บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]
๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๙ นิทานวัตถุ
๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๙ ว่าด้วยการสาปแช่งตนเองและผู้อื่น เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี [๘๗๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายไม่เห็นสิ่งของของ ตนได้กล่าวกับภิกษุณีจัณฑกาลีดังนี้ว่า แม่เจ้า ท่านเห็นสิ่งของของพวกเราบ้างไหม ภิกษุณีจัณฑกาลีตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ดิฉันนี่แหละที่เป็นขโมย ดิฉันนี่แหละไม่มีความละอาย พวกแม่เจ้าที่ไม่เห็นสิ่งของของตนต่างพากันกล่าวกับ ดิฉันอย่างนี้ว่า เห็นสิ่งของของพวกเราบ้างไหม แม่เจ้า ถ้าดิฉันเอาสิ่งของของ พวกท่านไป ดิฉันก็จงเป็นผู้ไม่ใช่สมณะหญิง จงเคลื่อนจากพรหมจรรย์ จงบังเกิดใน นรก ส่วนผู้ที่กล่าวหาดิฉันด้วยเรื่องที่ไม่จริงก็จงไม่เป็นสมณะหญิง จงเคลื่อนจาก พรหมจรรย์ จงบังเกิดในนรก บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉน แม่เจ้าจัณฑกาลีจึงสาปแช่งตนเองบ้าง ผู้อื่นบ้าง ด้วยนรกบ้าง ด้วยพรหมจรรย์๑- บ้าง เล่า ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุ ได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีจัณฑกาลีสาปแช่งตนเอง @เชิงอรรถ : @๑ สาปแช่งด้วยนรกด้วยพรหมจรรย์ในที่นี้ คือด่าโดยนัยเป็นต้นว่า ขอให้ดิฉันจงบังเกิดในนรกอเวจี หรือ @ขอให้ผู้อื่นจงบังเกิดในนรกอเวจี ขอให้ดิฉันเป็นคฤหัสถ์ กลับไปนุ่งผ้าขาว เป็นปริพาชิกา หรือขอให้ผู้อื่น @จงเป็นอย่างที่ดิฉันเป็นนี้ คือสาปแช่งตนและผู้อื่นให้ตกนรก สาปแช่งตนและผู้อื่นให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์ @(วิ.อ. ๒/๘๗๕/๔๙๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๗๙}
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]
๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๙ บทภาชนีย์
บ้าง ผู้อื่นบ้าง ด้วยนรกบ้าง ด้วยพรหมจรรย์บ้าง จริงหรือ ภิกษุทั้งหลายทูลรับ ว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า ฯลฯ ภิกษุ ทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจัณฑกาลีจึงสาปแช่งตนเองบ้าง ผู้อื่นบ้าง ด้วยนรกบ้าง ด้วยพรหมจรรย์บ้างเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่ เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ แล้ว จึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้พระบัญญัติ [๘๗๕] ก็ภิกษุณีใดสาปแช่งตนเองหรือผู้อื่นด้วยนรกหรือด้วยพรหมจรรย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี จบ สิกขาบทวิภังค์ [๘๗๖] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระ ผู้มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ คำว่า ตนเอง คือ เฉพาะตัวเอง คำว่า ผู้อื่น ได้แก่ อุปสัมบัน ภิกษุณีสาปแช่ง(อุปสัมบัน)ด้วยนรกหรือด้วย พรหมจรรย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์บทภาชนีย์ ติกปาจิตตีย์ [๘๗๗] อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน สาปแช่งด้วยนรกหรือ ด้วยพรหมจรรย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๘๐}
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]
๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๙ อนาปัตติวาร
อุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ สาปแช่งด้วยนรกหรือด้วยพรหมจรรย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน สาปแช่งด้วยนรกหรือด้วย พรหมจรรย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกกฏ ภิกษุณีสาปแช่งด้วย(คำที่บ่งถึง)กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เปรตวิสัย หรือคน โชคร้าย๑- ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีสาปแช่งอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๘๗๘] ๑. ภิกษุณีมุ่งอรรถ๒- ๒. ภิกษุณีมุ่งธรรม๓- ๓. ภิกษุณีมุ่งสั่งสอน ๔. ภิกษุณีวิกลจริต ๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติสิกขาบทที่ ๙ จบ @เชิงอรรถ : @๑ คือสาปแช่งให้เป็นคนมีรูปร่างแปลกประหลาดว่า ขอให้เราตาบอด เป็นง่อย หรือให้คนอื่นเป็นอย่างนี้ๆ @(กงฺขา.ฏีกา ๔๙๗) @๒ มุ่งอรรถ ในที่นี้หมายถึงกล่าวอรรถกถา (วิ.อ. ๒/๘๗๘/๔๙๘) @๓ มุ่งธรรม ในที่นี้หมายถึงบอกบาลี (วิ.อ. ๒/๘๗๘/๔๙๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๘๑}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๑๗๙-๑๘๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=3&siri=47 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=3085&Z=3135 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=213 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=213&items=4 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11435 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=213&items=4 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11435 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.213 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc19/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc19/en/horner
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]