ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 467อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 470อ่านอรรถกถา 15 / 475อ่านอรรถกถา 15 / 956
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค มารสังยุต ทุติยวรรคที่ ๒
กัสสกสูตรที่ ๙

               อรรถกถากัสสกสูตรที่ ๙               
               พึงทราบวินิจฉัยในกัสสกสูตรที่ ๙ ต่อไป :-
               บทว่า นิพฺพานปฏิสํยุตฺตาย ได้แก่ ที่อ้างพระนิพพานเป็นไปแล้ว.
               บทว่า หฏหฏเกโส ได้แก่ นำผมหน้าไว้ข้างหลัง นำผมหลังไว้ข้างหน้า นำผมข้างซ้ายไว้ข้างขวา นำผมข้างขวาไว้ข้างซ้าย ชื่อว่ามีผมกระจายยุ่งเหยิง.
               บทว่า มม จกฺขุสมฺผสฺสวิญฺญาณายตนํ ได้แก่ จักษุสัมผัสที่ประกอบด้วยจักขุวิญญาณ. จักษุสัมผัสนั้นก็ดี วิญญาณายตนะก็ดี เป็นของเรา.
               ก็ในคำว่า มเมว ของเรานี้ ท่านถือเอาธรรมทั้งหลายที่ประกอบด้วยวิญญาณ ด้วยจักษุสัมผัส ถือเอาวิญญาณทั้งหลายมีอาวัชชนจิตเป็นต้น ที่เกิดในจักษุทวารแม้ทั้งหมดด้วยวิญญาณานะ. ถึงในโสตทวารเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.
               แต่ในมโนทวารภวังคจิตเป็นไปโดยการรับอารมณ์ ชื่อว่ามโน. ธรรมที่เป็นอารมณ์ทั้งหลาย ชื่อว่าธรรม. สัมผัสที่ประกอบด้วยภวังคจิตอันเป็นไปด้วยอาวัชชนะ ชื่อว่ามโนสัมผัส. ชวนจิต ชื่อว่าวิญญาณายตนะ. แม้ตทารัมมณะก็เป็นไป.
               บทว่า ตเวว ปาปิม จกฺขุํ ความว่า จักษุใดอันโรคที่ทำความมืดเป็นต้นในโลกเข้าขัดขวาง เป็นบ่อเกิดแห่งโรคมากอย่าง ทำให้แห้งให้กระด้างๆ โดยที่สุด ตาก็บอด เหตุนั้น จักษุนั้นทั้งหมดเป็นอย่างนั้นนั่นแหละ. แม้ในรูปเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.
               บทว่า ยํ วทนฺติ ความว่า บุคคลเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใดว่านี้เป็นของเรา.
               บทว่า มมนฺติ จ ความว่า และบุคคลเหล่าใดกล่าวว่าของเรา.
               บทว่า เอตฺถ เจ เต มโน อตฺถิ ความว่า ผิว่า จิตของท่านมีอยู่ในฐานะเหล่านี้ไซร้.
               บทว่า น เม สมณ โมกฺขสิ แปลว่า ท่านจักไม่หลุดพ้นจากวิสัยของเรา.
               บทว่า ยํ วทนฺติ ความว่า บุคคลทั้งหลายกล่าวถึงสิ่งใด สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา.
               บทว่า เย วทนฺติ ความว่า บุคคลแม้เหล่าใดกล่าวอย่างนี้ บุคคลเหล่านั้นก็ไม่ใช่เรา.
               บทว่า น เม มคฺคมฺปิ ทกฺขสิ ความว่า ท่านก็ไม่เห็นแม้แต่ทางไปของเรา ในภพกำเนิดและคติเป็นต้น.

               จบอรรถกถากัสสกสูตรที่ ๙               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค มารสังยุต ทุติยวรรคที่ ๒ กัสสกสูตรที่ ๙ จบ.
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 467อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 470อ่านอรรถกถา 15 / 475อ่านอรรถกถา 15 / 956
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=3713&Z=3761
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=4471
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=4471
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๘  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :