![]() |
|
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
![]() |
![]() |
อามกธัญญเปยยาล ปฐมวรรคที่ ๗ อัญญตรสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้มาเกิดในมนุษย์น้อย [๑๗๕๗] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงช้อนฝุ่นเล็กน้อยไว้ในปลายพระนขา แล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน ฝุ่นเล็กน้อยที่เราช้อนขึ้นไว้ในปลายเล็บกับแผ่นดินใหญ่นี้ ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มี พระภาคทรงช้อนไว้ในปลายพระนขามีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่ ฝุ่นเล็กน้อยที่ พระผู้มีพระภาคทรงช้อนไว้ในปลายพระนขา ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ ส่วนเสี้ยว. พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่กลับมาเกิดนอกจากมนุษย์มีมากกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะไม่ได้เห็น อริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.จบ สูตรที่ ๑ ปัจจันตสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้มาเกิดในปัจจันตชนบทมาก [๑๗๕๘] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงช้อนฝุ่นเล็กน้อยไว้ในปลายพระนขา แล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน ฝุ่นเล็กน้อยที่เราช้อนขึ้นไว้ในปลายเล็บกับแผ่นดินใหญ่นี้ ไหนจะมากกว่ากัน? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มี พระภาคทรงช้อนไว้ในปลายพระนขามีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่ ฝุ่นเล็กน้อยที่ พระผู้มีพระภาคทรงช้อนไว้ในปลายพระนขา ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบหรือแม้ ส่วนเสี้ยว. พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท มีประมาณ น้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่กลับมาเกิดในปัจจันตชนบทมีมากกว่า ที่กลับมาเกิดในพวกมิลักขะ ซึ่งเป็นพวกที่ไม่รู้แจ้ง ฯลฯ.จบ สูตรที่ ๒ ปัญญาสูตร ว่าด้วยสัตว์มีปัญญาจักษุน้อย [๑๗๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้ประกอบด้วยปัญญาจักษุ อันเป็นอริยะ มีประมาณน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ตกไปในอวิชชา เป็นผู้งมงาย มีมากกว่า ฯลฯ.จบ สูตรที่ ๓ สุราเมรยสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้งดเว้นการดื่มน้ำเมามีน้อย [๑๗๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทมีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท มีมากกว่า ฯลฯจบ สูตรที่ ๔ อุทกสูตร ว่าด้วยสัตว์ที่เกิดในน้ำมีมาก [๑๗๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้เกิดบนบก มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่เกิดในน้ำ มีมากกว่า ฯลฯ.จบ สูตรที่ ๕ มัตเตยยสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้เกื้อกูลมารดามีน้อย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้เกื้อกูลแก่มารดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่เกื้อกูลแก่มารดา มีมากกว่า.จบ สูตรที่ ๖ เปตเตยยสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้เกื้อกูลบิดามีน้อย [๑๗๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้เกื้อกูลแก่บิดามีน้อย โดย ที่แท้ สัตว์ผู้ไม่เกื้อกูลแก่บิดา มีมากกว่า ฯลฯ.จบ สูตรที่ ๗ สามัญญสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้เกื้อกูลสมณะมีน้อย [๑๗๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้เกื้อกูลแก่สมณะมีน้อย โดย ที่แท้ สัตว์ผู้ไม่เกื้อกูลแก่สมณะ มีมากกว่า ฯลฯ.จบ สูตรที่ ๘ พราหมัญญสูตร ว่าด้วยสัตว์เกื้อกูลพราหมณ์มีน้อย [๑๗๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้เกื้อกูลแก่พราหมณ์มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่เกื้อกูลแก่พราหมณ์ มีมากกว่า ฯลฯ.จบ สูตรที่ ๙ อปจายิกสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้อ่อนน้อมต่อผู้เจริญมีน้อย [๑๗๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้นอบน้อมต่อบุคคลผู้เจริญใน สกุล มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่นอบน้อมต่อบุคคลผู้เจริญในสกุล มีมากกว่า ฯลฯ.จบ สูตรที่ ๑๐ จบ อามกธัญญเปยยาล ปฐมวรรคที่ ๗ ----------------------------------------------------- รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. อัญญตรสูตร ๒. ปัจจันตสูตร ๓. ปัญญาสูตร ๔. สุราเมรยสูตร ๕. อุทกสูตร ๖. มัตเตยยสูตร ๗. เปตเตยยสูตร ๘. สามัญญสูตร ๙. พราหมัญญสูตร ๑๐. อปจายิกสูตร----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๑๐๙๐๒-๑๐๙๘๐ หน้าที่ ๔๕๗-๔๖๐. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=10902&Z=10980&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=19&A=10902&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=441 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1757 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=19&A=11269 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=8412 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=19&A=11269 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=8412 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn56.61/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.62/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.63/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.64/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.65/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.66/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.67/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.68/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.69/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.70/en/sujato
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() |
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖.
บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙.
บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐.
การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง.
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]