ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
             [๗๘๗] คำว่า พึงเป็นผู้ไม่ประมาท ในคำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่ประมาท นมัสการอยู่
พึงตามศึกษาในกาลทุกเมื่อ พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ ความว่า ภิกษุพึงเป็นผู้ทำโดยความเคารพ
ฯลฯ ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล. คำว่า ในกาลทุกเมื่อ คือ ในกาลทุกเมื่อ ในกาล
ทั้งปวง ฯลฯ ในตอนวัยหลัง. คำว่า นมัสการอยู่ ความว่า นมัสการ สักการะ เคารพ นับ
ถือ บูชา ยำเกรง ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยจิต ด้วยความปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์หรือด้วย
ความปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม. คำว่า พึงหมั่นศึกษา ความว่า สิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา
อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา ฯลฯ นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา. ภิกษุนึกถึงสิกขาทั้ง ๓ นี้อยู่ ก็พึง
ศึกษา ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งอยู่ ก็พึงศึกษา พึงประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติ
เอื้อเฟื้อด้วยดี สมาทานประพฤติ. คำว่า ภควา เป็นคำกล่าวด้วยความเคารพ ฯลฯ เป็น
สัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่ประมาท ... นมัสการอยู่ พึงหมั่นศึกษาใน
กาลทุกเมื่อ พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
                          ก็ภิกษุนั้นเป็นผู้ครอบงำ ไม่ถูกครอบงำ ได้เห็นแล้วซึ่งสักขิธรรมโดยไม่
                          ต้องเชื่อต่อผู้อื่น เพราะฉะนั้นแหละ ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่ประมาทในศาสนา
                          ของพระผู้มีพระภาคนั้น นมัสการอยู่ พึงหมั่นศึกษาในกาลทุกเมื่อ
                          พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้แล.
จบ ตุวฏกสุตตนิทเทสที่ ๑๔.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๙๐๗๗-๙๐๙๓ หน้าที่ ๓๘๑-๓๘๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=9077&Z=9093&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=29&siri=14              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=699              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [787] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=29&item=787&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=45&A=8634              The Pali Tipitaka in Roman :- [787] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=29&item=787&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=45&A=8634              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_29

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :