ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ รก ”             ผลการค้นหาพบ  34  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 34
กฐินัตถารกรรม การกรานกฐิน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 34
กัปปิยการก ผู้ทำของที่สมควรแก่สมณะ, ผู้ทำหน้าที่จัดของที่สมควรแก่ภิกษุบริโภค, ผู้ปฏิบัติภิกษุ, ลูกศิษย์พระ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 34
การก ผู้กระทำกรรมได้ตามพระวินัย มี ๓ คือ สงฆ์ คณะ และ บุคคล เช่น ในการทำอุโบสถ
       ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปเรียก สงฆ์ สวดปาฏิโมกข์ได้
       ภิกษุ ๒ หรือ ๓ รูป เรียก คณะ ให้บอกความบริสุทธิ์ได้
       ภิกษุรูปเดียวเรียกว่า บุคคล ให้อธิษฐาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 34
การกสงฆ์ สงฆ์ผู้กระทำ หมายถึงสงฆ์ หมู่หนึ่งผู้ดำเนินการในกิจสำคัญ เช่น การสังคายนา หรือในสังฆกรรมต่างๆ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 34
กุมารกัสสปะ พระเถระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรธิดาเศรษฐีในพระนครราชคฤห์
       คลอดเมื่อมารดาบวชเป็นภิกษุณีแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเลี้ยงเป็นโอรสบุญธรรม ทารกนั้นได้นามว่า กัสสปะ
       ภายหลังเรียกกันว่า กุมารกัสสปะ เพราะท่านเป็นเด็กสามัญ แต่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างราชกุมาร
       ท่านอุปสมบทในสำนักของพระศาสดา ได้บรรลุพระอรหัต
       ได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า เป็นเอตทัคคะในทางแสดงธรรมวิจิตร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 34
คณปูรกะ ภิกษุผู้เป็นที่ครบจำนวนในคณะนั้นๆ
       เช่น สังฆกรรมที่ต้องมีภิกษุ ๔ รูป หรือยิ่งขึ้นไป เป็นผู้ทำ
       ยังขาดอยู่เพียงจำนวนใดจำนวนหนึ่ง มีภิกษุอื่นมาสมบท ทำให้ครบองค์สงฆ์ ในสังฆกรรมนั้นๆ
       ภิกษุที่มาสมทบนั้น เรียกว่า คณปูรกะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 34
จำเนียรกาล เวลาช้านาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 34
จีวรกรรม การทำจีวร, งานเกี่ยวกับจีวร เช่น ตัด เย็บ ย้อม เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 34
จีวรการสมัย คราวที่พระทำจีวร, เวลาที่กำลังทำจีวร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 34
จีวรกาล ฤดูกาลจีวร, ฤดูถวายผ้าแก่พระสงฆ์
       ดู จีวรกาลสมัย

จีวรกาลสมัย สมัยหรือคราวที่เป็นฤดูถวายจีวร;
       งวดหนึ่ง สำหรับภิกษุที่มิได้กรานกฐิน ตั้งแต่แรมค่ำหนึ่งเดือน ๑๑ ถึงเพ็ญเดือน ๑๒ (คือเดือนเดียว),
       อีกงวดหนึ่ง สำหรับภิกษุที่ได้กรานกฐินแล้ว ตั้งแต่แรมค่ำหนึ่งเดือน ๑๑ ไปจนหมดฤดูหนาว คือถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๔ (รวม ๕ เดือน)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 34
โจรกรรม การลัก, การขโมย, การกระทำของขโมย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 34
ติณวัตถารกวิธี วิธีแห่ง ติณวัตถารกวินัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 34
ติณวัตถารกวินัย ระเบียบดังกลบไว้ด้วยหญ้า
       ได้แก่ กิริยาที่ให้ประนีประนอมกันทั้งสองฝ่าย ไม่ต้องชำระสะสางหาความเดิม เป็นวิธีระงับอาปัตตาธิกรณ์ ที่ใช้ในเมื่อจะระงับลหุกาบัติที่เกี่ยวกับภิกษุจำนวนมาก ต่างก็ประพฤติไม่สมควรและซัดทอดกันเป็นเรื่องนุงนังซับซ้อน ชวนให้ทะเลาะวิวาท กล่าวซัดลำเลิกกันไปไม่มีที่สุด จะระงับวิธีอื่นก็จะเป็นเรื่องลุกลามไป เพราะถ้าจะสืบสวนสอบสวนปรับให้กันและกันแสดงอาบัติ ก็มีแต่จะทำให้อธิกรณ์รุนแรงยิ่งขึ้น จึงระงับเสียด้วยติณวัตถารกวิธี คือแบบกลบไว้ด้วยหญ้า ตัดตอนยกเลิกเสีย ไม่สะสางความหลังกันอีก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 34
ทรกรรม การทำให้ลำบาก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 34
ทารก เด็กที่ยังไม่เดียงสา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 34
ทุกรกิริยา กิริยาที่ทำได้โดยยาก, การทำความเพียรอันยากที่ใครๆ จะทำได้ ได้แก่
       การบำเพ็ญเพียรเพื่อบรรลุธรรมวิเศษ ด้วยวิธีการทรมานตนต่างๆ
       เช่น กลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะและอดอาหาร เป็นต้น
       ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงปฏิบัติก่อนตรัสรู้ อันเป็นฝ่ายอัตตกิลมถานุโยค และได้ทรงเลิกละเสียเพราะไม่สำเร็จประโยชน์ได้จริง;
       เขียนเต็มเป็น ทุกกรกิริยา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 34
เทวรูปนาคปรก เทวรูปลักษณะคล้ายพระพุทธรูปนาคปรก แต่ภายในนาคปรกนั้นเป็นเทวรูป ไม่ใช่พระพุทธรูป ที่เทวสถานเมืองลพบุรีมีมาก เป็นของลัทธิพราหมณ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 34
ธมกรก กระบอกกรองน้ำของพระสงฆ์, เครื่องกรองน้ำด้วยลมเป่า, กระบอกก้นผูกผ้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 34
นรก เหวแห่งความทุกข์, ที่อันไม่มีความสุขความเจริญ, ภาวะเร่าร้อน กระวนกระวาย,
       ที่ไปเกิดและเสวยความทุกข์ของสัตว์ผู้ทำบาป (ข้อ ๔ ในอบาย ๔);
       ดู นิรยะ, คติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 34
พระนาคปรก พระพุทธรูปปางหนึ่งมีรูปนาคแผ่พังพานอยู่ข้างบน;
       ดู มุจจลินท์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 34
พุทธการกธรรม ธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ตามปกติหมายถึง บารมี ๑๐ นั่นเอง
       (ในคาถาบางทีเรียกสั้นๆ ว่า พุทธธรรม)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 34
ภิกษาจารกาล เวลาเป็นที่เที่ยวไปเพื่อภิกษา, เวลาบิณฑบาต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 34
แรกนาขวัญ พิธีเริ่มไถนาเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 34
อดิเรก
       1. เกินกำหนด, ยิ่งกว่าปกติ, ส่วนเกิน, เหลือเฟือ, ส่วนเพิ่มเติม, ส่วนเพิ่มพิเศษ
       2. ถวายอติเรก หรือ ถวายอดิเรก คือพระสงฆ์ถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และหรือสมเด็จพระบรมราชินี ท้ายพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล ในระหว่างอนุโมทนา ถ้ากล่าวในพระราชฐานต้องต่อท้ายด้วยถวายพระพรลา, เรียกอย่างนี้เพราะขึ้นต้นว่า “อติเรกวสฺสสตํ ชีวตุฯ”

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 34
อดิเรกจีวร ดู อติเรกจีวร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 34
อติเรก ดู อดิเรก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 34
อติเรกจีวร จีวรเหลือเฟือ, ผ้าส่วนเกิน
       หมายถึง ผ้าที่เขาถวายภิกษุเพิ่มเข้ามา นอกจากผ้าที่อธิษฐานเป็นไตรจีวร;
       ตรงข้ามกับ จีวรอธิษฐาน;
       อดิเรกจีวร ก็เรียก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 34
อติเรกบาตร บาตรของภิกษุที่เขาถวายเพิ่มเข้ามา นอกจากบาตรอธิษฐาน พระพุทธเจ้าอนุญาตให้ภิกษุมีบาตรไว้ใช้ใบเดียว ซึ่งเรียกว่าบาตรอธิษฐาน หากมีหลายใบ ตั้งแต่ใบที่ ๒ ขึ้นไป เรียกว่าอติเรกบาตร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 34
อติเรกปักษ์ เกินเวลาปักษ์หนึ่ง คือเกิน ๑๕ วัน แต่ยังไม่ถึงเดือน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 34
อติเรกมาส เกินเวลาเดือนหนึ่ง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 34
อติเรกลาภ ลาภเหลือเฟือ, ลาภส่วนพิเศษ, ลาภเกินปรกติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 34
อติเรกวีสติวรรค สงฆ์พวกที่กำหนดจำนวนเกิน ๒๐ รูป

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 34
อปรกาล เวลาช่วงหลัง,
       ระยะเวลาของเรื่องที่มีขึ้นในภายหลัง คือ หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว
       ได้แก่ เรื่องถวายพระเพลิง และแจกพระบรมสารีริกธาตุ;
       ดู พุทธประวัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 34
อสุรกาย “พวกอสูร”, ภพแห่งสัตว์เกิดในอบายพวกหนึ่ง เป็นพวกสะดุ้ง หวาดหวั่นไร้ความรื่นเริง
       (ข้อ ๔ ใน อบาย ๔);
       ดู คติ


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=รก
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%C3%A1


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]