บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
๖. วินิพันธสูตร [๒๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ ปราศจากความพอใจ ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจากความระหาย ยังไม่ ปราศจากความทะยานอยากในกาม ภิกษุใด เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ... ยังไม่ปราศจากความทะยานอยากในกาม จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความ เพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็น เครื่องผูกใจข้อที่ ๑ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ... ยังไม่ปราศจาก ความทะยานอยากในกาย ภิกษุใด เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ... ยังไม่ ปราศจากความทะยานอยากในกาย จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นเครื่องผูกพันใจ ข้อที่ ๒ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ... ยังไม่ ปราศจากความทะยานอยากในรูป ภิกษุใด เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ... ยังไม่ปราศจากความทะยานอยากในรูป จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความ เพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็น เครื่องผูกพันใจข้อที่ ๓ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุฉันอาหารจนอิ่มตามต้องการแล้ว ประกอบความสุข ในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในการหลับอยู่ ภิกษุใด ฉันอาหาร จนอิ่มตามความต้องการแล้ว ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในการหลับอยู่ จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความ ประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นเครื่องผูกพันใจ ข้อที่ ๔ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุปรารถนาเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ ด้วยตั้งใจว่า เราจักเป็นเทวดา หรือเป็นเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ ภิกษุใดปรารถนาเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง ประพฤติพรหมจรรย์ ด้วยตั้งใจว่า เราจักเป็นเทวดา หรือเป็นเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบ เนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นเครื่องผูกพันใจข้อที่ ๕ ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการนี้แล ฯจบสูตรที่ ๖ เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๕๘๐๗-๕๘๓๘ หน้าที่ ๒๕๔-๒๕๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=5807&Z=5838&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=22&A=5807&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=206 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=206 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=22&A=5855 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1923 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=22&A=5855 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1923 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i201-e.php#sutta6 https://suttacentral.net/an5.206/en/sujato
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]