ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒
๒๒๒. สังฆิกจีวรุปปาทกถา
ว่าด้วยการให้จีวรเกิดขึ้นแก่สงฆ์
เรื่องภิกษุรูปเดียวจำพรรษา
[๓๖๓] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอยู่จำพรรษาผู้เดียว คนทั้งหลายในถิ่นนั้นได้ ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า “พวกเราขอถวายแก่สงฆ์” ต่อมา ภิกษุนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ‘ภิกษุมี ๔ รูปเป็นอย่างน้อย ชื่อว่าสงฆ์’ แต่เรามีผู้เดียว และคนเหล่านี้ได้ถวาย จีวรด้วยกล่าวว่า ‘พวกเราขอถวายแก่สงฆ์’ อย่ากระนั้นเลย เราพึงนำจีวรของสงฆ์ เหล่านี้ไปกรุงสาวัตถี” แล้วได้นำจีวรเหล่านั้นไปยังกรุงสาวัตถี ได้กราบทูลเรื่องนี้ให้ พระผู้มีพระภาคทรงทราบ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอผู้เดียวจนถึงคราว เดาะกฐิน ภิกษุทั้งหลาย แต่ในกรณีนี้มีภิกษุจำพรรษารูปเดียว คนทั้งหลายในถิ่น นั้นได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า ‘พวกเราขอถวายแก่สงฆ์’ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต จีวรเหล่านั้นแก่เธอรูปเดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๓๔}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]

๒๒๒. สังฆิกจีวรุปปาทกถา

เรื่องภิกษุอยู่รูปเดียวตลอดฤดูกาล
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอยู่รูปเดียวตลอดฤดูกาล๑- คนทั้งหลายในถิ่นนั้นได้ ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า “พวกเราขอถวายแก่สงฆ์” ลำดับนั้น ภิกษุนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ‘ภิกษุมี ๔ รูปเป็นอย่างน้อย ชื่อว่าสงฆ์’ แต่เรามีผู้เดียว และคนเหล่านี้ได้ถวาย จีวรด้วยกล่าวว่า ‘พวกเราขอถวายแก่สงฆ์’ อย่ากระนั้นเลย เราพึงนำจีวรของสงฆ์ เหล่านี้ไปกรุงสาวัตถี” แล้วได้นำจีวรเหล่านั้นไปยังกรุงสาวัตถี แล้วบอกเรื่องนั้นแก่ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สงฆ์พร้อมใจกันแจกกัน ภิกษุทั้งหลาย แต่ในกรณีนี้ภิกษุอยู่รูปเดียวตลอดฤดูกาล คนทั้งหลายในถิ่น นั้นได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า ‘พวกเราขอถวายแก่สงฆ์’ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุนั้นอธิษฐานจีวรเหล่านั้นว่า ‘จีวรเหล่านี้เป็น ของเรา’ ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นยังไม่ได้อธิษฐานจีวรนั้น มีภิกษุรูปอื่นมาก็พึง ให้ส่วนแบ่งเท่าๆ กัน ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังแบ่งจีวรนั้น แต่ยังไม่ได้จับสลาก มีภิกษุรูปอื่นมาก็พึงให้ส่วนแบ่งเท่าๆ กัน ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังแบ่งจีวรนั้น และจับสลากเสร็จ แล้วมีภิกษุรูปอื่นมา ภิกษุเหล่านั้นไม่ต้องการก็ไม่ต้องให้ส่วนแบ่ง” @เชิงอรรถ : @ ฤดูกาล ในที่นี้ หมายถึงฤดูกาลอื่นนอกจากฤดูฝน (วิ.อ. ๓/๓๖๓/๒๒๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๓๕}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]

๒๒๒. สังฆิกจีวรุปปาทกถา

เรื่องพระเถระสองพี่น้อง
สมัยนั้น มีพระเถระสองพี่น้อง คือ ท่านพระอิสิทาสและท่านพระอิสิภัต จำ พรรษาอยู่ในกรุงสาวัตถี ได้เดินทางไปอาวาสใกล้บ้านแห่งหนึ่ง คนทั้งหลายกล่าวว่า “นานๆ พระเถระทั้งหลายจะมา” จึงได้ถวายภัตตาหาร พร้อมด้วยจีวร ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ประจำในอาวาสถามพระเถระทั้งสองว่า “ท่านขอรับ จีวร ของสงฆ์เหล่านี้เกิดขึ้นเพราะอาศัยพระเถระ พระเถระจะยินดีส่วนแบ่งไหม” พระเถระทั้งสองกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกเรารู้ทั่วถึงธรรมตามที่ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว จีวรเหล่านั้นเป็นของพวกท่านเท่านั้นจนถึงคราว เดาะกฐิน”
เรื่องภิกษุ ๓ รูปจำพรรษาในกรุงราชคฤห์
สมัยนั้น ภิกษุ ๓ รูปจำพรรษาอยู่ในกรุงราชคฤห์ คนทั้งหลายในถิ่นนั้น ได้ถวายจีวรโดยกล่าวว่า “พวกเราขอถวายแก่สงฆ์” ต่อมา ภิกษุเหล่านั้นได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ‘ภิกษุมี ๔ รูปเป็นอย่างน้อย ชื่อว่าสงฆ์’ แต่พวกเรามีอยู่ ๓ รูป และคนเหล่านี้ได้ ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า ‘พวกเราขอถวายแก่สงฆ์’ พวกเราจะปฏิบัติอย่างไรหนอ” สมัยนั้น พระเถระหลายรูป คือ ท่านพระนีลวาสี ท่านพระสาณวาสี ท่าน พระโคปกะ ท่านพระภคุ และท่านพระผลิกสันทานะอยู่ในกุกกุฏาราม เขตกรุง ปาตลีบุตร ภิกษุ ๓ รูปนั้นได้เดินทางไปกรุงปาตลีบุตรแล้วสอบถามพระเถระทั้งหลาย พระเถระทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกเรารู้ทั่วถึงธรรมตามที่ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว จีวรเหล่านั้นเป็นของพวกท่านเท่านั้นจนถึงคราว เดาะกฐิน” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๓๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๒๓๔-๒๓๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=5&siri=43              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=5&A=4274&Z=4312                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=164              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=164&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=4940              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=164&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=4940                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd8/en/brahmali#pli-tv-kd8:24.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd8/en/horner-brahmali#Kd.8.24.1



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :