ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ”             ผลการค้นหาพบมากกว่า  80  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 80
กกุธานที แม่น้ำที่พระอานนท์ทูลเชิญเสด็จพระพุทธเจ้าให้ไปเสวยและสรงชำระพระกาย ในระหว่างเดินทางไปเมืองกุสินารา ในวันปรินิพพาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 80
กฏัตตากรรม ดู กตัตตากรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 80
กฐิน ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือไม้แบบสำหรับขึงเพื่อตัดเย็บจีวร;
       ในทางพระวินัยใช้เป็นชื่อเรียกสังฆกรรมอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว เพื่อแสดงออกซึ่งความสามัคคีของภิกษุที่ได้จำพรรษาอยู่ร่วมกัน โดยให้พวกเธอพร้อมใจกันยกมอบผ้าผืนหนึ่งที่เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งในหมู่พวกเธอ ที่เป็นผู้มีคุณสมบัติสมควร แล้วภิกษุรูปนั้นนำผ้าที่ได้รับมอบไปทำเป็นจีวร (จะทำเป็นอันตรวาสก หรืออุตตราสงค์ หรือสังฆาฏิก็ได้ และพวกเธอทั้งหมดจะต้องช่วยภิกษุนั้นทำ)
       ครั้นทำเสร็จแล้ว ภิกษุรูปนั้นแจ้งให้ที่ประชุมสงฆ์ซึ่งได้มอบผ้าแก่เธอนั้นทราบเพื่ออนุโมทนา เมื่อสงฆ์คือที่ประชุมแห่งภิกษุเหล่านั้นอนุโมทนาแล้ว ก็ทำให้พวกเธอได้สิทธิพิเศษที่จะขยายเขตทำจีวรให้ยาวออกไป (เขตทำจีวรตามปกติ ถึงกลางเดือน ๑๒ ขยายต่อออกไปถึงกลางเดือน ๔);
       ผ้าที่สงฆ์ยกมอบให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งนั้น เรียกว่า ผ้ากฐิน (กฐินทุสสะ);
       สงฆ์ผู้ประกอบกฐินกรรมต้องมีจำนวนภิกษุอย่างน้อย รูป;
       ระยะเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ประกอบกฐินกรรมได้ มีเพียง เดือน ต่อจากสิ้นสุดการจำพรรษา เรียกว่า เขตกฐิน คือตั้งแต่แรม ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
       ภิกษุผู้กรานกฐินแล้ว ย่อมได้อานิสงส์ ประการ (เหมือนอานิสงส์การจำพรรษา ดู จำพรรษา) ยืดออกไปอีก เดือน (ตั้งแต่แรม ค่ำ เดือน ๑๒ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔) และได้โอกาสขยายเขตจีวรกาลออกไปตลอด เดือนนั้น
       คำถวายผ้ากฐิน
       แบบสั้นว่า : อิมํ, สปริวารํ, กฐินจีวรทุสฺสํ, สงฺฆสฺส, โอโณชยาม. (ว่า จบ)
       แปลว่า ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารนี้แก่พระสงฆ์
       แบบยาวว่า : อิมํ, ภนฺเต, สปริวารํ, กฐินจีวรทุสฺสํ, สงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, สงฺโฆ, อิมํ สปริวารํ, กฐินทุสฺสํ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, ปฏิคฺคเหตฺวา จ, อิมินา ทุสฺเสน, กฐินํ, อตฺถรตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
       แปลว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารนี้แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย ครั้นรับแล้ว จงกรานกฐินด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญฯ

กฐินทาน การทอดกฐิน, การถวายผ้ากฐิน คือการที่คฤหัสถ์ผู้ศรัทธาหรือแม้ภิกษุสามเณร นำผ้าไปถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว วัดใดวัดหนึ่ง เพื่อทำเป็นผ้ากฐิน เรียกสามัญว่า ทอดกฐิน (นอกจากผ้ากฐินแล้วปัจจุบันนิยมมีของถวายอื่นๆ อีกด้วยจำนวนมาก เรียกว่า บริวารกฐิน)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 80
กฐินัตถารกรรม การกรานกฐิน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 80
กตญาณ ปรีชากำหนดรู้ว่าได้ทำกิจเสร็จแล้ว คือ
       ทุกข์ ควรกำหนดรู้ได้ รู้แล้ว
       สมุทัย ควรละ ได้ละแล้ว
       นิโรธ ควรทำให้แจ้ง ได้ทำให้แจ้งแล้ว
       มรรค ควรเจริญ ได้เจริญ คือปฏิบัติหรือทำให้เกิดแล้ว
       (ข้อ ในญาณ )

