ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ อภิญญา ”             ผลการค้นหาพบ  14  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 14
จาตุรงคสันนิบาต การประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ คือ
       ๑. วันนั้นดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (เพ็ญเดือน ๓)
       ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปมาประชุมกัน โดยมิได้นัดหมาย
       ๓. พระสงฆ์เหล่านั้นทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา
       ๔. พระสงฆ์เหล่านั้นทั้งหมดล้วนเป็นเอหิภิกขุ
           ดู มาฆบูชา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 14
จุตูปปาตญาณ ปรีชารู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย,
       มีจักษุทิพย์มองเห็นสัตว์กำลังจุติบ้าง กำลังเกิดบ้าง มีอาการดีบ้าง เลวบ้างเป็นต้น ตามกรรมของตน
       เรียกอีกอย่างว่า ทิพพจักขุ
       (ข้อ ๒ ในญาณ ๓ หรือวิชชา ๓, ข้อ ๗ ในวิชชา ๘, ข้อ ๕ ในอภิญญา)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 14
จูฬปันถกะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง ในอสีติมหาสาวก
       เป็นบุตรของธิดาเศรษฐีกรุงราชคฤห์ และเป็นน้องชายของมหาปันถกะ ออกบวชในพระพุทธศาสนา
       ปรากฏว่า มีปัญญาทึบอย่างยิ่ง พี่ชายมอบคาถาเพียง ๑ คาถาให้ ท่องตลอดเวลา ๔ เดือน ก็ท่องไม่ได้จึงถูกพี่ชายขับไล่ เสียใจคิดจะสึก พอดีพอพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสปลอบแล้วประทานผ้าขาวบริสุทธิ์ให้ไปลูบคลำพร้อมทั้งบริกรรมสั้นๆ ว่า “รโชหรณํๆๆ” ผ้านั้นหมองเพราะมือคลำอยู่เสมอ ทำให้มองเห็นไตรลักษณ์ และได้สำเร็จพระอรหัต
       ท่านมีความชำนาญแคล่วคล่องในอภิญญา
       ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดาผู้ฉลาดในเจโตวิวัฏฏ์;
       ชื่อท่านเรียกว่าง่ายๆ ว่าจูฬบันถก, บางแห่งเขียนเป็นจุลลบันถก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 14
เจโตปริยญาณ ปรีชากำหนดรู้ในผู้อื่นได้, รู้ใจผู้อื่นอ่านความคิดของเขาได้
       เช่น รู้ว่าเขากำลังคิดอะไรอยู่ ใจเขาเศร้าหมองหรือผ่องใส เป็นต้น
       (ข้อ ๕ ในวิชชา ๘, ข้อ ๓ ในอภิญญา)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 14
ทิพพจักขุ จักษุทิพย์, ตาทิพย์, ญาณพิเศษของพระพุทธเจ้า และท่านผู้ได้อภิญญาทั้งหลาย ทำให้สามารถเล็งเห็นหมู่สัตว์ที่เป็นไปต่างๆ กันเพราะอำนาจกรรม
       เรียกอีกอย่างว่า จุตูปปาตญาณ
       (ข้อ ๗ ในวิชชา ๘, ข้อ ๕ ในอภิญญา)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 14
ทิพพโสต หูทิพย์, ญาณพิเศษที่ทำให้ฟังอะไรได้ยินหมดตามปรารถนา;
       ดู อภิญญา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 14
เทวทัตต์ ราชบุตรของพระเจ้าสุปปพุทธะ เป็นเชฏฐภาดา (พี่ชาย) ของพระนางพิมพาผู้เป็นพระชายาของสิทธัตถกุมาร
       เจ้าชายเทวทัตต์ออกบวชพร้อมกับพระอนุรุทธ์ พระอานนท์ และ กัลบกอุบาลี เป็นต้น บำเพ็ญฌานจนได้โลกิยอภิญญา
       ต่อมามีความมักใหญ่ ได้ยุยงพระเจ้าอชาตศัตรูและคบคิดกันพยายามประทุษร้ายพระพุทธเจ้า ก่อเรื่องวุ่นวายในสังฆมณฑลจนถึงทำสังฆเภท และถูกแผ่นดินสูบในที่สุด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 14
ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ความรู้เป็นเครื่องระลึกได้ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อน, ระลึกชาติได้
       (ข้อ ๑ ในวิชชา ๓, ข้อ ๔ ในอภิญญา, ข้อ ๖ ในวิชชา ๘, ข้อ ๘ ในทศพลญาณ)
       เขียนอย่างรูปเดิมในภาษาบาลีเป็น ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ;
       ใช้ว่า บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ก็มี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 14
สุกขวิปัสสก พระผู้เจริญวิปัสสนาล้วนสำเร็จพระอรหัต มิได้ทรงคุณวิเศษอย่างอื่นอีก
       เช่น ไม่ได้ฌานสมาบัติ ไม่ได้อภิญญา เป็นต้น;
       ดู อรหันต์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 14
อภิญญา ความรู้ยิ่ง, ความรู้เจาะตรงยวดยิ่ง,
       ความรู้ชั้นสูง มี ๖ อย่างคือ
           ๑. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้
           ๒. ทิพพโสต หูทิพย์
           ๓. เจโตปริยญาณ ญาณที่ให้ทายใจคนอื่นได้
           ๔. ปุพเพนิวาสานุสติ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้
           ๕. ทิพพจักขุ ตาทิพย์
           ๖. อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป,
       ๕ อย่างแรกเป็นโลกียอภิญญา ข้อสุดท้ายเป็นโลกุตตรอภิญญา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 14
อภิญญาเทสิตธรรม ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงด้วยพระปัญญาอันยิ่ง
       หมายถึง โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มีสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 14
อรหันต์ ผู้สำเร็จธรรมวิเศษสูงสุดในพระพุทธศาสนา, พระอริยบุคคลชั้นสูงสุด ผู้ได้บรรลุอรหัตตผล,
       พระอรหันต์ ๒ ประเภท คือ พระสุกขวิปัสสก กับพระสมถยานิก;
       พระอรหันต์ ๔ คือ
           ๑. พระสุกขวิปัสสก
           ๒. พระเตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา ๓)
           ๓. พระฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา ๖)
           ๔. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔);
       พระอรหันต์ ๕ คือ
           ๑. พระปัญญาวิมุต
           ๒. พระอุภโตภาควิมุต
           ๓. พระเตวิชชะ
           ๔. พระฉฬภิญญะ
           ๕. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ;
       ดู อริยบุคคล
       พระอรรถกถาจารย์แสดงความหมายของ อรหันต์ ไว้ ๕ นัย คือ
           ๑. เป็นผู้ไกล (อารกะ) จากกิเลส
               (คือห่างไกลไม่อยู่ในกระแสกิเลสที่จะทำให้มัวหมองได้เลย)
           ๒. กำจัดข้าศึก (อริ+หต) คือกิเลสหมดสิ้นแล้ว
           ๓. เป็นผู้หักคือรื้อทำลายกำ (อร+หต) แห่งสังสารจักรเสร็จแล้ว
           ๔. เป็นผู้ควร (อรห) แก่การบูชาพิเศษของเทพและมนุษย์ทั้งหลาย
           ๕. ไม่มีที่ลับ (น+รห) ในการทำบาป คือไม่มีความชั่วความเสียหายที่จะต้องปิดบัง;
       ความหมายทั้ง ๕ นี้ ตามปกติใช้อธิบายคำว่า อรหันต์ ที่เป็นพุทธคุณข้อที่ ๑;
       ดู อรหํ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 14
อาสวักขยญาณ ความรู้เป็นเหตุสิ้นอาสวะ, ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย,
       ความตรัสรู้ (เป็นความรู้ที่พระพุทธเจ้าได้ในยามสุดท้ายแห่งราตรี วันตรัสรู้)
       (ข้อ ๓ ในญาณ ๓ หรือวิชชา ๓, ข้อ ๖ ในอภิญญา, ข้อ ๘ ในวิชชา ๘, ข้อ ๑๐ ในทศพลญาณ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 14
อิทธิวิธา, อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ
       เช่น นิรมิตกายคนเดียวเป็นหลายคน หลายคนเป็นคนเดียว ล่องหน ดำดิน เดินน้ำ เป็นต้น
       (ข้อ ๑ ในอภิญญา, ข้อ ๓ ในวิชชา ๘)


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อภิญญา&detail=on
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CD%C0%D4%AD%AD%D2&detail=on


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]