![]() |
|
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
![]() |
![]() |
เรื่องภิกษุถูกงูกัด [๒๖] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัดถึงมรณภาพ ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ... ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนั้นไม่ได้แผ่ เมตตาจิตไปสู่ตระกูลพญางูทั้ง ๔ เป็นแน่ เพราะถ้าภิกษุรูปนั้นแผ่เมตตาจิตไปสู่ ตระกูลพญางูทั้ง ๔ ภิกษุรูปนั้นจะไม่พึงถูกงูกัดถึงมรณภาพ ตระกูลพญางูทั้ง ๔ อะไรบ้าง คือ ๑. ตระกูลพญางูวิรูปักขะ ๒. ตระกูลพญางูเอราปถะ ๓. ตระกูลพญางูฉัพยาปุตตะ ๔. ตระกูลพญางูกัณหาโคตมกะ ภิกษุรูปนั้นไม่ได้แผ่เมตตาจิตไปสู่ตระกูลพญางูทั้ง ๔ นี้เป็นแน่ เพราะถ้า ภิกษุนั้นแผ่เมตตาจิตไปสู่ตระกูลพญางูทั้ง ๔ นี้ ภิกษุนั้นจะไม่พึงถูกงูกัดถึงมรณภาพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แผ่เมตตาจิตไปสู่ตระกูลพญางูทั้ง ๔ นี้ เพื่อคุ้มครองตน เพื่อรักษาตน เพื่อป้องกันตน ก็แล พึงทำการแผ่อย่างนี้:-คาถาแผ่เมตตากันงูกัด [๒๗] เรากับพญางูตระกูลวิรูปักขะ จงมีเมตตาต่อกัน เรากับพญางูตระกูลเอราปถะ จงมีเมตตาต่อกัน เรากับพญางูตระกูลฉัพยาปุตตะ จงมีเมตตาต่อกัน เรากับพญางูตระกูลกัณหาโคตมกะ จงมีเมตตาต่อกัน เรากับฝูงสัตว์ที่ไม่มีเท้า จงมีเมตตาต่อกัน เรากับฝูงสัตว์ ๒ เท้า จงมีเมตตาต่อกัน เรากับฝูงสัตว์ ๔ เท้า จงมีเมตตาต่อกัน เรากับฝูงสัตว์มีเท้ามาก จงมีเมตตาต่อกัน สัตว์ไม่มีเท้าอย่าได้เบียดเบียนเรา สัตว์ ๒ เท้าอย่า ได้เบียดเบียนเรา สัตว์ ๔ เท้าอย่าได้เบียดเบียนเรา สัตว์มีเท้ามากอย่าได้เบียดเบียนเรา แลสัตว์ที่เกิด แล้วยังมีชีวิตทั้งมวลทุกหมู่เหล่า จงประสพความ เจริญ อย่าได้พบเห็นสิ่งลามกสักน้อยหนึ่งเลย พระพุทธเจ้ามีพระคุณหาประมาณมิได้ พระธรรมมีพระคุณหาประมาณมิได้ พระ สงฆ์มีพระคุณหาประมาณมิได้ แต่สัตว์เสือกคลานทั้งหลาย คือ งู แมลงป่อง ตะขาบ แมงมุม ตุ๊กแก หนู มีคุณพอประมาณ ความรักษาอันเราทำแล้ว ความป้องกันอันเราทำแล้ว ขอฝูงสัตว์ทั้งหลายจงถอยกลับไปเถิด เรานั้นขอนมัส การแด่พระผู้มีพระภาค ขอนมัสการแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์ ฯเนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๒๑๖-๒๔๙ หน้าที่ ๑๐-๑๑. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=7&A=216&Z=249&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=7&A=216&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=7&siri=4 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=-26 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=7&A=201 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=7&A=201 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_7 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd15/en/horner-brahmali#Kd.15.6
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() |
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖.
บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙.
บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐.
การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง.
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com