ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 470อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 475อ่านอรรถกถา 15 / 478อ่านอรรถกถา 15 / 956
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค มารสังยุต ทุติยวรรคที่ ๒
รัชชสูตรที่ ๑๐

               อรรถกถารัชชสูตรที่ ๑๐               
               พึงทราบวินิจฉัยในรัชชสูตรที่ ๑๐ ต่อไป :-
               บทว่า อหนํ อฆาฏยํ ได้แก่ ไม่เบียดเบียนเอง ไม่ใช้ให้เขาเบียดเบียน.
               บทว่า อชินํ อชาปยํ ได้แก่ ไม่ทำความเสื่อมทรัพย์เอง ไม่ใช้ให้เขาทำความเสื่อม.
               บทว่า อโสจํ อโสจาปยํ ได้แก่ ไม่เศร้าโศกเอง ไม่ทำให้เขาเศร้าโศก. เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นมนุษย์ทั้งหลาย ถูกผู้ลงโทษเบียดเบียน ในรัชสมัยของเหล่าพระราชาผู้ไม่ทรงธรรม จึงทรงพระดำริอย่างนี้ ด้วยอำนาจความกรุณา.
               บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า มารคิดว่า พระสมณโคดมทรงดำริว่า เราอาจครองราชสมบัติได้ คงจักอยากครองราชสมบัติ ก็ขึ้นชื่อว่าราชสมบัตินี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งความประมาท เมื่อทรงครองราชสมบัติ เราอาจได้พบความผิดพลาด จำเราจักไปทำให้พระองค์เกิดความอุตสาหะ ดังนี้จึงเข้าไปเฝ้า.
               บทว่า อิทฺธิปาทา ได้แก่ ส่วนที่ให้สำเร็จ.
               บทว่า ภาวิตา ได้แก่ ให้เจริญแล้ว.
               บทว่า พหุลีกตา ได้แก่ กระทำบ่อยๆ.
               บทว่า ยานีกตา ได้แก่ กระทำให้เป็นดุจยานที่เทียมไว้แล้ว.
               บทว่า วตฺถุกตา ได้แก่ กระทำให้มีที่ตั้ง เพราะอรรถาว่าเป็นที่ตั้ง.
               บทว่า อนุฏฺฐิตา ได้แก่ ไม่ละแล้ว ติดตามอยู่เป็นนิตย์.
               บทว่า ปริจิตา ได้แก่ สั่งสมดีด้วยการกระทำติดต่อกัน คือชำนาญเหมือนฝีมือยิงธนูไม่พลาดของนักแม่นธนู.
               บทว่า สุสมา รทฺธา ได้แก่ เริ่มพร้อมดีแล้วมีภาวนาบริบูรณ์แล้ว.
               บทว่า อธิมุจฺเจยฺย ได้แก่ พึงคิด.
               บทว่า ปพฺพตสฺส แก้เป็น ปพฺพโต ภเวยฺย พึงมีภูเขา.
               บทว่า ทฺวิตาว ความว่า ภูเขาลูกเดียวยกไว้ก่อน ภูเขาทองขนาดใหญ่เพียงนั้นแม้สองเท่า ก็ยังไม่พอ คือไม่พอความต้องการสำหรับคนๆ เดียวได้.
               บทว่า อิติ วิทฺธา สมญฺจเร ได้แก่ เมื่อรู้อย่างนี้ พึงประพฤติสม่ำเสมอ.
               บทว่า ยโตนิทานํ ได้แก่ขึ้นชื่อว่าทุกข์มีกามคุณ ๕ เป็นเหตุ. สัตว์ใดได้เห็นอย่างนี้ว่า ทุกข์นั้นมีกามคุณใดเป็นเหตุ.
               บทว่า กถํ นเมยฺย ความว่า สัตว์นั้นพึงน้อมไปในกามเหล่านั้นอันเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ เพราะเหตุอะไร.
               บทว่า อุปธึ วิทิตฺวา ความว่า รู้อุปธิคือกามคุณอย่างนี้ว่า นั่นเป็นเครื่องข้อง นี่ก็เป็นเครื่องข้อง.
               บทว่า ตสฺเสว ชนฺตุ วินยาย สิกฺเข ความว่า พึงศึกษาเพื่อกำจัดอุปธินั้นนั่นแลเสีย ดังนี้.

               จบอรรถกถารัชชสูตรที่ ๑๐               
               จบทุติยวรรคที่ ๒               
               -----------------------------------------------------               

               รวมพระสูตรในวรรคที่ ๒ นี้มี ๑๐ สูตร คือ
                         ๑. ปาสานสูตร
                         ๒. สีหสูตร
                         ๓. สกลิกสูตร
                         ๔. ปฏิรูปสูตร
                         ๕. มานสสูตร
                         ๖. ปัตตสูตร
                         ๗. อายตนสูตร
                         ๘. ปิณฑิกสูตร
                         ๙. กัสสกสูตร
                         ๑๐. รัชชสูตร
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค มารสังยุต ทุติยวรรคที่ ๒ รัชชสูตรที่ ๑๐ จบ.
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 470อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 475อ่านอรรถกถา 15 / 478อ่านอรรถกถา 15 / 956
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=3762&Z=3798
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=4493
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=4493
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๘  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :