บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๓๙. อาหุนทริกวัตถุ ว่าด้วยทิศคับแคบ [๑๐๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์เพียงแห่งเดียว ทั้งฤดูฝน ฤดูหนาวและฤดูร้อน มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนา ว่า ทิศทั้งหลายคับแคบ มืดมนสำหรับพวกพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ จึงมองไม่เห็นทิศทาง ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคจึงรับสั่งกับพระอานนท์ว่า อานนท์ เธอจงไป ถอดดาลแจ้งภิกษุทั้งหลายในบริเวณวิหารว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์จะเสด็จจาริกไปยังทักขิณาคิรีชนบท ท่านผู้ใดมีความประสงค์ ท่าน ผู้นั้นจงมา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๕๖}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]
๔๐. นิสสยมุจจนกกถา
ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระพุทธบัญชาแล้ว จึงถอดดาลแจ้งภิกษุทั้งหลาย ในบริเวณวิหารว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงประสงค์จะเสด็จจาริกไปยัง ทักขิณาคิรีชนบท ท่านผู้ใดมีความประสงค์ ท่านผู้นั้นจงมา ภิกษุทั้งหลายเรียนชี้แจงว่า ท่านพระอานนท์ พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติให้ ภิกษุถือนิสสัยอยู่ ๑๐ พรรษา และให้ภิกษุมีพรรษาครบ ๑๐ ให้นิสสัยได้ พวกผม จะต้องไปในทักขิณาคิรีชนบทนั้น ก็ต้องถือนิสสัย พักอยู่เพียงเล็กน้อย ก็ต้องกลับ มาอีก และต้องถือนิสสัยอีกด้วย ถ้าพระอุปัชฌาย์และพระอาจารย์ของพวกผมไป พวกผมก็จะไปด้วย ถ้าพระอุปัชฌาย์และพระอาจารย์ของพวกผมไม่ไป พวกผมก็จะ ไม่ไป ท่านพระอานนท์ ความที่พวกผมมีจิตใจโลเลจักปรากฏ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้เสด็จจาริกไปยังทักขิณาคิรีชนบทพร้อมด้วยภิกษุ สงฆ์จำนวนน้อย๔๐. นิสสยมุจจนกกถา ว่าด้วยการถือนิสสัยและการพ้นนิสสัย [๑๐๓] ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ทักขิณาคิรีชนบทตามพระอัธยาศัยแล้ว ก็เสด็จกลับมายังกรุงราชคฤห์ตามเดิมอีก ได้ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มาสอบถามว่า อานนท์ ตถาคตได้จาริกไปยังทักขิณาคิรีชนบทพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จำนวนน้อย เพราะเหตุไร ท่านพระอานนท์จึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบทรงอนุญาตให้ถือนิสสัย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้วรับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาดสามารถถือนิสสัยอยู่ ๕ พรรษา ให้ภิกษุผู้ไม่ฉลาดถือนิสสัยอยู่จนตลอดชีวิต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๕๗}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]
๔๐. นิสสยมุจจนกกถา
องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัยไม่ได้ คือ ๑. ไม่ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ ๒. ไม่ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ ๓. ไม่ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ ๔. ไม่ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ ๕. ไม่ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ นิสสัยไม่ได้ (๑)องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัย คือ ๑. ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ ๒. ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ ๓. ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ ๔. ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ ๕. ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือ นิสสัย (๒)องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ นิสสัยไม่ได้ คือ ๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ ๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้เกียจคร้าน ๕. เป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๕๘}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]
๔๐. นิสสยมุจจนกกถา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ นิสสัยไม่ได้ (๓)องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัย คือ ๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีหิริ ๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร ๕. เป็นผู้มีสติตั้งมั่น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือ นิสสัย (๔)องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ นิสสัยไม่ได้ คือ ๑. เป็นผู้มีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. เป็นผู้มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร ๓. เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังน้อย ๕. เป็นผู้มีปัญญาทราม ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ นิสสัยไม่ได้ (๕)องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัย คือ ๑. เป็นผู้ไม่มีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. เป็นผู้ไม่มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร ๓. เป็นผู้ไม่มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก ๕. เป็นผู้มีปัญญา ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือ นิสสัย (๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๕๙}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]
๔๐. นิสสยมุจจนกกถา
องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ นิสสัยไม่ได้ คือ ๑. ไม่รู้จักอาบัติ ๒. ไม่รู้จักอนาบัติ ๓. ไม่รู้จักอาบัติเบา ๔. ไม่รู้จักอาบัติหนัก ๕. จำปาติโมกข์ทั้งสองโดยพิสดารไม่ได้ดี จำแนกไม่ได้ดี ไม่คล่องแคล่วดี วินิจฉัยโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะไม่ได้ดี ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ นิสสัยไม่ได้ (๗)องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัย คือ ๑. รู้จักอาบัติ ๒. รู้จักอนาบัติ ๓. รู้จักอาบัติเบา ๔. รู้จักอาบัติหนัก ๕. จำปาติโมกข์ทั้งสองโดยพิสดารได้ดี จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี วินิจฉัยโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะได้ดี ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือ นิสสัย (๘)องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ นิสสัยไม่ได้ คือ ๑. ไม่รู้จักอาบัติ ๒. ไม่รู้จักอนาบัติ ๓. ไม่รู้จักอาบัติเบา ๔. ไม่รู้จักอาบัติหนัก ๕. มีพรรษาหย่อน ๕ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ นิสสัยไม่ได้ (๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๖๐}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]
๔๐. นิสสยมุจจนกกถา
องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัย คือ ๑. รู้จักอาบัติ ๒. รู้จักอนาบัติ ๓. รู้จักอาบัติเบา ๔. รู้จักอาบัติหนัก ๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือ นิสสัย (๑๐)ปัญจกทสวาร จบ องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย [๑๐๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ นิสสัยไม่ได้ คือ ๑. ไม่ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ ๒. ไม่ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ ๓. ไม่ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ ๔. ไม่ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ ๕. ไม่ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ ๖. มีพรรษาหย่อน ๕ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ นิสสัยไม่ได้ (๑)องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัย คือ ๑. ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ ๒. ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ ๓. ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๖๑}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]
๔๐. นิสสยมุจจนกกถา
๔. ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ ๕. ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ ๖. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือ นิสสัย (๒)องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ นิสสัยไม่ได้ คือ ๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ ๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้เกียจคร้าน ๕. เป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน ๖. มีพรรษาหย่อน ๕ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ นิสสัยไม่ได้ (๓)องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัย คือ ๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีหิริ ๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร ๕. เป็นผู้มีสติตั้งมั่น ๖. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือ นิสสัย (๔)องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ นิสสัยไม่ได้ คือ ๑. เป็นผู้มีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. เป็นผู้มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร ๓. เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังน้อย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๖๒}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]
๔๐. นิสสยมุจจนกกถา
๕. เป็นผู้มีปัญญาทราม ๖. มีพรรษาหย่อน ๕ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ นิสสัยไม่ได้ (๕)องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัย คือ ๑. เป็นผู้ไม่มีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. เป็นผู้ไม่มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร ๓. เป็นผู้ไม่มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก ๕. เป็นผู้มีปัญญา ๖. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือ นิสสัย (๖)องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ นิสสัยไม่ได้ คือ ๑. ไม่รู้จักอาบัติ ๒. ไม่รู้จักอนาบัติ ๓. ไม่รู้จักอาบัติเบา ๔. ไม่รู้จักอาบัติหนัก ๕. จำปาติโมกข์ทั้งสองโดยพิสดารไม่ได้ดี จำแนกไม่ได้ดี ไม่คล่อง แคล่วดี วินิจฉัยโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะไม่ได้ดี ๖. มีพรรษาหย่อน ๕ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ นิสสัยไม่ได้ (๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๖๓}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]
๔๑. ราหุลวัตถุ
องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัย คือ ๑. รู้จักอาบัติ ๒. รู้จักอนาบัติ ๓. รู้จักอาบัติเบา ๔. รู้จักอาบัติหนัก ๕. จำปาติโมกข์ทั้งสองโดยพิสดารได้ดี จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี วินิจฉัยโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะได้ดี ๖. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือ นิสสัย (๘)นิสสัยมุจจนกกถา จบ อภยูวรภาณวารที่ ๘ จบ เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๑๕๖-๑๖๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=4&siri=39 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=4&A=3136&Z=3320 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=115 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=4&item=115&items=3 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=1471 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=4&item=115&items=3 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=1471 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu4 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/04i001-e.php#topic53 https://suttacentral.net/pli-tv-kd1/en/brahmali#pli-tv-kd1:53.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd1/en/horner-brahmali#Kd.1.53
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]