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 80
กตเวทิตา ความเป็นคนกตเวที, ความเป็นผู้สนองคุณท่าน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 80
กตัญญุตา ความเป็นคนกตัญญู, ความเป็นผู้รู้คุณท่าน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 80
กตัญญูกตเวทิตา ความเป็นคนกตัญญูกตเวที

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 80
กตัญญูกตเวที ผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้วและตอบแทน แยกออกเป็น คือ
           กตัญญู รู้คุณท่าน
           กตเวที ตอบแทนหรือสนองคุณท่าน;
       ความกตัญญูกตเวทีว่าโดยขอบเขต แยกได้เป็น ระดับ คือ
           กตัญญูกตเวทีต่อบุคคลผู้มีคุณความดีหรืออุปการะต่อตนเป็นส่วนตัว อย่างหนึ่ง
           กตัญญูกตเวทีต่อบุคคลผู้ได้บำเพ็ญคุณประโยชน์หรือมีคุณความดีเกื้อกูลแก่ส่วนรวม เช่นที่พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพระพุทธเจ้าโดยฐานที่ได้ทรงประกาศธรรมยังหมู่ชนให้ตั้งอยู่ในกุศลกัลยาณธรรม เป็นต้น อย่างหนึ่ง
       (ข้อ ในบุคคลหาได้ยาก )

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 80
กตัตตากรรม กรรมสักว่าทำ, กรรมที่เป็นกุศลก็ตาม อกุศลก็ตาม สักแต่ว่าทำคือไม่ได้จงใจจะให้เป็นอย่างนั้นโดยตรง หรือมีเจตนาอ่อนไม่ชัดเจน ย่อมให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่น ท่านเปรียบเสมือนคนบ้ายิงลูกศร ย่อมไม่มีความหมายจะให้ถูกใคร ทำไปโดยไม่ตั้งใจชัดเจน
       ดู กรรม ๑๒

กตัตตาวาปนกรรม ดู กตัตตากรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 80
กติกา (ในคำว่า “ข้าพเจ้าถวายตามกติกาของสงฆ์”) ข้อตกลง, ข้อบังคับ,
       กติกาของสงฆ์ในกรณีนี้ คือข้อที่สงฆ์ อาวาส มีข้อตกลงกันไว้ว่า
           ลาภเกิดในอาวาสหนึ่ง สงฆ์อีกอาวาสหนึ่งมีส่วนได้รับแจกด้วย
       ทายกกล่าวคำถวายว่า “ข้าพเจ้าถวายตามกติกาของสงฆ์”
           ลาภที่ทายกถวายนั้น ย่อมตกเป็นของภิกษุผู้อยู่ในอาวาสที่ทำกติกากันไว้ด้วย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 80
กถา ถ้อยคำ, เรื่อง, คำกล่าว, คำอธิบาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 80
กถาวัตถุ ถ้อยคำที่ควรพูด, เรื่องที่ควรนำมาสนทนากันในหมู่ภิกษุ มี ๑๐ อย่างคือ
       ๑. อัปปิจฉกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความปรารถนาน้อย
       ๒. สันตุฏฐิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสันโดษ
       ๓. ปวิเวกกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสงัดกายสงัดใจ
       ๔. อสังสัคคกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่
       ๕. วิริยารัมภกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารภความเพียร
       ๖. สีลกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล
       ๗. สมาธิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำจิตมั่น
       ๘. ปัญญากถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา
       ๙. วิมุตติกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลสและความทุกข์
       ๑๐. วิมุตติญาณทัสสนกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดความรู้ความเห็นในภาวะที่หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 80
กนิฏฐภาดา, กนิษฐภาดา น้องชาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 80
กบิลดาบส ดาบสที่อยู่ในดงไม้สักกะ ประเทศหิมพานต์ พระราชบุตรและพระราชบุตรีของพระเจ้าโอกกากราชพากันไปสร้างพระนครใหม่ในที่อยู่ของกบิลดาบส จึงขนานนามพระนครที่สร้างใหม่ว่า กบิลพัสดุ์ แปลว่า ที่หรือที่ดินของกบิลดาบส

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 80
กบิลพัสดุ์ เมืองหลวงของแคว้นสักกะหรือศากยะ ที่ได้ชื่อว่า กบิลพัสดุ์ เพราะเดิมเป็นที่อยู่ของกบิลดาบส บัดนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 80
กปิสีสะ ไม้ที่ทำเป็นรูปหัวลิง ในวันที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน พระอานนทเถระยืนเหนี่ยวไม้นี้ร้องไห้ เสียใจว่าตนยังไม่สำเร็จพระอรหัต พระพุทธเจ้าก็จักปรินิพพานเสียแล้ว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 80
กพฬิงการาหาร ดู กวฬิงการาหาร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 80
กรณียะ เรื่องที่ควรทำ, ข้อที่พึงทำ, กิจ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 80
กรมการ เจ้าพนักงานคณะหนึ่งมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในระดับหนึ่งๆ เช่น กรมการจังหวัด กรมการอำเภอ เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 80
กรมพระสุรัสวดี ชื่อกรมสมัยโบราณ มีหน้าที่เกี่ยวกับการรวบรวมบัญชีเลข หรือชายฉกรรจ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 80
กรรโชก ขู่เอาด้วยกิริยาหรือวาจา ให้กลัว (แผลงมาจาก กระโชก)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 80
กรรณ หู

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 80
กรรม การกระทำ หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา คือทำด้วยความจงใจหรือจงใจทำ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เช่น
       ขุดหลุมพรางดักคนหรือสัตว์ให้ตกลงไปตาย เป็นกรรม
       แต่ขุดบ่อน้ำไว้กินใช้ สัตว์ตกลงไปตายเอง ไม่เป็นกรรม
       (แต่ถ้ารู้อยู่ว่าบ่อน้ำที่ตนขุดไว้อยู่ในที่ซึ่งคนจะพลัดตกได้ง่าย แล้วปล่อยปละละเลย มีคนตกลงไปตาย ก็ไม่พ้นเป็นกรรม)
       การกระทำที่ดีเรียกว่า “กรรมดี” ที่ชั่ว เรียกว่า “กรรมชั่ว”

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 80
กรรม กรรมจำแนกตามคุณภาพ หรือตามธรรมที่เป็นมูลเหตุ มี คือ
       ๑. อกุศลกรรม กรรมที่เป็นอกุศล กรรมชั่ว คือเกิดจากอกุศลมูล
       ๒. กุศลกรรม กรรมที่เป็นกุศล กรรมดี คือเกิดจากกุศลมูล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 80
กรรม กรรมจำแนกตามทวารคือทางที่ทำกรรม มี คือ
       ๑. กายกรรม การกระทำทางกาย
       ๒. วจีกรรม การกระทำทางวาจา
       ๓. มโนกรรม
การกระทำทางใจ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 80
กรรม ๑๒ กรรมจำแนกตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ผล พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ ๑๒ อย่างคือ
       หมวดที่ ว่าด้วยปากกาล คือ จำแนกตามเวลาที่ให้ผล ได้แก่
           ๑. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้
           ๒. อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า
           ๓. อปราปริยเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพต่อๆไป
           ๔. อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล
       หมวดที่ ว่าโดยกิจ คือจำแนกการให้ผลตามหน้าที่ ได้แก่
           ๕. ชนกกรรม กรรมแต่งให้เกิด หรือกรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด
           ๖. อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุน คือเข้าสนับสนุนหรือซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม
           ๗. อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น คือเข้ามาบีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมนั้นให้แปรเปลี่ยนทุเลาเบาบางหรือสั้นเข้า
           ๘. อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน คือกรรมแรงฝ่ายตรงข้ามที่เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรม อย่างนั้นให้ขาดหรือหยุดไปทีเดียว
       หมวดที่ ว่าโดยปากทานปริยาย คือจำแนกตามลำดับความแรงในการให้ผล ได้แก่
           ๙. ครุกกรรม กรรมหนัก ให้ผลก่อน
           ๑๐. พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม กรรมทำมากหรือกรรมชิน ให้ผลรองลงมา
           ๑๑. อาสันนกรรม กรรมจวนเจียน หรือกรรมใกล้ตาย ถ้าไม่มี ข้อก่อนก็จะให้ผลก่อนอื่น
           ๑๒. กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม กรรมสักว่าทำ คือเจตนาอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้น ให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 80
กรรมกรณ์ เครื่องลงอาชญา, ของสำหรับใช้ลงโทษ เช่น โซ่ ตรวน ขื่อ คา เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 80
กรรมการ บุคคลในคณะซึ่งร่วมกันทำงานบางอย่างที่ได้รับมอบหมาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 80
กรรมกิเลส กรรมเครื่องเศร้าหมอง, การกระทำที่เป็นเหตุให้เศร้าหมอง มี อย่างคือ
       ๑. ปาณาติบาต การทำชีวิตให้ตกล่วงคือ ฆ่าฟันสังหารกัน
       ๒. อทินนาทาน ถือเอาของที่เจ้าของเขามิได้ให้คือลักขโมย
       ๓. กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม
       ๔. มุสาวาท พูดเท็จ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 80
กรรมฐาน ดู กัมมัฏฐาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 80
กรรมลักษณะ ดู กัมมลักขณะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 80
กรรมวัฏฏ์ ดู กัมมวัฏฏ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 80
กรรมวาจา คำประกาศกิจในท่ามกลางสงฆ์, การสวดประกาศ แบ่งเป็น คือ ญัตติ อนุสาวนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 80
กรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ผู้สวดกรรมวาจาประกาศในท่ามกลางสงฆ์ ในการอุปสมบท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 80
กรรมวาจาวิบัติ เสียเพราะกรรมวาจา, กรรมวาจาบกพร่องใช้ไม่ได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 80
กรรมวาจาสมบัติ ความสมบูรณ์แห่งกรรมวาจา, คำสวดประกาศถูกต้อง ใช้ได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 80
กรรมวิปากญาณ ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม แม้จะมีกรรมต่างๆ ให้ผลอยู่มากมายซับซ้อน ก็สามารถแยกแยะ ล่วงรู้ได้ว่าอันใดเป็นผลของกรรมใด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 80
กรรมสิทธิ์ ความเป็นเจ้าของทรัพย์, สิทธิที่ได้ตามกฎหมาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 80
กรรมารหะ ดู กัมมารหะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 80
กรรแสง ร้องไห้ บัดนี้เขียน กันแสง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  42 / 80
กรวดน้ำ ตั้งใจอุทิศบุญกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ พร้อมไปกับหลั่งรินน้ำเป็นเครื่องหมาย และเป็นเครื่องรวมกระแสจิตที่ตั้งใจอุทิศนั้นให้แน่วแน่;
       เริ่มรินน้ำเมื่อพระองค์หัวหน้าเริ่มสวดยถา รินน้ำหมดพร้อมกับพระหัวหน้าสวดยถาจบ และพระทั้งหมดเริ่มสวดพร้อมกัน จากนั้นวางที่กรวดน้ำลงแล้วประนมมือรับพรต่อไป;
       คำกรวดน้ำอย่างสั้นว่า “อิทํ โน ญาตีนํ โหตุ”
           แปลว่า “ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่....(ออกชื่อผู้ล่วงลับ) และญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเถิด”
       จะต่ออีกก็ได้ว่า “สุขิตา โหนฺตุ ญาตโย”
           แปลว่า “ขอญาติทั้งหลายจงเป็นสุขเถิด”

แสดงผลการค้น ลำดับที่  43 / 80
กระทู้ หัวข้อ, เค้าเงื่อน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  44 / 80
กระแสความ แนวความ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  45 / 80
กระแสเทศนา แนวเทศนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  46 / 80
กระหย่ง (ในคำว่า “นั่งกระหย่ง”) นั่งคุกเข่าเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้งสองรับก้น เรียกว่านั่งกระโหย่ง ก็ได้; บางแห่งว่าหมายถึงนั่งยองๆ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  47 / 80
กรานกฐิน ขึงไม้สะดึง คือเอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้าให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้นเรียกว่า ผู้กราน
       พิธีทำในบัดนี้คือ ภิกษุซึ่งจำพรรษาครบ เดือนในวัดเดียวกัน (ต้องมีจำนวน รูปขึ้นไป) ประชุมกันในอุโบสถ พร้อมใจกันยกผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งในหมู่พวกเธอ ภิกษุรูปนั้นทำกิจตั้งแต่ ซัก กะตัด เย็บ ย้อม ให้เสร็จในวันนั้น ทำพินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครองผืนใดผืนหนึ่งในไตรจีวร แล้วบอกแก่ภิกษุสงฆ์ผู้ยกผ้าให้ เพื่ออนุโมทนา และภิกษุสงฆ์นั้นได้อนุโมทนาแล้ว เรียกว่า กรานกฐิน
       ถ้าผ้ากฐินเป็นจีวรสำเร็จรูป กิจที่จะต้อง ซัก กะ ตัด เย็บย้อม ก็ไม่มี
       (กราน เป็นภาษาเขมร แปลว่า ขึง คือทำให้ตึง กฐิน เป็นภาษาบาลี แปลว่า ไม้สะดึง กรานกฐินก็คือขึงไม้สะดึง คือเอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง)
       เขียน กราลกฐิน บ้างก็มี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  48 / 80
กริยา ในทางไวยากรณ์ คือรูปสันสกฤตของคำว่า กิริยา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  49 / 80
กรีษ, กรีส คูถ อุจจาระ ขี้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  50 / 80
กรุณา ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์, ความหวั่นใจ เมื่อเห็นผู้อื่นมีทุกข์ คิดหาทางช่วยเหลือปลดเปลื้องทุกข์ของเขา
       ดู พรหมวิหาร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  51 / 80
กรุย หลักที่ปักไว้เพื่อเป็นเครื่องหมายกำหนดแนวทางหรือระยะทาง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  52 / 80
กล่าวคำอื่น ในประโยคว่า “เป็นปาจิตติยะ ในเพราะความเป็นผู้กล่าวคำอื่น” ถูกซักอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ ไม่ปรารถนาจะให้การตามตรง เอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อนเสีย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  53 / 80
กวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว ได้แก่ อาหารที่กลืนกินเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกาย, อาหารที่เป็นวัตถุ
       (ข้อ ในอาหาร )

แสดงผลการค้น ลำดับที่  54 / 80
กษัตริย์ พระเจ้าแผ่นดิน, เจ้านาย, ชนชั้นปกครอง หรือนักรบ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  55 / 80
กสาวเภสัช น้ำฝาดเป็นยา, ยาที่ทำจากน้ำฝาดของพืช เช่น น้ำฝาดของสะเดา น้ำฝาดกระดอม น้ำฝาดบรเพ็ด เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  56 / 80
กสิกรรม การทำนา, การเพาะปลูก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  57 / 80
กสิณ วัตถุอันจูงใจ คือ จูงใจให้เข้าไปผูกอยู่ เป็นชื่อของกัมมัฏฐานที่ใช้วัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ
       มี ๑๐ อย่าง คือ
       ภูตกสิณ :
           ๑. ปฐวี ดิน ๒. อาโป น้ำ ๓. เตโช ไฟ ๔. วาโย ลม
       วรรณกสิณ :
           ๕. นีลํ สีเขียว ๖. ปีตํ สีเหลือง ๗. โลหิตํ สีแดง ๘. โอทาตํ สีขาว
       และ ๙. อาโลโก แสงสว่าง ๑๐. อากาโส ที่ว่าง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  58 / 80
กหาปณะ ชื่อมาตราเงินในสมัยโบราณ กหาปณะ เท่ากับ ๒๐ มาสก หรือ บาท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  59 / 80
กะเทย คนหรือสัตว์ ที่ไม่ปรากฏว่าเป็นชายหรือหญิง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  60 / 80
กังขาเรวตะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เดิมเป็นบุตรของตระกูลที่มั่งคั่ง ชาวพระนครสาวัตถี
       ได้ฟังพระธรรมเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดง มีความเลื่อมใสขอบวช ต่อมาได้สำเร็จพระอรหัต
       ได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่า เป็นเอตทัคคะในทางเป็นผู้ยินดีในฌานสมาบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  61 / 80
กังขาวิตรณวิสุทธิ ความบริสุทธิ์ด้วยหมดสงสัยในนามรูป คือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้ว่า เพราะอะไรเกิดนามรูปจึงเกิด เพราะอะไรดับ นามรูปจึงดับ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  62 / 80
กังสดาล ระฆังวงเดือน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  63 / 80
กัจจานโคตร, กัจจายนโคตร ตระกูลพราหมณ์กัจจานะหรือกัจจายนะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  64 / 80
กัจจายนปุโรหิต ปุโรหิตชื่อกัจจายนะ เป็นปุโรหิตของพระเจ้าจัณฑปัชโชติ กรุงอุชเชนี
       ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า บรรลุพระอรหัตแล้วขออุปสมบท
       มีชื่อในพระศาสนาว่า พระมหากัจจายนะ
       พระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางอธิบายความของคำย่อให้พิสดาร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  65 / 80
กัจฉะ, กัจฉประเทศ รักแร้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  66 / 80
กัญจนา เจ้าหญิงแห่งเทวทหนครเป็นมเหสีของพระเจ้าสีหนุ ผู้ครองนครกบิลพัสดุ์ เป็นพระชนนีของพระเจ้าสุทโธทนะ เป็นพระอัยยิกาของเจ้าชายสิทธัตถะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  67 / 80
กัณฐกะ ชื่อม้าสีขาวที่พระมหาบุรุษทรงในวันออกผนวช

แสดงผลการค้น ลำดับที่  68 / 80
กัณฐชะ อักษรเกิดในคอ คือ อา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  69 / 80
กัณฑ์ หมวด, ตอน, ส่วนของเรื่อง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  70 / 80
กัณฑกสามเณร ชื่อสามเณรรูปหนึ่งในครั้งพุทธกาล ผู้กล่าวตู่พระธรรม เป็นต้นเหตุให้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทที่ ๑๐ แห่งสัปปาณกวรรคในปาจิตติยกัณฑ์ และทรงให้สงฆ์นาสนะเธอเสีย
       เขียนเป็น กัณฏกะ ก็มี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  71 / 80
กัณฑ์เทศน์ ดู เครื่องกัณฑ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  72 / 80
กัณหปักข์, กัณหปักษ์ ฝ่ายดำ หมายถึง ข้างแรม;
       กาฬปักษ์ ก็เรียก;
       ตรงข้ามกับ ชุณหปักษ์ หรือ ศุกลปักษ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  73 / 80
กัตติกมาส เดือน ๑๒

แสดงผลการค้น ลำดับที่  74 / 80
กัตติกา
       1. ดาวลูกไก่
       2. เดือน ๑๒ ตามจันทรคติ ตกในราวปลายเดือนตุลาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  75 / 80
กัตตุกัมยตาฉันทะ ความพอใจคือความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ, ความต้องการที่จะทำ
       ได้แก่ ฉันทะที่เป็นกลางๆ ดีก็ได้ ชั่วก็ได้
       ต่างจากกามฉันทะที่เป็นแต่ฝ่ายชั่ว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  76 / 80
กันดาร อัตคัด, ฝืดเคือง, หายาก, ลำบาก, แห้งแล้ง, ทางที่ผ่านไปยาก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  77 / 80
กัป, กัลป์ กาลกำหนด, ระยะเวลายาวนานเหลือเกิน ที่กำหนดว่าโลกคือสกลจักรวาฬประลัยครั้งหนึ่ง (ศาสนาฮินดูว่าเป็นวันหนึ่งคืนหนึ่งของพระพรหม)
       ท่านให้เข้าใจด้วยอุปมาว่าเปรียบเหมือนมีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูงด้านละ โยชน์ ทุก ๑๐๐ ปี มีคนนำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป กัปหนึ่งยาวนานกว่านั้น;
       กำหนดอายุของโลก;
       กำหนดอายุ เรียกเต็มว่า อายุกัป เช่นว่า อายุกัปของคนยุคนี้ ประมาณ ๑๐๐ ปี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  78 / 80
กัปปมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คนของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  79 / 80
กัปปาสิกะ ผ้าทำด้วยฝ้าย คือผ้าสามัญ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  80 / 80
กัปปิยะ สมควร, ควรแก่สมณะบริโภค, ของที่สมควรแก่ภิกษุบริโภคใช้สอย
       คือพระพุทธเจ้าอนุญาตให้ภิกษุให้หรือฉันได้
       เช่น ข้าวสุก จีวร ร่ม ยาแดง เป็นกัปปิยะ
       แต่สุรา เสื้อ กางเกง หมวก น้ำอบ ไม่เป็นกัปปิยะ
       สิ่งที่ไม่เป็นกัปปิยะ เรียกว่า อกัปปิยะ


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=__&detail=on
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=__&detail=on


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]