพพัคคีย์มีอาบัติติดตัวได้ปวารณา.  ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.  พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามแก่ภิกษุทั้งหลายว่า  ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย  ภิกษุมีอาบัติติดตัวไม่พึงปวารณา รูปใดปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ภิกษุผู้มีอาบัติติดตัวปวารณา รูปนั้นทำโอกาส โจทด้วยอาบัติ.
             สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์อันสงฆ์ให้ทำโอกาส ก็ไม่ปรารถนาจะทำโอกาส.  ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.  พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า  ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้งดปวารณาของภิกษุผู้ไม่ยอมทำโอกาส.
วิธีงดปวารณา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงงดปวารณาอย่างนี้:- เมื่อถึงวันปวารณา ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้ มีอาบัติติดตัวปวารณา ข้าพเจ้า ของดปวารณาของเธอเสีย เมื่อเธอยังอยู่พร้อมหน้า สงฆ์ไม่พึงปวารณา. เท่านี้ เป็นอันงดปวารณาแล้ว. สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์หารือกันว่า ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก งดปวารณาของ พวกเราก่อน ดังนี้ จึงรีบงดปวารณาของภิกษุที่บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติเสียก่อน เพราะเรื่องอันไม่ สมควร เพราะเหตุอันไม่สมควร แม้ปวารณาของภิกษุที่ปวารณาแล้วก็งดด้วย. ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงงดปวารณา ของภิกษุผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติ เพราะเรื่องอันไม่สมควร เพราะเหตุ อันไม่สมควร รูปใดงด ต้องอาบัติทุกกฏ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง แม้ปวารณาของภิกษุ ที่ปวารณาแล้ว ก็ไม่พึงงด รูปใดงด ต้องอาบัติทุกกฏ.
ลักษณะปวารณาที่ไม่เป็นอันงด


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ บรรทัดที่ ๗๑๓๒-๗๑๕๓ หน้าที่ ๒๙๒-๒๙๓. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=4&A=7132&Z=7153&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=4&item=245&items=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=4&item=245&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=4&item=245&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=4&item=245&items=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=245              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_4

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :