ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ]

๑๘๘. อาทายสัตตกะ

เรื่องกฐินเดาะด้วยมาติกา ๘ ข้อ
[๓๑๐] ภิกษุทั้งหลาย กฐินย่อเป็นอันเดาะได้อย่างไร๑- ภิกษุทั้งหลาย มาตกาแห่งการเดาะกฐินมี ๘ ข้อ คือ ๑. กำหนดด้วยหลีกไป ๒. กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ ๓. กำหนดด้วยตกลงใจ ๔. กำหนดด้วยผ้าเสียหาย ๕. กำหนดด้วยได้ทราบข่าว ๖. กำหนดด้วยสิ้นหวัง ๗. กำหนดด้วยล่วงเขต ๘. กำหนดด้วยเดาะพร้อมกัน
๑๘๘. อาทายสัตตกะ
ว่าด้วยการเดาะกฐินด้วยการถือจีวรหลีกไป ๗ กรณี
[๓๑๑] ภิกษุกรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำเสร็จแล้วหลีกไป คิดว่า ‘จะไม่กลับ’ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยหลีกไป (๑) ภิกษุกรานกฐินแล้วถือเอาจีวรหลีกไป๒- อยู่นอกสีมามีความคิดอย่างนี้ว่า “จะ ให้ทำจีวรนี้ที่ภายนอกสีมานี้แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรผืนนั้น การเดาะกฐิน ของ ภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ (๒) ภิกษุกรานกฐินแล้วถือเอาจีวรหลีกไป อยู่นอกสีมามีความคิดอย่างนี้ว่า “จะไม่ ให้ทำจีวรนี้ จะไม่กลับ” การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยตกลงใจ (๓) ภิกษุกรานกฐินแล้วถือเอาจีวรหลีกไป อยู่นอกสีมามีความคิดอย่างนี้ว่า “จะ ให้ทำจีวรนี้ภายนอกสีมานี้แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรผืนนั้น จีวรที่ภิกษุนั้นให้ทำ อยู่นั้นเกิดเสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยผ้าเสียหาย (๔) @เชิงอรรถ : @ กฐินเดาะ หมายถึงกฐินที่เสียหาย ไม่มีอานิสงส์ ใช้ไม่ได้ ภิกษุหมดโอกาสจะได้ประโยชน์จากกฐิน @ ถือเอาจีวรหลีกไป ในหมวดที่ ๒-๗ หมายถึง ผ้าสำหรับทำจีวร คือ จีวรที่ยังทำไม่เสร็จนั่นเอง @(วิ.อ. ๓/๓๑๑/๑๙๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๕๐}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ]

๑๘๙. สมาทายสัตตกะ

ภิกษุกรานกฐินแล้วถือเอาจีวรหลีกไปคิดว่า “จะกลับ” อยู่นอกสีมา ให้ทำจีวร ผืนนั้น ครั้นทำเสร็จแล้วได้ทราบข่าวว่า “ในอาวาสนั้นกฐินเดาะเสียแล้ว” การเดาะ กฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยได้ทราบข่าว (๕) ภิกษุกรานกฐินแล้วถือเอาจีวรหลีกไปคิดว่า “จะกลับ” อยู่นอกสีมา ให้ทำจีวร ผืนนั้น ทำจีวรเสร็จแล้วคิดว่า “จะกลับ จะกลับ” แล้วล่วงคราวกฐินเดาะนอกสีมา การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยล่วงเขต (๖) ภิกษุกรานกฐินแล้วถือเอาจีวรหลีกไปคิดว่า “จะกลับ” อยู่นอกสีมา ให้ทำจีวร ผืนนั้น ทำจีวรเสร็จแล้วคิดว่า “จะกลับ จะกลับ” แล้วกลับมาทันกฐินเดาะ การ เดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่าเดาะพร้อมกันกับภิกษุทั้งหลาย (๗)
อาทายสัตตกะ ที่ ๑ จบ
๑๘๙. สมาทายสัตตกะ
ว่าด้วยการเดาะกฐินด้วยการนำจีวรติดตัวหลีกไป ๗ กรณี
[๓๑๒] ภิกษุกรานกฐินแล้วนำจีวรที่ทำเสร็จแล้วหลีกไปคิดว่า “จะไม่กลับ” การ เดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยหลีกไป (๑) ภิกษุกรานกฐินแล้วนำจีวรหลีกไป อยู่นอกสีมามีความคิดอย่างนี้ว่า “จะให้ทำ จีวรนี้ที่นอกสีมานี่แหละ ไม่กลับ” ให้ทำจีวรผืนนั้น การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่า กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ (๒) ภิกษุกรานกฐินแล้วนำจีวรหลีกไป อยู่นอกสีมามีความคิดอย่างนี้ว่า “จะไม่ให้ ทำจีวรนี้ จะไม่กลับ” การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยตกลงใจ (๓) ภิกษุกรานกฐินแล้วนำจีวรหลีกไป อยู่นอกสีมามีความคิดอย่างนี้ว่า “จะให้ทำ จีวรนี้นอกสีมานี้แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรผืนนั้น จีวรที่ภิกษุนั้นให้ทำอยู่นั้น เกิดเสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยผ้าเสียหาย (๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๕๑}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ]

๑๙๐. อาทายฉักกะ

ภิกษุกรานกฐินแล้วนำจีวรหลีกไปคิดว่า “จะกลับ” อยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืน นั้น ทำจีวรเสร็จแล้ว ได้ทราบข่าวว่า “ในอาวาสนั้นกฐินเดาะเสียแล้ว” การเดาะ กฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยได้ทราบข่าว (๕) ภิกษุกรานกฐินแล้วนำจีวรหลีกไปคิดว่า “จะกลับ” อยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืน นั้น ทำจีวรเสร็จแล้วคิดว่า “จะกลับ” แล้วล่วงคราวกฐินเดาะที่นอกสีมา การเดาะ กฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยล่วงเขต (๖) ภิกษุกรานกฐินแล้วนำจีวรหลีกไปคิดว่า “จะกลับ” อยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืน นั้น ทำจีวรเสร็จแล้วคิดว่า “จะกลับ” แล้วกลับมาทันกฐินเดาะ การเดาะกฐินของ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเดาะพร้อมกันกับภิกษุทั้งหลาย (๗)
สมาทายสัตตกะ ที่ ๒ จบ
๑๙๐. อาทายฉักกะ
ว่าด้วยการเดาะกฐินด้วยการถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ๖ กรณี
[๓๑๓] ภิกษุกรานกฐินแล้ว ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป อยู่นอกสีมามีความ คิดอย่างนี้ว่า “จะให้ทำจีวรนี้ที่นอกสีมานี้แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรผืนนั้น การ เดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ (๑) ภิกษุกรานกฐินแล้ว ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป อยู่นอกสีมามีความคิดอย่าง นี้ว่า “จะไม่ให้ทำจีวรผืนนั้น จะไม่กลับ” การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนด ด้วยตกลงใจ (๒) ภิกษุกรานกฐินแล้ว ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป อยู่นอกสีมามีความคิดอย่าง นี้ว่า “จะให้ทำจีวรผืนนี้ที่นอกสีมานี้แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรผืนนั้น จีวรที่ เธอให้ทำอยู่นั้นเกิดเสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยผ้า เสียหาย (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๕๒}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ]

๑๙๑. สมาทายฉักกะ

ภิกษุกรานกฐินแล้ว ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปคิดว่า “จะกลับ” อยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ทำจีวรเสร็จแล้ว ได้ทราบข่าวว่า “ในอาวาสนั้นกฐินเดาะ เสียแล้ว” การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยได้ทราบข่าว (๔) ภิกษุกรานกฐินแล้ว ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปคิดว่า “จะกลับ” อยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ทำจีวรเสร็จแล้วคิดว่า “จะกลับ จะกลับ” แล้วล่วงคราวกฐินเดาะ นอกสีมา การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยล่วงเขต (๕) ภิกษุกรานกฐินแล้ว ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปคิดว่า “จะกลับ” อยู่นอก สีมาให้ทำจีวรผืนนั้น ทำจีวรเสร็จแล้วคิดว่า “จะกลับ จะกลับ” แล้วกลับมาทัน กฐินเดาะ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่าเดาะพร้อมกันกับภิกษุทั้งหลาย (๖)
อาทายฉักกะ ที่ ๓ จบ
๑๙๑. สมาทายฉักกะ
ว่าด้วยการเดาะกฐินด้วยการนำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ๖ กรณี
[๓๑๔] ภิกษุกรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป อยู่นอกสีมามีความ คิดอย่างนี้ว่า “จะให้ทำจีวรนี้ที่นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรผืนนั้น การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ (๑) ภิกษุกรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป อยู่นอกสีมามีความคิด อย่างนี้ว่า “จะไม่ให้ทำจีวรผืนนั้น จะไม่กลับ” การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่า กำหนดด้วยตกลงใจ (๒) ภิกษุกรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป อยู่นอกสีมามีความคิดอย่างนี้ ว่า “จะให้ทำจีวรผืนนี้ที่นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรผืนนั้น จีวรที่ ภิกษุนั้นให้ทำอยู่นั้นเกิดเสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยผ้า เสียหาย (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๕๓}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ]

๑๙๒. อาทายปัณณรสกะ

ภิกษุกรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปคิดว่า “จะกลับ” อยู่นอก สีมาให้ทำจีวรผืนนั้น ทำจีวรเสร็จแล้ว ได้ทราบข่าวว่า “ในอาวาสนั้นกฐินเดาะ เสียแล้ว” การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยได้ทราบข่าว (๔) ภิกษุกรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปคิดว่า “จะกลับ” อยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ทำจีวรเสร็จแล้วคิดว่า “จะกลับ จะกลับ” แล้วล่วงคราว กฐินเดาะนอกสีมา การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยล่วงเขต (๕) ภิกษุกรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปคิดว่า “จะกลับ” อยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ทำจีวรเสร็จแล้ว คิดว่า “จะกลับ จะกลับ” แล้วกลับมาทัน กฐินเดาะ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่าเดาะพร้อมกันกับภิกษุทั้งหลาย (๖)
สมาทายฉักกะ ที่ ๔ จบ
๑๙๒. อาทายปัณณรสกะ
ว่าด้วยการเดาะกฐินด้วยการถือจีวรหลีกไป ๑๕ กรณี
[๓๑๕] ภิกษุกรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป อยู่นอกสีมามีความคิดอย่างนี้ ว่า “จะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรผืนนั้น การเดาะกฐิน ของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ (๑) ภิกษุกรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป อยู่นอกสีมามีความคิดอย่างนี้ว่า “จะไม่ ให้ทำจีวรนี้ จะไม่กลับ” การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยตกลงใจ (๒) ภิกษุกรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป อยู่นอกสีมามีความคิดอย่างนี้ว่า “จะให้ ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรผืนนั้น จีวรที่ภิกษุนั้นให้ทำนั้น เกิดเสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยผ้าเสียหาย (๓)
ติกะที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๕๔}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ]

๑๙๒. อาทายปัณณรสกะ

ภิกษุกรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไปคิดว่า “จะไม่กลับ” อยู่นอกสีมามีความ คิดอย่างนี้ว่า “จะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ” ให้ทำจีวรนั้น การเดาะกฐินของ ภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ (๔) ภิกษุกรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไปคิดว่า “จะไม่กลับ” อยู่นอกสีมามีความ คิดอย่างนี้ว่า “จะไม่ให้ทำจีวรนี้” การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วย ตกลงใจ (๕) ภิกษุกรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไปคิดว่า “จะไม่กลับ” อยู่นอกสีมามีความ คิดอย่างนี้ว่า “จะให้ทำจีวรนี้” ให้ทำจีวรนั้น จีวรที่ภิกษุนั้นให้ทำเสียหาย การ เดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยผ้าเสียหาย (๖)
ติกะที่ ๒ จบ
ภิกษุกรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไปโดยไม่ตั้งใจ๑- ไม่ได้คิดว่า “จะกลับ” แต่ก็ไม่ได้คิดว่า “จะไม่กลับ” อยู่นอกสีมามีความคิดอย่างนี้ว่า “จะให้ทำจีวรนี้ นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรนั้น การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่า กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ (๗) ภิกษุกรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไปโดยไม่ตั้งใจ ไม่ได้คิดว่า “จะกลับ” แต่ก็ไม่ได้คิดว่า “จะไม่กลับ” อยู่นอกสีมามีความคิดอย่างนี้ว่า “จะไม่ให้ทำจีวรนี้ จะไม่กลับ” การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยตกลงใจ (๘) ภิกษุกรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไปโดยไม่ตั้งใจ ไม่ได้คิดว่า “จะกลับ” แต่ก็ไม่ได้คิดว่า “จะไม่กลับ” อยู่นอกสีมามีความคิดอย่างนี้ว่า “จะให้ทำจีวรนี้ นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรนั้น จีวรที่ภิกษุนั้นให้ทำนั้นเกิดเสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยผ้าเสียหาย (๙)
ติกะที่ ๓ จบ
@เชิงอรรถ : @ โดยไม่ตั้งใจ คือโดยมิได้กำหนดว่า “จะกลับ จะไม่กลับ” (สารตฺถ. ฏีกา ๓/๓๑๒/๔๐๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๕๕}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ]

