บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
คำถามและคำตอบในฉัตตุปาหนวรรคที่ ๙ [๖๒๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ใช้ร่มและรองเท้า ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภภิกษุณีฉัพพัคคีย์. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ใช้ร่มและรองเท้า. มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วย สมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท). [๖๒๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ไปด้วยยาน ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภภิกษุณีฉัพพัคคีย์. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ไปด้วยยาน. มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วย สมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท). [๖๒๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ใช้เครื่องประดับเอว ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งใช้เครื่องประดับเอว. มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท). [๖๒๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ใช้เครื่องประดับสำหรับสตรี ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภภิกษุณีฉัพพัคคีย์. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ใช้เครื่องประดับสำหรับสตรี. มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท). [๖๒๙] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้อาบน้ำปรุงเครื่องประเทืองผิวมีกลิ่นหอม ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภภิกษุณีฉัพพัคคีย์. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ อาบน้ำปรุงเครื่องประเทืองผิวที่มีกลิ่นหอม. มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท). [๖๓๐] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้อาบน้ำปรุงกำยานเป็นเครื่องอบ ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภภิกษุณีฉัพพัคคีย์. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ อาบน้ำปรุงกำยานเป็นเครื่องอบ. มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท). [๖๓๑] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยังภิกษุณีให้นวด ให้ขยำ ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปยังภิกษุณี ให้นวด ให้ขยำ. มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท). [๖๓๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยังสิกขมานาให้นวด ให้ขยำ ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูป ยังสิกขมานาให้นวด ให้ขยำ. มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท). [๖๓๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยังสามเณรีให้นวด ให้ขยำ ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณี ยังสามเณรีหลายรูปให้นวด ให้ขยำ. มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท). [๖๓๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ยังหญิงคฤหัสถ์ให้นวด ให้ขยำ ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูป ยังหญิงคฤหัสถ์ให้นวด ให้ขยำ. มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ (เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท). [๖๓๕] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ไม่ขอโอกาส นั่งบนอาสนะข้างหน้าภิกษุ ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูป ไม่ขอโอกาสนั่งบนอาสนะข้างหน้าภิกษุ. มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ (เหมือนกฐินสิกขาบท). [๖๓๖] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ถามปัญหากะภิกษุผู้ที่ตนยังมิได้ขอโอกาส ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูป ถามปัญหากะภิกษุผู้ที่ตนยังมิได้ขอโอกาส. มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ (เหมือนปทโสธัมมสิกขาบท). [๖๓๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ไม่มีผ้ารัดถัน เข้าไปสู่บ้าน ณ ที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี. ถ. ทรงปรารภใคร? ต. ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง. ถ. เพราะเรื่องอะไร? ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่ง ไม่มีผ้ารัดถันเข้าไปสู่บ้าน. มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ คือ บางทีเกิดแต่กาย ไม่ใช่วาจา ไม่ใช่จิต ๑ บางทีเกิดแต่กายกับจิต ไม่ใช่วาจา ๑.ฉัตตุปาหนวรรคที่ ๙ จบ ขุททกสิกขาบท ๙ วรรค จบ ----------------------------------------------------- หัวข้อประจำเรื่อง [๖๓๘] กระเทียม ๑ ถอนขนในที่แคบ ๑ ใช้ของลับกระทบกัน ๑ ท่อนยางเกลี้ยง ๑ ใช้น้ำชำระให้สะอาดลึกเกินไป ๑ บำรุงภิกษุกำลังฉัน ๑ ข้าวเปลือกสด ๑ ทิ้งของเป็นเดน ๒ สิกขาบท ๑ ดูฟ้อนรำ ๑ เวลาค่ำคืน ๑ โอกาสกำบัง ๑ ที่แจ้ง ๑ ถนน ๑ เวลาเช้า ๑ เวลาภายหลังภัตร ๑ เวลาพลบค่ำ ๑ ความถือผิด ๑ แช่งด้วยนรก ๑ ประหาร ๑ เปลือยกาย ๑ ผ้าอาบน้ำฝน ๑ เลาะจีวร ๑ เปลี่ยนผ้าสังฆาฏิมีกำหนด ๕ วัน ๑ จีวรสับเปลี่ยน ๑ หมู่ ๑ การแจกจีวร ๑ สมณจีวร ๑ จีวรไม่แน่นอน ๑ การเดาะกฐิน ๑ เตียงเดียวกัน ๑ เครื่องลาด ๑ แกล้ง ๑ สหชีวินี ๑ ให้ที่อาศัย ๑ คลุกคลี ๑ เที่ยวจาริกภายใน ๑ เที่ยวจาริกภายนอก ๑ เที่ยวจาริกภายในพรรษา ๑ ไม่หลีกไป ๑ โรงละครหลวง ๑ อาสันทิ ๑ กรอด้าย ๑ ธุระของคฤหัสถ์ ๑ ระงับอธิกรณ์ ๑ ให้ ๑ ผ้าอาศัย ๑ ที่อยู่ ๑ เรียนติรัจฉานวิชา ๑ บอกติรัจฉานวิชา ๑ อาราม ๑ ด่า ๑ แค้นเคือง ๑ ฉัน ๑ หวงตระกูล ๑ จำพรรษา ๑ ปวารณา ๑ ไม่รับโอวาท ๑ ไม่ขอโอวาท ๑ ที่แง้มขา ๑ สตรีมีครรภ์ ๑ สตรีแม่ลูกอ่อน ๑ ธรรม ๖ ประการ ๑ สงฆ์ยังมิได้สมมติ ๑ มีอายุ หย่อน ๑๒ ปี ๑ เด็กหญิงมีอายุครบบริบูรณ์แล้ว ๑ สงฆ์ยังมิได้สมมติ ๑ ยังสหชีวินีให้บวช แล้วไม่อนุเคราะห์ ๑ ไม่ติดตามปวัตตินี ๑ ไม่พาหลีกไป ๑ สามเณรีที่เป็นเด็กหญิง ๒ สิกขาบท ๑ สงฆ์ยังมิได้สมมติ ๑ ภิกษุณีมีพรรษาหย่อน ๑๒ ปี ๑ สงฆ์ยังมิได้สมมติ ๑ ยังไม่ควร ๑ ถ้าจักให้ ๑ ตลอด ๒ ปี ๑ สิกขมานาผู้เกี่ยวข้อง กับบุรุษ ๑ สิกขมานาอันสามีไม่อนุญาต ๑ ให้ฉันทะค้างคราว ๑ ทุกกาลฝน ๑ ปีละ ๒ รูป ๑ ร่ม ๑ ยาน ๑ เครื่องประดับเอว ๑ เครื่องประดับสำหรับสตรี ๑ อาบน้ำปรุงเครื่อง ประเทืองผิว ๑ อาบน้ำปรุงกำยาน ๑ ภิกษุณี ๑ สิกขมานา ๑ สามเณรี ๑ หญิงคฤหัสถ์ ๑ นั่งข้างหน้าภิกษุ ๑ ไม่ขอโอกาส ๑ ผ้ารัดถัน ๑.----------------------------------------------------- หัวข้อบอกวรรคเหล่านั้น [๖๓๙] ลสุณวรรค ๑ รัตตันธการวรรค ๑ นหานวรรค ๑ ตุวัฏฏวรรค ๑ จิตตา- *คารวรรค ๑ อารามวรรค ๑ คัพภินีวรรค ๑ กุมารีภูตวรรค ๑ ฉัตตุปาหนวรรค ๑.----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๔๘๓๗-๔๙๘๕ หน้าที่ ๑๘๓-๑๘๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=4837&Z=4985&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=8&A=4837&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=47 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=625 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=8&A=3559 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=8&A=3559 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_8 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr2.1/en/brahmali#pli-tv-pvr2.1:148.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr2.1/en/horner-brahmali#Prv.2.1:Bi-Pc.84
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]