บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]
๒๓๔. กัสสปโคตตภิกขุวัตถุ
๙. จัมเปยยขันธกะ ๒๓๔. กัสสปโคตตภิกขุวัตถุ ว่าด้วยพระกัสสปโคตร เรื่องพระกัสสปโคตรผู้อยู่ประจำในอาวาส ณ วาสภคาม [๓๘๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งสระโบกขรณีชื่อคัคครา เขต กรุงจัมปา ครั้งนั้น ในแคว้นกาสี มีหมู่บ้านชื่อวาสภคาม ภิกษุชื่อกัสสปโคตรอยู่ประจำ ในอาวาสในที่นั้น ฝักใฝ่กังวลอยู่ ขวนขวายอยู่ว่า ด้วยวิธีใดหนอ ภิกษุผู้มีศีลดีงาม ที่ยังไม่มาพึงมา และภิกษุผู้มีศีลดีงามที่มาแล้วพึงอยู่เป็นผาสุก และอาวาสนี้จะเจริญ งอกงามไพบูลย์ได้ สมัยนั้น ภิกษุจำนวนหลายรูปเที่ยวจาริกไปในแคว้นกาสี จนถึงวาสภคาม ภิกษุ กัสสปโคตรได้เห็นภิกษุเหล่านั้นเดินมาแต่ไกล จึงปูอาสนะ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ลุกไปรับบาตรและจีวร ต้อนรับด้วยน้ำดื่ม จัดแจงน้ำสรง แม้ ข้าวต้ม ของเคี้ยว ภัตตาหารก็จัดแจงให้ ครั้งนั้น ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นได้ปรึกษากันดังนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ภิกษุ อยู่ประจำในอาวาสรูปนี้ดีจริง ได้จัดแจงน้ำสรง แม้ข้าวต้ม ของเคี้ยว ภัตตาหาร ก็จัดแจงให้ เอาเถอะพวกเราพักอยู่ในวาสภคามนี้แหละ ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้น ได้พักอยู่ในวาสภคามนั้นเอง ต่อมา ภิกษุกัสสปโคตรได้มีความคิดดังนี้ว่า ภิกษุอาคันตุกะเหล่านี้ไม่ต้อง ลำบากในฐานะที่เป็นพระอาคันตุกะ เวลานี้ภิกษุอาคันตุกะเหล่านี้ที่ไม่ชำนาญทางโคจร๑- ก็ชำนาญแล้ว การทำความจัดแจงในตระกูลคนอื่นจนตลอดชีวิตทำได้ยาก อนึ่ง @เชิงอรรถ : @๑ ทางโคจร หมายถึงหนทางที่จะไปบิณฑบาต สถานที่เที่ยวไปเพื่อก้อนข้าว (วิ.อ. ๓/๓๕๗/๓๙๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๖๐}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]
๒๓๔. กัสสปโคตตภิกขุวัตถุ
การออกปากขอย่อมไม่เป็นที่ชอบใจของคนทั้งหลาย อย่ากระนั้นเลย เราไม่พึงจัดแจง ข้าวต้มของเคี้ยวภัตตาหาร แล้วเลิกจัดแจงข้าวต้มของเคี้ยวภัตตาหาร ลำดับนั้น ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นปรึกษากันว่า ท่านทั้งหลาย เมื่อก่อนนี้ ภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาสรูปนี้จัดแจงน้ำสรง แม้ข้าวต้มของเคี้ยวภัตตาหารก็จัดแจงให้ เวลานี้ ภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาสรูปนี้ไม่จัดแจงข้าวต้มของเคี้ยวภัตตาหารแล้ว ท่าน ทั้งหลาย บัดนี้ภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาสรูปนี้ไม่ดีเสียแล้ว เอาเถอะพวกเราจงลง อุกเขปนียกรรมภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาสรูปนี้ออกไป ครั้งนั้น ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้น ประชุมกัน ได้กล่าวกะภิกษุกัสสปโคตรนั้นดังนี้ว่า ท่าน เมื่อก่อน ท่านจัดแจงน้ำสรง แม้ข้าวต้มของเคี้ยวภัตตาหารก็จัดให้ เวลานี้ไม่จัดแจงข้าวต้มของเคี้ยวภัตตาหาร เสียแล้ว ท่านต้องอาบัติแล้ว ท่านเห็นอาบัตินั้นไหม ภิกษุกัสสปโคตรกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงเห็น ครั้งนั้น พวกภิกษุอาคันตุกะได้ลงอุกเขปนียกรรมภิกษุกัสสปโคตร เพราะการ ไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ลำดับนั้น ภิกษุกัสสปโคตรได้มีความคิดดังนี้ว่า เราไม่รู้เรื่องนี้ว่า นั่นเป็นอาบัติ หรือไม่เป็นอาบัติ เราต้องอาบัติหรือไม่ต้องอาบัติ เราถูกลงอุกเขปนียกรรม หรือ ไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรม ด้วยกรรมที่ชอบธรรมหรือไม่ชอบธรรม ถูกต้องหรือไม่ ถูกต้อง ควรแก่เหตุหรือไม่ควรแก่เหตุ อย่ากระนั้นเลย เราพึงเดินทางไปกรุงจัมปา แล้วกราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเกี่ยวกับเรื่องนั้น ครั้งนั้น ภิกษุกัสสปโคตรเก็บเสนาสนะถือบาตรและจีวร เดินทางไปกรุงจัมปา เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งลง ณ ที่สมควรพุทธประเพณี การที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายทรงปราศรัยกับภิกษุอาคันตุกะทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๖๑}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]
๒๓๔. กัสสปโคตตภิกขุวัตถุ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุกัสสปโคตรดังนี้ว่า ภิกษุ เธอยัง สบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ เธอเดินทางไกลมาไม่ลำบากหรือ เธอมาจาก ที่ไหน ภิกษุกัสสปโคตรกราบทูลว่า ยังสบายดี พระพุทธเจ้าข้า ยังพอเป็นอยู่ได้ พระพุทธเจ้าข้า และข้าพระองค์เดินทางไกลมาไม่ลำบาก พระพุทธเจ้าข้า ในชนบท แคว้นกาสีมีหมู่บ้านชื่อวาสภะ ข้าพระองค์อยู่ประจำในอาวาสในที่นั้น ฝักใฝ่ในการ ก่อสร้าง ขวนขวายอยู่ว่า ด้วยวิธีใดหนอ ภิกษุผู้มีศีลดีงามที่ยังไม่มาพึงมา และ ภิกษุผู้มีศีลดีงามที่มาแล้วพึงอยู่เป็นผาสุก และอาวาสนี้จะเจริญงอกงามไพบูลย์ได้ พระพุทธเจ้าข้า ต่อมา ภิกษุจำนวนหลายรูปเที่ยวจาริกไปในแคว้นกาสี จนถึง วาสภคาม ข้าพระองค์ได้เห็นภิกษุเหล่านั้นเดินมาแต่ไกล จึงปูอาสนะ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ลุกไปรับบาตรและจีวร ต้อนรับด้วยน้ำดื่ม จัดแจงน้ำสรง แม้ข้าวต้มของเคี้ยวภัตตาหารก็จัดแจงให้ พระพุทธเจ้าข้า ครั้งนั้น ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นได้ปรึกษากันดังนี้ว่า ท่าน ทั้งหลาย ภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาสรูปนี้ดีจริง ได้จัดแจงน้ำสรง แม้ข้าวต้มของเคี้ยว ภัตตาหารก็จัดแจงให้ เอาเถอะพวกเราพักอยู่ในวาสภคามนี้แหละ ภิกษุอาคันตุกะ เหล่านั้นได้พักอยู่ในวาสภคามนั้นเอง พระพุทธเจ้าข้า ต่อมา ข้าพระองค์ได้มีความคิดดังนี้ว่า ภิกษุอาคันตุกะ เหล่านี้ไม่ต้องลำบากในฐานะที่เป็นพระอาคันตุกะ เวลานี้ภิกษุอาคันตุกะเหล่านี้ที่ไม่ ชำนาญทางโคจรก็ชำนาญแล้ว การทำความจัดแจงในตระกูลคนอื่นจนตลอดชีวิตทำ ได้ยาก อนึ่ง การออกปากขอย่อมไม่เป็นที่ชอบใจของคนทั้งหลาย อย่ากระนั้นเลย เราไม่พึงจัดแจงข้าวต้มของเคี้ยวภัตตาหาร แล้วเลิกจัดแจงข้าวต้มของเคี้ยวภัตตาหาร พระพุทธเจ้าข้า ลำดับนั้น ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นปรึกษากันว่า ท่านทั้งหลาย เมื่อก่อนนี้ ภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาสรูปนี้จัดแจงน้ำสรง แม้ข้าวต้มของเคี้ยวภัตตา หารก็จัดแจงให้ เวลานี้ ภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาสรูปนี้ไม่จัดแจงข้าวต้ม ของเคี้ยว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๖๒}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]
๒๓๔. กัสสปโคตตภิกขุวัตถุ
ภัตตาหารแล้ว ท่านทั้งหลาย บัดนี้ ภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาสรูปนี้ ไม่ดีเสียแล้ว เอาเถอะ พวกเราจงลงอุกเขปนียกรรมภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาสรูปนี้ออกไป พระพุทธเจ้าข้า ครั้งนั้น ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นประชุมกัน ได้กล่าวกับ ข้าพระองค์ดังนี้ว่า ท่าน เมื่อก่อนท่านจัดแจงน้ำสรง แม้ข้าวต้ม ของเคี้ยว ภัตตาหาร ก็จัดแจงให้ เวลานี้ไม่จัดแจงข้าวต้มของเคี้ยวภัตตาหารเสียแล้ว ท่านต้องอาบัติแล้ว ท่านเห็นอาบัตินั้นไหม ข้าพระองค์กล่าวว่า ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงเห็น พระพุทธเจ้าข้า ครั้งนั้น พวกภิกษุอาคันตุกะได้ลงอุกเขปนียกรรมข้าพระองค์ เพราะการไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ข้าพระองค์ได้มีความคิดดังนี้ว่า เราไม่รู้เรื่องนี้ว่า นั่นเป็นอาบัติหรือไม่เป็นอาบัติ เราต้องอาบัติหรือไม่ต้องอาบัติ เราถูกลงอุกเขปนียกรรมหรือไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรม ด้วยกรรมที่ชอบธรรมหรือไม่ชอบธรรม ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ควรแก่เหตุหรือไม่ควร แก่เหตุ อย่ากระนั้นเลย เราพึงเดินทางไปกรุงจัมปาแล้วกราบทูลถามพระผู้มีพระภาค เกี่ยวกับเรื่องนั้น ข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมาจากวาสภคามนั้น พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุ นั่นไม่เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติหามิได้ เธอ ไม่ต้องอาบัติ เธอต้องอาบัติหามิได้ เธอไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรม เธอถูกลงอุกเขปนีย กรรมหามิได้ เธอถูกลงอุกเขปนียกรรมด้วยกรรมที่ไม่ชอบธรรม ไม่ถูกต้อง ไม่ควร แก่เหตุ เธอจงไปอยู่ในวาสภคามนั่นแหละ ภิกษุกัสสปโคตรทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้วลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วกลับไปสู่วาสภคาม [๓๘๑] ครั้งนั้น ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นมีความกังวลใจ มีความเดือดร้อน ใจปรึกษากันว่า ไม่ใช่ลาภของพวกเรา พวกเราไม่มีลาภหนอ พวกเราได้ชั่วแล้วหนอ พวกเราได้ไม่ดีแล้วหนอ ที่ลงอุกเขปนียกรรมภิกษุผู้บริสุทธิ์ ผู้ไม่ต้องอาบัติ เพราะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๖๓}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]
๒๓๔. กัสสปโคตตภิกขุวัตถุ
เรื่องที่ไม่สมควร เพราะเหตุไม่สมควร เอาเถอะ พวกเราจะเดินทางไปกรุงจัมปาแล้ว แสดงโทษที่ล่วงเกินโดยยอมรับผิดในพุทธสำนัก ลำดับนั้น ภิกษุอาคันตุกะพวกนั้น ได้เก็บเสนาสนะ ถือบาตรและจีวรเดินทาง ไปกรุงจัมปา เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้ถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร การที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายทรงสนทนาปราศรัยกับภิกษุอาคันตุกะ ทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ พวกเธอเดินทางไกลมาไม่ลำบากหรือ พวกเธอมาจากที่ไหน พวกภิกษุอาคันตุกะกราบทูลว่า สบายดี พระพุทธเจ้าข้า ยังพอเป็นอยู่ได้ พระพุทธเจ้าข้า และพวกข้าพระองค์เดินทางไกลมาไม่ลำบาก พระพุทธเจ้าข้า ใน ชนบทแคว้นกาสี มีหมู่บ้านชื่อวาสภคาม พวกข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมาจากวาสภคาม พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอลงอุกเขปนียกรรมภิกษุ ที่อยู่ประจำในอาวาสหรือ พวกภิกษุอาคันตุกะกราบทูลว่า อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า พวกเธอลงอุกเขปนียกรรมเพราะเรื่องอะไร เพราะเหตุไร พวกภิกษุอาคันตุกะกราบทูลว่า เพราะเรื่องที่ไม่สมควร เพราะเหตุไม่สมควร พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวก เธอไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำเลย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๖๔}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]
๒๓๔. กัสสปโคตตภิกขุวัตถุ
โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงได้ลงอุกเขปนียกรรมภิกษุผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติ เพราะเรื่องที่ไม่สมควร เพราะเหตุที่ไม่สมควรเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การทำอย่าง นี้มิได้เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้วทรง แสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงลงอุกเขปนีย กรรมภิกษุผู้บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติ เพราะเรื่องไม่สมควร เพราะเหตุไม่สมควร สงฆ์หมู่ใด ลงอุกเขปนียกรรม ต้องอาบัติทุกกฏ ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้ลุกจากอาสนะ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่งซบ ศีรษะลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้กราบทูลดังนี้ว่า พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายได้กระทำความผิดเพราะความโง่เขลาเบาปัญญา ที่ได้ลงอุกเขปนีย กรรมภิกษุผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติ เพราะเรื่องที่ไม่ควร เพราะเหตุไม่สมควร ขอพระ ผู้มีพระภาคทรงโปรดรับการขอขมา เพื่อความสำรวมต่อไปเถิด พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เอาเถิด ภิกษุทั้งหลาย การที่พวกเธอทั้งหลายได้ กระทำความผิดเพราะความโง่เขลาเบาปัญญา ที่ได้ลงอุกเขปนียกรรมภิกษุผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติ เพราะเรื่องที่ไม่ควร เพราะเหตุไม่สมควร ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ พวกเธอเห็นความผิดเป็นความผิดแล้ว แก้ไขให้ถูกต้อง ข้อนั้นเรายอมรับ ภิกษุทั้งหลาย เพราะการที่บุคคลเห็นความผิดเป็นความผิดแล้วแก้ไขให้ถูกต้องและสำรวมต่อไป นี้เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๖๕}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]
๒๓๕. อธัมมวัคคาทิกัมมกถา
๒๓๕. อธัมมวัคคาทิกัมมกถา ว่าด้วยกรรมที่แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมเป็นต้น เรื่องภิกษุชาวกรุงจัมปาทำกรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมเป็นต้น [๓๘๒] สมัยนั้น พวกภิกษุในกรุงจัมปาทำกรรมเช่นนี้ คือ ทำกรรม แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม ทำกรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ทำกรรม แบ่งพวกโดยชอบธรรม ทำกรรมแบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป๑- ทำกรรมพร้อมเพรียง กันโดยธรรมปฏิรูป ภิกษุรูปเดียวลงอุกเขปนียกรรมภิกษุรูปเดียวบ้าง ภิกษุรูป เดียวลงอุกเขปนียกรรมภิกษุ ๒ รูปบ้าง ภิกษุรูปเดียวลงอุกเขปนียกรรมภิกษุ หลายรูปบ้าง ภิกษุรูปเดียวลงอุกเขปนียกรรมสงฆ์บ้าง ภิกษุ ๒ รูปลง อุกเขปนียกรรมภิกษุรูปเดียวบ้าง ภิกษุ ๒ รูปลงอุกเขปนียกรรมภิกษุ ๒ รูปบ้าง ภิกษุ ๒ รูปลงอุกเขปนียกรรมภิกษุหลายรูปบ้าง ภิกษุ ๒ รูปลงอุกเขปนียกรรม สงฆ์บ้าง ภิกษุหลายรูปลงอุกเขปนียกรรมภิกษุรูปเดียวบ้าง ภิกษุหลายรูปลง อุกเขปนียกรรมภิกษุ ๒ รูปบ้าง ภิกษุหลายรูปลงอุกเขปนียกรรมภิกษุหลายรูปบ้าง ภิกษุหลายรูปลงอุกเขปนียกรรมสงฆ์บ้าง สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมสงฆ์บ้าง @เชิงอรรถ : @๑ ธรรมปฏิรูป แปลว่า ธรรมปลอม,ธรรมเทียม,ธรรมที่ไม่แท้ ในคัมภีร์อรรถกถา กล่าวถึงสัทธรรมที่ไม่แท้ @ที่ชื่อว่าสัทธรรมปฏิรูป ๒ อย่างคือ @๑. อธิคมสัทธรรมปฏิรูป คือ ธรรมที่เป็นเหตุเศร้าหมองแห่งวิปัสสนาญาณ เช่น โอภาส ญาณ ปีติ @ปัสสัทธิ สุข เป็นต้น ที่เป็นเหตุให้จิตหวั่นไหว @๒. ปริยัตติสัทธรรมปฏิรูป ได้แก่ สิ่งที่ไม่ใช่พระพุทธพจน์ คือ คัมภีร์คุฬหวินัย คัมภีร์คุฬห @เวสสันดรชาดก คัมภีร์คุฬหมโหสธชาดก คัมภีร์วรรณปิฎก คัมภีร์องคุลิมาลปิฎก คัมภีร์เวทัลลปิฎก @คัมภีร์รัฏฐปาลคัชชิตะ คัมภีร์อาฬวกคัชชิตะ ที่ไม่ได้ยกขึ้นสู่การสังคายนา ๓ ครั้ง อยู่นอกเหนือจาก @กถาวัตถุ ๕ เหล่านี้ ธาตุกถา อารัมมณกถา อสุภกถา ญาณกถา วิชชากรัณฑกะ (สํ.นิ.อ. ๒/๑๕๖/๒๒๓-๒๒๔) @เป็นคำสอนของอธรรมวาทีนิกายต่างๆ ที่แสดงช่วงก่อนสังคายนาครั้งที่ ๓ และมีการสอบ @ถามเมื่อคราวสังคายนาครั้งที่ ๓ ชื่อคัมภีร์เหล่านี้มีกล่าวถึงในอรรถกถา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๖๖}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]
๒๓๕. อธัมมวัคคาทิกัมมกถา
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนพวกภิกษุใน กรุงจัมปาจึงทำกรรมเช่นนี้เล่า คือ ทำกรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม ฯลฯ สงฆ์ ลงอุกเขปนียกรรมสงฆ์บ้าง ครั้นแล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบ ฯลฯ พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามว่า ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุในกรุง จัมปาทำกรรมเช่นนี้ คือ ทำกรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม ฯลฯ สงฆ์ลงอุกเขปนีย กรรมสงฆ์บ้าง จริงหรือ ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิทรงแสดงธรรมีกถา แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่าเรื่องพระผู้มีพระภาคตรัสห้ามเพราะไม่ชอบธรรม [๓๘๓] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเป็นกรรมที่แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม ไม่จัดเป็น กรรมและไม่ควรทำ ถ้าเป็นกรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ไม่จัดเป็น กรรมและไม่ควรทำ ถ้าเป็นกรรมที่แบ่งพวกโดยชอบธรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ ควรทำ ถ้าเป็นกรรมที่แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ถ้า กรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุรูป เดียวลงอุกเขปนียกรรมภิกษุรูปเดียว ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุรูปเดียว ลงอุกเขปนียกรรมภิกษุ ๒ รูป ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุรูปเดียวลง อุกเขปนียกรรมภิกษุหลายรูป ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุรูปเดียวลง อุกเขปนียกรรมสงฆ์ ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุ ๒ รูปลงอุกเขปนีย กรรมภิกษุรูปเดียว ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุ ๒ รูปลงอุกเขปนียกรรม ภิกษุ ๒ รูป ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุ ๒ รูปลงอุกเขปนียกรรมภิกษุ หลายรูป ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุ ๒ รูปลงอุกเขปนียกรรมสงฆ์ ไม่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๖๗}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]
๒๓๕. อธัมมวัคคาทิกัมมกถา
จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุหลายรูปลงอุกเขปนียกรรมภิกษุรูปเดียว ไม่จัด เป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุหลายรูปลงอุกเขปนียกรรมภิกษุ ๒ รูป ไม่จัดเป็น กรรมและไม่ควรทำ ภิกษุหลายรูปลงอุกเขปนียกรรมภิกษุหลายรูป ไม่จัดเป็นกรรม และไม่ควรทำ ภิกษุหลายรูปลงอุกเขปนียกรรมสงฆ์ ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมสงฆ์ ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำกรรม ๔ ประเภท [๓๘๔] ภิกษุทั้งหลาย กรรม มี ๔ ประเภทเหล่านี้ คือ ๑. กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม (อธัมมวัคคกรรม) ๒. กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม (อธัมมสมัคคกรรม) ๓. กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม (ธัมมวัคคกรรม) ๔. กรรมพร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม (ธัมมสมัคคกรรม) ภิกษุทั้งหลาย ในกรรม ๔ ประเภทนั้น กรรมที่แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม นี้ชื่อว่าไม่ถูกต้อง ไม่ควรแก่เหตุ เพราะไม่ชอบธรรม เพราะแบ่งพวก ภิกษุทั้งหลาย กรรมเช่นนี้ไม่ควรทำและเราก็ไม่อนุญาต ภิกษุทั้งหลาย ในกรรม ๔ ประเภทนั้น กรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบ ธรรมนี้ชื่อว่าไม่ถูกต้อง ไม่ควรแก่เหตุ เพราะไม่ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย กรรม เช่นนี้ไม่ควรทำและเราก็ไม่อนุญาต ภิกษุทั้งหลาย ในกรรม ๔ ประเภทนั้น กรรมที่แบ่งพวกโดยชอบธรรมนี้ก็ ชื่อว่าไม่ถูกต้อง ไม่ควรแก่เหตุ เพราะแบ่งพวก ภิกษุทั้งหลาย กรรมเช่นนี้ไม่ควร ทำและเราก็ไม่อนุญาต ภิกษุทั้งหลาย ในกรรม ๔ ประเภทนั้น กรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยชอบ ธรรมนี้ชื่อว่าถูกต้อง ควรแก่เหตุ เพราะชอบธรรม เพราะพร้อมเพรียงกัน ภิกษุ ทั้งหลาย กรรมเช่นนี้ควรทำและเราก็อนุญาต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๖๘}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]
๒๓๖. ญัตติวิปันนกัปปาทิกถา
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า พวกเรา จะทำกรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม๒๓๖. ญัตติวิปันนกัปปาทิกถา ว่าด้วยกรรมที่ญัตติวิบัติเป็นต้น [๓๘๕] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทำกรรมเช่นนี้ คือ ทำกรรมแบ่งพวก โดยไม่ชอบธรรม ทำกรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ทำกรรมแบ่งพวกโดย ชอบธรรม ทำกรรมแบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ทำกรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ทำกรรมที่ญัตติวิบัติแต่อนุสาวนาสมบูรณ์บ้าง ทำกรรมที่อนุสาวนาวิบัติแต่ญัตติ สมบูรณ์บ้าง ทำกรรมที่ญัตติวิบัติอนุสาวนาวิบัติบ้าง ทำกรรมเว้นจากธรรม๑- บ้าง ทำ กรรมเว้นจากวินัยบ้าง ทำกรรมเว้นจากสัตถุศาสน์บ้าง ทำกรรมที่ถูกค้านแล้วและ ขืนทำ ไม่ชอบธรรม เป็นกรรมไม่ถูกต้อง ไม่ควรแก่เหตุบ้าง บรรดาภิกษุผู้มักน้อย จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ จึงทำกรรมเช่นนี้เล่า คือ ทำกรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม ทำกรรมพร้อมเพรียงกัน โดยไม่ชอบธรรม ทำกรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม ทำกรรมแบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ทำกรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ทำกรรมที่ญัตติวิบัติแต่อนุสาวนาสมบูรณ์ บ้าง ทำกรรมที่อนุสาวนาวิบัติแต่ญัตติสมบูรณ์บ้าง ทำกรรมที่ญัตติวิบัติอนุสาวนา วิบัติบ้าง ทำกรรมเว้นจากธรรมบ้าง ทำกรรมเว้นจากวินัยบ้าง ทำกรรมเว้นจาก สัตถุศาสน์บ้าง ทำกรรมที่ถูกค้านแล้วและขืนทำ ไม่ชอบธรรม เป็นกรรมไม่ถูกต้อง ไม่ควรแก่เหตุบ้าง ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ @เชิงอรรถ : @๑ เว้นจากธรรม คือ ไม่ทำกรรมด้วยเรื่องที่เป็นจริง ได้แก่ตามเรื่องที่เกิดขึ้น และไม่ทำกรรมโดยธรรม @(วิ.อ. ๓/๓๘๕/๒๓๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๖๙}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]
๒๓๖. ญัตติวิปันนกัปปาทิกถา
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามว่า ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าภิกษุฉัพพัคคีย์ทำ กรรมเช่นนี้จริงหรือ คือ แบ่งพวกทำกรรมโดยไม่ชอบธรรม ฯลฯ ทำกรรมที่ถูกค้าน แล้วและขืนทำ ไม่ชอบธรรม เป็นกรรมไม่ถูกต้อง ไม่ควรแก่เหตุบ้าง ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมี กถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่าเรื่องแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ [๓๘๖] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเป็นกรรมที่แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม ไม่จัดเป็นกรรม และไม่ควรทำ ถ้าเป็นกรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ไม่จัดเป็นกรรม และ ไม่ควรทำ ถ้าเป็นกรรมที่แบ่งพวกโดยชอบธรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ถ้าเป็นกรรมที่แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ถ้าเป็น กรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูปไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ถ้าเป็นกรรมญัตติวิบัติแต่อนุสาวนาสมบูรณ์ ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ถ้า เป็นกรรมอนุสาวนาวิบัติแต่ญัตติสมบูรณ์ ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ถ้าเป็นกรรม ที่ญัตติวิบัติ อนุสาวนาวิบัติ ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ กรรมที่เว้นจากธรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ กรรมที่เว้นจากวินัย ไม่ จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ กรรมที่เว้นจากสัตถุศาสน์ ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ถ้ากรรมที่ถูกค้านแล้วขืนทำ ไม่ชอบธรรม ไม่ถูกต้องและไม่ควรแก่เหตุ ก็ไม่จัดเป็น กรรมและไม่ควรทำ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๗๐}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]
๒๓๖. ญัตติวิปันนกัปปาทิกถา
กรรม ๖ ประเภท [๓๘๗] ภิกษุทั้งหลาย กรรมมี ๖ ประเภทเหล่านี้ คือ ๑. กรรมไม่ชอบธรรม (อธัมมกรรม)๑- ๒. กรรมแบ่งพวก (วัคคกรรม) ๓. กรรมพร้อมเพรียงกัน (สมัคคกรรม) ๔. กรรมแบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป (ธัมมปฏิรูปวัคคกรรม) ๕. กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป (ธัมมปฏิรูปสมัคคกรรม) ๖. กรรมพร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม (ธัมมสมัคคกรรม)อธิบายกรรมไม่ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่ชอบธรรม อะไรบ้าง คือ ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติ ทุติยกรรม ถ้าทำกรรมด้วยญัตติ ๑ ครั้ง ไม่สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่ ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าทำกรรมด้วยญัตติ ๒ ครั้ง แต่ไม่ สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าทำกรรมด้วยกรรมวาจา ๑ ครั้ง แต่ไม่ ตั้งญัตติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าทำกรรมด้วยกรรมวาจา ๒ ครั้ง แต่ไม่ ตั้งญัตติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าทำกรรมด้วยญัตติ ๑ ครั้ง แต่ไม่ สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าทำกรรมด้วยญัตติ ๒ ครั้ง แต่ไม่ สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม @เชิงอรรถ : @๑ ธรรม ในที่นี้ เป็นชื่อของบาลี (พระไตรปิฎก) (วิ.อ. ๓/๓๘๗/๒๓๙) ไม่ชอบธรรม จึงหมายถึง ไม่ถูกต้อง @ตามพระบาลี ไม่ถูกต้องตามพระพุทธพจน์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๗๑}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]
๒๓๖. ญัตติวิปันนกัปปาทิกถา
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าทำกรรมด้วยญัตติ ๓ ครั้ง แต่ไม่ สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าทำกรรมด้วยญัตติ ๔ ครั้ง แต่ไม่ สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าทำกรรมด้วยกรรมวาจา ๑ ครั้ง แต่ไม่ ตั้งญัตติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าทำกรรมด้วยกรรมวาจา ๒ ครั้ง แต่ไม่ ตั้งญัตติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าทำกรรมด้วยกรรมวาจา ๓ ครั้ง แต่ไม่ ตั้งญัตติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าทำกรรมด้วยกรรมวาจา ๔ ครั้ง แต่ไม่ ตั้งญัตติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมไม่ชอบธรรม (๑)อธิบายกรรมที่แบ่งพวกทำ ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมที่แบ่งพวก อะไรบ้าง คือ ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติ ทุติยกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นไม่ได้มา ฉันทะของภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะก็ไม่ได้นำมา ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้าก็คัดค้าน ชื่อว่า กรรมที่แบ่งพวก ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมา แต่ฉันทะของภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะไม่ได้นำมา ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้า กันแล้วคัดค้าน ชื่อว่ากรรมที่แบ่งพวก ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมา ฉันทะของภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะก็ได้นำมาแล้ว แต่ภิกษุที่อยู่พร้อม หน้ากันแล้วคัดค้าน ชื่อว่ากรรมที่แบ่งพวก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๗๒}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]
๒๓๖. ญัตติวิปันนกัปปาทิกถา
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นไม่มา ฉันทะของภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะก็ยังไม่ได้นำมา ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้า ก็คัดค้าน ชื่อว่ากรรมที่แบ่งพวก ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมา แต่ฉันทะของภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะไม่ได้นำมา ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้า กันแล้วคัดค้าน ชื่อว่ากรรมที่แบ่งพวก ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้น มา ฉันทะของภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะก็นำมาแล้ว แต่ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้ากันแล้วคัดค้าน ชื่อว่ากรรมที่แบ่งพวก ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมที่แบ่งพวก (๒)อธิบายกรรมที่พร้อมเพรียงกันทำ ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมที่พร้อมเพรียงกัน อะไรบ้าง คือ ภิกษุทั้งหลาย ใน ญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมา ฉันทะ ของภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะก็ได้นำมาแล้ว ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้ากันแล้วก็ไม่คัดค้าน ชื่อว่า กรรมที่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมา ฉันทะของภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะได้นำมาแล้ว ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้า กันแล้วก็ไม่คัดค้าน ชื่อว่ากรรมที่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมที่พร้อมเพรียงกัน (๓)อธิบายกรรมแบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมที่แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป อะไรบ้าง คือ ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลัง ภิกษุผู้เข้ากรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๗๓}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]
๒๓๖. ญัตติวิปันนกัปปาทิกถา
กำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นไม่มา ฉันทะของภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะไม่ได้นำมา พวกที่อยู่พร้อมหน้าก็คัดค้าน ชื่อว่ากรรมที่แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลัง ภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมา แต่ฉันทะของภิกษุผู้ ควรแก่ฉันทะไม่ได้นำมา ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้ากันแล้วก็คัดค้าน ชื่อว่ากรรมที่แบ่ง พวกโดยธรรมปฏิรูป ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลัง ภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมา ฉันทะของภิกษุผู้ควรแก่ ฉันทะก็นำมาแล้ว แต่ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้ากันแล้วคัดค้าน ชื่อว่ากรรมที่แบ่งพวก โดยธรรมปฏิรูป ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลัง ภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นไม่มา ฉันทะของภิกษุผู้ควร แก่ฉันทะก็ไม่ได้นำมา ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้ากันแล้วคัดค้าน ชื่อว่ากรรมที่แบ่ง พวกโดยธรรมปฏิรูป ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลัง ภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาแล้ว แต่ฉันทะของภิกษุ ผู้ควรแก่ฉันทะไม่ได้นำมา ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้าก็คัดค้าน ชื่อว่ากรรมที่แบ่งพวก โดยธรรมปฏิรูป ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลัง ภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาแล้ว ฉันทะของภิกษุ ผู้ควรแก่ฉันทะก็นำมาแล้ว แต่ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้ากันแล้วคัดค้าน ชื่อว่ากรรมที่ แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมที่แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป (๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๗๔}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]
๒๓๖. ญัตติวิปันนกัปปาทิกถา
อธิบายกรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป อะไรบ้าง คือ ภิกษุ ทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลังภิกษุผู้เข้า กรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาแล้ว ฉันทะของภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะ ก็นำมาแล้ว ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้ากันแล้วก็ไม่คัดค้าน ชื่อว่ากรรมพร้อมเพรียงกัน โดยธรรมปฏิรูป ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลัง ภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาแล้ว ฉันทะของภิกษุผู้ควร แก่ฉันทะก็นำมาแล้ว ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน ชื่อว่ากรรมพร้อมเพรียง กันโดยธรรมปฏิรูป ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป (๕)อธิบายกรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม อะไรบ้าง คือ ภิกษุ ทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าตั้งญัตติก่อน ทำกรรมด้วยกรรมวาจา ๑ ครั้ง ภายหลัง ภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาแล้ว ฉันทะของ ภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะก็นำมาแล้ว ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้ากันแล้วก็ไม่คัดค้าน ชื่อว่า กรรมพร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าตั้งญัตติก่อน ทำกรรมด้วยกรรม วาจา ๓ ครั้งภายหลัง ภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาแล้ว ฉันทะของภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะก็นำมาแล้ว ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้ากันแล้วก็ไม่คัดค้าน ชื่อว่ากรรมพร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมพร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม (๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๗๕}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๒๖๐-๒๗๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=5&siri=50 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=5&A=4694&Z=4963 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=174 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=174&items=13 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=5395 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=174&items=13 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=5395 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd9/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-kd9/en/horner-brahmali
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]