ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
             [๙๓๗] 	ภิกษุถูกผัสสะคือโรคและความหิวกระทบแล้ว พึงอดทนความหนาว
                          และความร้อน ภิกษุนั้นอันผัสสะเหล่านั้นกระทบแล้วโดยอาการมาก
                          อย่าง เป็นผู้ไม่เปิดโอกาส พึงทำความบากบั่น คือความเพียรให้มั่นไว้.
             [๙๓๘] คำว่า ภิกษุถูกผัสสะคือโรคและความหิวกระทบแล้ว ความว่า ความกระทบ
คือโรค เรียกว่า ผัสสะคือโรค. ภิกษุเป็นผู้อันผัสสะคือโรคกระทบ ถูกต้อง ตั้งลง ครอบงำ คือ
เป็นผู้อันโรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย ฯลฯ สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด
และสัตว์เสือกคลานกระทบเข้า ถูกต้อง ตั้งลง ครอบงำแล้ว. ความอยากกิน เรียกว่าความหิว.
ภิกษุเป็นผู้อันความหิวกระทบเข้า ถูกต้อง ตั้งลง ครอบงำแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุ
ถูกผัสสะคือโรคและความหิวกระทบแล้ว.
ความหนาวมีด้วยเหตุ ๒ อย่าง
[๙๓๙] คำว่า ความหนาว ในคำว่า พึงอดทนความหนาวและความร้อน ความว่า ความหนาวย่อมมีด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ ความหนาวย่อมมีด้วยสามารถแห่งอาโปธาตุภายในกำเริบ ๑ ความหนาวย่อมมีด้วยสามารถแห่งฤดูภายนอก ๑. คำว่า ความร้อน ความว่า ความร้อนย่อมมี ด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ ความร้อนย่อมมีด้วยสามารถแห่งเตโชธาตุภายในกำเริบ ๑ ความร้อนย่อม มีด้วยสามารถแห่งฤดูภายนอก ๑. คำว่า พึงอดทนความหนาวและความร้อน ความว่า ภิกษุพึง เป็นผู้อดทนต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน พึงเป็นผู้มีปกติอดกลั้นต่อทางถ้อยคำที่เขากล่าวชั่ว มาร้าย และ ทุกขเวทนาอันเกิดขึ้นในสรีระที่กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่สบาย ไม่ชอบใจ สามารถนำชีวิตไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงอดทนความหนาวและความร้อน. [๙๔๐] คำว่า ภิกษุนั้นอันผัสสะเหล่านั้น ในคำว่า ภิกษุนั้นอันผัสสะเหล่านั้นกระทบ แล้วโดยอาการมากอย่าง เป็นผู้ไม่เปิดโอกาส ความว่า ภิกษุนั้น เป็นผู้อันผัสสะคือโรค ความหิว ความหนาว และความร้อนกระทบเข้า ถูกต้อง ตั้งลง ครอบงำแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้น อันผัสสะเหล่านั้นกระทบเข้าแล้ว. คำว่า โดยอาการมากอย่าง ความว่า กระทบเข้า ถูกต้อง ตั้งลง ครอบงำ โดยอาการมีชนิดเป็นอเนก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้น อันผัสสะ เหล่านั้นกระทบเข้าแล้วโดยอาการมากอย่าง. คำว่า เป็นผู้ไม่เปิดโอกาส ความว่า ย่อมไม่ทำโอกาส แก่วิญญาณอันสหรคตด้วยอภิสังขาร แม้เพราะเหตุดังนี้ จึงชื่อว่า ไม่เปิดโอกาส. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุย่อมไม่ทำโอกาสแก่กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต แม้เพราะเหตุดังนี้ จึงชื่อว่า ไม่เปิด โอกาส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้น อันผัสสะเหล่านั้นกระทบแล้วโดยอาการมากอย่าง เป็นผู้ไม่เปิดโอกาส.
ว่าด้วยการทำความบากบั่น
[๙๔๑] คำว่า พึงทำความบากบั่นคือความเพียรให้มั่นไว้ ความว่า ความปรารภความ เพียร ความก้าวหน้าไป ความบากบั่น ความดำเนินไป ความพยายาม ความอุตสาหะ ความหมั่น ความไม่ถอยหลัง ความออกแรง ความตั้งไว้ ความบากบั่นคือไม่ย่อหย่อน ความไม่ปลงฉันทะ ความไม่ทอดธุระ ความประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ ที่เป็นไปทาง จิต เรียกว่า ความบากบั่นคือความเพียร. ภิกษุพึงทำความบากบั่นคือความเพียรให้มั่นไว้ คือ พึง เป็นผู้สมาทานมั่น มีสมาทานตั้งลงมั่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงทำความบากบั่นคือความเพียร ให้มั่นไว้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ภิกษุถูกผัสสะคือโรคและความหิวกระทบแล้ว พึงอดทนความหนาว และความร้อน ภิกษุนั้น อันผัสสะเหล่านั้นกระทบแล้วโดยอาการ มากอย่าง เป็นผู้ไม่เปิดโอกาส พึงทำความบากบั่นคือความเพียรให้ มั่นไว้.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๑๑๑๗๒-๑๑๒๑๒ หน้าที่ ๔๖๘-๔๗๐. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=11172&Z=11212&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=29&siri=17              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=881              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [937-941] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=29&item=937&items=5              The Pali Tipitaka in Roman :- [937-941] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=29&item=937&items=5              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_29

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :