ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
             [๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบายเป็นเครื่องกำจัดความอาฆาต ๑๐ ประการ
นี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลย่อมกำจัดความอาฆาตว่า บุคคลได้ประพฤติ
สิ่งอันไม่เป็นประโยชน์แก่เราแล้ว การประพฤติสิ่งอันเป็นประโยชน์จะพึงได้ใน
บุคคลนี้แต่ที่ไหน ๑ บุคคลกำลังประพฤติสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์แก่เรา การ
ประพฤติสิ่งอันเป็นประโยชน์จะพึงได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน ๑ บุคคลจักประพฤติ
สิ่งอันไม่เป็นประโยชน์แก่เรา การประพฤติสิ่งอันเป็นประโยชน์จะพึงได้ในบุคคล
นี้แต่ที่ไหน ๑ ย่อมกำจัดความอาฆาตว่า บุคคลได้ประพฤติสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์
แก่ผู้ที่เป็นที่รักที่ชอบใจของเราแล้ว การประพฤติสิ่งอันเป็นประโยชน์จะพึงได้ใน
บุคคลนี้แต่ที่ไหน ๑ กำลังประพฤติสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เป็นที่รักที่ชอบใจ
ของเรา การประพฤติสิ่งอันเป็นประโยชน์จะพึงได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน ๑ จัก
ประพฤติสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา การประพฤติ
สิ่งอันเป็นประโยชน์จะพึงได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน ๑ ย่อมกำจัดความอาฆาตว่า
บุคคลได้ประพฤติสิ่งอันเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเราแล้ว
การประพฤติสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์จะพึงได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน ๑ กำลังประพฤติ
สิ่งอันเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเรา การประพฤติสิ่งอัน
ไม่เป็นประโยชน์จะพึงได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน ๑ จักประพฤติสิ่งอันเป็นประโยชน์
แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเรา การประพฤติสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์
จะพึงได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน ๑ ย่อมไม่โกรธในที่อันไม่ควร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อุบายเป็นเครื่องกำจัดความอาฆาต ๑๐ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบอากังขวรรคที่ ๓
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อากังขสูตร ๒. กัณฏกสูตร ๓. อิฏฐสูตร ๔. วัฑฒิสูตร ๕. มิคสาลาสูตร ๖. อภัพพสูตร ๗. กากสูตร ๘. นิคัณฐสูตร ๙. อาฆาตวัตถุสูตร ๑๐. อาฆาตปฏิวินยสูตร ฯ
-----------------------------------------------------
เถรวรรคที่ ๔
วาหุนสูตร

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๓๕๒๖-๓๕๕๔ หน้าที่ ๑๕๒-๑๕๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=3526&Z=3554&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=78              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=80              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [80-81] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=24&item=80&items=2              The Pali Tipitaka in Roman :- [80-81] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=24&item=80&items=2              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i071-e.php#sutta10 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an10/an10.080.than.html https://suttacentral.net/an10.80/en/sujato https://suttacentral.net/an10.80/en/thanissaro

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :