ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ รค ”             ผลการค้นหาพบ  59  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 59
กุมารีภูตวรรค ชื่อหมวดในพระวินัยปิฎก หมายถึงตอนอันว่าด้วยกุมารีภูตา คือสามเณรีผู้เตรียมจะอุปสมบทเป็นภิกษุณี มีอยู่ในปาจิตติยกัณฑ์ ในภิกขุนีวิภังค์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 59
โกสิยวรรค ตอนที่ว่าด้วยเรื่องขนเจียมเจือด้วยไหมเป็นวรรคที่ ๒ แห่งนิสสัคคิยกัณฑ์ ในพระวินัยปิฎก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 59
ขรรค์ อาวุธมีคม ๒ ข้าง ที่กลางทั้งหน้าและหลังเป็นสัน ด้านสั้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 59
โคจรคาม หมู่บ้านที่อาศัยเที่ยวภิกขาจาร, หมู่บ้านที่ภิกษุไปเที่ยวบิณฑบาต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 59
จตุรวรรค, จตุวรรค สงฆ์พวก ๔,
       สงฆ์ที่กำหนดจำนวนภิกษุอย่างต่ำเพียง ๔ รูป เช่น สงฆ์ที่ทำอุโบสถกรรมเป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 59
จันทรคติ การนับวันโดยถือเอาการเดินของพระจันทร์เป็นหลัก
       เช่น ๑ ค่ำ ๒ ค่ำ และเดือนอ้าย เดือนยี่ เดือน ๓ เป็นต้น
       คู่กับ สุริยคติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 59
จีวรวรรค ตอนที่ว่าด้วยเรื่องจีวร เป็นวรรคที่ ๑ แห่งนิสสัคคิยกัณฑ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 59
จุลวรรค ชื่อคัมภีร์อันเป็นหมวดหนึ่งแห่งพระวินัยปิฎก ซึ่งมีทั้งหมด ๕ หมวด คือ อาทิกัมม์ ปาจิตตีย์ มหาวรรค จุลวรรค บริวาร ;
       คัมภีร์จุลวรรค มี ๑๒ ขันธกะ คือ
           ๑. กัมมขันธกะ ว่าด้วยเรื่องนิคหกรรม
           ๒. ปาริวาสิกขันธกะ ว่าด้วยวัตรของภิกษุผู้อยู่ปริวาส ผู้ประพฤติมานัต และผู้เตรียมจะอัพภาน
           ๓. สมุจจยขันธกะ ว่าด้วยระเบียบปฏิบัติต่างๆ ในการประพฤติวุฏฐานวิธี
           ๔. สมถขันธกะ ว่าด้วยการระงับอธิกรณ์
           ๕. ขุททกวัตถุขันธกะ ว่าด้วยข้อบัญญัติปลีกย่อยจำนวนมาก เช่น การปลงผม ตัดเล็บ ไม้จิ้มฟัน ของใช้ต่างๆ เป็นต้น
           ๖. เสนาสนขันธกะ ว่าด้วยเรื่องเสนาสนะ
           ๖. สังฆเภทขันธกะ ว่าด้วยสังฆเภทและสังฆสามัคคี
           ๘. วัตตขันธกะ ว่าด้วยวัตรต่างๆ เช่น อาคันตุกวัตร เป็นต้น
           ๙. ปาติโมกขัฏฐปนขันธกะ ว่าด้วยระเบียบในการงดสวดปาฏิโมกข์ในเมื่อภิกษุมีอาบัติติดตัวมาร่วมฟังอยู่
           ๑๐. ภิกขุนีขันธกะ ว่าด้วยเรื่องภิกษุณีเริ่มแต่ประวัติการอนุญาตให้มีการบวชครั้งแรก
           ๑๑. ปัญจสติกขันธกะ ว่าด้วยเรื่องสังคายนาครั้งที่ ๑
           ๑๒. สัตตสติกขันธกะ ว่าด้วยสังคายนาครั้งที่ ๒ (พระไตรปิฎกเล่ม ๖-๗);
       ต่อจาก มหาวรรค

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 59
ฉกามาพจรสวรรค์ สวรรค์ที่ยังเกี่ยวข้องกาม ๖ ชั้น คือ
       ๑. จาตุมหาราชิกา
       ๒. ดาวดึงส์
       ๓. ยามา
       ๔. ดุสิต
       ๕. นิมมานรดี
       ๖. ปรนิมมิตวสวัตดี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 59
ทศวรรค สงฆ์มีพวกสิบ คือ สงฆ์พวกที่กำหนดจำนวน ๑๐ รูปเป็นอย่างน้อย จึงจะครบองค์ ทำสังฆกรรมประเภทนั้นๆ ได้
       เช่น การอุปสมบทในมัธยมประเทศ ต้องใช้สงฆ์ทศวรรค

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 59
ทำกรรมเป็นวรรค สงฆ์ทำสังฆกรรม โดยแยกเป็นพวกๆ ไม่สามัคคีกัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 59
นวรหคุณ คุณของพระอรหันต์ ๙ หมายถึง คุณของพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ ๙ ประการ ได้แก่ พุทธคุณ ๙ นั่นเอง
       เขียน นวารคุณ ก็ได้ แต่เพี้ยนไปเป็น นวหรคุณ ก็มี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 59
บริหารคณะ ปกครองหมู่, ดูแลหมู่

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 59
ปฏิสันถารคารวตา ดู คารวะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 59
ปฏิสัมภิทามรรค ทางแห่งปฏิสัมภิทา, ข้อปฏิบัติที่ทำให้มีความแตกฉาน;
       ชื่อคัมภีร์หนึ่งแห่งขุททกนิกาย ในพระสุตตันตปิฎก เป็นภาษิตของพระสารีบุตร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 59
ปัญจวรรค สงฆ์พวกที่กำหนดจำนวน ๕ รูป จึงจะถือว่าครบองค์
       เช่นที่ใช้ในการกรานกฐิน
       และการอุปสมบทในปัจจันตชนบท เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 59
ปัตตวรรค หมวดอาบัติกำหนดด้วยบาตร, ชื่อวรรคที่ ๓ แห่งนิสสัคคิยปาจิตตีย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 59
ภูตคามวรรค หมวดที่ว่าด้วยภูตคาม เป็นวรรคที่ ๒ แห่งปาจิตติยกัณฑ์ในมหาวิภังค์แห่งพระวินัยปิฎก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 59
โภชนวรรค หมวดที่ว่าด้วยเรื่องอาหารเป็นวรรคที่ ๔ แห่งปาจิตติยกัณฑ์ในมหาวิภังค์ แห่งพระวินัยปิฎก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 59
มรรค ทาง, หนทาง
       1. มรรค ว่าโดยองค์ประกอบ คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่าทางมีองค์ ๘ ประการอันประเสริฐ เรียกสามัญว่า มรรคมีองค์ ๘ คือ
           ๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ
           ๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ
           ๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ
           ๔. สัมมากัมมันตะ ทำการชอบ
           ๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ
           ๖. สัมมาวายามะ เพียรชอบ
           ๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ
           ๘. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ;
           ดู โพธิปักขิยธรรม
       2. มรรค ว่าโดยระดับการให้สำเร็จกิจ คือ ทางอันให้ถึงความเป็นอริยบุคคลแต่ละขั้น, ญาณที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด เป็นชื่อแห่งโลกุตตรธรรม คู่กับผล มี ๔ ชั้นคือ
           โสดาปัตติมรรค ๑
           สกทาคามิมรรค ๑
           อนาคามิมรรค ๑
           อรหัตตมรรค ๑

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 59
มรรคจิต จิตที่สัมปยุตด้วยมรรค;
       ดู มรรค 2,
       พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในมรรค มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น ตั้งอยู่ชั่วขณะมรรคจิตเท่านั้น พ้นจากนั้นก็จะเกิดผลจิต กลายเป็นผู้ตั้งอยู่ในผล มีโสดาปัตติผลเป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 59
มรรคนายก “ผู้นำทาง”,
       ผู้แนะนำจัดแจงในเรื่องทางบุญทางกุศล และเป็นหัวหน้านำชุมชนฝ่ายคฤหัสถ์ในศาสนพิธี ตามปกติทำหน้าที่ประจำอยู่กับวัดใดวัดหนึ่ง เรียกว่าเป็นมรรคนายกของวัดนั้นๆ,
       ผู้นำทางบุญของเหล่าสัปบุรุษ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 59
มหรคต “อันถึงความเป็นสภาพใหญ่” “ซึ่งถึงความยิ่งใหญ่” หรือ “ซึ่งดำเนินไปด้วยฉันทะวิริยะจิตตะและปัญญาอย่างใหญ่” คือ เข้าถึงฌาน, เป็นรูปาวจร หรืออรูปาวจร, ถึงระดับวิกขัมภนวิมุตติ
       (เขียนอย่างบาลีเป็น มหัคคตะ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 59
มหาวรรค ชื่อคัมภีร์อันเป็นหมวดที่ ๓ ใน ๕ หมวด แห่งพระวินัยปิฎก คือ อาทิกัมม์ ปาจิตตีย์ มหาวรรค จุลวรรค บริวาร,
       มหาวรรค มี ๑๐ ขันธกะ (หมวด ตอน หรือบท) คือ
           ๑. มหาขันธกะ (ว่าด้วยการบรรพชาอุปสมบท เริ่มแต่เหตุการณ์หลังตรัสรู้ใหม่ๆ และการประดิษฐานพระศาสนา)
           ๒. อุโปสถขันธกะ (ว่าด้วยอุโบสถและสีมา)
           ๓. วัสสูปนายิกขันธกะ (ว่าด้วยการเข้าพรรษา)
           ๔. ปวารณาขันธกะ (ว่าด้วยปวาณา)
           ๕. จัมมขันธกะ (ว่าด้วยเครื่องหนัง เช่น รองเท้าและเครื่องลาด)
           ๖. เภสัชชขันธกะ (ว่าด้วยเรื่องยาตลอดจนเรื่องกัปปิยะ อกัปปิยะ และกาลิกทั้ง ๔)
           ๗. กฐินขันธกะ (ว่าด้วยกฐิน)
           ๘. จีวรขันธกะ (ว่าด้วยเรื่องจีวร)
           ๙. จัมเปยยขันธกะ
(ว่าด้วยข้อควรทราบบางอย่างเกี่ยวกับนิคคหกรรมต่างๆ)
           ๑๐. โกสัมพิกขันธกะ (ว่าด้วยเรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพี วิวาทกันและสังฆสามัคคี);
       ดู ไตรปิฎก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 59
มุสาวาทวรรค ตอนที่ว่าด้วยเรื่องพูดปดเป็นต้น เป็นวรรคที่ ๑ แห่ง ปาจิตติยกัณฑ์ ในมหาวิภังค์ แห่งวินัยปิฎก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 59
รตนวรรค ตอนที่ว่าด้วยเรื่องรัตนะเป็นต้น เป็นวรรคที่ ๙ แห่งปาจิตติยกัณฑ์ ในมหาวิภังค์ พระวินัยปิฎก

รตนวรรคสิกขาบท สิกขาบทในรตนวรรค

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 59
โลกุตตราริยมรรคผล อริยมรรคและอริยผลที่พ้นวิสัยของโลก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 59
วรรค หมวด, หมู่, ตอน, พวก;
       กำหนด จำนวนภิกษุที่ประกอบเข้าเป็นสงฆ์ หมวดหนึ่งๆ ซึ่งเมื่อครบจำนวนแล้วจึงจะทำสังฆกรรมอย่างนั้นๆ ได้ มี ๔ พวก คือ
       ๑. สงฆ์จตุรวรรค (สงฆ์พวก ๔ คือ ต้องมีภิกษุ ๔ รูปขึ้นไป ทำกรรมได้ทุกอย่างเว้นปวารณา ให้ผ้ากฐิน อุปสมบท และอัพภาน)
       ๒. สงฆ์ปัญจวรรค (สงฆ์พวก ๕ คือ ต้องมีภิกษุ ๕ รูปขึ้นไป ทำปวารณา ให้ผ้ากฐิน และอุปสมบทในปัจจันตชนบท)
       ๓. สงฆ์ทศวรรค (สงฆ์พวก ๑๐ คือต้องมีภิกษุ ๑๐ รูปขึ้นไป ให้อุปสมบทในมัธยมชนบทได้)
       ๔. สงฆ์วีสติวรรค (สงฆ์พวก ๒๐ คือต้องมีภิกษุ ๒๐ รูปขึ้นไป ทำอัพภานได้)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 59
วิสุทธิมรรค ปกรณ์พิเศษอธิบายศีล สมาธิ ปัญญา ตามแนววิสุทธิ ๗ พระพุทธโฆษาจารย์ พระอรรถกถาจารย์ชาวอินเดียเป็นผู้แต่งที่มหาวิหารในเกาะลังกา;
       พระพุทธโฆษาจารย์ผู้นี้เป็นบุตรพราหมณ์ เกิดที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้พุทธคยา อันเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในแคว้นมคธ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๙๕๖ เรียนจบไตรเพทมีความเชี่ยวชาญมาก
       ต่อมาพบกับพระเรวตเถระ ได้โต้ตอบปัญหากัน สู้พระเรวตเถระไม่ได้ จึงขอบวชเพื่อเรียนพุทธวจนะ มีความสามารถมาก ได้รจนาคัมภีร์ญาโณทัย เป็นต้น พระเรวตเถระจึงแนะนำให้ไปเกาะลังกา เพื่อแปลอรรถกถาสิงหฬ กลับเป็นภาษามคธ ท่านเดินทางไปที่มหาวิหาร เกาะลังกา เมื่อขออนุญาตแปลคัมภีร์ ถูกพระเถระแห่งมหาวิหารให้คาถามา ๒ บท เพื่อแต่งทดสอบความรู้
       พระพุทธโฆษาจารย์จึงแต่งคำอธิบายคาถาทั้งสองนั้นขึ้นเป็นคัมภีร์วิสุทธิมรรค จากนั้นก็ได้รับอนุญาตให้ทำงาน แปลอรรถกถาได้ตามประสงค์ เมื่อทำงานเสร็จสิ้นแล้ว ท่านก็เดินทางกลับสู่ชมพูทวีป
       พระพุทธโฆษาจารย์เป็นพระอรรถกถาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด มีผลงานมากที่สุด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 59
วีสติวรรค สงฆ์พวกที่กำหนดจำนวน ๒๐ รูป (ทำอัพภานได้);
       ดู วรรค

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 59
สกทาคามิมรรค ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผล คือความเป็นพระสกทาคามี,
       ญาณ คือความรู้เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กับทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง,
       สกิทาคามิมรรค ก็เขียน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 59
สงฆ์จตุรวรรค สงฆ์พวก ๔ คือ มีภิกษุ ๔ รูปขึ้นไปจึงจะครบองค์กำหนด,
       สงฆ์จตุวรรค ก็เขียน
       ดู วรรค

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 59
สงฆ์ทศวรรค สงฆ์พวก ๑๐ คือ มีภิกษุ ๑๐ รูปขึ้นไป จึงจะครบองค์กำหนด
       ดู วรรค

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 59
สงฆ์ปัญจวรรค สงฆ์พวก ๕ คือ มีภิกษุ ๕ รูปขึ้นไป จึงจะครบองค์กำหนด
       ดู วรรค

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 59
สงฆ์วีสติวรรค สงฆ์พวก ๒๐ คือ มีภิกษุ ๒๐ รูปขึ้นไป จึงจะครบองค์กำหนด
       ดู วรรค

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 59
สถลมารค ทางบก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 59
สรรค์ สร้าง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 59
สวรรค์ แดนอันแสนดีเลิศล้ำด้วยกามคุณทั้ง ๕,
       โลกของเทวดา ตามปกติหมายถึงกามาพจรสวรรค์ (สวรรค์ที่ยังเกี่ยวข้องกาม) ๖ ชั้น
       คือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 59
สวรรคต “ไปสู่สวรรค์” คือ ตาย
       (ใช้สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน สมเด็จพระราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชและพระบรมราชวงศ์ที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 59
สหธรรมิกวรรค ตอนที่ว่าด้วยเรื่องภิกษุถูกว่ากล่าวโดยชอบธรรม เป็นต้น เป็นวรรคที่ ๘ แห่งปาจิตติยกัณฑ์ มี ๑๒ สิกขาบท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 59
สหรคต ไปด้วยกัน, กำกับกัน, ร่วมกัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  42 / 59
สัปปาณกวรรค ตอนที่ว่าด้วยเรื่องสัตว์มีชีวิตเป็นต้น,
       เป็นวรรคที่ ๗ แห่งปาจิตติยกัณฑ์ ในมหาวิภังค์แห่งพระวินัยปิฎก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  43 / 59
สีลขันธวรรค ตอนที่ ๑ ใน ๓ ตอนแห่งคัมภีร์ทีฆนิกาย พระสุตตันตปิฎก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  44 / 59
สุงสุมารคีระ ชื่อนครหลวงแห่งแคว้นภัคคะ ที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาที่ ๘;
       สุงสุมารคีรี ก็เรียก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  45 / 59
สุราปานวรรค ตอนที่ว่าด้วยเรื่องดื่มน้ำเมา เป็นต้น เป็นวรรคที่ ๖ ในปาจิตติยกัณฑ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  46 / 59
โสดาปัตติมรรค ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผล คือความเป็นพระโสดาปัน,
       ญาณ คือความรู้เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส

แสดงผลการค้น ลำดับที่  47 / 59
องค์มรรค (บาลีว่า มคฺคงฺค) องค์ประกอบของมรรค,
       องค์ธรรม ๘ อย่าง มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น ที่ประกอบกันเข้าเป็นมรรค
       หรือที่เรียกชื่อเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค;
       ดู มรรค 1.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  48 / 59
อเจลกวรรค ตอนที่ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับชีเปลือย เป็นต้น, เป็นชื่อหมวดอาบัติปาจิตตีย์ วรรคที่ ๕

แสดงผลการค้น ลำดับที่  49 / 59
อติเรกวีสติวรรค สงฆ์พวกที่กำหนดจำนวนเกิน ๒๐ รูป

แสดงผลการค้น ลำดับที่  50 / 59
อนาคามิมรรค ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผล คือความเป็นพระอนาคามี,
       ญาณ คือความรู้เป็นเหตุละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ทั้ง ๕
       (คือ ละได้เด็ดขาดอีก ๒ อย่าง ได้แก่ กามราคะ และปฏิฆะ เพิ่มจาก ๓ อย่างที่พระโสดาบันละได้แล้ว)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  51 / 59
อรรค ดู อัคร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  52 / 59
อรรคสาวก สาวกผู้เลิศ, สาวกผู้ยอดเยี่ยม,
       ศิษย์ผู้เลิศกว่าศิษย์อื่นของพระพุทธเจ้า หมายถึง พระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ;
       ดู อัครสาวก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  53 / 59
อรหัตตมรรค ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุ คือความเป็นพระอรหันต์,
       ญาณคือความรู้เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ทั้ง ๑๐

แสดงผลการค้น ลำดับที่  54 / 59
อริยมรรค ทางอันประเสริฐ, ทางดำเนินของพระอริยะ,
       ญาณอันให้สำเร็จความเป็นพระอริยะ มี ๔ คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค;
       บางทีเรียกมรรคมีองค์ ๘ ว่า อริยมรรค ก็มี แต่ควรเรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค

แสดงผลการค้น ลำดับที่  55 / 59
อริยอัฏฐังคิกมรรค มรรคมีองค์ ๘ ประการอันประเสริฐ;
       ดู มรรค

แสดงผลการค้น ลำดับที่  56 / 59
อารยอัษฎางคิกมรรค ทางมีองค์ ๘ ประการ อันประเสริฐ;
       ดู มรรค

แสดงผลการค้น ลำดับที่  57 / 59
อุปสรรค ความขัดข้อง, สิ่งที่เข้าไปขัดข้อง, เครื่องกีดกั้น, สิ่งขัดขวาง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  58 / 59
เอกายนมรรค ทางอันเอก คือ ข้อปฏิบัติอันประเสริฐที่จะนำผู้ปฏิบัติไปสู่ความบริสุทธิ์หมดจด หมดความทุกข์ และบรรลุนิพพาน ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔;
       อย่างกว้าง เช่น ในมหานิทเทส หมายถึง โพธิปักขิยธรรม ด้วย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  59 / 59
โอวาทวรรค ตอนที่ว่าด้วยเรื่องให้โอวาทแก่นางภิกษุณี เป็นต้น,
       เป็นชื่อวรรคที่ ๓ แห่งปาจิตติยกัณฑ์ ในมหาวิภังค์ พระวินัยปิฎก


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=รค
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%C3%A4


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]