บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]
๒๒๑. ปัจฏิมวิกัปปนุปคจีวราทิกถา
เรื่องทรงอนุญาตให้ถือวิสาสะผ้าเปลือกไม้ [๓๕๖] สมัยนั้น มัลลกษัตริย์ชื่อโรชะ เป็นสหายของท่านพระอานนท์ มัลลกษัตริย์โรชะนั้นฝากผ้าเปลือกไม้เก่าไว้กับท่านพระอานนท์ ท่านพระอานนท์ เองก็มีความต้องการผ้าเปลือกไม้เก่า ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ผู้ประกอบด้วย คุณสมบัติ ๕ อย่างถือวิสาสะได้ คือ ๑. เคยเห็นกันมา ๒. เคยคบกันมา ๓. เคยบอกอนุญาตไว้ ๔. เขายังมีชีวิตอยู่ ๕. รู้ว่า เมื่อเราถือเอาแล้ว เขา(ผู้เป็นเจ้าของ)จะพอใจ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติ ๕ อย่างนี้ถือวิสาสะ กันได้เรื่องไตรจีวรบริบูรณ์ [๓๕๗] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายมีไตรจีวรบริบูรณ์ แต่ยังต้องการผ้ากรอง น้ำบ้าง ถุงบ้าง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าบริขาร๒๒๑. ปัจฉิมวิกัปปนุปคจีวราทิกถา ว่าด้วยผ้าที่ต้องวิกัปเป็นอย่างต่ำเป็นต้น เรื่องอธิษฐาน [๓๕๘] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า ผ้าที่พระผู้มีพระภาค ทรงอนุญาต คือไตรจีวร ผ้าอาบน้ำฝน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน ผ้าปิดฝี ผ้าเช็ดปาก หรือผ้าบริขาร ต้องอธิษฐานทั้งหมดหรือ หรือว่าต้องวิกัป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๒๙}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]
๒๒๑. ปัจฏิมวิกัปปนุปคจีวราทิกถา
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อธิษฐานผ้าไตรจีวร ไม่ใช่ให้วิกัป ให้อธิษฐาน ผ้าอาบน้ำฝนตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน พ้นเขตนั้นให้วิกัปไว้ ให้อธิษฐานผ้าปูนั่ง ไม่ใช่ให้วิกัป ให้อธิษฐานผ้าปูนอน ไม่ใช่ให้วิกัป ให้อธิษฐานผ้า ปิดฝีตลอดเวลาที่อาพาธ พ้นจากนั้นให้วิกัปไว้ ให้อธิษฐานผ้าเช็ดปาก ไม่ใช่ให้วิกัป ให้อธิษฐานผ้าบริขาร ไม่ใช่ให้วิกัปเรื่องจีวรมีขนาดเพียงไรจึงต้องวิกัป สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความคิดดังนี้ว่า จีวรมีขนาดเพียงไรเป็นอย่างต่ำ พึงวิกัป ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้วิกัปจีวรมีขนาดยาว ๘ นิ้ว กว้าง ๔ นิ้ว โดยนิ้วสุคตเป็นอย่างต่ำเรื่องอุตตราสงค์ที่ทำจากผ้าบังสุกุลหนัก [๓๕๙] สมัยนั้น อุตตราสงค์ที่ทำจากผ้าบังสุกุลของท่านพระมหากัสสปะหนัก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เย็บดามด้วยด้ายเรื่องชายสังฆาฏิไม่เสมอกัน สังฆาฏิมีชายไม่เสมอกัน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อชายที่ไม่เท่ากันออก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๓๐}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]
๒๒๑. ปัจฏิมวิกัปปนุปคจีวราทิกถา
เรื่องด้ายหลุดลุ่ย ด้ายหลุดลุ่ย ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ติดผ้าอนุวาตหุ้มขอบเรื่องแผ่นสังฆาฏิลุ่ยออก สมัยนั้น แผ่นสังฆาฏิลุ่ยออก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เย็บตะเข็บดังตา หมากรุกเรื่องผ้าไม่พอ [๓๖๐] สมัยนั้น เมื่อสงฆ์กำลังทำไตรจีวรให้ภิกษุรูปหนึ่ง ผ้าตัดทั้งหมดไม่พอ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าที่ต้องตัด ๒ ผืน ไม่ตัด ๑ ผืน ผ้าที่ตัด ๒ ผืน ที่ไม่ตัด ๑ ผืน ผ้าก็ยังไม่พอ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าที่ไม่ตัด ๒ ผืน ตัด ๑ ผืนเรื่องผ้าเพลาะ ผ้าที่ไม่ตัด ๒ ผืน ที่ตัด ๑ ผืน ผ้าก็ยังไม่พอ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ติดผ้าเพลาะ ภิกษุ ทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุไม่พึงใช้ผ้าที่ไม่ได้ตัดทั้งหมด รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๓๑}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๒๒๙-๒๓๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=5&siri=41 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=5&A=4195&Z=4237 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=159 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=159&items=3 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=4916 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=159&items=3 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=4916 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd8/en/brahmali#pli-tv-kd8:19.1.1 https://suttacentral.net/pli-tv-kd8/en/horner-brahmali#Kd.8.19
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]