ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
รโหคตวรรคที่ ๒
ว่าด้วยสติปัฏฐาน ๔
[๑๒๖๓] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ได้เกิดความ ปริวิตกขึ้นในใจอย่างนี้ว่า สติปัฏฐาน ๔ อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งเบื่อแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่า เบื่ออริยมรรคที่จะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ สติปัฏฐาน ๔ อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว ชนเหล่านั้น ชื่อว่าปรารภอริยมรรคที่จะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ. [๑๒๖๔] ลำดับนั้น ท่านมหาโมคคัลลานะ รู้ความปริวิตกในใจของท่านอนุรุทธะด้วย ใจ จึงไปปรากฏในที่เฉพาะหน้าท่านพระอนุรุทธะ เหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขน ที่เหยียด ฉะนั้น. [๑๒๖๕] ครั้งนั้น ท่านมหาโมคคัลลานะได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า ดูกรท่านพระ อนุรุทธะ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงจะชื่อว่าปรารภสติปัฏฐาน ๔? [๑๒๖๖] ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพิจารณา เห็นกายในกายในภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน โลกเสียได้ พิจารณาเห็นกายในกายในภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในและ ภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้. [๑๒๖๗] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาในภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มี สติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาในภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในและภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้. [๑๒๖๘] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตในภายในอยู่ ... พิจารณาเห็นจิตในจิตใน ภายนอกอยู่ ... พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในและภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้. [๑๒๖๙] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมในภายในอยู่ ... พิจารณาเห็นธรรมใน ธรรมทั้งภายในและภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสียได้ ดูกรท่านผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่าปรารภสติปัฏฐาน ๔.
จบ สูตรที่ ๒

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๗๓๐๖-๗๓๓๑ หน้าที่ ๓๐๔-๓๐๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=7306&Z=7331&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=19&A=7306&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=288              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1263              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=19&A=7372              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=7436              The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=19&A=7372              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=7436              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn52.2/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]