ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๗ นิทานวัตถุ

๗. คัพภินีวรรค
สิกขาบทที่ ๗
ว่าด้วยการบวชให้หญิงที่มีครอบครัวซึ่งสงฆ์ยังไม่ได้สมมติ
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๑๐๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีบวชให้หญิงที่มีครอบครัว มีอายุครบ ๑๒ ปีผู้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวว่า “สิกขมานาทั้งหลาย พวกเธอจงมานี่ จงรู้สิ่งนี้ ประเคนสิ่งนี้ นำสิ่งนี้มา ฉันต้องการสิ่งนี้ จงทำสิ่งนี้ให้เป็นกัปปิยะ” สิกขมานาเหล่านั้นตอบว่า “แม่เจ้า พวกดิฉันมิใช่สิกขมานา พวกดิฉันเป็น ภิกษุณี” บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน พวกภิกษุณีบวชให้หญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปีผู้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไป บอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีบวชให้หญิงที่มี ครอบครัว มีอายุครบ ๑๒ ปีผู้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแต่สงฆ์ยังไม่ ่ได้สมมติ จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระ ภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงบวชให้หญิงที่ มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปีผู้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อ ตลอด๒ ปีแต่สงฆ์ยังไม่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๑๒}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๗ นิทานวัตถุ

ได้สมมติเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ทรง แสดงธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีสงฆ์ ให้วุฏฐานสมมติแก่หญิงที่มีครอบครัวมีอายุ ๑๒ ปีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้วุฏฐานสมมติอย่างนี้
วิธีขอสิกขาสมมติและกรรมวาจาให้วุฏฐานสมมติ
หญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปีผู้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี แล้วนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุณีทั้งหลาย นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวว่า “แม่เจ้า ดิฉันชื่อนี้เป็นหญิงที่มีครอบครัวของ แม่เจ้าชื่อนี้ มีอายุครบ ๑๒ ปี ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว ขอ วุฏฐานสมมติต่อสงฆ์” พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า [๑๑๐๒] “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า หญิงชื่อนี้เป็นหญิงที่มีครอบครัวของ แม่เจ้าชื่อนี้ มีอายุครบ ๑๒ ปี ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว ขอ วุฏฐานสมมติต่อสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงให้วุฏฐานสมมติแก่หญิงชื่อนี้เป็น หญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว นี่เป็นญัตติ แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า หญิงชื่อนี้เป็นหญิงที่มีครอบครัวของแม่เจ้าชื่อนี้ มีอายุครบ ๑๒ ปี ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว ขอวุฏฐานสมมติ ต่อสงฆ์ สงฆ์ให้วุฏฐานสมมติแก่หญิงชื่อนี้เป็นหญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการให้ วุฏฐานสมมติแก่หญิงชื่อนี้เป็นหญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปีผู้ได้ศึกษาสิกขา ในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้า รูปนั้นพึงทักท้วง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๑๓}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๗ สิกขาบทวิภังค์

วุฏฐานสมมติสงฆ์ให้แก่หญิงชื่อนี้เป็นหญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปีผู้ ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้” พระผู้มีพระภาคครั้นทรงตำหนิภิกษุณีเหล่านั้นโดยประการต่างๆ แล้วตรัส โทษแห่งความเป็นผู้เลี้ยงยาก ฯลฯ แล้วรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๑๑๐๓] ก็ภิกษุณีใดบวชให้หญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปีผู้ได้ศึกษา สิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๐๔] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า มีอายุครบ ๑๒ ปี คือ มีอายุถึง ๑๒ ปีแล้ว ที่ชื่อว่า หญิงที่มีครอบครัว พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงหญิงที่เคยอยู่ร่วม กับชาย คำว่า ตลอด ๒ ปี คือ สิ้น ๒ ปี ที่ชื่อว่า ผู้ศึกษาสิกขา คือ ได้ศึกษาในธรรม ๖ ข้อแล้ว ที่ชื่อว่า ยังไม่ได้สมมติ คือ สงฆ์ยังมิได้ให้การรับรองการบวชด้วยญัตติ ทุติยกรรม คำว่า บวชให้ คือ อุปสมบทให้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๑๔}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๗ อนาปัตติวาร

ภิกษุณีตั้งใจว่า “จะบวชให้” แล้วแสวงหาคณะ อาจารย์ บาตรหรือจีวร หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๑๐๕] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง บวชให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง บวชให้ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์
ติกทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง บวชให้ ต้อง อาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง บวชให้ ต้อง อาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๑๑๐๖] ๑. ภิกษุณีบวชให้หญิงที่มีครอบครัว มีอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ได้ศึกษา สิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีและสงฆ์สมมติแล้ว ๒. ภิกษุณีวิกลจริต ๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๑๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๓๑๒-๓๑๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=3&siri=95              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=5257&Z=5336                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=388              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=388&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11769              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=388&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11769                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.388 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc67/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc67/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :