![]() |
|
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
![]() |
![]() |
๑๕๔. อุจจาสยนมหาสยนาปฏิกเขปะ ว่าด้วยทรงห้ามที่นอนสูงใหญ่ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ใช้ที่นอนสูงใหญ่ [๒๕๔] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ที่นอนสูงใหญ่๑- คือ ๑. เตียงมีเท้าสูงเกินขนาด ๒. เตียงมีเท้าเป็นรูปสัตว์ร้าย ๓. พรมขนสัตว์ ๔. เครื่องลาดขนแกะลายวิจิตร ๕. เครื่องลาดขนแกะสีขาว ๖. เครื่องลาดมีรูปดอกไม้ ๗. เครื่องลาดยัดนุ่น ๘. เครื่องลาดขนแกะวิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้าย เช่นราชสีห์และเสือ ๙. เครื่องลาดขนแกะมีขน ๒ ด้าน ๑๐. เครื่องลาดขนแกะมีขนด้านเดียว ๑๑. เครื่องลาดปักด้วยไหมประดับรัตนะ ๑๒. เครื่องลาดผ้าไหมประดับรัตนะ ๑๓. เครื่องลาดขนแกะขนาดใหญ่ที่นางฟ้อน ๑๖ คนร่ายรำได้ ๑๔. เครื่องลาดบนหลังช้าง ๑๕. เครื่องลาดบนหลังม้า ๑๖. เครื่องลาดในรถ ๑๗. เครื่องลาดทำด้วยหนังเสือดาว ๑๘. เครื่องลาดหนังชะมด ๑๙. เครื่องลาดมีเพดาน ๒๐. เครื่องลาดมีหมอน ๒ ข้าง๒- @เชิงอรรถ : @๑ ที่นอนสูงใหญ่ หมายถึงเตียงเกินประมาณและเครื่องลาดที่ไม่สมควร (วิ.อ. ๓/๒๕๔/๑๖๙) @๒ วิ.จู. ๗/๓๒๐/๙๒-๙๓, ที.สี. (แปล) ๙/๑๕/๖-๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๗}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๕. จัมมขันธกะ]
๑๕๕. สัพพจัมมปฏิกเขปะ
คนทั้งหลายเดินเที่ยวไปตามวิหารพบเห็น จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ที่นอนสูงใหญ่ คือ ๑. เตียงมีเท้าสูงเกินขนาด ๒. เตียงมีเท้าเป็นรูปสัตว์ร้าย ๓. พรมขนสัตว์ ๔. เครื่องลาดขนแกะลายวิจิตร ๕. เครื่องลาดขนแกะสีขาว ๖. เครื่องลาดมีรูปดอกไม้ ๗. เครื่องลาดยัดนุ่น ๘. เครื่องลาดขนแกะวิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้าย เช่นราชสีห์และเสือ ๙. เครื่องลาดขนแกะมีขน ๒ ด้าน ๑๐. เครื่องลาดขนแกะมีขนด้านเดียว ๑๑. เครื่องลาดปักด้วยไหมประดับรัตนะ ๑๒. เครื่องลาดผ้าไหมประดับรัตนะ ๑๓. เครื่องลาดขนแกะขนาดใหญ่ที่นางฟ้อน ๑๖ คนร่ายรำได้ ๑๔. เครื่องลาดบนหลังช้าง ๑๕. เครื่องลาดบนหลังม้า ๑๖. เครื่องลาดในรถ ๑๗. เครื่องลาดทำด้วยหนังเสือดาว ๑๘. เครื่องลาดหนังชะมด ๑๙. เครื่องลาดมีเพดาน ๒๐. เครื่องลาดมีหมอน ๒ ข้าง รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ๑๕๕. สัพพจัมมปฏิกเขปะ ว่าด้วยทรงห้ามแผ่นหนัง เรื่องพระฉัพพัคคีย์ใช้หนังผืนใหญ่ [๒๕๕] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์รู้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงห้ามที่นอน สูงใหญ่ จึงใช้หนังผืนใหญ่ คือ หนังสีหะ หนังเสือโคร่ง หนังเสือเหลือง แผ่นหนัง เหล่านั้นตัดตามขนาดเตียงบ้าง ตัดตามขนาดตั่งบ้าง ปูลาดไว้ภายในเตียงบ้าง ปูลาดไว้ภายนอกเตียงบ้าง ปูลาดไว้ภายในตั่งบ้าง ปูลาดไว้ภายนอกตั่งบ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๘}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๕. จัมมขันธกะ]
๑๕๕. สัพพจัมมปฏิกเขปะ
คนทั้งหลายเดินเที่ยวไปตามวิหารพบเข้า จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้หนังผืนใหญ่ คือ หนังสีหะ หนังเสือโคร่ง หนังเสือเหลือง รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ต่อมา พวกภิกษุฉัพพัคคีย์รู้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงห้ามหนังผืนใหญ่ จึงใช้ หนังโค ตัดตามขนาดเตียงบ้าง ตัดตามขนาดตั่งบ้าง ปูลาดไว้ภายในเตียงบ้าง ปูลาดไว้ภายนอกเตียงบ้าง ปูลาดไว้ภายในตั่งบ้าง ปูลาดไว้ภายนอกตั่งบ้างเรื่องภิกษุใจบาปขอหนังลูกโค มีภิกษุใจบาปรูปหนึ่งเป็นพระใกล้ชิดตระกูลของอุบาสกใจบาปคนหนึ่ง เช้าวัน หนึ่ง ภิกษุนั้นครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเดินไปบ้านของอุบาสกนั้น นั่ง บนอาสนะที่เขาจัดไว้ ลำดับนั้น อุบาสกใจบาปนั้นเข้าไปหาภิกษุใจบาปถึงอาสนะ ไหว้แล้วนั่งลง ณ ที่สมควร อุบาสกใจบาปนั้นมีลูกโครุ่นรูปร่างงดงาม น่าดู น่าชม คล้ายลูกเสือเหลือง ภิกษุใจบาปนั้นจึงมองลูกโคนั้นด้วยความสนใจ อุบาสกถามภิกษุว่า พระคุณเจ้า ท่านมองดูลูกโคอย่างสนใจ เพื่ออะไรกัน ภิกษุตอบว่า อุบาสก อาตมาอยากได้หนังของมัน เขาจึงฆ่าลูกโคแล้วถลกหนังมาถวายภิกษุใจบาปนั้น ลำดับนั้น ภิกษุใจบาป นั้นใช้สังฆาฏิห่อหนังเดินจากไป แม่โคจึงเดินตามภิกษุเพราะความรักลูก ภิกษุทั้งหลายถามภิกษุใจบาปนั้นว่า ทำไมแม่โคจึงเดินตามท่านเล่า ภิกษุนั้นตอบว่า ผมเองก็ไม่ทราบว่า มันเดินตามมาเพราะเหตุใด พอดีสังฆาฏิของภิกษุใจบาปนั้นเปื้อนเลือด ภิกษุทั้งหลายจึงกล่าวอย่างนี้ว่า สังฆาฏิผืนนี้ท่านห่ออะไรไว้ ภิกษุนั้นจึงบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๙}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๕. จัมมขันธกะ]
๑๕๖. คิหิวิกตานุญญาตาทิ
พวกภิกษุถามว่า ท่านชักชวนให้ฆ่าสัตว์หรือ ภิกษุนั้นกล่าวว่า อย่างนั้น ท่านทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุจึง ชักชวนให้ฆ่าสัตว์เล่า พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิการฆ่าสัตว์ ทรงสรรเสริญการงด เว้นจากการฆ่าสัตว์มิใช่หรือ แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบเรื่องทรงห้ามใช้หนังโคเป็นต้น ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุใจบาปรูปนั้นว่า ภิกษุ ทราบว่าเธอชักชวนให้ฆ่าสัตว์ จริงหรือ ภิกษุนั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงชักชวนให้ฆ่าสัตว์ เล่า โมฆบุรุษ เราตำหนิการฆ่าสัตว์ สรรเสริญการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ โดย ประการต่างๆ มิใช่หรือ โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้ เลื่อมใส ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงชักชวนให้ฆ่าสัตว์ รูปใดชักชวน พึงปรับอาบัติตามธรรม ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้หนังโค รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย หนังอะไรก็ตาม ภิกษุไม่พึงใช้ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ๑๕๖. คิหิวิกตานุญญาตาทิ ว่าด้วยทรงอนุญาตเครื่องคิหิวิกัต๑- เป็นต้น [๒๕๖] สมัยนั้น เตียงก็ดี ตั่งก็ดีของคนทั้งหลาย หุ้มด้วยหนังบ้าง รัดด้วย หนังบ้าง ภิกษุทั้งหลายยำเกรงอยู่จึงไม่นั่งทับ @เชิงอรรถ : @๑ คิหิวิกัต หมายถึงเครื่องใช้สอยของพวกคฤหัสถ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๐}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๕. จัมมขันธกะ]
๑๕๖. คิหิวิกตานุญญาตาทิ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นั่งทับเตียงตั่งที่เป็น คิหิวิกัต แต่ไม่อนุญาตให้นอนทับ ต่อมา วิหารทั้งหลายเขาผูกรัดด้วยเชือกหนัง ภิกษุทั้งหลายยำเกรงอยู่จึงไม่ นั่งพิง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นั่งพิงเฉพาะเชือกทรงห้ามและอนุญาตให้สวมรองเท้าเข้าหมู่บ้าน เรื่องพระฉัพพัคคีย์สวมรองเท้าเข้าหมู่บ้านและภิกษุเป็นไข้ สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สวมรองเท้าเข้าหมู่บ้าน คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้าเข้าหมู่บ้าน รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ ต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้ ไม่สวมรองเท้าไม่อาจเข้าหมู่บ้านได้ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุไข้สวมรองเท้าเข้า หมู่บ้านได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๑}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๒๗-๓๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=5&siri=4 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=5&A=468&Z=544 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=15 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=15&items=5 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=3779 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=15&items=5 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=3779 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd5/en/brahmali#pli-tv-kd5:10.4.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd5/en/horner-brahmali#BD.4.256
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() |
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]