บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
พระสูตรที่ไม่นับเป็นปัณณาสก์ [๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการควรเจริญ เพื่อความ รู้ยิ่งราคะ ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา...๑ ย่อม พิจารณาเห็นจิตในจิต...๑ ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ธรรม ๔ ประการนี้ ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่งราคะ ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้อกุศลบาปธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ๑ ... เพื่อละอกุศลบาปธรรมที่เกิด ขึ้นแล้ว ๑ เพื่อให้กุศลที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ๑ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน เพื่อความมียิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศล ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ ธรรม ๔ ประการนี้ ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการ ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย ฉันทสมาธิ และปธานสังขาร ๑ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิ...๑ จิตตสมาธิ...๑ วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ๑ ธรรม ๔ ประการนี้ ควรเจริญเพื่อความรู้ยิ่งราคะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการควรเจริญ เพื่อกำหนดรู้ราคะ ฯลฯ ธรรม ๔ ประการนี้ ควรเจริญเพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อความสิ้น เพื่อความเสื่อม เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสละ เพื่อสละคืน ซึ่งราคะ ธรรม ๔ ประการนี้ ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อความสิ้น เพื่อความเสื่อม เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสละ เพื่อสละคืน ซึ่งโทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเฐยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ ฯจบจตุกกนิบาต ฯ ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๖๗๘๕-๖๘๑๓ หน้าที่ ๒๙๑-๒๙๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=6785&Z=6813&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=21&A=6785&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=144 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=274 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=21&A=7295 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=21&A=7295 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i274-e.php# https://suttacentral.net/an4.274/en/sujato https://suttacentral.net/an4.274/en/bodhi https://suttacentral.net/an4.275/en/sujato https://suttacentral.net/an4.275/en/bodhi https://suttacentral.net/an4.276/en/sujato https://suttacentral.net/an4.276/en/bodhi https://suttacentral.net/an4.277-303/en/sujato https://suttacentral.net/an4.277-303/en/bodhi https://suttacentral.net/an4.304-783/en/sujato https://suttacentral.net/an4.304-783/en/bodhi
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]