ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
             [๓๒๓] คำว่า ตณฺหํ ในอุเทศว่า ตณฺหํ ปริญฺญาย อนาสวา เย อหมฺปิ เต
โอฆติณฺณาติ พฺรูมิ ดังนี้ คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา
ธรรมตัณหา.
             คำว่า กำหนดรู้แล้วซึ่งตัณหา ความว่า กำหนดรู้แล้วซึ่งตัณหาด้วยปริญญา ๓ คือ
ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา.
             ญาตปริญญาเป็นไฉน? นรชนย่อมรู้ซึ่งตัณหา คือ ย่อมรู้ ย่อมเห็นว่า นี้รูปตัณหา
นี้สัททตัณหา นี้คันธตัณหา นี้รสตัณหา นี้โผฏฐัพพตัณหา นี้ธรรมตัณหา. นี้ชื่อว่า ญาต-
*ปริญญา.
             ตีรณปริญญาเป็นไฉน? นรชนทำตัณหาที่ตนรู้อย่างนี้แล้ว ย่อมพิจารณาตัณหา คือ
พิจารณาโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ฯลฯ โดยความไม่ให้สลัดออก. นี้ชื่อว่า ตีรณปริญญา.
             ปหานปริญญาเป็นไฉน? นรชนพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ละบรรเทา ทำให้สิ้นสุด
ให้ถึงความไม่มีซึ่งตัณหา. นี้ชื่อว่าปหานปริญญา. กำหนดรู้แล้วซึ่งตัณหานั้นด้วยปริญญา ๓ นี้
เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า กำหนดรู้แล้วซึ่งตัณหา.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๒๔.

คำว่า เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ความว่า อาสวะ ๔ คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ. นรชนเหล่าใดละอาสวะเหล่านี้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา นรชนเหล่านั้นตรัสว่า เป็นผู้ไม่มีอาสวะ คำว่า เหล่าใด คือ พระอรหันตขีณาสพทั้งหลาย. คำว่า แม้ข้าพระองค์ก็กล่าวว่า นรชนเหล่าใดกำหนดรู้ตัณหาแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ นรชนเหล่านั้นเป็นผู้ข้ามโอฆะแล้ว ความว่า แม้ข้าพระองค์ก็กล่าว คือ พูดว่า นรชนเหล่าใด กำหนดรู้ตัณหาแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ นรชนเหล่านั้นเป็นผู้ข้ามแล้วซึ่งกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ ข้ามแล้ว ข้ามขึ้นแล้ว ข้ามออกแล้ว ล่วงแล้ว ก้าวล่วงแล้ว ซึ่ง ทางสงสารทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แม้ข้าพระองค์ย่อมกล่าวว่า นรชนเหล่าใดกำหนดรู้ ตัณหาแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ นรชนเหล่านั้นเป็นผู้ข้ามโอฆะแล้ว. เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้น จึงกล่าวว่า ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ย่อมชอบใจพระวาจานั้น อัน พระองค์ผู้เป็นพระมเหสีตรัสดีแล้ว ไม่มีอุปธิ. แม้ข้า- พระองค์ก็กล่าวว่า นรชนเหล่าใดละแล้วซึ่งรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้ทราบ ศีลและวัตรทั้งปวง ทั้ง ละแล้วซึ่งมงคลหลายชนิดทั้งหมด กำหนดรู้ตัณหาแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ นรชนเหล่านั้นเป็นผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว. พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ฯลฯ พระนันทะนั่งประนมอัญชลีนมัสการพระผู้มีพระภาค ประกาศว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นพระศาสดาของข้าพระองค์. ข้าพระองค์ เป็นสาวก ดังนี้.
จบนันทมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๗.
-----------------------------------------------------

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๒๕.

เหมกมาณวกปัญหานิทเทส
ว่าด้วยปัญหาของท่านพระเหมกะ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๐ บรรทัดที่ ๓๐๔๕-๓๐๘๑ หน้าที่ ๑๒๓-๑๒๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=30&A=3045&Z=3081&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=30&siri=26              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=281              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [323-324] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=30&item=323&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=46&A=810              The Pali Tipitaka in Roman :- [323-324] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=30&item=323&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=46&A=810              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_30              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://www.ancient-buddhist-texts.net/Texts-and-Translations/Parayanavagga/Parayanavaggo-07.htm

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :