[๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเจริญด้วยยศมีประมาณน้อย ความ
เจริญด้วยปัญญาเลิศกว่าความเจริญทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึง
สำเหนียกอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักเจริญโดยความเจริญด้วยปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ
[๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความประมาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความประมาท ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ
[๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความไม่ประมาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความไม่ประมาท ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ
[๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้เกียจคร้าน ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ความเป็นผู้เกียจคร้าน ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ
[๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้ปรารภความเพียร ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ความเป็นผู้ปรารภความเพียร ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ
[๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้มักมาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความเป็นผู้มักมาก ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ
[๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้มักน้อย ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความเป็นผู้มักน้อย ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ
[๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้ไม่สันโดษ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ความเป็นผู้ไม่สันโดษ ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ
[๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้สันโดษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความเป็นผู้สันโดษ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ
[๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนการใส่ใจโดยไม่แยบคาย ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย การใส่ใจโดยไม่แยบคาย ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ
[๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนการใส่ใจโดยแยบคาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย
การใส่ใจโดยแยบคาย ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ
[๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้ไม่รู้สึกตัว ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ความเป็นผู้ไม่รู้สึกตัว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ
[๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้รู้สึกตัว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความเป็นผู้รู้สึกตัว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ
[๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ
[๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้มีมิตรดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความ
เป็นผู้มีมิตรดี ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ
[๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนการประกอบอกุศลธรรมเนืองๆ การ
ไม่ประกอบกุศลธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย การประกอบอกุศลธรรมเนืองๆ การ
ไม่ประกอบกุศลธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ
[๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนการประกอบกุศลธรรมเนืองๆ การไม่
ประกอบอกุศลธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย การประกอบกุศลธรรมเนืองๆ การไม่
ประกอบอกุศลธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ
จบวรรคที่ ๙
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๓๓๒-๓๘๖ หน้าที่ ๑๔-๑๗.
https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=332&Z=386&pagebreak=0
https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=20&A=332&pagebreak=0
ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]
อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :-
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=9
ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :-
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=82
พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :-
https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=20&A=357
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :-
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=14&A=1772
The Pali Tipitaka in Roman :-
https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=20&A=357
The Pali Atthakatha in Roman :-
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=14&A=1772
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐
https://84000.org/tipitaka/read/?index_20
อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :-
https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i082-e.php#
http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/01/an01-081.html
https://suttacentral.net/an1.82-97/en/sujato
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖.
บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙.
บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐.
การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง.
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]
