ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
ปริยายสูตร
[๒๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุมีหรือหนอแล ที่จะให้ภิกษุอาศัย พยากรณ์อรหัตผล เว้นจากเชื่อผู้อื่น หรือเว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟัง ต่อๆ กันมา เว้นจากการนึกเดาเอาตามเหตุ เว้นจากการถือเอาใจความตามความเห็น ของตน ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จ แล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นต้นเดิม เป็น ผู้แนะนำ เป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอเนื้อความ แห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระ- *ภาคแล้ว จักทรงจำไว้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวบัดนี้ ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระ- *ผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุมีอยู่ ที่จะให้ ภิกษุอาศัยพยากรณ์อรหัตผล เว้นจากการเชื่อต่อผู้อื่น เว้นจากความชอบใจ เว้น จากการฟังต่อๆ กันมา เว้นจากการนึกเดาเอาตามเหตุ เว้นจากการถือเอาใจความ ตามความเห็นของตน ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจ ที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ [๒๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุที่จะให้ภิกษุอาศัยพยากรณ์อรหัตผล ฯลฯ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมรู้ชัดซึ่งราคะ โทสะและโมหะอันมีอยู่ในภายในว่าราคะ โทสะ และโมหะมีอยู่ในภายในของเรา ภิกษุเห็นรูปชนิดใดด้วยจักษุแล้ว ย่อมรู้ชัดซึ่งราคะ โทสะ และโมหะอันมีอยู่ใน ภายในว่า ราคะ โทสะ และโมหะมีอยู่ในภายในของเรา หรือรู้ชัดซึ่งราคะ โทสะ และโมหะอันไม่มีอยู่ในภายในว่า ราคะ โทสะ และโมหะไม่มีอยู่ในภายในของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้พึงทราบด้วยการเชื่อต่อผู้อื่น พึงทราบด้วยความชอบ ใจ พึงทราบด้วยการฟังต่อๆ กันมา พึงทราบด้วยการนึกเดาเอาตามเหตุ หรือพึง ทราบด้วยการถือเอาใจความตามความเห็นของตนบ้างหรือหนอ ภิกษุเหล่านั้นกราบ ทูลว่า ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้พึงทราบได้เพราะเห็นด้วยปัญญา มิใช่หรือ ฯ ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ก็เป็นเหตุให้ภิกษุอาศัยพยากรณ์อรหัตผล เว้นจากการเชื่อผู้อื่น เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังต่อๆ กันมา เว้นจาก การนึกเดาเอาตามเหตุ เว้นจากการถือเอาใจความตามความเห็นของตน ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี ฯลฯ [๒๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุลิ้มรสด้วยลิ้น ... [๒๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดซึ่งราคะ โทสะ และโมหะอันมีอยู่ในภายในว่า ราคะ โทสะ และโมหะมีอยู่ในภายในของเรา หรือย่อมรู้ชัดซึ่งราคะ โทสะ และโมหะอันไม่มี อยู่ในภายในว่า ราคะ โทสะ และโมหะไม่มีอยู่ในภายในของเรา ภิกษุรู้แจ้ง ธรรมารมณ์อย่างใดด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดซึ่งราคะ โทสะ และโมหะอันมีอยู่ในภาย ในว่า ราคะ โทสะ และโมหะมีอยู่ในภายในของเรา หรือย่อมรู้ชัดซึ่งราคะ โทสะ และโมหะอันไม่มีอยู่ในภายในว่า ราคะ โทสะ และโมหะไม่มีอยู่ในภายในของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านั้นพึงทราบได้ด้วยการเชื่อต่อผู้อื่น ทราบได้ด้วยความ ชอบใจ ทราบได้ด้วยการฟังต่อๆ กันมา ทราบได้ด้วยการนึกเดาเอาตามเหตุ หรือพึงทราบได้ด้วยการถือเอาใจความตามความเห็นของตน บ้างหรือหนอ ฯ ภิ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ธรรมเหล่านี้พึงทราบได้เพราะเห็นด้วยปัญญามิใช่หรือ ฯ ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ก็เป็นเหตุให้ภิกษุอาศัยพยากรณ์อรหัตผล เว้นจากการเชื่อต่อผู้อื่น เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังต่อๆ กันมา เว้น จากการนึกเดาเอาตามเหตุ เว้นจากการถือเอาใจความตามความเห็นของตน ย่อม รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๘

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๓๖๐๗-๓๖๖๐ หน้าที่ ๑๕๕-๑๕๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=3607&Z=3660&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=18&A=3607&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=131              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=239              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=18&A=3515              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=1184              The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=18&A=3515              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=1184              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i227-e.php#sutta8 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn35/sn35.152.wlsh.html https://suttacentral.net/sn35.153/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.153/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]