ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]

๗. ปฐมอามกธัญญเปยยาลวรรค ๒. ปัจจันตสูตร

๗. ปฐมอามกธัญญเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยอามกธัญญเปยยาลที่ ๑
๑. อัญญตรสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่กลับมาเกิดนอกจากมนุษย์
[๑๑๓๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงใช้ปลายพระนขาช้อนฝุ่นขึ้นมาเล็กน้อย แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญ ความข้อนั้นว่าอย่างไร ฝุ่นเล็กน้อยที่เราใช้ปลายเล็บช้อนขึ้นมากับแผ่นดินใหญ่นี้ อย่างไหนจะมากกว่ากัน” ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า ฝุ่นที่พระองค์ทรงใช้ปลายพระนขาช้อนขึ้นมา ฝุ่นเล็กน้อยที่พระองค์ทรงใช้ปลาย พระนขาช้อนขึ้นมา เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่แล้ว คำนวณไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้ หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว” “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายที่กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์ มีเพียงเล็กน้อย ส่วนสัตว์ที่กลับมาเกิดนอกจากมนุษย์มีจำนวนมากกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม่ได้เห็นอริยสัจ ๔ ประการ อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
อัญญตรสูตรที่ ๑ จบ
๒. ปัจจันตสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่กลับมาเกิดในปัจจันตชนบท
[๑๑๓๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงใช้ปลายพระนขาช้อนฝุ่นขึ้นมาเล็กน้อย แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๖๔๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]

๗. ปฐมอามกธัญญเปยยาลวรรค ๔. สุราเมรยสูตร

ความข้อนั้นว่าอย่างไร ฝุ่นเล็กน้อยนี้ที่เราใช้ปลายเล็บช้อนขึ้นมากับแผ่นดินใหญ่นี้ อย่างไหนจะมากกว่ากัน” ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า ฝุ่นที่พระองค์ทรงใช้ปลายพระนขาช้อนขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย ฝุ่นเล็กน้อยที่พระองค์ ทรงใช้ปลายพระนขาช้อนขึ้นมา เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่แล้ว คำนวณไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้ หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว” “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท มีเพียงเล็กน้อย ส่วนสัตว์ที่กลับมาเกิดในปัจจันตชนบทในหมู่ชาวมิลักขะผู้โง่เขลา มีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
ปัจจันตสูตรที่ ๒ จบ
๓. ปัญญาสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่มีปัญญาจักษุ
[๑๑๓๓] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่ประกอบด้วย ปัญญาจักษุ อย่างประเสริฐ มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ตกอยู่ในอวิชชา ลุ่มหลง มีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
ปัญญาสูตรที่ ๓ จบ
๔. สุราเมรยสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการดื่มสุราและเมรัย
[๑๑๓๔] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการดื่ม น้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่ เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทมีจำนวน มากกว่า ฯลฯ
สุราเมรยสูตรที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๖๔๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]

๗. ปฐมอามกธัญญเปยยาลวรรค ๙. พรหมัญญสูตร

๕. โอทกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เกิดในน้ำ
[๑๑๓๕] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เกิดบนบกมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่เกิดในน้ำมีจำนวนมากกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร ฯลฯ
โอทกสูตรที่ ๕ จบ
๖. มัตเตยยสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เกื้อกูลแก่มารดา
[๑๑๓๖] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เกื้อกูลแก่มารดา มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เกื้อกูลแก่มารดามีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
มัตเตยยสูตรที่ ๖ จบ
๗. เปตเตยยสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เกื้อกูลแก่บิดา
[๑๑๓๗] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เกื้อกูลแก่บิดา มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เกื้อกูลแก่บิดามีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
เปตเตยยสูตรที่ ๗ จบ
๘. สามัญญสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เกื้อกูลแก่สมณะ
[๑๑๓๘] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เกื้อกูลแก่สมณะ มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เกื้อกูลแก่สมณะมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
สามัญญสูตรที่ ๘ จบ
๙. พรหมัญญสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เกื้อกูลแก่พราหมณ์
[๑๑๓๙] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เกื้อกูลแก่พราหมณ์ มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เกื้อกูลแก่พราหมณ์มีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
พรหมัญญสูตรที่ ๙ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๖๔๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]

๗. ปฐมอามกธัญญเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๐. ปจายิกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่อ่อนน้อมต่อผู้เจริญ
[๑๑๔๐] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่อ่อนน้อมต่อบุคคล ผู้เจริญที่สุดในตระกูลมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่อ่อนน้อมต่อบุคคลผู้เจริญที่สุดใน ตระกูลมีจำนวนมากกว่า”
ปจายิกสูตรที่ ๑๐ จบ
ปฐมอามกธัญญเปยยาลวรรคที่ ๗ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อัญญตรสูตร ๒. ปัจจันตสูตร ๓. ปัญญาสูตร ๔. สุราเมรยสูตร ๕. โอทกสูตร ๖. มัตเตยยสูตร ๗. เปตเตยยสูตร ๘. สามัญญสูตร ๙. พรหมัญญสูตร ๑๐. ปจายิกสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๖๔๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๖๔๐-๖๔๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=441              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=10902&Z=10980                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1757              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=1757&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=8412              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=1757&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=8412                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn56.61/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.62/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.63/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.64/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.65/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.66/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.67/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.68/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.69/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.70/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :