ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์
๘. อัฏฐกนิทเทส
[๙๕๒] บรรดาอัฏฐกมาติกาเหล่านั้น กิเลสวัตถุ ๘ เป็นไฉน กิเลสวัตถุ ๘ คือ ๑. โลภะ (ความโลภ) ๒. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) ๓. โมหะ (ความหลง) ๔. มานะ (ความถือตัว) ๕. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๖. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ๗. ถีนะ (ความหดหู่ท้อแท้) ๘. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) เหล่านี้ชื่อว่ากิเลสวัตถุ ๘ [๙๕๓] กุสีตวัตถุ ๘ เป็นไฉน กุสีตวัตถุ ๘ คือ ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีการงานที่ต้องทำ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้อง ทำการงาน แต่เมื่อเรากำลังทำการงานอยู่จักลำบากกาย เอาละ เรานอนดี กว่า เธอจึงนอน ไม่เริ่มความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ชื่อว่ากุสีตวัตถุข้อที่ ๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๑๐}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๘. อัฏฐกนิทเทส

๒. ภิกษุทำการงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้ทำการงานแล้ว เมื่อ เรากำลังทำการงานอยู่กายก็ลำบาก เอาละ เรานอนดีกว่า เธอจึงนอน ไม่ เริ่มความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำ ให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ชื่อว่ากุสีตวัตถุข้อที่ ๒ ๓. ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องเดินทางแน่ เมื่อ เรากำลังเดินทางกายจักลำบาก เอาละ เรานอนดีกว่า เธอจึงนอน ไม่เริ่ม ความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำ ให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ชื่อว่ากุสีตวัตถุข้อที่ ๓ ๔. ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้เดินทางแล้วนะ เมื่อ เรากำลังเดินทางอยู่กายก็ลำบาก เอาละ เรานอนดีกว่า เธอจึงนอน ไม่เริ่ม ความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อ ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ชื่อว่ากุสีตวัตถุข้อที่ ๔ ๕. ภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะหยาบหรือประณีต เพียงพอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวไปบิณฑบาต ยังบ้านหรือนิคมก็ไม่ได้โภชนะหยาบหรือประณีตเพียงพอแก่ความต้องการ กายของเรานั้นเหน็ดเหนื่อย ไม่ควรแก่การงาน เอาละ เรานอนดีกว่า เธอจึง นอน ไม่เริ่มความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ชื่อว่ากุสีตวัตถุข้อที่ ๕ ๖. ภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ได้โภชนะหยาบหรือประณีต เพียงพอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เรานะเที่ยวไป บิณฑบาตยังบ้านหรือนิคมได้โภชนะหยาบหรือประณีตเพียงพอแก่ความ ต้องการแล้ว กายของเราหนัก ไม่ควรแก่การงาน จะเป็นเหมือนถั่วหมัก เอาละ เรานอนดีกว่า เธอจึงนอน ไม่เริ่มความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ชื่อว่า กุสีตวัตถุข้อที่ ๖ ๗. ภิกษุเกิดอาพาธขึ้นเล็กน้อย เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเกิดอาพาธขึ้น เล็กน้อย มีข้ออ้างที่จะนอน เอาละ เรานอนดีกว่า เธอจึงนอน ไม่เริ่มความ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๑๑}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๘. อัฏฐกนิทเทส

เพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง ธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ชื่อว่ากุสีตวัตถุข้อที่ ๗ ๘. ภิกษุหายไข้แล้วแต่หายยังไม่นาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราหายไข้แล้ว แต่หายยังไม่นาน กายของเรานั้นยังอ่อนเพลีย ไม่ควรแก่การงาน เอาละ เรานอนดีกว่า เธอจึงนอน ไม่เริ่มความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ชื่อว่า กุสีตวัตถุข้อที่ ๘ เหล่านี้ชื่อว่ากุสีตวัตถุ ๘ [๙๕๔] จิตกระทบในโลกธรรม ๘ เป็นไฉน จิตกระทบในโลกธรรม ๘ คือ ๑. ความยินดีในลาภ ๒. ความยินร้ายในความเสื่อมลาภ ๓. ความยินดีในยศ ๔. ความยินร้ายในความเสื่อมยศ ๕. ความยินดีในการสรรเสริญ ๖. ความยินร้ายในการนินทา ๗. ความยินดีในสุข ๘. ความยินร้ายในทุกข์ เหล่านี้ชื่อว่าจิตกระทบในโลกธรรม ๘ เหล่านี้ [๙๕๕] อนริยโวหาร ๘ เป็นไฉน อนริยโวหาร ๘ คือ ๑. เมื่อไม่เห็น พูดว่าเห็น ๒. เมื่อไม่ได้ยิน พูดว่าได้ยิน ๓. เมื่อไม่รู้ พูดว่ารู้ ๔. เมื่อไม่เข้าใจ พูดว่าเข้าใจ ๕. เมื่อเห็น พูดว่าไม่เห็น ๖. เมื่อได้ยิน พูดว่าไม่ได้ยิน ๗. เมื่อรู้ พูดว่าไม่รู้ ๘. เมื่อเข้าใจ พูดว่าไม่เข้าใจ เหล่านี้ชื่อว่าอนริยโวหาร ๘ [๙๕๖] มิจฉัตตะ ๘ เป็นไฉน มิจฉัตตะ ๘ คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๑๒}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๘. อัฏฐกนิทเทส

๑. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) ๒. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด) ๓. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด) ๔. มิจฉากัมมันตะ (การงานผิด) ๕. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด) ๖. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด) ๗. มิจฉาสติ (ระลึกผิด) ๘. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด) เหล่านี้ชื่อว่ามิจฉัตตะ ๘ [๙๕๗] บุรุษโทษ ๘ เป็นไฉน บุรุษโทษ ๘ คือ ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้โจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้นแก้ตัว โดยการอ้างว่าไม่มีสติอย่างนี้ว่า เราระลึกไม่ได้ เราระลึกไม่ได้ นี้ชื่อว่า บุรุษโทษข้อที่ ๑ ๒. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้นโต้ตอบผู้โจทว่า การพูดกับท่านผู้โง่เขลา ไม่ฉลาดจะมีประโยชน์อะไร แม้ท่านก็ยังเข้าใจ ผมว่าควรว่ากล่าว นี้ชื่อว่าบุรุษโทษข้อที่ ๒ ๓. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้นกลับปรับอาบัติแก่ภิกษุ ผู้โจทนั่นว่า ถึงท่านก็ต้องอาบัติชื่อนี้ ท่านจงแสดงอาบัตินั้นเสียก่อน นี้ ชื่อว่าบุรษโทษข้อที่ ๓ ๔. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้นยกเหตุอื่นๆ มาพูด กลบเกลื่อน พูดชักให้เขวไปนอกเรื่อง เคือง แสดงความโกรธ เคืองและ อาการไม่พอใจ นี้ชื่อว่าบุรุษโทษข้อที่ ๔ ๕. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้นโบกมือปฏิเสธในท่าม กลางสงฆ์ นี้ชื่อว่าบุรุษโทษข้อที่ ๕ ๖. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้นนิ่งเฉยเสียด้วยคิดว่า เราไม่ต้องอาบัติเลย แต่ความจริงเราต้องอาบัติ แกล้งสงฆ์ให้ลำบาก นี้ ชื่อว่าบุรุษโทษข้อที่ ๖ ๗. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้น ไม่เอื้อเฟื้อสงฆ์ ไม่ เอื้อเฟื้อโจท หลีกไปตามชอบใจ ทั้งที่ยังมีอาบัติติดตัวอยู่ นี้ชื่อว่าบุรุษ โทษข้อที่ ๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๑๓}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๘. อัฏฐกนิทเทส

๘. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ทำไมหนอ ท่านจึงวุ่นวายกับกระผมนัก บัดนี้กระผมจักลาสิกขาไปเป็น คฤหัสถ์ เธอก็ลาสิกขาไปเป็นคฤหัสถ์แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า พระคุณเจ้า บัดนี้แลท่านคงพอใจ นี้ชื่อว่าบุรุษโทษข้อที่ ๘ เหล่านี้ชื่อว่าบุรุษโทษ ๘ [๙๕๘] อสัญญีวาทะ ๘ เป็นไฉน สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า ๑. อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน๑- หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา ๒. อัตตาที่ไม่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา ๓. อัตตาทั้งที่มีรูปและไม่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา ๔. อัตตามีรูปก็มิใช่ ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา ๕. อัตตามีที่สุด ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา ๖. อัตตาไม่มีที่สุด ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา ๗. อัตตามีที่สุดและไม่มีที่สุด ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา ๘. อัตตามีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา เหล่านี้ชื่อว่าอสัญญีวาทะ ๘ [๙๕๙] เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ ๘ เป็นไฉน สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า ๑. อัตตามีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ๒. อัตตาไม่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ๓. อัตตาที่มีรูปและไม่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มี สัญญาก็มิใช่ ๔. อัตตามีรูปก็มิใช่ ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ @เชิงอรรถ : @ คำว่า ยั่งยืน ตรงกับคำบาลีว่า อโรโค แปลว่า ไม่มีโรค ไม่มีการทรุดโทรม หรือไม่มีความเปลี่ยนแปลง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๑๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๙. นวกกนิทเทส

๕. อัตตามีที่สุด ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ๖. อัตตาไม่มีที่สุด ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ๗. อัตตามีที่สุดและไม่มีที่สุด ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มี สัญญาก็มิใช่ ๘. อัตตามีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เหล่านี้ชื่อว่าเนวสัญญีนาสัญญีวาทะ ๘
อัฏฐกนิทเทส จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๖๑๐-๖๑๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=35&siri=73              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=13281&Z=13420                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=1012              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=1012&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=13000              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=1012&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=13000                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb17/en/thittila#pts-s952



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :