ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒
๑๗๐. ยาคุมธุโคฬกานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาตข้าวต้มและขนมหวาน
เรื่องพราหมณ์คอยโอกาสถวายภัตตาหาร
[๒๘๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงพาราณสีตามพระ อัธยาศัยแล้ว เสด็จจาริกไปทางอันธกวินทชนบท พร้อมภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่จำนวน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๘๗}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๗๐. ยาคุมธุโคฬกานุชานนา

๑,๒๕๐ รูป สมัยนั้น ชาวชนบทบรรทุกเกลือ น้ำมัน ข้าวสาร ของเคี้ยวเป็นอัน มากมาในเกวียน เดินตามภิกษุสงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประธาน ด้วยตั้งใจว่า “เมื่อได้โอกาสพวกเรา จะทำภัตตาหารถวาย” มีคนกินเดนอีก ๕๐๐ คนติดตาม ไปด้วย ครั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปตามลำดับ จนถึงถึงอันธวินทชนบท ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งเมื่อไม่ได้โอกาส ได้มีความคิดดังนี้ว่า “เราเดินตาม ภิกษุสงฆ์ที่มีพระพระพุทธเจ้าเป็นประธานมากว่า ๒ เดือนแล้ว ด้วยตั้งใจว่า ‘จะทำ ภัตตาหารถวายเมื่อได้โอกาส’ แต่ก็หาโอกาสไม่ได้ เราตัวคนเดียวและยังเสีย ประโยชน์ทางฆราวาสไปมาก อย่ากระนั้นเลย เราพึงตรวจดูโรงอาหาร สิ่งใดยังไม่ มีในโรงอาหาร จัดเตรียมสิ่งนั้นถวาย” แล้วตรวจดูโรงอาหาร ไม่เห็นของ ๒ อย่าง คือ ข้าวต้มและขนมหวาน จึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์แล้ว ได้กล่าวกับท่านพระ อานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ ขอโอกาสเถิด กระผมเมื่อไม่ได้โอกาสจึงได้มีความ คิดดังนี้ว่า ‘เราเดินตามภิกษุสงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานมากว่า ๒ เดือนแล้ว ด้วยตั้งใจว่า ‘จะทำภัตตาหารถวายเมื่อได้โอกาส’ แต่ก็หาโอกาสไม่ได้ เราตัวคน เดียวและยังเสียประโยชน์ทางฆราวาสไปมาก อย่ากระนั้นเลย เราพึงตรวจดูโรง อาหาร สิ่งใดยังไม่มีในโรงอาหาร ‘จัดเตรียมสิ่งนั้นถวาย’ ท่านอานนท์ กระผม นั้นตรวจดูโรงอาหาร ไม่เห็นของ ๒ อย่าง คือ ข้าวต้มและขนมหวาน ท่านอานนท์ ถ้ากระผมจัดเตรียมข้าวต้มและขนมหวาน พระโคดมผู้เจริญจะทรงรับหรือ” ท่านพระอานนท์ตอบว่า “พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น อาตมาจะกราบทูลถามพระ ผู้มีพระภาค” แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์จงจัดเตรียมถวายเถิด” ท่านพระอานนท์บอกพราหมณ์ว่า “ท่านจัดเตรียมได้” เมื่อผ่านราตรีนั้นไป พราหมณ์จัดเตรียมข้าวต้มและขนมหวานเป็นจำนวน มากแล้ว น้อมเข้าไปถวายพระผู้มีพระภาคว่า “ขอพระโคดมผู้เจริญ โปรดรับข้าว ต้มและขนมหวานของข้าพระองค์เถิด” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๘๘}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๗๐. ยาคุมธุโคฬกานุชานนา

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงถวายแก่ภิกษุ ทั้งหลาย” ภิกษุทั้งหลายยำเกรงอยู่ จึงไม่ยอมรับประเคน พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงรับประเคนฉันเถิด” ครั้งนั้น พราหมณ์ได้นำข้าวต้มและขนมหวานจำนวนมากมาประเคนภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานด้วยตนเอง กระทั่งพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จ ทรงห้าม ภัตแล้ว ล้างพระหัตถ์แล้วละพระหัตถ์จากบาตร จึงได้นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่สมควร
ประโยชน์ของข้าวต้มมี ๑๐ อย่าง
พระผู้มีพระภาคตรัสกับพราหมณ์ผู้นั่ง ณ ที่สมควรว่า “พราหมณ์ ข้าวต้ม มีอานิสงส์ ๑๐ ประการ คือ ผู้ถวายข้าวต้มชื่อว่า (๑) ให้อายุ (๒) ให้วรรณะ (๓) ให้สุขะ (๔) ให้พละ (๕) ให้ปฏิภาณ (๖) บรรเทาความหิว (๗) ระงับความ กระหาย (๘) ให้ลมเดินคล่อง (๙) ชำระลำไส้ (๑๐) เผาอาหารที่ยังไม่ย่อยให้ย่อย พราหมณ์ ข้าวต้มมีอานิสงส์ ๑๐ ประการนี้แล ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว พระสุคตตรัสอนุโมทนาต่อไปว่า “ทายกผู้ตั้งใจถวายข้าวต้มแก่ปฏิคาหกผู้สำรวมแล้ว ผู้ฉันอาหารที่ผู้อื่นถวายตามกาลสมควร เขาได้ชื่อว่าตามเพิ่มให้ประโยชน์ ๑๐ ประการแก่ปฏิคาหก คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ นอกจากนั้นข้าวต้มย่อมบรรเทาความหิว ความกระหาย ให้ลมเดินคล่อง ชำระลำไส้ และช่วยย่อยอาหาร พระสุคตตรัสว่าข้าวต้มเป็นยา ดังนั้น ผู้ที่ต้องการความสุขอันเป็นของมนุษย์ตลอดกาลนาน และปรารถนาความสุขอันเป็นทิพย์ หรือปรารถนาความงาม อันเป็นของมนุษย์ จึงควรถวายข้าวต้ม” เมื่อทรงอนุโมทนาแก่พราหมณ์ด้วยพระคาถาเหล่านี้แล้ว จึงเสด็จลุกจากที่ ประทับกลับ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๘๙}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๗๑. ตรุณัปปสันนมหามัตตวัตถุ

ต่อมา พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตข้าวต้มและขนมหวาน”


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๘๗-๙๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=5&siri=15              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=5&A=1509&Z=1565                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=61              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=61&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=3993              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=61&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=3993                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd6/en/brahmali#pli-tv-kd6:24.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd6/en/horner-brahmali#Kd.6.23.15



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :