ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์
ตัณหาวิจริตนิทเทส
[๙๗๓] บรรดามาติกานั้น ตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยเบญจขันธ์ภายใน เป็นไฉน ตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยเบญจขันธ์ภายใน คือ ๑. ตัณหาว่า เรามี ๒. ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนี้ ๓. ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้น ๔. ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่น ๕. ตัณหาว่า เราจักเป็น ๖. ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนี้ ๗. ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้น ๘. ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่น ๙. ตัณหาว่า เราเป็นผู้เที่ยง ๑๐. ตัณหาว่า เราเป็นผู้ไม่เที่ยง ๑๑. ตัณหาว่า เราพึงเป็น ๑๒. ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้ ๑๓. ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้น ๑๔. ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่น ๑๕. ตัณหาว่า เราพึงเป็นบ้าง ๑๖. ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้บ้าง ๑๗. ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นบ้าง ๑๘. ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๒๒}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

ตัณหาวิจริตนิทเทส

[๙๗๔] ตัณหาว่า เรามี เป็นอย่างไร บุคคลไม่แยกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือรูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่าเรามี ได้มานะว่าเรามี ได้ทิฏฐิว่าเรามี เมื่อสภาวธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ สภาวธรรมเครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ก็มี ว่าเราเป็นอย่างนี้ เราเป็นอย่างนั้น หรือเราเป็นโดยประการอื่นก็มี (๑) ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างไร ตัณหาว่า เราเป็นกษัตริย์หรือเป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์หรือเป็นศูทร เป็น คฤหัสถ์หรือเป็นบรรพชิต เป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์ เป็นพรหมที่มีรูปหรือเป็น พรหมที่ไม่มีรูป เป็นพรหมที่มีสัญญาหรือเป็นพรหมที่ไม่มีสัญญา หรือเป็นพรหม มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ อย่างนี้ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนี้ก็มี (๒) ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างไร ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็เป็น กษัตริย์เหมือนกัน เขาเป็นพราหมณ์ เราก็เป็นพราหมณ์เหมือนกัน เขาเป็นแพศย์ เราก็เป็นแพศย์เหมือนกัน เขาเป็นศูทร เราก็เป็นศูทรเหมือนกัน เขาเป็นคฤหัสถ์ เราก็เป็นคฤหัสถ์เหมือนกัน เขาเป็นบรรพชิต เราก็เป็นบรรพชิตเหมือนกัน เขา เป็นเทวดา เราก็เป็นเทวดาเหมือนกัน เขาเป็นมนุษย์ เราก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน เขาเป็นพรหมมีรูป เราก็เป็นพรหมมีรูปเหมือนกัน เขาเป็นพรหมไม่มีรูป เราก็เป็น พรหมไม่มีรูปเหมือนกัน เขาเป็นพรหมมีสัญญา เราก็เป็นพรหมมีสัญญาเหมือนกัน เขาเป็นพรหมไม่มีสัญญา เราก็เป็นพรหมไม่มีสัญญาเหมือนกัน หรือว่าเขาเป็น พรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เราก็เป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็ มิใช่เหมือนกัน อย่างนี้ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้นก็มี (๓) ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่น เป็นอย่างไร ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ แต่เราไม่ได้ เป็นกษัตริย์เหมือนเขา เขาเป็นพราหมณ์ แต่เราไม่ได้เป็นพราหมณ์เหมือนเขา เขาเป็นแพศย์ แต่เราไม่ได้เป็นแพศย์เหมือนเขา เขาเป็นศูทรแต่เราไม่ได้เป็นศูทร เหมือนเขา เขาเป็นคฤหัสถ์ แต่เราไม่ได้เป็นคฤหัสถ์เหมือนเขา เขาเป็นบรรพชิต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๒๓}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

ตัณหาวิจริตนิทเทส

แต่เราไม่ได้เป็นบรรพชิตเหมือนเขา เขาเป็นเทวดา แต่เราไม่ได้เป็นเทวดาเหมือนเขา เขาเป็นมนุษย์ แต่เราไม่ได้เป็นมนุษย์เหมือนเขา เขาเป็นพรหมมีรูป แต่เราไม่ได้เป็น พรหมมีรูปเหมือนเขา เขาเป็นพรหมมีสัญญา แต่เราไม่ได้เป็นพรหมมีสัญญาเหมือนเขา หรือว่าเขาเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ แต่เราไม่ได้เป็นพรหมมีสัญญา ก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่เหมือนเขา อย่างนี้ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่นก็มี (๔) ตัณหาว่า เราจักเป็น เป็นอย่างไร บุคคลไม่แยกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือรูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่าเราจักเป็น ได้มานะว่า เราจักเป็น ได้ทิฏฐิว่าเราจักเป็น เมื่อสภาวธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ สภาวธรรมเครื่อง เนิ่นช้าเหล่านี้ก็มีว่า เราจักเป็นอย่างนี้ เราจักเป็นอย่างนั้น หรือว่าเราจักเป็นโดย ประการอื่นก็มี (๕) ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างไร ตัณหาว่า เราจักเป็นกษัตริย์หรือจักเป็นพราหมณ์ จักเป็นแพศย์หรือจักเป็น ศูทร จักเป็นคฤหัสถ์หรือจักเป็นบรรพชิต จักเป็นเทวดาหรือจักเป็นมนุษย์ จักเป็น พรหมมีรูปหรือจักเป็นพรหมไม่มีรูป จักเป็นพรหมมีสัญญาหรือจักเป็นพรหมไม่มีสัญญา จักเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่หรือจักเป็นพรหมไม่มีสัญญาก็มิใช่ อย่างนี้ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนี้ก็มี (๖) ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างไร ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็จักเป็น กษัตริย์เหมือนกัน เขาเป็นพราหมณ์ เราก็จักเป็นพราหมณ์เหมือนกัน ฯลฯ หรือว่า เขาเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เราก็จักเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มี สัญญาก็มิใช่เหมือนกัน อย่างนี้ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้นก็มี (๗) ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่น เป็นอย่างไร ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ แต่เราจักไม่ เป็นกษัตริย์เหมือนเขา เขาเป็นพราหมณ์ แต่เราจักไม่เป็นพราหมณ์เหมือนเขา ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๒๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

ตัณหาวิจริตนิทเทส

หรือว่าเขาเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ แต่เราจักไม่เป็นพรหมมี สัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่เหมือนเขา อย่างนี้ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่น ก็มี (๘) ตัณหาว่า เราเป็นผู้เที่ยง เป็นอย่างไร บุคคลไม่แยกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือรูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว มีตัณหาว่า เราเที่ยง เรายั่งยืน เราคงทน เราไม่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา อย่างนี้ตัณหาว่า เราเป็นผู้เที่ยง ก็มี (๙) ตัณหาว่า เราเป็นผู้ไม่เที่ยง เป็นอย่างไร บุคคลไม่จำแนกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือรูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว มีตัณหาว่า เราจักขาดสูญ จักพินาศ จักไม่มี อย่างนี้ตัณหาว่า เราเป็นผู้ไม่เที่ยงก็มี (๑๐) ตัณหาว่า เราพึงเป็น เป็นอย่างไร บุคคลไม่แยกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือรูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่าเราพึงเป็น ได้มานะ ว่าเราพึงเป็น ได้ทิฏฐิว่าเราพึงเป็น เมื่อสภาวธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ สภาวธรรม เครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ก็มีว่า เราพึงเป็นอย่างนี้ เราพึงเป็นอย่างนั้น หรือว่าเราพึง เป็นโดยประการอื่นก็มี (๑๑) ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างไร ตัณหาว่า เราพึงเป็นกษัตริย์หรือเป็นพราหมณ์ พึงเป็นแพศย์หรือเป็นศูทร พึงเป็นคฤหัสถ์หรือเป็นบรรพชิต พึงเป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์ พึงเป็นพรหมมีรูป หรือเป็นพรหมไม่มีรูป พึงเป็นพรหมมีสัญญาหรือเป็นพรหมไม่มีสัญญา หรือพึงเป็น ผู้มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ อย่างนี้ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้ก็มี (๑๒) ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างไร ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็พึงเป็น กษัตริย์เหมือนกัน เขาเป็นพราหมณ์เราก็พึงเป็นพราหมณ์เหมือนกัน ฯลฯ หรือว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๒๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

ตัณหาวิจริตนิทเทส

เขาเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เราก็พึงเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มี สัญญาก็มิใช่เหมือนกัน อย่างนี้ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นก็มี (๑๓) ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่น เป็นอย่างไร ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ แต่เราไม่พึง เป็นกษัตริย์เหมือนเขา เขาเป็นพราหมณ์แต่เราไม่พึงเป็นพราหมณ์เหมือนเขา ฯลฯ หรือว่าเขาเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ แต่เราไม่พึงเป็นพรหมมี สัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่เหมือนเขา อย่างนี้ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการ อื่นก็มี (๑๔) ตัณหาว่า เราพึงเป็นบ้าง เป็นอย่างไร บุคคลไม่แยกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือรูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่าเราพึงเป็นบ้าง ได้ มานะว่าเราก็พึงเป็นบ้าง ได้ทิฏฐิว่าเราก็พึงเป็นบ้าง เมื่อสภาวธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ สภาวธรรมเครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ก็มีว่า เราพึงเป็นอย่างนี้บ้าง เราพึงเป็นอย่างนั้นบ้าง หรือว่าเราพึงเป็นโดยประการอื่นบ้างก็มี (๑๕) ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้บ้าง เป็นอย่างไร ตัณหาว่า เราพึงเป็นกษัตริย์ หรือเป็นพราหมณ์บ้าง พึงเป็นแพศย์หรือเป็น ศูทรบ้าง พึงเป็นคฤหัสถ์หรือเป็นบรรพชิตบ้าง พึงเป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์บ้าง พึงเป็นพรหมมีรูป หรือเป็นพรหมไม่มีรูปบ้าง หรือพึงเป็นพรหมมีสัญญา จะพึง เป็นพรหมไม่มีสัญญาบ้าง หรือเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่บ้าง อย่างนี้ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้บ้างก็มี (๑๖) ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นบ้าง เป็นอย่างไร ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็พึงเป็น กษัตริย์เหมือนเขาบ้าง เขาเป็นพราหมณ์ เราก็พึงเป็นพราหมณ์เหมือนเขาบ้าง ฯลฯ หรือว่าเขาเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เราก็พึงเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่เหมือนเขาบ้าง อย่างนี้ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นบ้างก็มี (๑๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๒๖}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

ตัณหาวิจริตนิทเทส

ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นบ้าง เป็นอย่างไร ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ แต่เราไม่พึง เป็นกษัตริย์เหมือนเขาบ้าง เขาเป็นพราหมณ์ แต่เราไม่พึงเป็นพราหมณ์เหมือนเขา บ้าง ฯลฯ หรือว่าเขาเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ แต่เราไม่พึงเป็น พรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่เหมือนเขาบ้าง อย่างนี้ตัณหาว่า เราพึงเป็น โดยประการอื่นบ้างก็มี (๑๘) เหล่านี้เรียกว่า ตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยเบญจขันธ์ภายใน [๙๗๕] ตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยเบญจขันธ์ภายนอก เป็นไฉน ตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยเบญจขันธ์ภายนอก คือ ๑. ตัณหาว่า เราเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ๒. ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ๓. ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ๔. ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ๕. ตัณหาว่า เราจักเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ๖. ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ๗. ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ๘. ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ๙. ตัณหาว่า เราเป็นผู้เที่ยงด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ๑๐. ตัณหาว่า เราเป็นผู้ไม่เที่ยงด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ๑๑. ตัณหาว่า เราพึงเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ๑๒. ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ๑๓. ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ๑๔. ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ๑๕. ตัณหาว่า เราพึงเป็นด้วยรูปนี้บ้าง ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง ๑๖. ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้บ้าง ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง ๑๗. ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูปนี้บ้าง ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง ๑๘. ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้บ้าง ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๒๗}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

ตัณหาวิจริตนิทเทส

[๙๗๖] ตัณหาว่า เราเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นอย่างไร บุคคลแยกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือรูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่าเราเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ได้มานะว่าเราเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ได้ทิฏฐิว่าเรา เป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เมื่อสภาวธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ สภาวธรรม เครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ว่า เราเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เราเป็น อย่างนั้นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือว่าเราเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๑) ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นอย่างไร ตัณหาว่า เราเป็นกษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นพราหมณ์ ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นแพศย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็น ศูทรด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นคฤหัสถ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นบรรพชิตด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นเทวดาด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้ เป็นมนุษย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นพรหมมีรูปด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นพรหมไม่มีรูปด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นพรหมมี สัญญาด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นพรหมไม่มีสัญญาด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ อย่างนี้ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ก็มี (๒) ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นอย่างไร ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็เป็น กษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน เขาเป็นพราหมณ์เราก็เป็น พราหมณ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน ฯลฯ หรือว่าเขาเป็นพรหม มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เราก็เป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ด้วย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๒๘}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

ตัณหาวิจริตนิทเทส

รูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน อย่างนี้ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๓) ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นอย่างไร ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ แต่เราไม่ได้ เป็นกษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา เขาเป็นพราหมณ์แต่เราไม่ ได้เป็นพราหมณ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา ฯลฯ หรือว่าเขาเป็น พรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ แต่เราไม่ได้เป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มี สัญญาก็มิใช่ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา อย่างนี้ตัณหาว่า เราเป็น โดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๔) ตัณหาว่า เราจักเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นอย่างไร บุคคลแยกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือรูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่าเราจักเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ได้มานะว่าเราจักเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ได้ทิฏฐิว่าเรา จักเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เมื่อสภาวธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ สภาวธรรม เครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ว่า เราจักเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เราจักเป็น อย่างนั้นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือว่าเราจักเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๕) ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นอย่างไร ตัณหาว่า เราจักเป็นกษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็นพราหมณ์ ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็นแพศย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็นศูทรด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็นคฤหัสถ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้ จักเป็นบรรพชิตด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็นเทวดาด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็นมนุษย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็น พรหมมีรูปด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็นพรหมไม่มีรูปด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็นพรหมมีสัญญาด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๒๙}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

ตัณหาวิจริตนิทเทส

พรหมไม่มีสัญญาด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือว่าจักเป็นพรหมมีสัญญาก็ มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ อย่างนี้ตัณหาว่า เราจักเป็น อย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๖) ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นอย่างไร ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็จักเป็น กษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน เขาเป็นพราหมณ์ เราก็จักเป็น พราหมณ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน ฯลฯ หรือว่า เขาเป็นพรหม มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เราก็จักเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน อย่างนี้ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้น ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๗) ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นอย่างไร ตัณหาเกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ แต่เราจักไม่เป็น กษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา เขาเป็นพราหมณ์ แต่เราจักไม่ เป็นพราหมณ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา ฯลฯ หรือว่าเขาเป็น พรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ แต่เราจักไม่เป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มี สัญญาก็มิใช่ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา อย่างนี้ตัณหาว่า เราจัก เป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๘) ตัณหาว่า เราเป็นผู้เที่ยงด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นอย่างไร บุคคลแยกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือรูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว มีตัณหาว่า เราเป็นผู้เที่ยง เรา เป็นผู้ยั่งยืน เราคงทนอยู่ไม่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดาด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้ อย่างนี้ตัณหาว่า เราเป็นผู้เที่ยงด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๙) ตัณหาว่า เราเป็นผู้ไม่เที่ยงด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นอย่างไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๓๐}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

ตัณหาวิจริตนิทเทส

บุคคลแยกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือรูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว มีตัณหาว่า เราจักขาดสูญ จักพินาศ จักไม่มีด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ อย่างนี้ตัณหาว่า เราเป็นผู้ไม่เที่ยงด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๑๐) ตัณหาว่า เราพึงเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นอย่างไร บุคคลแยกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือรูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่าเราพึงเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ได้มานะว่าเราพึงเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ได้ทิฏฐิว่า เราพึงเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๑๑) ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นอย่างไร ตัณหาว่า เราพึงเป็นกษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นพราหมณ์ ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นแพศย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นศูทรด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นคฤหัสถ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้ พึงเป็นบรรพชิตด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นเทวดาด้วย รูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นมนุษย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็น พรหมมีรูปด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นพรหมไม่มีรูปด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นพรหมมีสัญญาด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือว่าพึง เป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ อย่าง นี้ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๑๒) ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นอย่างไร ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับบุคคลอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็พึง เป็นกษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน เขาเป็นพราหมณ์ เราก็พึง เป็นพราหมณ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน ฯลฯ หรือว่าเขาเป็นพรหม มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เราก็พึงเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๓๑}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

ตัณหาวิจริตนิทเทส

ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน อย่างนี้ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้น ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๑๓) ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็น อย่างไร ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ แต่เราไม่พึง เป็นกษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา เขาเป็นพราหมณ์ แต่เรา ไม่พึงเป็นพราหมณ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา ฯลฯ หรือว่า เขาเป็น พรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ แต่เราไม่พึงเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มี สัญญาก็มิใช่ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา อย่างนี้ตัณหาว่า เราพึง เป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๑๔) ตัณหาว่า เราพึงเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เป็นอย่างไร บุคคลแยกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ รูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่าเราพึงเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง ได้มานะว่าเราพึงเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง ได้ทิฏฐิว่าเราพึงเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เมื่อสภาวธรรมทั้ง ๓ นั้น มีอยู่ สภาวธรรมเครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ว่า เราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้บ้าง ว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้างก็มี (๑๕) ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เป็นอย่างไร ตัณหาว่า เราพึงเป็นกษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง พึงเป็น พราหมณ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง พึงเป็นแพศย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้บ้าง พึงเป็นศูทรด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง พึงเป็นคฤหัสถ์ ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง พึงเป็นบรรพชิตด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้บ้าง พึงเป็นเทวดาด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง พึงเป็นมนุษย์ ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง พึงเป็นพรหมมีรูปด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้บ้าง พึงเป็นพรหมมีรูปด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง พึงเป็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๓๒}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

ตัณหาวิจริตนิทเทส

พรหมไม่มีสัญญาด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง พึงเป็นพรหมไม่มีสัญญา ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง พึงเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง อย่างนี้ชื่อว่าตัณหาว่า พึงเป็นอย่างนี้ด้วย รูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้างก็มี (๑๖) ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เป็นอย่างไร ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็พึงเป็น กษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกันบ้าง เขาเป็นพราหมณ์ เราก็ พึงเป็นพราหมณ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกันบ้าง ฯลฯ หรือว่าเขา เป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เราก็พึงเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มี สัญญาก็มิใช่ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกันบ้าง อย่างนี้ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้างก็มี (๑๗) ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เป็นอย่างไร ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ แต่เราไม่พึง เป็นกษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขาบ้าง เขาเป็นพราหมณ์ แต่ เราไม่พึงเป็นพราหมณ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขาบ้าง ฯลฯ หรือว่า เขาเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ แต่เราไม่พึงเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขาบ้าง อย่างนี้ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้างก็มี (๑๘) เหล่านี้ชื่อว่าตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยเบญจขันธ์ภายนอก ตัณหาวิจริต ๑๘ เหล่านี้อาศัยเบญจขันธ์ภายใน ตัณหาวิจริต ๑๘ เหล่านี้ อาศัยเบญจขันธ์ภายนอก ด้วยประการฉะนี้ ประมวลย่อเข้าเป็นอันเดียวกัน เป็นตัณหาวิจริต ๓๖ ตัณหาวิจริตตามที่กล่าวมานี้เป็นอดีต ๓๖ เป็นอนาคต ๓๖ เป็นปัจจุบัน ๓๖ ประมวลย่อเข้าเป็นอันเดียวกัน เป็นตัณหาวิจริต ๑๐๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๓๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๖๒๒-๖๓๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=35&siri=76              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=13600&Z=13896                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=1033              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=1033&items=39              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=13105              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=1033&items=39              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=13105                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb17/en/thittila#ba504



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :