ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
             [๔๖๖] ธรรม ๑๐ อย่างที่มีอุปการะมากเป็นไฉน ได้แก่ธรรมกระทำที่
พึ่ง ๑๐ อย่าง คือ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล
สำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจรอยู่ มีปรกติเห็นภัย
ในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ผู้มีอายุทั้งหลาย
แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและ
โคจรอยู่ มีปรกติเห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลาย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ
             อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีธรรมอันสดับแล้วมาก ทรงธรรมที่ได้สดับแล้ว
สั่งสมธรรมที่ได้สดับแล้ว ธรรมที่งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง เห็น
ปานนั้น อันเธอได้สดับแล้วมาก ทรงไว้แล้ว คล่องปาก ตามเพ่งด้วยใจ แทง
ตลอดด้วยดีด้วยความเห็น ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีธรรมอันสดับ
แล้วมาก ทรงธรรมที่ได้สดับแล้ว สั่งสมธรรมที่ได้สดับแล้ว ธรรมที่งามใน
เบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถพร้อม
ทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง เห็นปานนั้น อันเธอได้สดับแล้วมาก ทรง
ไว้แล้ว คล่องปาก ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น นี้ก็เป็นธรรม
กระทำที่พึ่ง ฯ
             อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ผู้มีอายุทั้งหลาย
แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีเพื่อนดี มีสหายดี นี้ก็เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ
             อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมที่กระทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
เป็นผู้อดทน เป็นผู้รับอนุศาสนีโดยเบื้องขวา ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็น
ผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมที่กระทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน เป็นผู้รับ
อนุศาสนีโดยเบื้องขวา นี้ก็เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ
             อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณา อันเป็นอุบายในกรณียะนั้นๆ สามารถทำ สามารถจัด ในกรณียะกิจ
ใหญ่น้อยของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคน
ขยันไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในกรณียะ
นั้นๆ สามารถทำ สามารถจัดในกรณียะกิจใหญ่น้อยของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย
นี้ก็เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ
             อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เจรจาน่ารัก มีความปราโมทย์ยิ่งใน
อภิธรรม ในอภิวินัย ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เจรจา
น่ารัก มีความปราโมทย์ยิ่งในอภิธรรม ในอภิวินัย นี้ก็เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ
             อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
เภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ตามมีตามได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุ
เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยแก่คน
ไข้ตามมีตามได้ นี้ก็เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ
             อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อจะยัง
กุศลธรรมให้ถึงพร้อมอยู่ เป็นผู้มีเรี่ยวแรง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระ
ในธรรมที่เป็นกุศล ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อ
ละอกุศลธรรม เพื่อจะยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อมอยู่ มีเรี่ยวแรง มีความบากบั่น
มั่นคง ไม่ทอดธุระในธรรมที่เป็นกุศล นี้ก็เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ
             อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาเครื่องรักษาตน
อย่างยอดเยี่ยม แม้สิ่งที่ทำแล้วนาน แม้คำที่พูดแล้วนาน ก็นึกได้ระลึกได้ ผู้มี
อายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีสติประกอบด้วยสติและปัญญาเครื่องรักษาตน
อย่างยอดเยี่ยม แม้สิ่งที่ทำแล้วนาน แม้คำที่พูดแล้วนาน ก็นึกได้ระลึกได้ นี้ก็
เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ
             อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาที่เห็น ความเกิด
และความดับอันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาที่เห็นความเกิดและความ
ดับอันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้ก็เป็นธรรม
กระทำที่พึ่ง ฯ
             ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้มีอุปการะมาก ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ บรรทัดที่ ๗๙๖๕-๘๐๑๖ หน้าที่ ๓๒๗-๓๒๙. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=11&A=7965&Z=8016&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=11&siri=12              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=364              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [466] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=11&item=466&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- [466] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=11&item=466&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_11              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/dn34/en/sujato https://suttacentral.net/dn34/en/tw-caf_rhysdavids

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :