ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
             [๙๙] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ทรงเกิด
ความปริวิตกแห่งพระทัยอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราแลเกลื่อนกล่นอยู่ด้วยภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกแห่ง
เดียรถีย์ เราเกลื่อนกล่นอยู่ลำบากไม่ผาสุก บัดนี้ เรานั้นไม่เกลื่อนกล่นอยู่ด้วย
ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์
สาวกแห่งเดียรถีย์ เราไม่เกลื่อนกล่นเป็นอยู่สุขสำราญ พระยาช้างนั้นเกิดความ
ปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราแลเกลื่อนกล่นอยู่ด้วยเหล่าช้างพลาย ช้าง
พัง ช้างสะเทิ้น ลูกช้าง เรากินหญ้าที่ช้างทั้งหลายเล็มยอดเสียแล้ว และช้าง
ทั้งหลายกินกิ่งไม้ที่เราหักลงๆ เราดื่มน้ำที่ขุ่น และเมื่อเราลงและขึ้นจากน้ำ
ช้างพังทั้งหลายเดินเสียดสีกายไป เราเกลื่อนกล่นอยู่ลำบากไม่ผาสุก บัดนี้ เราไม่
เกลื่อนกล่นอยู่ด้วยเหล่าช้างพลาย ช้างพัง ช้างสะเทิ้น ลูกช้าง เราไม่กินหญ้าที่
ช้างทั้งหลายเล็มยอดแล้ว และช้างทั้งหลายไม่กินกิ่งไม้ที่เราหักลงๆ เราดื่มน้ำที่
ไม่ขุ่น และเมื่อเราลงและขึ้นจากน้ำ ช้างพังทั้งหลายก็ไม่เดินเสียดสีกายไป เรา
ไม่เกลื่อนกล่นอยู่เป็นสุขสำราญ
             ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบความสงัดกายของพระองค์ และทรง
ทราบความปริวิตกแห่งใจของพระยาช้างนั้น ด้วยพระหฤทัยแล้ว ทรงเปล่งอุทาน
นี้ในเวลานั้นว่า
                          จิตของพระยาช้างผู้มีงาเช่นกับงอนรถนี้ ย่อมสมกับจิตที่
                          ประเสริฐของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เพราะพระพุทธเจ้า
                          พระองค์เดียว ทรงยินดีอยู่ในป่า ฯ
จบสูตรที่ ๕

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๒๖๙๑-๒๗๑๑ หน้าที่ ๑๑๗-๑๑๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=2691&Z=2711&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=70              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=97              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [99] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=25&item=99&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=26&A=5919              The Pali Tipitaka in Roman :- [99] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=25&item=99&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=26&A=5919              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/ud/ud.4.05.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/ud/ud.4.05.irel.html https://suttacentral.net/ud4.5/en/anandajoti https://suttacentral.net/ud4.5/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :