ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๑

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๖. ปัญจวัคคิยกถา

เรื่องทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์
[๑๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปโดยลำดับ ถึงป่าอิสิปตน มฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี แล้วได้เสด็จไปทางที่ภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ ภิกษุ ปัญจวัคคีย์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ได้นัดหมายกันและกันว่า “ท่าน ทั้งหลาย พระสมณโคดมนี้เป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็น คนมักมาก กำลังเสด็จมา พวกเราไม่พึงกราบไหว้ ไม่พึงลุกรับ ไม่พึงรับบาตรและ จีวรของพระองค์ แต่จะจัดอาสนะไว้ ถ้าพระองค์ปรารถนาก็จักประทับนั่ง” ครั้นเสด็จมาถึง ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ไม่อาจตั้งอยู่ในกติกาของตนได้ ต่างต้อนรับ พระผู้มีพระภาค รูปหนึ่งรับบาตรและจีวร รูปหนึ่งปูอาสนะ รูปหนึ่งจัดหาน้ำล้าง พระบาท รูปหนึ่งจัดตั้งตั่งรองพระบาท รูปหนึ่งนำกระเบื้องเช็ดพระบาทเข้าไปวาง พระผู้มีพระภาคได้ประทับนั่งบนอาสนะที่ภิกษุปัญจวัคคีย์จัดถวาย แล้วทรงล้างพระบาท แต่ภิกษุปัญจวัคคีย์กลับร้องเรียกพระผู้มีพระภาคโดยออกพระนาม และใช้คำว่า “อาวุโส”๑- เมื่อภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวอย่างนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสห้ามภิกษุ ปัญจวัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าร้องเรียกตถาคตโดยออกชื่อและใช้คำว่า อาวุโส ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ พวกเธอจงเงี่ยโสตสดับ เราได้บรรลุอมตธรรมแล้วจะสั่งสอน จะแสดงธรรม พวกเธอเมื่อปฏิบัติตามที่เรา สั่งสอน ไม่นานนักก็จักทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์อันยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่ง พรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วย ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันนี้แน่แท้” @เชิงอรรถ : @ ในครั้งพุทธกาล คำว่า “อาวุโส” เป็นคำที่คนทั่วไปใช้กล่าวนำทักทายร้องเรียกกัน ไม่แสดงความเคารพ @เป็นพิเศษ ก่อนจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ารับสั่งห้ามพระผู้น้อยเรียกพระผู้ใหญ่ @โดยใช้คำว่า “อาวุโส” และห้ามพูดกับผู้ใหญ่โดยออกชื่อท่านนั้นท่านนี้ แต่ควรเรียกพระผู้ใหญ่โดยใช้คำว่า @“ภันเต” หรือ “อายัสมา” ส่วนพระผู้ใหญ่ควรเรียกพระผู้น้อยว่า “อาวุโส” หรือโดยการระบุชื่อนั้นชื่อนี้ @(ดู ที.ม. ๑๐/๒๑๖/๑๓๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๘}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๖. ปัญจวัคคิยกถา

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคดังนี้ว่า “อาวุโสโคดม แม้ด้วยจริยานั้น แม้ด้วยปฏิปทานั้น แม้ด้วย ทุกกรกิริยานั้น พระองค์ก็ยังมิได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นญาณทัสสนะที่ ประเสริฐ อันสามารถ บัดนี้พระองค์เป็นผู้มักมากคลายความเพียร เวียนมาเพื่อ ความเป็นคนมักมาก ไฉนจักบรรลุอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นญาณทัสสนะที่ ประเสริฐ อันสามารถได้เล่า” เมื่อภิกษุปัญจวัคคีย์กราบทูลอย่างนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุ ปัญจวัคคีย์ดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตไม่เป็นคนมักมาก ไม่ได้คลายความเพียร ไม่ได้เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันต์ตรัสรู้เอง โดยชอบ พวกเธอจงเงี่ยโสตสดับ เราได้บรรลุอมตธรรมแล้ว จะสั่งสอน จะแสดง ธรรม พวกเธอเมื่อปฏิบัติตามที่เราสั่งสอน ไม่นานนักก็จักทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ อันยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันนี้แน่แท้” แม้ครั้งที่ ๒ ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพระปัญจวัคคีย์ดังนี้ว่า ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “อาวุโส โคดม แม้ด้วยจริยานั้น แม้ด้วยปฏิปทานั้น แม้ด้วยทุกกรกิริยานั้น พระองค์ก็ยัง มิได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นญาณทัสสนะที่ประเสริฐ อันสามารถ บัดนี้ พระองค์เป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ไฉนจัก บรรลุอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นญาณทัสสนะที่ประเสริฐ อันสามารถได้เล่า” เมื่อภิกษุปัญจวัคคีย์ได้กราบทูลอย่างนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุ ปัญจวัคคีย์ดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอยังจำได้หรือไม่ว่า ถ้อยคำเช่นนี้เราได้ เคยกล่าวในกาลก่อนแต่นี้” ภิกษุปัญจวัคคีย์กราบทูลว่า “ถ้อยคำเช่นนี้ไม่เคยได้ฟังมาก่อน พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๙}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๖. ปัญจวัคคิยกถา

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ พวกเธอจงเงี่ยโสตสดับ เราได้บรรลุอมตธรรมแล้ว จะสั่งสอน จะแสดงธรรม พวกเธอเมื่อปฏิบัติตามที่เราสั่งสอน ไม่นานนักก็จักทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์อันยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันนี้แน่แท้” พระผู้มีพระภาคทรงสามารถให้ภิกษุปัญจวัคคีย์ยินยอมได้แล้ว ลำดับนั้น ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้ยอมเชื่อฟังพระผู้มีพระภาค เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตเพื่อรู้ยิ่ง


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๑๘-๒๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=4&siri=9              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=4&A=308&Z=354                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=12              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=4&item=12&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=4&item=12&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu4              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/04i001-e.php#topic6.10 https://suttacentral.net/pli-tv-kd1/en/brahmali#pli-tv-kd1:6.10.1 https://suttacentral.net/pli-tv-kd1/en/horner-brahmali#Kd.1.6.10



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :