ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๓ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑๐ ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๔
ปัญหาวาร
[๖๘๓] สัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปีติกธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ สัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปีติกธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่ปีติ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
พึงกระทำมูล
เหตุทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย และปีติ และ จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ อัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปีติกธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ [๖๘๔] สัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปีติกธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นสัปปีติกธรรม ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม เกิดขึ้น.
พึงกระทำมูล
เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปีติกธรรม และปีติ เกิดขึ้น.
พึงกระทำมูล
เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม และ ปีติ เกิดขึ้น. อัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปีติกธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ บุคคลให้ทาน ด้วยจิตที่เป็นอัปปีติกธรรม ศีล ฯลฯ กระทำอุปโบสถกรรมแล้ว พิจารณาด้วยจิตที่เป็นอัปปีติกธรรมแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภกุศลกรรมนั้น ราคะที่เป็นอัปปีติกธรรม เกิดขึ้น ทิฏฐิ เกิดขึ้น วิจิกิจฉา เกิดขึ้น อุทธัจจะ เกิดขึ้น โทมนัส เกิดขึ้น บุคคลออกจากฌานที่เป็นอัปปีติกธรรม ฯลฯ ออกจากมรรค ฯลฯ ออกจากผล ฯลฯ แล้ว พิจารณาด้วยจิตที่เป็นอัปปีติกธรรม พระอริยะทั้งหลาย พิจารณานิพพาน ด้วยจิตที่เป็นอัปปีติกธรรม นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภูที่เป็นอัปปีติกธรรม แก่โวทาน แก่มรรค แก่ผล แก่ อาวัชชนะ และแก่ปีติ โดยอารัมมณปัจจัย พระอริยะทั้งหลาย พิจารณากิเลสที่ละแล้ว ที่เป็นอัปปีติกธรรม กิเลสที่ข่มแล้ว ฯลฯ กิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน ฯลฯ ด้วยจิตที่เป็นสัปปีติกธรรม จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปีติกธรรม และปีติ ด้วยจิตที่เป็นอัปปีติกธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักขุเป็นต้นนั้น ราคะที่เป็นอัปปีติกธรรม เกิดขึ้น โทมนัส เกิดขึ้น ด้วยทิพพจักขุ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ โดยอารัมมณปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโตปริยญาณ แก่ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมุปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ และแก่ปีติ โดยอารัมมณปัจจัย เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปีติกธรรม และปีติ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปีติกธรรม และปีติ เกิดขึ้น. อัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปีติกธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ บุคคลให้ทานด้วยจิตที่เป็นอัปปีติกธรรม ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ แล้ว พิจารณาด้วยจิตที่เป็นสัปปีติกธรรม ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภกุศลธรรมนั้น ราคะที่เป็นสัปปีติกธรรม เกิดขึ้น ทิฏฐิเกิดขึ้น บุคคลออกจากฌานที่เป็นอัปปีติกธรรม ฯลฯ ออกจากมรรค ฯลฯ ออกจากผล ฯลฯ แล้ว พิจารณาด้วยจิตที่เป็นสัปปีติกธรรม พระอริยะทั้งหลาย พิจารณานิพพาน ด้วยจิตที่เป็นสัปปีติกธรรม นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภูที่เป็นสัปปีติกธรรม แก่โวทาน แก่มรรค แก่ผล โดยอารัมมณปัจจัย พระอริยะทั้งหลาย พิจารณากิเลสที่ละแล้ว ที่เป็นอัปปีติกธรรม กิเลสที่ข่มแล้ว ฯลฯ กิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน ฯลฯ ด้วยจิตที่เป็นสัปปีติกธรรม จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปีติกธรรม และปีติ ด้วยจิตที่เป็นสัปปีติกธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะ ปรารภจักขุเป็นต้นนั้น ราคะที่เป็นสัปปีติกธรรม เกิดขึ้น ทิฏฐิ เกิดขึ้น เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปีติกธรรม และปีติ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม เกิดขึ้น. อัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปีติกธรรม และอัปปีติกธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ บุคคลให้ทานด้วยจิตที่เป็นอัปปีติกธรรม ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ แล้วพิจารณา ด้วยจิตที่เป็นสัปปีติกธรรม ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภกุศลธรรมนั้น ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นสัปปีติกธรรม และปีติ เกิดขึ้น บุคคลออกจากฌานที่เป็นอัปปีติกธรรม ฯลฯ พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค ฯลฯ ออก จากผลแล้ว พิจารณาด้วยจิตที่เป็นสัปปีติกธรรม พระอริยะทั้งหลาย พิจารณานิพพานด้วยจิตที่เป็นสัปปีติกธรรม นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภูที่เป็นสัปปีติกธรรม แก่โวทาน แก่มรรค แก่ผล และแก่ ปีติ โดยอารัมมณปัจจัย พระอริยะทั้งหลาย พิจารณากิเลสที่ละแล้ว ที่เป็นอัปปีติกธรรม กิเลสที่ข่มแล้ว ฯลฯ กิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน ฯลฯ ด้วยจิตที่เป็นสัปปีติกธรรม จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปีติกธรรม และปีติ ด้วยจิตที่เป็นสัปปีติกธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะ ปรารภจักขุเป็นต้นนั้น ราคะที่เป็นสัปปีติกธรรม เกิดขึ้น ทิฏฐิ เกิดขึ้น เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปีติกธรรม และปีติ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม และปีติ เกิดขึ้น. สัปปีติกธรรม และอัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปีติกธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม และปีติขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติก- *ธรรม เกิดขึ้น.
พึงกระทำมูล
เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม และปีติ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปีติกธรรม และปีติ เกิดขึ้น.
พึงกระทำมูล
เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม และปีติ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม และปีติ เกิดขึ้น. [๖๘๕] สัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปีติกธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ. ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรมให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม เกิดขึ้น. ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นสัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย. สัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปีติกธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ. ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรมให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปีติกธรรม และปีติ เกิดขึ้น. ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นสัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่ปีติ และ จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย. สัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปีติกธรรม และอัปปีติกธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ. ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรมให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปีติกธรรม และปีติ เกิดขึ้น. ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นสัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย และปีติ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย. อัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปีติกธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ. ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทานด้วยจิตที่เป็นอัปปีติกธรรม ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ กระทำกุศลกรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ด้วยจิตที่เป็นอัปปีติกธรรม แล้ว พิจารณา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำกุศลกรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น ราคะที่เป็นอัปปีติกธรรม เกิดขึ้น ทิฏฐิ เกิดขึ้น บุคคลออกจากฌานที่เป็นอัปปีติกธรรม ฯลฯ ออกจากมรรค ฯลฯ ออกจากผล กระทำผล ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา พระอริยะทั้งหลาย กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ด้วยจิตที่เป็นอัปปีติก- *ธรรมแล้ว พิจารณา นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภูที่เป็นอัปปีติกธรรม แก่โวทาน แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ และแก่ปีติ โดยอธิปติปัจจัย จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปีติกธรรม และปีติให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น ด้วยจิตที่เป็นอัปปีติกธรรม ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำ จักขุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่เป็นอัปปีติกธรรม เกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ เพราะกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปีติกธรรม และปีติให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปีติกธรรม และปีติ เกิดขึ้น. ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นอัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย อัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปีติกธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทานด้วยจิตที่เป็นอัปปีติกธรรม ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ. อธิปติ ฯลฯ นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภูที่เป็นสัปปีติกธรรม แก่มรรค แก่ผล โดย อธิปติปัจจัย จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปีติกธรรม และปีติให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น ด้วยจิตที่เป็นสัปปีติกธรรม ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระ ทำจักขุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่เป็นสัปปีติกธรรม เกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ เพราะกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปีติกธรรม และปีติให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม เกิดขึ้น. สัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปีติกธรรม และอัปปีติกธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ ทาน ฯลฯ. อธิปติ ฯลฯ นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภูที่เป็นสัปปีติกธรรม แก่โวทาน แก่มรรค แก่ผล และแก่ปีติ โดยอธิปติปัจจัย จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปีติกธรรม และปีติให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น ด้วยจิตที่เป็นสัปปีติกธรรม ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะ กระทำจักขุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่เป็นสัปปีติกธรรม ฯลฯ ทิฏฐิ เกิดขึ้น เพราะกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปีติกธรรม และปีติให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม และปีติ เกิดขึ้น. สัปปีติกธรรม และอัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปีติกธรรม โดยอธิปติปัจจัย คือ เพราะกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม และปีติให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม เกิดขึ้น.
พึงกระทำมูล
เพราะกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม และปีติให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปีติกธรรม และปีติ เกิดขึ้น.
พึงกระทำมูล
เพราะกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม และปีติให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม และปีติ เกิดขึ้น. [๖๘๖] สัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปีติกธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น สัปปีติกธรรม ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย.
พึงกระทำมูล
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อัปปีติกธรรม ที่เกิดหลังๆ และปีติ โดยอนันตรปัจจัย จุติจิตที่เป็นสัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่เป็นอัปปีติกธรรม ภวังค์ที่เป็นสัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม เป็นปัจจัย แก่วุฏฐานะที่เป็นอัปปีติกธรรม วิบากมโนวิญญาณธาตุที่เป็นปีติกสหรคตธรรม เป็นปัจจัยแก่กิริยา- *มโนวิญญาณธาตุ ภวังค์ที่เป็นสัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่ภวังค์ที่เป็นอัปปีติกธรรม กุศล อกุศล ที่เป็นสัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็นอัปปีติกธรรม กิริยา เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ผล เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ โดยอนันตรปัจจัย.
พึงกระทำมูล
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น สัปปีติกธรรม ที่เกิดหลังๆ และปีติ โดยอนันตรปัจจัย. อัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปีติกธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ ปีติที่เกิดก่อนๆ ที่เป็นอัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่ปีติ ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปีติกธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น อัปปีติกธรรม ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่ผลสมาบัติที่เป็นอัปปีติกธรรม โดยอนันตรปัจจัย.
พึงกระทำมูล
ปีติที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย จุติจิตที่เป็นอัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่เป็นสัปปีติกธรรม อาวัชชนะ เป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ที่เป็นสัปปีติกธรรม วิบากมโนธาตุ เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุที่เป็นสัปปีติกธรรม ภวังค์ที่เป็น อัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่ภวังค์ที่เป็นสัปปีติกธรรม กุศล-อกุศลที่เป็นอัปปีติกธรรม เป็นปัจจัย แก่วุฏฐานะที่เป็นสัปปีติกธรรม กิริยา เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ผลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ โดย อนันตรปัจจัย เนวสัญญานาสัญญายตนะของบุคคลออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่เป็นสัปปี- *ติกธรรม โดยอนันตรปัจจัย. อัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปีติกธรรม และอัปปีติกธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ ปีติที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นสัปปีติกธรรม ที่เกิดหลังๆ และปีติ โดยอนันตรปัจจัย. สัปปีติกธรรม และอัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปีติกธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม ที่เกิดก่อนๆ และปีติเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่ เป็นสัปปีติกธรรม ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย. สัปปีติกธรรม และอัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปีติกธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม ที่เกิดก่อนๆ และปีติ เป็นปัจจัยแก่ปีติที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย จุติจิตที่เป็นสัปปีติกธรรม และปีติ เป็นปัจจัยแก่อุปัตติจิตที่เป็นอัปปีติกธรรม ภวังค์ที่ เป็นสัปปีติกธรรม และปีติ เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม และปีติ เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็นอัปปีติกธรรม วิบากมโนวิญญาณธาตุที่เป็นสัปปีติกธรรม และปีติ เป็นปัจจัยแก่กิริยามโนวิญญาณธาตุ ภวังค์ที่เป็นสัปปีติกธรรม และปีติ เป็นปัจจัยแก่ภวังค์ที่เป็น อัปปีติกธรรม กุศลอกุศลที่เป็นสัปปีติกธรรม และปีติ เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็นอัปปีติกธรรม กิริยาเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ผลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ โดยอนันตรปัจจัย. สัปปีติกธรรม และอัปปีติกธรรมเป็นปัจจัยแก่สัปปีติกธรรม และอัปปีติกธรรม โดย อนันตรปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม ที่เกิดก่อนๆ และปีติเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นสัปปีติกธรรม ที่เกิดหลังๆ และปีติ โดยอนันตรปัจจัย. ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยสมนันตรปัจจัย มี ๙ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย มี ๙ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยอัญญมัญญปัจจัย มี ๙ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยนิสสยปัจจัย มี ๙ นัย. [๖๘๗] สัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปีติกธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย.
พึงกระทำมูล
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปีติกธรรม และปีติ โดยอุปนิสสยปัจจัย.
พึงกระทำมูล
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม และปีติ โดยอุปนิสสยปัจจัย. อัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปีติกธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาที่เป็นอัปปีติกธรรมแล้ว ให้ทาน ด้วยจิตที่เป็นอัปปีติกธรรม ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ยังฌานที่เป็นอัปปีติกธรรม วิปัสสนา มรรค อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้เกิด ก่อมานะ ถือทิฏฐิ บุคคลเข้าไปอาศัยศีลที่เป็นอัปปีติกธรรม ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ อภิญญา ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย ฤดู โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ ปีติ แล้วให้ทาน ด้วยจิตที่เป็นอัปปีติกธรรม ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิด ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธาที่เป็นอัปปีติกธรรม ฯลฯ เสนาสนะ และปีติ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็น อัปปีติกธรรม ฯลฯ แก่ความปรารถนา แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ และแก่ปีติ โดยอุปนิสสยปัจจัย. อัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปีติกธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ นัย เป็นอุปนิสสยปัจจัย คือ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาที่เป็นอัปปีติกธรรมแล้ว ให้ทานด้วยจิตที่เป็นสัปปีติกธรรม ฯลฯ จากฌานที่เป็นอัปปีติกธรรม ฯลฯ ก่อมานะ ถือทิฏฐิ บุคคลเข้าไปอาศัยศีลที่เป็นอัปปีติกธรรม ฯลฯ เสนาสนะ ปีติ แล้วให้ทานด้วยจิตที่เป็น สัปปีติกธรรม ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิด บุคคลกระทำอทินนาทาน ด้วยจิตที่เป็นสัปปีติกธรรม ฯลฯ มุสา ฯลฯ ปิสุณา ฯลฯ สัมผะ ฯลฯ ตัดช่องย่องเบา ฯลฯ ลอบขึ้นไปลักทรัพย์ ฯลฯ ปล้นบ้านหลังหนึ่ง ฯลฯ ปล้นตามทาง ฯลฯ ภริยาผู้อื่น ฯลฯ ฆ่าคนในหมู่บ้าน ฯลฯ ฆ่าคนในนิคม ฯลฯ ศรัทธาที่เป็นอัปปีติกธรรม ฯลฯ เสนาสนะ และปีติ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นสัปปีติก- *ธรรม ฯลฯ แก่ปัญญา แก่ราคะ แก่โมหะ แก่มานะ แก่ทิฏฐิ แก่ความปรารถนา แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย. อัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปีติกธรรม และอัปปีติกธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ นัย เป็นอุปนิสสยปัจจัย คือ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาที่เป็นอัปปีติกธรรม แล้ว ให้ทานด้วยจิตที่เป็นสัปปีติกธรรม ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิด ก่อมานะ ถือทิฏฐิ ฯลฯ บุคคลเข้าไปอาศัยศีลที่เป็นอัปปีติกธรรม ฯลฯ เสนาสนะ ปีติ แล้วให้ทานด้วยจิตที่เป็น สัปปีติกธรรม ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิด ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ ด้วยจิตที่เป็นสัปปีติกธรรม.
เหมือนวาระที่สอง
บุคคลกระทำการฆ่าคนในนิคม ศรัทธาที่เป็นอัปปีติกธรรม ฯลฯ เสนาสนะ และปีติ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นสัปปีติกธรรม ฯลฯ แก่ปัญญา แก่ราคะ แก่โมหะ แก่มานะ แก่ทิฏฐิ แก่ความปรารถนา แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ และแก่ปีติ โดยอุปนิสสยปัจจัย. สัปปีติกธรรม และอัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปีติกธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ นัย เป็นอุปนิสสยปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม และปีติ เป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย.
พึงกระทำมูล
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม และปีติ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปีติกธรรม และปีติ โดยอุปนิสสยปัจจัย.
พึงกระทำมูล
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม และปีติ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม และปีติ โดยอุปนิสสยปัจจัย. [๖๘๘] อัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปีติกธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต. ที่เป็นอารัมมณปุเรชาต ได้แก่ จักขุ ฯลฯ บุคคลพิจารณาเห็นซึ่งหทัยวัตถุ โดยความ เป็นของไม่เที่ยง ด้วยจิตที่เป็นอัปปีติกธรรม ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักขุ เป็นต้นนั้น ราคะที่เป็นอัปปีติกธรรม ฯลฯ โทมนัส ปีติ เกิดขึ้น ด้วยทิพพจักขุ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ. ที่เป็นวัตถุปุเรชาต ได้แก่ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ กายายตนะ เป็น ปัจจัยแก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปีติกธรรม และแก่ปีติ โดยปุเรชาตปัจจัย. อัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปีติกธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต. ที่เป็นอารัมมณปุเรชาต ได้แก่ จักขุ ฯลฯ บุคคลพิจารณาเห็นซึ่งหทัยวัตถุ โดยความ เป็นของไม่เที่ยง ด้วยจิตที่เป็นอัปปีติกธรรม ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภ จักขุเป็นต้นนั้น ราคะที่เป็นสัปปีติกธรรม เกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ ที่เป็นวัตถุปุเรชาต ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย. อัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปีติกธรรม และอัปปีติกธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต. ที่เป็นอารัมมณปุเรชาต ได้แก่ จักขุ ฯลฯ บุคคลพิจารณาเห็นซึ่งหทัยวัตถุ โดยความ เป็นของไม่เที่ยง ด้วยจิตที่เป็นอัปปีติกธรรม ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภ จักขุเป็นต้นนั้น ปีติและสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เกิดขึ้น. ที่เป็นวัตถุปุเรชาต ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม และปีติ โดยปุเรชาตปัจจัย. [๖๘๙] สัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปีติกธรรม โดยปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ นัย. ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยอาเสวนปัจจัย มี ๙ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยกัมมปัจจัย มี ๖ นัย สหชาตก็ดี นานาขณิกก็ดี พึงกระทำ นานาขณิก มี ๒ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยวิปากปัจจัย มี ๙ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยอาหารปัจจัย มี ๔ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยอินทริยปัจจัย มี ๔ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยฌานปัจจัย มี ๙ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยมัคคปัจจัย มี ๔ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยสัมปยุตตปัจจัย มี ๖ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยอัตถิปัจจัย มี ๙ นัย ฯลฯ.
พึงกระทำเหมือนกับสวิตักกทุกะ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยนัตถิปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยวิคตปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยอวิคตปัจจัย มี ๙ นัย [๖๙๐] ในเหตุปัจจัย มีวาระ ๔ ในอารัมมณปัจจัย มี " ๙ ในอธิปติปัจจัย มีวาระ ๙ ในอนันตรปัจจัย มี " ๙ ในสมนันตรปัจจัย มี " ๙ ในสหชาตปัจจัย มี " ๙ ในอัญญมัญญปัจจัย มี " ๙ ในนิสสยปัจจัย มี " ๙ ในอุปนิสสยปัจจัย มี " ๙ ในปุเรชาตปัจจัย มี " ๓ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี " ๓ ในอาเสวนปัจจัย มี " ๙ ในกัมมปัจจัย มี " ๖ ในวิปากปัจจัย มี " ๙ ในอาหารปัจจัย มี " ๔ ในอินทริยปัจจัย มี " ๔ ในฌานปัจจัย มี " ๙ ในมัคคปัจจัย มี " ๔ ในสัมปยุตตปัจจัย มี " ๖ ในวิปปยุตตปัจจัย มี " ๕ ในอัตถิปัจจัย มี " ๙ ในนัตถิปัจจัย มี " ๙ ในวิคตปัจจัย มี " ๙ ในอวิคตปัจจัย มี " ๙. [๖๙๑] สัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปีติกธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดย สหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยกัมมปัจจัย. สัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปีติกธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาต ปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยกัมมปัจจัย. สัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปีติกธรรม และอัปปีติกธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยกัมมปัจจัย. อัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปีติกธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาต ปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยกัมมปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย เป็นปัจจัย โดยอินทริยปัจจัย. อัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปีติกธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดย สหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย อัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปีติกธรรม และอัปปีติกธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็น ปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย สัปปีติกธรรม และอัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปีติกธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย. สัปปีติกธรรม และอัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปีติกธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็น ปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย. สัปปีติกธรรม และอัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปีติกธรรมและอัปปีติกธรรม โดย อารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดย ปุเรชาตปัจจัย. แม้ปัจจนียวิภังค์ และการนับก็เหมือนกับสวิตักกทุกะ ถ้าหากมีไม่เสมอกัน พึงพิจารณา ทุกะนี้ ตามสมควรแล้วพึงนับ การนับทั้งสองนอกนี้ก็พึงนับ.
สัปปีติกทุกะ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๓ บรรทัดที่ ๑๑๓๓๓-๑๑๖๗๐ หน้าที่ ๔๔๔-๔๕๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=43&A=11333&Z=11670&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=43&A=11333&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=43&siri=94              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=43&A=8297              The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=43&A=8297              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_43

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]