๑๙๒. อาทายปัณณรสกะ

ภิกษุกรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไปคิดว่า “จะกลับ” อยู่นอกสีมามีความคิด อย่างนี้ว่า “จะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรนั้น การเดาะกฐิน ของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ (๑๐) ภิกษุกรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไปคิดว่า “จะกลับ” อยู่นอกสีมามีความคิด อย่างนี้ว่า “จะไม่ให้ทำจีวรนี้ จะไม่กลับ” การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนด ด้วยตกลงใจ (๑๑) ภิกษุกรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไปคิดว่า “จะกลับ” อยู่นอกสีมามีความคิด อย่างนี้ว่า “จะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรนั้น จีวรที่ภิกษุนั้น ให้ทำอยู่นั้นเกิดเสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยผ้าเสียหาย (๑๒) ภิกษุกรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไปคิดว่า “จะกลับ” อยู่นอกสีมาให้ทำจีวร ผืนนั้น ทำจีวรเสร็จแล้ว ได้ทราบข่าวว่า “ในอาวาสนั้นกฐินเดาะเสียแล้ว” การ เดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยได้ทราบข่าว (๑๓) ภิกษุกรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไปคิดว่า “จะกลับ” อยู่นอกสีมาให้ทำจีวรผืนนั้น ทำจีวรเสร็จแล้วคิดว่า “จะกลับ จะกลับ” แล้วล่วงคราวกฐินเดาะนอกสีมา การ เดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยล่วงเขต (๑๔) ภิกษุกรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไปคิดว่า “จะกลับ” อยู่นอกสีมาให้ทำจีวรผืนนั้น ทำจีวรเสร็จแล้วคิดว่า “จะกลับ จะกลับ” แล้วกลับมาทันกฐินเดาะ การเดาะกฐิน ของภิกษุนั้น ชื่อว่าเดาะพร้อมกันกับภิกษุทั้งหลาย (๑๕)
ฉักกะ จบ
อาทายปัณณรสกะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๕๖}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ]

๑๙๔. วิปปกตสมาทายปัณณรสกะ

๑๙๓. สมาทายปัณณรสกาทิ
ว่าด้วยการเดาะกฐินด้วยการนำจีวรติดตัวหลีกไป ๑๕ กรณีเป็นต้น
[๓๑๖] ภิกษุกรานกฐินแล้ว นำจีวรหลีกไป ฯลฯ (พระวินัยธรพึงขยายความให้พิสดารอย่างนี้ เหมือนวาระที่ว่าด้วยเรื่องการ เดาะกฐินกำหนดด้วยถือจีวรหลีกไป) ภิกษุกรานกฐินแล้ว ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป อยู่นอกสีมา มีความคิด อย่างนี้ว่า “จะให้ทำจีวรผืนนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรนั้น การเดาะ กฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ ฯลฯ (พระวินัยธรพึงขยายความให้พิสดารอย่างนี้ เหมือนวาระที่ว่าด้วยเรื่องการ เดาะกฐินกำหนดด้วยถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป)
๑๙๔. วิปปกตสมาทายปัณณรสกะ
ว่าด้วยการเดาะกฐินด้วยการนำจีวรที่ทำค้างไว้ติดตัวหลีกไป ๑๕ กรณี
[๓๑๗] ภิกษุกรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป อยู่นอกสีมา มีความ คิดอย่างนี้ว่า “จะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรนั้น การเดาะ กฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ (๑) ภิกษุกรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป อยู่นอกสีมา มีความคิด อย่างนี้ว่า “จะไม่ให้ทำจีวรนี้ จะไม่กลับ” การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่า กำหนดด้วยตกลงใจ (๒) ภิกษุกรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป อยู่นอกสีมา มีความคิด อย่างนี้ว่า “จะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรนั้น จีวรที่ให้ทำ อยู่นั้นเกิดเสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยผ้าเสียหาย (๓)
ติกะที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๕๗}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ]

๑๙๔. วิปปกตสมาทายปัณณรสกะ

ภิกษุกรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปคิดว่า “จะไม่กลับ” อยู่นอก สีมา มีความคิดอย่างนี้ว่า “จะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ” ให้ทำจีวรนั้น การเดาะ กฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ (๔) ภิกษุกรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปคิดว่า “จะไม่กลับ” อยู่นอก สีมา มีความคิดอย่างนี้ว่า “จะไม่ให้ทำจีวรนี้” การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่า กำหนดด้วยตกลงใจ (๕) ภิกษุกรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปคิดว่า “จะไม่กลับ” อยู่นอก สีมา มีความคิดอย่างนี้ว่า “จะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ” ให้ทำจีวรนั้น จีวรที่ ภิกษุนั้นให้ทำอยู่นั้นเกิดเสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยผ้า เสียหาย (๖)
ติกะที่ ๒ จบ
ภิกษุกรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปโดยไม่ตั้งใจ ไม่ได้คิดว่า “จะ กลับ” แต่ก็ไม่ได้คิดว่า “จะไม่กลับ” อยู่นอกสีมา มีความคิดอย่างนี้ว่า “จะให้ ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรผืนนั้น การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ (๗) ภิกษุกรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปโดยไม่ตั้งใจ ไม่ได้คิดว่า “จะ กลับ” แต่ก็ไม่ได้คิดว่า “จะไม่กลับ” อยู่นอกสีมา มีความคิดอย่างนี้ว่า “จะไม่ให้ ทำจีวรนี้ จะไม่กลับ” การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยตกลงใจ (๘) ภิกษุกรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปโดยไม่ตั้งใจ คือ เธอไม่ได้คิดว่า “จะกลับ” แต่ก็ไม่ได้คิดว่า “จะไม่กลับ” อยู่นอกสีมา มีความคิดอย่างนี้ว่า “จะให้ ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรผืนนั้น จีวรที่ภิกษุนั้นให้ทำอยู่นั้น เกิดเสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยผ้าเสียหาย (๙)
ติกะที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๕๘}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ]

๑๙๔. วิปปกตสมาทายปัณณรสกะ

ภิกษุกรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปคิดว่า “จะกลับ” อยู่นอกสีมา มีความคิดอย่างนี้ว่า “จะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรนั้น การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ (๑๐) ภิกษุกรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปคิดว่า “จะกลับ” อยู่นอกสีมา มีความคิดอย่างนี้ว่า “จะไม่ให้ทำจีวรนี้ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรนั้น การเดาะกฐิน ของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยตกลงใจ (๑๑) ภิกษุกรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปคิดว่า “จะกลับ” อยู่นอกสีมา มีความคิดอย่างนี้ว่า “จะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรนั้น จีวรที่ภิกษุนั้นให้ทำอยู่นั้นเกิดเสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนด ด้วยผ้าเสียหาย (๑๒) ภิกษุกรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปคิดว่า “จะกลับ” อยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรนั้น ทำจีวรเสร็จแล้วได้ทราบข่าวว่า “ในอาวาสนั้นกฐินเดาะเสียแล้ว” การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยได้ทราบข่าว (๑๓) ภิกษุกรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปคิดว่า “จะกลับ” อยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรนั้น เธอทำจีวรเสร็จแล้วคิดว่า “จะกลับ จะกลับ” แล้วล่วงคราว กฐินเดาะนอกสีมา การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยล่วงเขต (๑๔) ภิกษุกรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปคิดว่า “จะกลับ” อยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรนั้น เธอทำจีวรเสร็จแล้วคิดว่า “จะกลับ จะกลับ” แล้วกลับมาทันกฐินเดาะ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่าเดาะพร้อมกันกับภิกษุทั้งหลาย (๑๕)
ฉักกะ จบ
สมาทายปัณณรสกะ จบ
อาทายภาณวาร จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๕๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๑๕๐-๑๕๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=5&siri=29              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=5&A=2747&Z=2935                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=99              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=99&items=14              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=99&items=14                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd7/en/brahmali#pli-tv-kd7:1.7.1 https://suttacentral.net/pli-tv-kd7/en/horner-brahmali#Kd.7.1.7



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :