บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๑๘๔. วุฑฒปัพพชิตวัตถุ ว่าด้วยภิกษุเฒ่าเคยเป็นช่างกัลบกในเมืองอาตุมา [๓๐๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงกุสินาราตามพระอัยธาศัยแล้ว เสด็จจาริกไปทางเมืองอาตุมา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ มีจำนวน ๑,๒๕๐ รูป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๓๖}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]
๑๘๔. วุฑฒปัพพชิตวัตถุ
สมัยนั้น มีพระหลวงตารูปหนึ่งเคยเป็นช่างกัลบก๑- อาศัยอยู่ในเมืองอาตุมา พระหลวงตานั้นมีบุตรชาย ๒ คน๒- เป็นเด็กพูดจาไพเราะอ่อนหวาน มีไหวพริบ ขยันขันแข็ง ฝีมือเยี่ยมในงานกัลบกของตนเทียบเท่าระดับอาจารย์ พระหลวงตานั้นได้ทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จมาเมืองอาตุมา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ มีจำนวน ๑,๒๕๐ รูป ลำดับนั้น พระหลวงตานั้น ได้กล่าวกับบุตรทั้งสองดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จมาเมืองอาตุมาพร้อม ด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ มีจำนวน ๑,๒๕๐ รูป ลูกทั้งสองจงถือเครื่องมือตัดผม และโกนผมพร้อมกับทะนานและถุงเที่ยวไปตัดและโกนผมตามบ้านเรือน รวบรวม เกลือบ้าง น้ำมันบ้าง ข้าวสารบ้าง ของฉันบ้างไว้ พ่อจะหุงข้าวต้มถวายพระผู้มี พระภาคผู้เสด็จมาถึง บุตรชายทั้งสองรับคำสั่งของพระหลวงตาผู้เป็นพ่อแล้วถือเครื่องมือตัดผมพร้อม กับทะนานและถุงเที่ยวไปตัดและโกนผมตามบ้านเรือน รวบรวมแลกเกลือบ้าง น้ำมันบ้าง ข้าวสารบ้าง ของฉันบ้าง คนทั้งหลายเห็นเด็กทั้งสองคนพูดจาไพเราะ อ่อนหวานมีไหวพริบ แม้ผู้ที่ไม่ประสงค์จะให้ตัด ก็ให้ตัด ถึงให้ตัดแล้วก็ให้ค่าแรงมาก ดังนั้น เด็กทั้งสองจึงรวบรวมเกลือบ้าง น้ำมันบ้าง ข้าวสารบ้าง ของฉันบ้างได้ เป็นจำนวนมาก ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงเมืองอาตุมา ทราบ ว่าพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูสาคาร คืนนั้นพระหลวงตารูปนั้นสั่งคนให้จัด เตรียมข้าวต้มเป็นอันมากแล้วน้อมเข้าไปถวายพระผู้มีพระภาคว่า พระผู้มี พระภาคโปรดรับข้าวต้มของข้าพระองค์เถิด พระพุทธเจ้าข้าพุทธประเพณี พระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงทราบเรื่องตรัสถามก็มี ไม่ตรัสถามก็มี ทรงทราบ กาลอันควรตรัสถามก็มี ไม่ตรัสถามก็มี ตรัสถามเรื่องที่เป็นประโยชน์ ไม่ตรัสถาม @เชิงอรรถ : @๑ ช่างกัลบก คือ ช่างตัดผม ช่างโกนผม @๒ บุตรชาย ๒ คนของพระหลวงตานั้น เป็นสามเณร (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๓๐๓/๔๐๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๓๗}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]
๑๘๔. วุฑฒปัพพชิตวัตถุ
เรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ เพราะพระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงขจัดเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ เสียด้วยอริยมรรคแล้ว พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย สอบถามภิกษุทั้งหลายด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ จะทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จะทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกอย่างหนึ่ง ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสถามพระหลวงตานั้นว่า ข้าวต้มนี้เธอได้ มาจากไหน พระหลวงตานั้นจึงได้กราบทูลเรื่องนั้นให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า โมฆบุรุษ การกระทำของเธอไม่สมควร ไม่ คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำเลย ไฉนเธอบวชแล้ว จึงได้ชักจูงทายกในสิ่งอันไม่ควรเล่า โมฆบุรุษ การทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใส ให้เลื่อมใส ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้วแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุ ทั้งหลาย บรรพชิตไม่พึงชักชวนทายกในสิ่งไม่ควร รูปใดชักชวน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุผู้เคยเป็นช่างกัลบกไม่พึงเก็บรักษาเครื่องมือตัดผม รูปใด เก็บรักษาไว้ ต้องอาบัติทุกกฏเรื่องผลไม้ดาษดื่นในกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เมืองอาตุมาตามพระอัธยาศัยแล้วเสด็จ จาริกไปทางกรุงสาวัตถี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงสาวัตถีแล้ว ทราบว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ในกรุง สาวัตถีนั้น เวลานั้น ในกรุงสาวัตถี มีของฉันคือผลไม้ดาษดื่น ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ สนทนากันดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตของฉันคือผลไม้หรือหนอแล จึงนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตของฉันคือผลไม้ทุกชนิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๓๘}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]
๑๘๕. จตุมหาปเทสกถา
เรื่องปลูกพืช [๓๐๔] สมัยนั้น เขาปลูกพืชของสงฆ์ในที่ของบุคคล ปลูกพืชของบุคคลในที่ ของสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย พืชของสงฆ์ที่ปลูกในที่ของบุคคล พึงให้ส่วนแบ่งแล้วบริโภคได้ พืชของบุคคลที่ปลูกในที่ของสงฆ์พึงให้ส่วนแบ่งแล้ว บริโภคได้เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๑๓๖-๑๓๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=5&siri=25 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=5&A=2520&Z=2571 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=89 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=89&items=3 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=4208 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=89&items=3 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=4208 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd6/en/brahmali#pli-tv-kd6:37.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd6/en/horner-brahmali#Kd.6.37
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]