บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
อานาปานาทิเปยยาลที่ ๗ แห่งโพชฌงค์ อัฏฐิกสัญญามีผล ๒ อย่าง [๖๔๑] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้ มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ก็อัฏฐิกสัญญาอันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มาก แล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อม ไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญ แล้ว อย่างนี้แล กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก. [๖๔๒] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือ เมื่อยังมีความยึดถือเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ก็เมื่ออัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดถือเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออัฏฐิกสัญญา อันบุคคล เจริญแล้วอย่างนี้แล กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดถือเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี. [๖๔๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก ก็อัฏฐิกสัญญาอันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้ มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อม ไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลผู้เจริญ แล้วอย่างนี้แล กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก. [๖๔๔] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะใหญ่ ก็อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว อย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะใหญ่? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วย อัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้แล กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกษม จากโยคะใหญ่. [๖๔๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวชมาก ก็อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำ ให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวชมาก? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญ แล้วอย่างนี้แล กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวชมาก. [๖๔๖] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นผาสุกมาก ก็อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระ ทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นผาสุกมาก? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย นี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญ แล้วอย่างนี้แล กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นผาสุกมาก. [๖๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุฬวกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ [๖๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วินีลกสัญญา ฯลฯ [๖๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิจฉิททกสัญญา ฯลฯ [๖๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุทธุมาตกสัญญา ฯลฯ [๖๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมตตา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ [๖๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรุณา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ [๖๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มุทิตา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ [๖๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุเบกขา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ [๖๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ [๖๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสุภสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ [๖๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มรณสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ [๖๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญา ฯลฯ [๖๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเก อนภิรตสัญญา ฯลฯ [๖๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา ฯลฯ [๖๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจเจ ทุกขสัญญา ฯลฯ [๖๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกเข อนัตตสัญญา ฯลฯ [๖๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปหานสัญญา ฯลฯ [๖๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิราคสัญญา ฯลฯ [๖๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ก็นิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้ว อย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติ- *สัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยนิโรธสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการ สละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยนิโรธสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ แล กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก. [๖๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดถือ เหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี เมื่อนิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้ว @๑. ตั้งแต่ข้อ ๖๔๗ ถึงข้อ ๖๖๔ มีเนื้อความเหมือนข้ออัฏฐิกสัญญา อย่างไร พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึด ถือเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยนิโรธสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยนิโรธสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้แล กระทำ ให้มากแล้วอย่างนี้ พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือ เมื่อยังมีความยึดถือเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี. [๖๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก เพื่อความเกษมจากโยคะมาก เพื่อความสังเวชมาก เพื่ออยู่เป็น ผาสุกมาก ก็นิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์มาก เพื่อความเกษมจากโยคะมาก เพื่อความสังเวชมาก เพื่ออยู่เป็นผาสุกมาก? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยนิโรธสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยนิโรธสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้แล กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็น ไปเพื่อประโยชน์มาก เพื่อความเกษมจากโยคะมาก เพื่อความสังเวชมาก เพื่ออยู่เป็นผาสุกมาก. [๖๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไป สู่ทิศปราจีน ฉันใด ภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ ก็ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน ก็ภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไร ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อม ไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.(พึงขยายความบาลีไปจนกระทั่งถึงการแสวงหา) สังโยชน์ ๕ [๖๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน? คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ ความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้ โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน? ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล [๖๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่า ไปสู่ทิศปราจีน ฉันใด ภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ ก็ย่อมเป็นผู้น้อม ไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน ก็ภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไร ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่ นิพพาน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ มีอันกำจัดราคะ เป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัม- *โพชฌงค์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อม ไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน. (พึงขยายความบาลี ตั้งแต่การกำจัดราคะเป็นที่สุดเช่นนี้ไปจนถึงการแสวงหา) [๖๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็น ไฉน? คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ ความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มี อันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีอัน กำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล.(พึงขยายความโพชฌงคสังยุต เหมือนมัคคสังยุต) เรื่องในวรรคนี้ คือ ๑. อัฏฐิกสัญญา ๒. ปุฬวกสัญญา ๓. วินีลกสัญญา ๔. วิจฉิททกสัญญา ๕. อุทธุมาตกสัญญา ๖. เมตตา ๗. กรุณา ๘. มุทิตา ๙. อุเบกขา ๑๐. อานาปานสติ.จบ อานาปานวรรคที่ ๗ แห่งโพชฌงคสังยุต ๑. อสุภสัญญา ๒. มรณสัญญา ๓. อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๔. สัพพโลเกอนภิรต- *สัญญา ๕. อนิจจสัญญา ๖. อนิจเจทุกขสัญญา ๗. ทุกเขอนัตตสัญญา ๘. ปหานสัญญา ๙. วิราคสัญญา ๑๐. นิโรธสัญญา.จบ นิโรธวรรคที่ ๘ แห่งโพชฌงคสังยุต เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๓๖๔๐-๓๗๗๘ หน้าที่ ๑๕๓-๑๕๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=3640&Z=3778&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=19&A=3640&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=129 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=641 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=19&A=3430 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=5342 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=19&A=3430 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=5342 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn46.57/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.57/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.58/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.58/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.59/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.59/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.60/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.60/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.61/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.61/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.62/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.62/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.63/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.63/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.64/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.64/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.65/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.65/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.66/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.66/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.67/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.67/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.68/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.68/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.69/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.69/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.70/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.70/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.71/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.71/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.72/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.72/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.73/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.73/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.74/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.74/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.75/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.75/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.76/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.76/en/woodward
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]