ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๑
๑๒๒. ปวารณาทานานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาตให้ภิกษุเป็นไข้มอบปวารณา
เรื่องภิกษุเป็นไข้มอบปวารณา
[๒๑๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงประชุมกัน สงฆ์จักปวารณา” เมื่อพระองค์ตรัสอย่างนี้ ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “มี ภิกษุเป็นไข้อยู่ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้เป็นไข้นั้นมาไม่ได้” พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เป็นไข้มอบปวารณา” ภิกษุทั้งหลาย ก็แล ภิกษุผู้เป็นไข้พึงมอบปวารณาอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๓๘}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ]

๑๒๒. ปวารณาทานานุชานนา

ภิกษุผู้เป็นไข้นั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระ โหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ข้าพเจ้าขอมอบปวารณา ท่านจงนำ ปวารณาของข้าพเจ้าไป จงบอกปวารณาของข้าพเจ้า จงปวารณาแทนข้าพเจ้า” ภิกษุผู้มอบปวารณา ให้ภิกษุผู้รับมอบปวารณารู้ด้วยกาย ให้รู้ด้วยวาจา หรือ ให้รู้ด้วยกายและวาจา ปวารณาเป็นอันภิกษุไข้มอบให้แล้ว ภิกษุผู้รับมอบ ไม่ให้ ภิกษุผู้รับมอบปวารณารู้ด้วยกาย หรือไม่ให้รู้ด้วยวาจา ไม่ให้รู้ด้วยกายและวาจา ปวารณาเป็นอันภิกษุไข้ยังมิได้มอบ ถ้าได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุทั้งหลาย พึงใช้เตียงหรือตั่งหามภิกษุไข้มาในท่ามกลางสงฆ์แล้วปวารณา ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้ได้ปรึกษากันดังนี้ว่า ถ้าพวก เราจักย้ายภิกษุไข้ อาการไข้จักกำเริบหนักขึ้นหรือภิกษุไข้จักถึงแก่มรณภาพ ไม่พึง ย้ายภิกษุไข้ สงฆ์พึงไปปวารณาในสำนักภิกษุไข้นั้น แต่สงฆ์ไม่พึงแบ่งพวกกันทำ ปวารณา ถ้าแบ่งพวกปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบปวารณาแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปวารณาหลบไป เสียจากที่นั้น ภิกษุไข้พึงมอบปวารณาแก่ภิกษุรูปอื่น ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบปวารณาแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปวารณาสึกเสีย ณ ที่นั้นแหละ ... มรณภาพ ... ปฏิญญาเป็นสามเณร ... ปฏิญญาเป็นผู้บอก คืนสิกขา ... ปฏิญญาเป็นผู้ต้องอันติมวัตถุ ... ปฏิญญาเป็นผู้วิกลจริต ... ปฏิญญา เป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ... ปฏิญญาเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ... ปฏิญญาเป็นผู้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นอาบัติ ... ปฏิญญาเป็นผู้ถูกสงฆ์ลง อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ... ปฏิญญาเป็นผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป... ปฏิญญาเป็นบัณเฑาะก์ ... ปฏิญญาเป็นไถยสังวาส... ปฏิญญาเป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์ ... ปฏิญญาเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ... ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่า มารดา ... ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่าบิดา ... ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์ ... ปฏิญญาเป็นผู้ ประทุษร้ายภิกษุณี ... ปฏิญญาเป็นผู้ทำลายสงฆ์ ... ปฏิญญาเป็นผู้ทำร้ายพระศาสดา จนห้อพระโลหิต ... ปฏิญญาเป็นอุภโตพยัญชนก ภิกษุไข้พึงมอบปวารณาแก่ภิกษุรูปอื่น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๓๙}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ]

๑๒๒. ปวารณาทานานุชานนา

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบปวารณาแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปวารณาหลบไป เสียในระหว่างทาง ปวารณาเป็นอันยังมิได้นำมา ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบปวารณาแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปวารณาสึกเสีย ในระหว่างทาง ฯลฯ ปฏิญญาเป็นอุภโตพยัญชนก ปวารณาเป็นอันยังมิได้นำมา ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบปวารณาแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปวารณาเข้าที่ ประชุมสงฆ์แล้วหลบไปเสีย ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบปวารณาแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปวารณาเข้าที่ ประชุมสงฆ์แล้วสึกเสีย ฯลฯ ปฏิญญาเป็นอุภโตพยัญชนก ปวารณาเป็นอันนำ มาแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบปวารณาแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปวารณาเข้าที่ ประชุมสงฆ์แล้วหลับเสียมิได้บอก ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว ภิกษุผู้นำปวารณา ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบปวารณาแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปวารณาเข้าที่ ประชุมสงฆ์แล้วเผลอไปไม่ได้บอก ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว ภิกษุผู้นำปวารณา ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเป็นไข้ได้มอบปวารณาแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปวารณาเข้า ที่ประชุมสงฆ์แล้วเข้าสมาบัติไม่ได้บอก ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว ภิกษุผู้นำปวารณา ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบปวารณาแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปวารณาเข้าที่ ประชุมสงฆ์แล้วจงใจไม่บอก ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว แต่ภิกษุผู้นำปวารณาต้อง อาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น เราอนุญาตให้ภิกษุผู้มอบปวารณามอบ ฉันทะด้วย เมื่อสงฆ์มีกิจธุระจำเป็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๔๐}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ]

๑๒๓. ญาตกาทิคหณกถา

๑๒๓. ญาตกาทิคหณกถา
ว่าด้วยหมู่ญาติเป็นต้นจับภิกษุ
เรื่องภิกษุถูกพวกญาติเป็นต้นจับไว้
[๒๑๔] สมัยนั้น ในวันปวารณานั้น หมู่ญาติได้จับภิกษุรูปหนึ่งไว้ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น หมู่ญาติจับภิกษุไว้ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวกับหมู่ญาตินั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย กรุณาปล่อยภิกษุนี้ไว้สักครู่จนกว่าภิกษุนี้จะมอบปวารณาเสร็จเถิด” ถ้าได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวกับญาติเหล่านั้นอย่างนี้ว่า “ท่าน ทั้งหลายกรุณารอ ณ ที่อันควรสักครู่จนกว่าภิกษุนี้จะมอบปวารณาเสร็จเถิด” ถ้าได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวกับญาติเหล่านั้น อย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลายกรุณานำภิกษุนี้ไปไว้นอกสีมาสักครู่จนกว่าสงฆ์จะปวารณา เสร็จเถิด” ถ้าได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ สงฆ์ไม่พึงแบ่งพวกปวารณา ถ้าแบ่งพวกปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น พระราชาทั้งหลายทรงจับ ภิกษุไว้... พวกโจรจับไว้... พวกนักเลงจับไว้... พวกภิกษุที่เป็นศัตรูกันจับไว้ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวกับพวกภิกษุที่เป็นศัตรกันเหล่านั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย กรุณาปล่อยภิกษุนี้ไว้สักครู่จนกว่าภิกษุนี้จะมอบปวารณาเสร็จเถิด” ถ้าได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุทั้งหลาย พึงกล่าวกับพวกภิกษุผู้เป็นศัตรูนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลายกรุณารอ ณ ที่สมควรสักครู่จนกว่าภิกษุนี้จะมอบปวารณาเสร็จเถิด” ถ้าได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวกับพวกภิกษุผู้เป็น ศัตรูนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย กรุณานำภิกษุนี้ไปไว้นอกสีมาสักครู่จนกว่าสงฆ์ จะปวารณาเสร็จเถิด” ถ้าได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ สงฆ์ไม่พึงแบ่งพวก กันปวารณา ถ้าแบ่งพวกกันปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๔๑}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ]

๑๒๔. สังฆปวารณาทิปเภท

๑๒๔. สังฆปวารณาทิปเภท
ว่าด้วยประเภทปวารณามีปวารณาเป็นการสงฆ์เป็นต้น
เรื่องภิกษุ ๕ รูป ปวารณาเป็นการสงฆ์
[๒๑๕] สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๕ รูป ภิกษุเหล่านั้นมีการสนทนากันดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า สงฆ์ พึงปวารณา ก็พวกเรามี ๕ รูป จะพึงปวารณาอย่างไรหนอ” จึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ๕ รูป ปวารณา เป็นการสงฆ์”
เรื่องภิกษุ ๔ รูปปวารณาเป็นการคณะ
[๒๑๖] สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๔ รูป ภิกษุเหล่านั้นได้มีการสนทนากันดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุ ๕ รูป ปวารณาเป็นการสงฆ์ ก็พวกเรามีเพียง ๔ รูป จะพึงปวารณาอย่างไรหนอ” จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ๔ รูป ปวารณา ต่อกัน”
วิธีทำปวารณาเป็นการคณะ
ภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุ ๔ รูปนั้นพึงปวารณาอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้ภิกษุเหล่านั้นทราบว่า ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า วันนี้เป็นวันปวารณา ถ้าท่านทั้งหลายพร้อม กันแล้ว เราทั้งหลายพึงปวารณาต่อกัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๔๒}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ]

๑๒๔. สังฆปวารณาทิปเภท

ภิกษุผู้เถระพึงห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าว คำปวารณาต่อภิกษุ(ผู้นวกะ)เหล่านั้นอย่างนี้ว่า
คำปวารณาสำหรับภิกษุมีพรรษาแก่กว่า
ท่านทั้งหลาย ผมขอปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนผม เมื่อผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป ท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๒ ผมขอปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือน ผม เมื่อผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป ท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๓ ผมขอปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือน ผม เมื่อผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป
คำปวารณาสำหรับภิกษุพรรษาอ่อนกว่า
ภิกษุผู้นวกะพึงห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวคำปวารณาต่อภิกษุ(ผู้เถระ)เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กระผมขอปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือน กระผม เมื่อกระผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป ท่านผู้เจริญทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๒ กระผมขอปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ ว่ากล่าวตักเตือนกระผม เมื่อกระผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป ท่านผู้เจริญทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๓ กระผมขอปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ ว่ากล่าวตักเตือนกระผม เมื่อกระผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๔๓}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ]

๑๒๔. สังฆปวารณาทิปเภท

เรื่องภิกษุ ๓ รูป ปวารณาเป็นการคณะ
สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๓ รูป ภิกษุเหล่านั้นได้มีการสนทนากันดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุ ๕ รูป ปวารณาเป็นการสงฆ์ ให้ภิกษุ ๔ รูป ปวารณาต่อกัน ก็พวกเรามีเพียง ๓ รูป จะพึงปวารณาอย่างไรหนอ” จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ๓ รูป ปวารณา ต่อกัน”
วิธีทำปวารณาเป็นการคณะ
ภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุ ๓ รูปนั้นพึงปวารณาอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้ภิกษุเหล่านั้นทราบว่า ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า วันนี้เป็นวันปวารณา ถ้าท่านทั้งหลายพร้อม กันแล้ว เราทั้งหลายพึงปวารณาต่อกัน ภิกษุผู้เถระพึงห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวคำปวารณาต่อภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
คำปวารณา
ท่านทั้งหลาย ผมขอปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนผม เมื่อ ผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป ท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๒ ผมขอปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตัก เตือนผม เมื่อผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป ท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๓ ผมขอปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตัก เตือนผม เมื่อผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๔๔}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ]

๑๒๔. สังฆปวารณาทิปเภท

ภิกษุผู้นวกะพึงห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าว คำปวารณาต่อภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
คำปวารณา
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กระผมขอปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือน กระผม เมื่อกระผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป ท่านผู้เจริญทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๒ กระผมขอปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ ว่ากล่าวตักเตือนกระผม เมื่อกระผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป ท่านผู้เจริญทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๓ กระผมขอปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ ว่ากล่าวตักเตือนกระผม เมื่อกระผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป
เรื่องภิกษุ ๒ รูป ปวารณาต่อกัน
[๒๑๗] สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๒ รูป ภิกษุเหล่านั้นได้มีการสนทนากันดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุ ๕ รูป ปวารณาเป็นการสงฆ์ ให้ภิกษุ ๔ รูป ปวารณาต่อกัน ให้ภิกษุ ๓ รูป ปวารณาต่อกัน ก็พวกเรามีเพียง ๒ รูป จะพึงปวารณาอย่างไรหนอ” จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ๒ รูป ปวารณา ต่อกัน”
วิธีทำปวารณาเป็นการคณะ
ภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุ ๒ รูปนั้นพึงปวารณาอย่างนี้ ภิกษุผู้เถระ พึงห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวกับภิกษุนวกะอย่างนี้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๔๕}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ]

๑๒๔. สังฆปวารณาทิปเภท

ท่าน ผมขอปวารณาต่อท่าน ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนผม เมื่อผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป ท่าน แม้ครั้งที่ ๒ ผมขอปวารณาต่อท่าน ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนผม เมื่อผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป ท่าน แม้ครั้งที่ ๓ ผมขอปวารณาต่อท่าน ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนผม เมื่อผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป ภิกษุผู้นวกะพึงห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวกับภิกษุผู้เถระอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อท่าน ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนกระผม เมื่อกระผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป ท่านผู้เจริญ แม้ครั้งที่ ๒ กระผมขอปวารณาต่อท่าน ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนกระผม เมื่อกระผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป ท่านผู้เจริญ แม้ครั้งที่ ๓ กระผมขอปวารณาต่อท่าน ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนกระผม เมื่อกระผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป
เรื่องภิกษุรูปเดียวทำอธิษฐานปวารณา
[๒๑๘] สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น มีภิกษุอยู่รูปเดียว ภิกษุนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุ ๕ รูป ปวารณา เป็นการสงฆ์ ให้ภิกษุ ๔ รูป ปวารณาต่อกัน ให้ภิกษุ ๓ รูป ปวารณาต่อกัน ให้ภิกษุ ๒ รูป ปวารณาต่อกัน ก็เราอยู่เพียงรูปเดียว จะพึงปวารณาอย่างไรหนอ” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๔๖}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ]

๑๒๕. อาปัตติปฏิกัมมวิธิ

พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น มีภิกษุอยู่รูปเดียว ภิกษุนั้นพึงกวาดสถานที่ที่ภิกษุทั้งหลายต้องกลับมา คือโรงฉัน หรือมณฑป หรือโคนไม้ก็ตาม แล้วตั้งน้ำฉันน้ำใช้ ปูอาสนะ ตามประทีปแล้วนั่งอยู่ ถ้ามีภิกษุเหล่าอื่นมา พึงปวารณากับภิกษุเหล่านั้น ถ้าไม่มีมา พึงอธิษฐานว่า วันนี้ เป็นวันปวารณาของเรา ถ้าไม่อธิษฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ ๕ รูป ไม่พึงนำปวารณาของภิกษุรูป หนึ่งมาแล้ว อีก ๔ รูปปวารณาเป็นการสงฆ์ ถ้าปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ ๔ รูป ไม่พึงนำปวารณาของภิกษุรูป หนึ่งมาแล้ว อีก ๓ รูปปวารณาต่อกัน ถ้าปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ ๓ รูป ไม่พึงนำปวารณาของภิกษุรูป หนึ่งมาแล้ว อีก ๒ รูปปวารณาต่อกัน ถ้าปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ ๒ รูป ไม่พึงนำปวารณาของภิกษุรูป หนึ่งมาแล้ว อีกรูปหนึ่งอธิษฐาน ถ้าอธิษฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ”


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๓๓๘-๓๔๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=4&siri=71              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=4&A=6433&Z=6608                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=229              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=4&item=229&items=3              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=4&item=229&items=3                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu4              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/04i224-e.php#topic3.3 https://suttacentral.net/pli-tv-kd4/en/brahmali#pli-tv-kd4:3.3.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd4/en/horner-brahmali#Kd.4.3.2



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :