ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๔๐. อธัมมกัมมาทิกถา

๒๔๐. อธัมมกัมมาทิกถา
ว่าด้วยกรรมที่ไม่ชอบธรรมเป็นต้น
เรื่องการลงอุกเขปนียกรรมที่ไม่ชอบธรรม ๗ กรณี
[๓๙๗] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุไม่มีอาบัติที่พึงเห็น สงฆ์ ภิกษุ หลายรูป หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว เห็นอาบัตินั้นไหม” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงเห็น” สงฆ์จึงลงอุกเขปนีย กรรมภิกษุนั้นเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุไม่มีอาบัติที่พึงทำคืน สงฆ์ ภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว จงทำคืนอาบัตินั้น” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงทำคืน” สงฆ์จึงลง อุกเขปนียกรรมภิกษุนั้นเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุไม่มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ สงฆ์ ภิกษุ หลายรูป หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านมีทิฏฐิบาป จงสละทิฏฐิบาปนั้น” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ” สงฆ์จึงลง อุกเขปนียกรรมภิกษุนั้นเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุไม่มีอาบัติที่พึงเห็น ไม่มีอาบัติที่พึง ทำคืน สงฆ์ ภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว เห็นอาบัตินั้นไหม จงทำคืนอาบัตินั้น” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงเห็น ผมไม่มีอาบัติที่พึงทำคืน” สงฆ์จึงลงอุกเขปนียกรรมภิกษุนั้น เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ หรือเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุไม่มีอาบัติที่พึงเห็น ไม่มีทิฏฐิบาปที่ พึงสละ สงฆ์ ภิกษุหลายรูปหรือ รูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๘๕}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๔๐. อธัมมกัมมาทิกถา

เห็นอาบัตินั้นไหม ท่านมีทิฏฐิบาป จงสละทิฏฐิบาปนั้น” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงเห็น ผมไม่มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ” สงฆ์จึงลงอุกเขปนีย กรรมภิกษุนั้นเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ หรือเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ชื่อว่ากรรมไม่ ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุไม่มีอาบัติที่พึงทำคืน ไม่มีทิฏฐิบาป ที่พึงสละ สงฆ์ ภิกษุหลายรูปหรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว จงทำคืนอาบัตินั้น ท่านมีทิฏฐิบาป จงสละทิฏฐิบาปนั้น” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงทำคืน ผมไม่มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ” สงฆ์ลงอุกเขปนีย กรรมภิกษุนั้นเพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ชื่อว่ากรรมไม่ชอบ ธรรม ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุไม่มีอาบัติที่พึงเห็น ไม่มีอาบัติที่พึงทำคืน ไม่มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ สงฆ์ ภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว เห็นอาบัตินั้นไหม จงทำคืนอาบัตินั้น ท่านมีทิฏฐิบาป จงสละ ทิฏฐิบาปนั้น” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงเห็น ผมไม่มีอาบัติที่พึงทำคืน ผมไม่มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ” สงฆ์จึงลงอุกเขปนียกรรมภิกษุ นั้นเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ชื่อว่า กรรมไม่ชอบธรรม
เรื่องการลงอุกเขปนียกรรมที่ไม่ชอบธรรมอีก ๗ กรณี
[๓๙๘] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุมีอาบัติที่พึงเห็น สงฆ์ ภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว เห็นอาบัตินั้นไหม” ภิกษุนั้น กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ขอรับ ผมเห็น” สงฆ์ยังขืนลงอุกเขปนียกรรม ภิกษุนั้นเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๘๖}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๔๐. อธัมมกัมมาทิกถา

ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุมีอาบัติที่พึงทำคืน สงฆ์ ภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว จงทำคืนอาบัตินั้น” ภิกษุนั้น กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ขอรับ ผมจะทำคืน” สงฆ์ยังขืนลงอุกเขปนียกรรม ภิกษุนั้นเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุมีทิฏฐิบาปที่พึงสละ สงฆ์ ภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านมีทิฏฐิบาป จงสละทิฏฐิบาปนั้น” ภิกษุนั้น กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ขอรับ ผมจะสละ” สงฆ์ยังขืนลงอุกเขปนียกรรม ภิกษุนั้นเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุมีอาบัติที่พึงเห็น มีอาบัติที่พึงทำคืน ... ... มีอาบัติที่พึงเห็น มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ ... ... มีอาบัติที่พึงทำคืน มีทิฏฐิบาป ที่พึงสละ ... ... มีอาบัติที่พึงเห็น มีอาบัติที่พึงทำคืน มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ สงฆ์ ภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว เห็นอาบัติ นั้นไหม จงทำคืนอาบัตินั้น ท่านมีทิฏฐิบาป จงสละทิฏฐิบาปนั้น” ภิกษุนั้นกล่าว อย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ขอรับ ผมเห็น ผมจะทำคืน ผมจะสละทิฏฐิบาป” สงฆ์ยังขืนลงอุกเขปนียกรรมภิกษุนั้นเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือ เพราะไม่สละทิฏฐิบาป ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
เรื่องการลงอุกเขปนียกรรมที่ชอบธรรม ๗ กรณี
[๓๙๙] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุมีอาบัติที่พึงเห็น สงฆ์ ภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว เห็นอาบัตินั้นไหม” ภิกษุนั้น กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงเห็น” สงฆ์จึงลงอุกเขปนียกรรม ภิกษุนั้นเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ชื่อว่ากรรมชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุมีอาบัติที่พึงทำคืน สงฆ์ ภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว จงทำคืนอาบัตินั้น” ภิกษุนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๘๗}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๔๑. อุปาลิปุจฉากถา

กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงทำคืน” สงฆ์จึงลงอุกเขปนียกรรม ภิกษุนั้นเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ชื่อว่ากรรมชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุมีทิฏฐิบาปที่พึงสละ สงฆ์ ภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านมีทิฏฐิบาป จงสละทิฏฐิบาปนั้น” ภิกษุนั้น กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ” สงฆ์จึงลงอุกเขปนียกรรม ภิกษุนั้นเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ชื่อว่ากรรมชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุมีอาบัติที่พึงเห็น มีอาบัติที่พึงทำคืน ... ... มีอาบัติที่พึงเห็น มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ ... ... มีอาบัติที่พึงทำคืน มีทิฏฐิบาป ที่พึงสละ ... ... มีอาบัติที่พึงเห็น มีอาบัติที่พึงทำคืน มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ สงฆ์ ภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว เห็นอาบัติ นั้นไหม จงทำคืนอาบัตินั้น ท่านมีทิฏฐิบาป จงสละทิฏฐิบาปนั้น” ภิกษุนั้นกล่าว อย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงเห็น ผมไม่มีอาบัติที่พึงทำคืน ผม ไม่มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ” สงฆ์จึงลงอุกเขปนียกรรมภิกษุนั้นเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ชื่อว่ากรรมชอบธรรม


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๒๘๕-๒๘๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=5&siri=53              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=5&A=5162&Z=5227                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=196              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=196&items=3              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=196&items=3                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd9/en/brahmali#pli-tv-kd9:5.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd9/en/horner-brahmali#Kd.9.5



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :