ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ าถ ”             ผลการค้นหาพบมากกว่า  80  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 80
กติกา (ในคำว่า “ข้าพเจ้าถวายตามกติกาของสงฆ์”) ข้อตกลง, ข้อบังคับ,
       กติกาของสงฆ์ในกรณีนี้ คือข้อที่สงฆ์ ๒ อาวาส มีข้อตกลงกันไว้ว่า
           ลาภเกิดในอาวาสหนึ่ง สงฆ์อีกอาวาสหนึ่งมีส่วนได้รับแจกด้วย
       ทายกกล่าวคำถวายว่า “ข้าพเจ้าถวายตามกติกาของสงฆ์”
           ลาภที่ทายกถวายนั้น ย่อมตกเป็นของภิกษุผู้อยู่ในอาวาสที่ทำกติกากันไว้ด้วย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 80
กาลิก เนื่องด้วยกาล, ขึ้นกับกาล, ของอันจะกลืนกินให้ล่วงลำคอเข้าไปซึ่งพระวินัยบัญญัติให้ภิกษุรับเก็บไว้และฉันได้ภายในเวลาที่กำหนด จำแนกเป็น ๔ อย่าง คือ
       ๑. ยาวกาลิก รับประเคนไว้และฉันได้ชั่วเวลาเช้าถึงเที่ยงของวันนั้น
           เช่น ข้าว ปลา เนื้อ ผัก ผลไม้ ขนมต่างๆ
       ๒. ยามกาลิก รับประเคนไว้และฉันได้ชั่ววันหนึ่งกับคืนหนึ่ง คือก่อนอรุณของวันใหม่
           ได้แก่ ปานะ คือ น้ำคั้นผลไม้ที่ทรงอนุญาต
       ๓. สัตตาหกาลิก รับประเคนไว้แล้วฉันได้ภายในเวลา ๗ วัน
           ได้แก่ เภสัชทั้ง ๕
       ๔. ยาวชีวิก รับประเคนแล้ว ฉันได้ตลอดไปไม่จำกัดเวลา
           ได้แก่ ของที่ใช้ปรุงเป็นยา นอกจากกาลิก ๓ ข้อต้น
           (ความจริงยาวชีวิก ไม่เป็นกาลิก แต่นับเข้าด้วยโดยปริยาย เพราะเป็นของเกี่ยวเนื่องกัน)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 80
กิงกรณีเยสุ ทักขตา ความเป็นผู้ขยันช่วยเอาใจใส่ในกิจธุระของเพื่อนภิกษุ สามเณร
       (ข้อ ๕ ในาถกรณธรรม)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 80
กุฏิภัต อาหารที่เขาถวายแก่ภิกษุผู้อยู่ในกุฎีอันเขาสร้าง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 80
กุลุปกะ, กุลูปกะ “ผู้เข้าถึงสกุล”,
       พระที่คุ้นเคยสนิท ไปมาหาสู่ประจำของตระกูล, พระที่เขาอุปถัมภ์และเป็นที่ปรึกษาประจำของครอบครัว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 80
ขลุปัจฉาภัตติกังคะ องค์แห่งผู้ถือห้ามภัตที่เขานำมาถวายภายหลัง คือ เมื่อลงมือฉันแล้วมีผู้นำอาหารมาถวายอีก ก็ไม่รับ
       (ข้อ ๗ ในธุดงค์ ๑๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 80
เข้ารีต เปลี่ยนไปถือศาสนาอื่น (มักใช้แก่ศาสนาคริสต์), ทำพิธีเข้าถือศาสนาอื่น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 80
คมิยภัต ภัตเพื่อผู้ไป, อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุผู้จะเดินทางไปอยู่ที่อื่น ;
       คมิกภัต ก็ว่า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 80
คันธกุฎี “กุฎีอบกลิ่นหอม”,
       ชื่อเรียกพระกุฎีที่ประทับของพระพุทธเจ้า
       เช่น พระคันธกุฎีที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวายที่พระเชตวัน ในนครสาวัตถี เป็นต้น
       พระกุฎีที่ประทับของพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆ ก็เรียกว่า คันธกุฎี เช่นเดียวกัน
       (เช่น ขุ.อป. ๓๒/๑๘/๘๕; ๑๗๒/๒๗๒; ๓๓/๑๓๑/๒๒๐)
       อย่างไรก็ตาม คำเรียกที่ประทับของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันว่าคันธกุฎีนั้น มีใช้แต่ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาลงมา (ไม่มีในพระไตรปิฎก)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 80
าถ
       1. คำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง ในภาษาบาลี
           คู่กับ ไวยากรณ์ 2.
               คาถาหนึ่งๆ มี ๔ บาท เช่น
           อาโรคฺยปรมา ลาภา สนฺตุฏฺฐี ปรมํ ธนํ
           วิสฺสาสปรมา ญาติ นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ ฯ
       2. พุทธพจน์ที่เป็นคาถา (ข้อ ๔ ในนวังคสัตถุศาสน์)
       3. ในภาษาไทย บางทีใช้ในความหมายว่า คำเสกเป่าที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ อย่างที่เรียกว่าคาถาอาคม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 80
าถาพัน “คาถาหนึ่งพัน”
       เป็นชื่อหนึ่งที่ใช้เรียกบทประพันธ์เรื่องมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งแต่งเป็นคาถาล้วนๆ ๑ พันบท;
       การเทศน์มหาเวสสันดรชาดกที่เป็นคาถาล้วนๆ อย่างนี้เรียกว่า เทศน์คาถาพัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 80
คิลานภัต อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุอาพาธ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 80
คิลานุปัฏฐากภัต อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุผู้พยาบาลไข้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 80
ฆฏิการพรหม พระพรหมผู้นำสมณบริขารมีบาตรและจีวร เป็นต้นาถวายแด่พระโพธิสัตว์เมื่อคราวเสด็จออกบรรพชา (มติของพระอรรถกถาจารย์)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 80
จุนทะ พระเถระผู้ใหญ่ชั้นมหาสาวก เป็นน้องชายของพระสารีบุตร
       เคยเป็นอุปัฏฐากของพระพุทธองค์ และเป็นผู้นำอัฐิธาตุของพระสารีบุตรจากบ้าน เกิดที่ท่านปรินิพพานมาถวายแด่พระพุทธองค์ที่พระเชตวัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 80
จูฬปันถกะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง ในอสีติมหาสาวก
       เป็นบุตรของธิดาเศรษฐีกรุงราชคฤห์ และเป็นน้องชายของมหาปันถกะ ออกบวชในพระพุทธศาสนา
       ปรากฏว่า มีปัญญาทึบอย่างยิ่ง พี่ชายมอบคาถาเพียง ๑ คาถาให้ ท่องตลอดเวลา ๔ เดือน ก็ท่องไม่ได้จึงถูกพี่ชายขับไล่ เสียใจคิดจะสึก พอดีพอพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสปลอบแล้วประทานผ้าขาวบริสุทธิ์ให้ไปลูบคลำพร้อมทั้งบริกรรมสั้นๆ ว่า “รโชหรณํๆๆ” ผ้านั้นหมองเพราะมือคลำอยู่เสมอ ทำให้มองเห็นไตรลักษณ์ และได้สำเร็จพระอรหัต
       ท่านมีความชำนาญแคล่วคล่องในอภิญญา ๖
       ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดาผู้ฉลาดในเจโตวิวัฏฏ์;
       ชื่อท่านเรียกว่าง่ายๆ ว่าจูฬบันถก, บางแห่งเขียนเป็นจุลลบันถก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 80
ตถาคต พระนามอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า เป็นคำที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกหรือตรัสถึงพระองค์เอง แปลได้ความหมาย ๘ อย่าง คือ
       ๑. พระผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้น คือ เสด็จมาทรงบำเพ็ญพุทธจริยา เพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก เป็นต้น เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ อย่างไรก็อย่างนั้น
       ๒. พระผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น คือทรงทำลายอวิชชา สละปวงกิเลส เสด็จไป เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ อย่างไรก็อย่างนั้น
       ๓. พระผู้เสด็จมาถึงตถลักษณะ คือ ทรงมีพระญาณหยั่งรู้เข้าถึงลักษณะที่แท้จริงของสิ่งทั้งหลายหรือของธรรมทุกอย่าง
       ๔. พระผู้ตรัสรู้ตถธรรมตามที่มันเป็น คือ ตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรือปฏิจจสมุปบาทอันเป็นธรรมที่จริงแท้แน่นอน
       ๕. พระผู้ทรงเห็นอย่างนั้น คือ ทรงรู้เท่าทันสรรพอารมณ์ที่ปรากฏแก่หมู่สัตว์ทั้งเทพและมนุษย์ ซึ่งสัตวโลกตลอดถึงเทพถึงพรหมได้ประสบและพากันแสวงหา ทรงเข้าใจสภาพที่แท้จริง
       ๖. พระผู้ตรัสอย่างนั้น (หรือมีพระวาจาที่แท้จริง) คือ พระดำรัสทั้งปวงนับแต่ตรัสรู้จนเสด็จดับขันธปรินิพพาน ล้วนเป็นสิ่งแท้จริงถูกต้อง ไม่เป็นอย่างอื่น
       ๗. พระผู้ทำอย่างนั้น คือ ตรัสอย่างใดทำอย่างนั้น ทำอย่างใด ตรัสอย่างนั้น
       ๘. พระผู้เป็นเจ้า (อภิภู) คือ ทรงเป็นผู้ใหญ่ยิ่งเหนือกว่าสรรพสัตว์ตลอดถึงพระพรหมที่สูงสุด เป็นผู้เห็นถ่องแท้ ทรงอำนาจ เป็นราชาที่พระราชาทรงบูชา เป็นเทพแห่งเทพ เป็นอินทร์เหนือพระอินทร์ เป็นพรหมเหนือประดาพรหม ไม่มีใครจะอาจวัดหรือจะทัดเทียมพระองค์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 80
เตวาจิก มีวาจาครบ ๓
       หมายถึง ผู้กล่าวว่าจาถึงสรณะครบทั้งสามอย่าง คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
       บิดาพระยสะเป็นคนแรก ที่ประกาศตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต;
       เทียบ เทฺววาจิก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 80
ไตรปิฎก “ปิฎกสาม”; ปิฎก แปลตามศัพท์อย่างพื้นๆ ว่า กระจาดหรือตะกร้า อันเป็นภาชนะสำหรับใส่รวมของต่างๆ เข้าไว้ นำมาใช้ในความหมายว่า เป็นที่รวบรวมคำสอนในพระพุทธศาสนาที่จัดเป็นหมวดหมู่แล้ว
       โดยนัยนี้ ไตรปิฎกจึงแปลว่า คัมภีร์ที่บรรจุพระพุทธพจน์ (และเรื่องราวชั้นเดิมของพระพุทธศาสนา) ๓ ชุด หรือ ประมวลแห่งคัมภีร์ที่รวบรวมพระธรรมวินัย ๓ หมวด กล่าวคือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และอภิธรรมปิฎก;
       พระไตรปิฎก จัดแบ่งหมวดหมู่ โดยย่อดังนี้
       ๑. พระวินัยปิฎก ประมวลพุทธพจน์ หมวดพระวินัย คือพุทธบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมและการดำเนินกิจการต่างๆ ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ แบ่งเป็น ๕ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า อา ปา ม จุ ป) คือ
           ๑. อาทิกัมมิกะ หรือ ปาราชิก ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติหนักของฝ่ายภิกษุสงฆ์ ตั้งแต่ ปาราชิกถึงอนิยต
           ๒. ปาจิตตีย์ ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติเบา ตั้งแต่ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ถึงเสขิยะ รวมตลอดทั้งภิกขุนีวิภังค์ทั้งหมด
           ๓. มหาวรรค ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนต้น ๑๐ ขันธกะ หรือ ๑๐ ตอน
           ๔. จุลวรรค ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนปลาย ๑๒ ขันธกะ
           ๕. ปริวาร คัมภีร์ ประกอบหรือคู่มือ บรรจุคำถามคำตอบสำหรับซ้อมความรู้พระวินัย
       พระวินัยปิฎกนี้ แบ่งอีกแบบหนึ่ง เป็น ๕ คัมภีร์เหมือนกัน (จัด ๒ ข้อ ในแบบต้นนั้นใหม่) คือ
           ๑. มหาวิภังค์ หรือ ภิกขุวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ (ศีล ๒๒๗ ข้อ) ฝ่ายภิกษุสงฆ์
           ๒. ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ (ศีล ๓๑๑ ข้อ) ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์
           ๓. มหาวรรค ๔. จุลวรรค ๕. ปริวาร
       บางทีท่านจัดให้ย่นย่อเข้าอีก แบ่งพระวินัยปิฎกเป็น ๓ หมวด คือ
           ๑. วิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ทั้งฝ่ายภิกษุสงฆ์และฝ่ายภิกษุณีสงฆ์
               (คือรวมข้อ ๑ และ ๒ ข้างต้นทั้ง ๒ แบบเข้าด้วยกัน)
           ๒. ขันธกะ ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ ทั้ง ๒๒ ขันธกะหรือ ๒๒ บทตอน
               (คือรวมข้อ ๓ และ ๔ เข้าด้วยกัน)
           ๓. ปริวาร คัมภีร์ประกอบ (คือข้อ ๕ ข้างบน)
       ๒. พระสุตตันตปิฎก ประมวลพุทธพจน์หมวดพระสูตร คือ พระธรรมเทศนา คำบรรยายธรรมต่างๆ ที่ตรัสยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคลและโอกาส ตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่า และเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธศาสนา แบ่งเป็น ๕ นิกาย (เรียกย่อหรือหัวใจว่า ที ม สํ อํ ขุ) คือ
           ๑. ทีฆนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีขนาดยาว ๓๔ สูตร
           ๒. มัชฌิมนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีความยาวปานกลาง ๑๕๒ สูตร
           ๓. สังยุตตนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นกลุ่มๆ เรียกว่าสังยุตหนึ่งๆ ตามเรื่องที่เนื่องกัน หรือตามหัวข้อหรือบุคคลที่เกี่ยวของรวม ๕๖ สังยุต มี ๗,๗๖๒ สูตร
           ๔. อังคุตตรนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นหมวดๆ เรียกว่านิบาตหนึ่งๆ ตามลำดับจำนวนหัวข้อธรรม รวม ๑๑ นิบาต หรือ ๑๑ หมวดธรรม มี ๙,๕๕๗ สูตร
           ๕. ขุททกนิกาย ชุมนุมพระสูตรคาถาภาษิต คำอธิบาย และเรื่องราวเบ็ดเตล็ดที่จัดเข้าใน ๔ นิกายแรกไม่ได้ มี ๑๕ คัมภีร์
       ๓. อภิธรรมปิฎก ประมวลพุทธพจน์หมวดพระอภิธรรม คือ หลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ แบ่งเป็น ๗ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า สํ วิ ธา ปุ ก ย ป) คือ
           ๑. สังคณี หรือ ธัมมสังคณี รวมข้อธรรมเข้าเป็นหมวดหมู่แล้วอธิบายทีละประเภทๆ
           ๒. วิภังค์ ยกหมวดธรรมสำคัญๆ ขึ้นตั้งเป็นหัวเรื่องแล้วแยกแยะออกอธิบายชี้แจงวินิจฉัยโดยละเอียด
           ๓. ธาตุกถา สงเคราะห์ข้อธรรมต่างๆ เข้าในขันธ์ อายตนะ ธาตุ
           ๔. ปุคคลบัญญัติ บัญญัติความหมายของบุคคลประเภทต่างๆ ตามคุณธรรมที่มีอยู่ในบุคคลนั้นๆ
           ๕. กถาวัตถุ แถลงและวินิจฉัยทัศนะของนิกายต่างๆ สมัยสังคายนาครั้งที่ ๓
           ๖. ยมก ยกหัวข้อธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ
           ๗. ปัฏฐาน หรือมหาปกรณ์ อธิบายปัจจัย ๒๔ แสดงความสัมพันธ์เนื่องอาศัยกันแห่งธรรมทั้งหลายโดยพิสดาร
       พระไตรปิฎกที่พิมพ์ด้วยอักษรไทย ท่านจัดแบ่งเป็น ๔๕ เล่ม แสดงพอให้เห็นรูปเค้าดังนี้
       ก. พระวินัยปิฎก ๘ เล่ม
       เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ ว่าด้วยปาราชิก สังฆาทิเสส และอนิยตสิกขาบท (สิกขาบทในปาฏิโมกข์ฝ่ายภิกษุสงฆ์ ๑๙ ข้อแรก)
       เล่ม ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ ว่าด้วยสิกขาบทเกี่ยวกับอาบัติเบาของภิกษุ (เป็นอันครบสิกขาบท ๒๒๗ หรือ ศีล ๒๒๗)
       เล่ม ๓ ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบท ๓๑๑ ของภิกษุณี
       เล่ม ๔ มหาวรรค ภาค ๑ มี ๔ ขันธกะ ว่าด้วยการอุปสมบท (เริ่มเรื่องตั้งแต่ตรัสรู้และประดิษฐานพระศาสนา) อุโบสถ จำพรรษา และปวารณา
       เล่ม ๕ มหาวรรค ภาค ๒ มี ๖ ขันธกะ ว่าด้วยเรื่องเครื่องหนัง เภสัช กฐินจีวร นิคคหกรรม และการทะเลาะวิวาทและสามัคคี
       เล่ม ๖ จุลวรรค ภาค ๑ มี ๔ ขันธกะ ว่าด้วยเรื่องนิคคหกรรม วุฏฐานวิธี และการระงับอธิกรณ์
       เล่ม ๗ จุลวรรค ภาค ๒ มี ๘ ขันธกะ ว่าด้วยข้อบัญญัติปลีกย่อย เรื่องเสนาสนะ สังฆเภท วัตรต่างๆ การงดสวดปาฏิโมกข์ เรื่องภิกษุณี เรื่องสังคายนาครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒
       เล่ม ๘ ปริวาร คู่มือถามตอบซ้อมความรู้พระวินัย
       ข. พระสุตตันตปิฎก ๒๕ เล่ม
       ๑. ทีฆนิกาย ๓ เล่ม
       เล่ม ๙ สีลขันธวรรค มีพระสูตรขนาดยาว ๑๓ สูตร หลายสูตรกล่าวถึงจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล
       เล่ม ๑๐ มหาวรรค มีพระสูตรยาว ๑๐ สูตร ส่วนมากชื่อเริ่มด้วย “มหา” เช่น มหาปรินิพพานสูตร มหาสติปัฏฐานสูตร เป็นต้น
       เล่ม ๑๑ ปาฏิกวรรค มีพระสูตรยาว ๑๑ สูตร เริ่มด้วยปาฏิกสูตร หลายสูตรมีชื่อเสียงเช่น จักกวัตติสูตร อัคคัญญสูตร สิงคาลกสูตร และสังคีติสูตร
       ๒. มัชฌิมนิกาย ๓ เล่ม
       เล่ม ๑๒ มูลปัณณาสก์ บั้นต้น มีพระสูตรขนาดกลาง ๕๐ สูตร
       เล่ม ๑๓ มัชฌิมปัณณาสก์ บั้นกลาง มีพระสูตรขนาดกลาง ๕๐ สูตร
       เล่ม ๑๔ อุปริปัณณาสก์ บั้นปลาย มีพระสูตรขนาดกลาง ๕๒ สูตร
       ๓. สังยุตตนิกาย ๕ เล่ม
       เล่ม ๑๕ สคาถวรรค รวมคาถาภาษิตที่ตรัสและกล่าวตอบบุคคลต่างๆ เช่น เทวดา มาร ภิกษุณี พราหมณ์ พระเจ้าโกศล เป็นต้น จัดเป็นกลุ่มเรื่องตามบุคคลและสถานที่ มี ๑๑ สังยุต
       เล่ม ๑๖ นิทานวรรค ครึ่งเล่มว่าด้วยเหตุปัจจัย คือหลักปฏิจจสมุปบาท นอกนั้น มีเรื่องธาตุ การบรรลุธรรมสังสารวัฏ ลาภสักการะเป็นต้น จัดเป็น ๑๐ สังยุต
       เล่ม ๑๗ ขันธวาวรรค ว่าด้วยเรื่องขันธ์ ๕ ในแง่มุมต่างๆ มีเรื่องเบ็ดเตล็ด รวมทั้งเรื่อง สมาธิและทิฏฐิต่างๆ ปะปนอยู่บ้าง จัดเป็น ๑๓ สังยุต
       เล่ม ๑๘ สฬายตนวรรค เกือบครึ่งเล่มว่าด้วยอายตนะ ๖ ตามแนวไตรลักษณ์ เรื่องอื่นมีเบญจศีล ข้อปฏิบัติให้ถึงอสังขตะ อันตคาหิกทิฏฐิ เป็นต้น จัดเป็น ๑๐ สังยุต
       เล่ม ๑๙ มหาวารวรรค ว่าด้วยโพธิปักขิยธรรม ๓๗ แต่เรียงลำดับเป็นมรรค โพชฌงค์ สติปัฏฐาน อินทรีย์ สัมมัปปธาน พละ อิทธิบาท รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น นิวรณ์ สังโยชน์ อริยสัจ ฌาน ตลอดถึงองค์คุณของพระโสดาบันและอานิสงส์ของการบรรลุโสดาปัตติผล จัดเป็น ๑๒ สังยุต (พึงสังเกตว่าคัมภีร์นี้เริ่มต้นด้วยการย้ำความสำคัญของความมีกัลยาณมิตรเป็นจุดเริ่มต้นเข้าสู่มรรค)
       ๔. อังคุตตรนิกาย ๕ เล่ม
       เล่ม ๒๐ เอก-ทุก-ติกนิบาต ว่าด้วยธรรม หมวด ๑ หมวด ๒ หมวด ๓ รวมทั้งเรื่องเอตทัคคะ
       เล่ม ๒๑ จตุกกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๔
       เล่ม ๒๒ ปัญจก-ฉักกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๕-๖
       เล่ม ๒๓ สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๗-๘-๙
       เล่ม ๒๔ ทสก-เอกาทสกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๑๐-๑๑
       ในอังคุตตรนิกายมีข้อธรรมหลากหลายลักษณะ ตั้งแต่ทิฏฐธัมมิกัตถะถึงปรมัตถะ ทั้งสำหรับบรรพชิตและสำหรับคฤหัสถ์ กระจายกันอยู่โดยเรียงตามจำนวน
       ๕. ขุททกนิกาย ๙ เล่ม
       เล่ม ๒๕ รวมคัมภีร์ย่อย ๕ คือ
           ขุททกปาฐะ (บทสวดย่อยๆ โดยเฉพาะมงคลสูตร รตนสูตร กรณียเมตตสูตร)
           ธรรมบท (เฉพาะตัวคาถาทั้ง ๔๒๓)
           อุทาน (พุทธอุทาน ๘๐)
           อิติวุตตกะ (พระสูตรที่ไม่ขึ้นต้นด้วย “เอวมฺเม สุตํ” แต่เชื่อมความเข้าสู่คาถาด้วยคำว่า “อิติ วุจฺจติ” รวม ๑๑๒ สูตร) และ
           สุตตนิบาต (ชุมนุมพระสูตรชุดพิเศษ ซึ่งเป็นคาถาล้วนหรือมีความนำเป็นร้อยแก้ว รวม ๗๑ สูตร)
       เล่ม ๒๖ มีคัมภีร์ย่อยที่เป็นคาถาล้วน ๔ คือ
           วิมานวัตถุ (เรื่องผู้เกิดในสวรรค์ อยู่วิมาน เล่าการทำความดีของตนในอดีต ที่ทำให้ได้ไปเกิดเช่นนั้น ๘๕ เรื่อง)
           เปตวัตถุ (เรื่องเปรตเล่ากรรมชี่วในอดีตของตน ๕๑ เรื่อง)
           เถรคาถ (คาถาของพระอรหันตเถระ ๒๖๔ รูปที่กล่าวแสดงความรู้สึกสงบประณีตในการบรรลุธรรม เป็นต้น)
           เถรีคาถ (คาถาของพระอรหันตเถรี ๗๓ รูปที่กล่าวแสดงความรู้สึกเช่นนั้น)
       เล่ม ๒๗ ชาดก ภาค ๑ รวมคาถาแสดงคติธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสเมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ในอดีตชาติ และมีคาถาภาษิตของผู้อื่นปนอยู่บ้าง ภาคแรก ตั้งแต่เรื่องที่มีคาถาเดียว (เอกนิบาต) ถึงเรื่องมี ๔๐ คาถา (จัตตาฬีสนิบาต) รวม ๕๒๕ เรื่อง
       เล่ม ๒๘ ชาดก ภาค ๒ รวมคาถาอย่างในภาค ๑ นั้น เพิ่มอีก แต่เป็นเรื่องอย่างยาว ตั้งแต่เรื่องมี ๕๐ คาถา (ปัญญาสนิบาต) ถึงเรื่องมีคาถามากมาย (มหานิบาต) จบลงด้วยมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งมี ๑,๐๐๐ คาถา รวมอีก ๒๒ เรื่อง บรรจบทั้ง ๒ ภาคเป็น ๕๔๗ ชาดก
       เล่ม ๒๙ มหานิทเทส ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความพระสูตร ๑๖ สูตร ในอัฏฐกวรรคแห่งสุตตนิบาต
       เล่ม ๓๐ จูฬนิทเทส ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความพระสูตร ๑๖ สูตรในปารายนวรรคและขัคควิสาณสูตรในอุรควรรค แห่งสุตตนิบาต
       เล่ม ๓๑ ปฏิสัมภิทามรรค ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายข้อธรรมที่ลึกซึ้งต่างๆ เช่น เรื่อง ญาณ ทิฏฐิ อานาปาน อินทรีย์ วิโมกข์ เป็นต้น อย่างพิสดาร เป็นทางแห่งปัญญาแตกฉาน
       เล่ม ๓๒ อปทาน ภาค ๑าถาประพันธ์แสดงประวัติโดยเฉพาะในอดีตชาติ
           เริ่มด้วยพุทธอปทาน (ประวัติของพระพุทธเจ้า)
           ปัจเจกพุทธอปทาน (เรื่องราวของพระปัจเจกพุทธเจ้า)
           ต่อด้วยเถรอปทาน (อัตตประวัติแห่งพระอรหัตเถระ)
           เรียงลำดับเริ่มแต่พระสารีบุตร ตามด้วยพระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ พระอนุรุทธะ พระปุณณมันตานีบุตร พระอุบาลี พระอัญญาโกณฑัญญะ พระปิณโฑลภารทวาชะ พระขทิรวนิยเรวตะ พระอานนท์ ต่อเรื่องไปจนจบภาค ๑ รวม พระอรหันตเถระ ๔๑๐ รูป
       เล่ม ๓๓
           อปทาน ภาค ๒าถาประพันธ์แสดงอัตตประวัติพระอรหันตเถระ ต่ออีกจนถึงรูปที่ ๕๕๐
               ต่อนั้นเป็นเถรีอปทานแสดงเรื่องราวของพระอรหันตเถรี ๔๐ เรื่อง
               เริ่มด้วยพระเถรีที่ไม่คุ้นนาม ๑๖ รูป
               ต่อด้วยพระเถรีที่สำคัญเรียงลำดับคือพระมหาปชาบดีโคตมี พระเขมา พระอุบลวรรณา พระปฏาจารา พระกุณฑลเกสี พระกีสาโคตมี พระธรรมทินนา พระสกุลา พระนันทา พระโสณา พระภัททกาปิลานี พระยโสธรา และท่านอื่นๆ ต่อไปจนจบ ครั้นจบอปทานแล้ว ท้ายเล่ม ๓๓ นี้ มี
           คัมภีร์ พุทธวงศ์ เป็นคาถาประพันธ์แสดงเรื่องของพระพุทธเจ้าในอดีต ๒๔ พระองค์ที่พระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันเคยได้ทรงเฝ้าและได้รับพยากรณ์จนถึงประวัติของพระองค์เองรวมเป็นพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ จบแล้วมี
           คัมภีร์สั้นๆ ชื่อ จริยาปิฎก เป็นท้ายสุด แสดงพุทธจริยาในอดีตชาติ ๓๕ เรื่องที่มีแล้วในชาดก แต่เล่าด้วยคาถาประพันธ์ใหม่ ชี้ตัวอย่างการบำเพ็ญบารมีบางข้อ
       ค. พระอภิธรรมปิฎก ๑๒ เล่ม
       เล่ม ๓๔ ธัมมสังคณี
           ต้นเล่มแสดงมาติกา (แม่บท) อันได้แก่บทสรุปแห่งธรรมทั้งหลายที่จัดเป็นชุดๆ มีทั้ง
           ชุด ๓ เช่นจัดทุกสิ่งทุกอย่างประดามี
               เป็นกุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากฤตธรรม ชุดหนึ่ง
               เป็นอดีตธรรม อนาคตธรรม ปัจจุบันธรรม ชุดหนึ่ง ฯลฯ และ
           ชุด ๒ เช่นจัดทุกสิ่งทุกอย่างเป็น
               สังขตธรรม อสังขตธรรม ชุดหนึ่ง
               รูปีธรรม อรูปีธรรม ชุดหนึ่ง
               โลกิยธรรม โลกุตตรธรรม ชุดหนึ่งเป็นต้น
               รวมทั้งหมดมี ๑๖๔ ชุด หรือ ๑๖๔ มาติกา
           จากนั้นขยายความมาติกาที่ ๑ เป็นตัวอย่าง แสดงให้เห็นกุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากฤตธรรม ที่กระจายออกไปโดย จิต เจตสิก รูป และนิพพาน
           ท้ายเล่มมีอีก ๒ บท แสดงคำอธิบายย่อหรือคำจำกัดความข้อธรรมทั้งหลายในมาติกาที่กล่าวถึงข้างต้นจนครบ ๑๖๔ มาติกา ได้คำจำกัดความข้อธรรมใน ๒ บท เป็น ๒ แบบ
           (แต่บทท้ายจำกัดความไว้เพียง ๑๒๒ มาติกา)
       เล่ม ๓๕ วิภังค ยกหลักธรรมสำคัญๆ ขึ้นมาแจกแจงแยกแยะอธิบายกระจายออกให้เห็นทุกแง่จนชัดเจนจบไปเป็นเรื่องๆ รวมอธิบายทั้งหมด ๑๘ เรื่อง คือ
           ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อริยสัจ ๔ อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาท สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ ฌานอัปปมัญญา ศีล ๕ ปฏิสัมภิทา ๔ ญาณประเภทต่างๆ และ
           เบ็ดเตล็ด ว่าด้วยอกุศลธรรมต่างๆ อธิบายเรื่องใด ก็เรียกว่าวิภังค์ของเรื่องนั้นๆ
               เช่น อธิบายขันธ์ ๕ ก็เรียกขันธวิภังค์ เป็นต้น
           รวมมี ๑๘ วิภังค์
       เล่ม ๓๖
           ธาตุกถา นำข้อธรรมในมาติกาทั้งหลายและข้อธรรมอื่นๆ อีก ๑๒๕ อย่าง มาจัดเข้าในขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘ ว่าข้อใดได้หรือไม่ได้ในอย่างไหนๆ และ
           ปุคคลบัญญัติ บัญญัติความหมายของชื่อที่ใช้เรียกบุคคลต่างๆ ตามคุณธรรม เช่นว่า “โสดาบัน” ได้แก่ บุคคลผู้ละสังโยชน์ ๓ ได้แล้ว ดังนี้เป็นต้น
       เล่ม ๓๗ กถาวัตถุ คัมภีร์ที่พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ประธานการสังคายนาครั้งที่ ๓ เรียบเรียงขึ้น เพื่อแก้ความเห็นผิดของนิกายต่างๆ ในพระพุทธศาสนาครั้งนั้น ซึ่งได้แตกแยกกันออกไปแล้วถึง ๑๘ นิกาย เช่น ความเห็นว่า
               พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้
               เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการเกิดได้
               ทุกอย่างเกิดจากกรรม เป็นต้น
           ประพันธ์เป็นคำปุจฉาวิสัชนา มีทั้งหมด ๒๑๙ กถา
       เล่ม ๓๘ ยมก ภาค ๑ คัมภีร์อธิบายหลักธรรมสำคัญให้เห็นความหมายและขอบเขตอย่างชัดเจน และทดสอบความรู่อย่างลึกซึ้ง ด้วยวิธีตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ (ยมก แปลว่า คู่)
           เช่น ถามว่า
               ธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศล เป็นกุศลมูล หรือว่าธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศลมูล เป็นกุศล,
               รูป (ทั้งหมด) เป็นรูปขันธ์ หรือว่ารูปขันธ์ (ทั้งหมด) เป็นรูป,
               ทุกข์ (ทั้งหมด) เป็นทุกขสัจ หรือว่าทุกขสัจ (ทั้งหมด) เป็นทุกข์
           หลักธรรมที่นำมาอธิบายในเล่มนี้มี ๗ คือ มูล (เช่นกุศลมูล) ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ สังขาร อนุสัย ถามตอบอธิบายเรื่องใด ก็เรียกว่ายมกของเรื่องนั้นๆ เช่น มูลยมก ขันธยมก เป็นต้น
           เล่มนี้ จึงมี ๗ ยมก
       เล่ม ๓๙ ยมก ภาค ๒ ถามตอบอธิบายหลักธรรมเพิ่มเติมจากภาค ๑ อีก ๓ เรื่อง คือ
               จิตตยมก ธรรมยมก (กุศล-อกุศล-อัพยากตธรรม) อินทรียยมก
           บรรจบเป็น ๑๐ ยมก
       เล่ม ๔๐ ปัฏฐาน ภาค ๑
           คัมภีร์ปัฏฐาน อธิบายปัจจัย ๒๔ โดยพิสดาร แสดงความสัมพันธ์อิงอาศัยเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแง่ด้านต่างๆ
           ธรรมที่นำมาอธิบายก็คือข้อธรรมที่มีในมาติกาคือแม่บทหรือบทสรุปธรรม ซึ่งกล่าวไว้แล้วในคัมภีร์สังคณีนั่นเอง แต่อธิบายเฉพาะ ๑๒๒ มาติกาแรกที่เรียกว่า อภิธรรมมาติกา
           ปัฏฐาน เล่มแรกนี้ อธิบายความหมายของปัจจัย ๒๔ เป็นการปูพื้นความเข้าใจเบื้องต้นก่อน
           จากนั้นจึงเข้าสู่เนื้อหาของเล่ม คือ
           อนุโลมติกาปัฏฐาน อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) โดยปัจจัย ๒๔ นั้น เช่นว่า
               กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย
                    (เพราะศรัทธา จึงให้ทาน จึงสมาทานศีล จึงบำเพ็ญฌาน จึงเจริญวิปัสสนา ฯลฯ)
               กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย
                    (คิดถึงทานที่ตนได้ให้ ศีลที่ได้รักษาแล้ว ดีใจ ยึดเป็นอารมณ์แน่นหนาจนเกิดราคะ ทิฏฐิ,
                    มีศรัทธา มีศีล มีปัญญา แล้วเกิดมานะ ว่า ฉันดีกว่า เก่งกว่า หรือเกิดทิฏฐิว่า ต้องทำอย่างเรานี้เท่านั้นจึงถูกต้อง ฯลฯ)
               อกุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย
                    (เพราะความอยากบางอย่าง หรือเพราะมานะหรือทิฏฐิ จึงให้ทาน จึงรักษาศีล จึงทำฌานให้เกิด ฯลฯ)
               กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยอารัมมณปัจจัย
                    (คิดถึงฌานที่ตนเคยได้แต่มาเสื่อมไปเสียแล้ว เกิดความโทมนัส ฯลฯ)
               อย่างนี้เป็นต้น
           (เล่มนี้อธิบายแต่ในเชิงอนุโลมคือตามนัยปกติไม่อธิบายตามนัยปฏิเสธจึงเรียกว่าอนุโลมปัฏฐาน)
       เล่ม ๔๑ ปัฏฐาน ภาค ๒ อนุโลมติกปัฏฐาน ต่อ คือ
           อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทชุด ๓ ต่อจากเล่ม ๔๐ เช่น
               อดีตธรรมเป็นปัจจัยแก่ปัจจุบันธรรม โดยอารัมมณปัจจัย
               (พิจารณารูปเสียงเป็นต้นที่ดับเป็นอดีตไปแล้วว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกิดความโทมนัสขึ้น ฯลฯ) เป็นต้น
       เล่ม ๔๒ ปัฏฐาน ภาค ๓ อนุโลมทุกปัฏฐาน
           อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กัน แห่งธรรมทั้งหลาย ในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) เช่น
               โลกิยธรรมเป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม โดยอารัมมณปัจจัย
               (รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ) ดังนี้ เป็นต้น
       เล่ม ๔๓ ปัฏฐาน ภาค ๔ อนุโลมทุกปัฏฐาน ต่อ
       เล่ม ๔๔ ปํฏฐาน ภาค ๕ ยังเป็นอนุโลมปัฏฐาน
           แต่อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทต่างๆ ข้ามชุดกันไปมา ประกอบด้วย
           อนุโลมทุกติกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) กับธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา)
               เช่น อธิบาย “กุศลธรรมที่เป็นโลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมที่เป็นปัจจุบันธรรม” เป็นอย่างไร เป็นต้น
           อนุโลมทุกทุกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) กับธรรมในบทชุด ๒ (ทุกมาติกา) โยงระหว่างต่างชุดกัน
               เช่น ชุดโลกิยะ โลกุตตระ กับชุดสังขตะอสังขตะ เป็นต้น
       เล่ม ๔๕ ปัฏฐาน ภาค ๖ เป็นปัจจนียปัฏฐาน คืออธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายอย่างเล่มก่อนๆ นั่นเอง แต่อธิบายแง่ปฏิเสธ แยกเป็น
           ปัจจยนียปัฏฐาน คือ ปฏิเสธ+ปฏิเสธ เช่นว่า ธรรมที่ไม่ใช่กุศล อาศัยธรรมที่ ไม่ใช่กุศลเกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร
           อนุโลมปัจจนียปัฏฐาน คือ อนุโลม+ปฏิเสธ เช่นว่า อาศัยโลกิยธรรม ธรรมที่ไม่ใช่โลกุตตรธรรม เกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร
           ปัจจนียานุโลมปัฏฐาน คือ ปฏิเสธ+อนุโลม เช่นว่า อาศัยธรรมที่ไม่ใช่กุศล ธรรมที่เป็นอกุศล เกิดขึ้น โดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร
           และในทั้ง ๓ แบบ นี้ แต่ละแบบ จะอธิบายโดยใช้ธรรมในแม่บทชุด ๓ แล้วต่อด้วยชุด ๒ แล้วข้ามชุดระหว่างชุด ๒ กับชุด ๓ ชุด ๓ กับชุด ๒ ชุด ๓ กับชุด ๓ ชุด ๒ กับ ชุด ๒ จนครบทั้งหมดเหมือนกัน ดังนั้น แต่ละแบบจึงแยกซอยละเอียดออกไปเป็น ติก ทุก ทุกติก ติกทุก ติกติกา ทุกทุก ตามลำดับ
           (เขียนให้เต็มเป็น ปัจจนียติกปัฏฐาน ปัจจนียทุกปํฏฐาน ปัจจนียทุกติกปัฏฐาน ฯลฯ ดังนี้เรื่อยไป จนถึงท้ายสุดคือ ปัจจนียานุโลมทุกทุกปัฏฐาน)
       คัมภีร์ปัฏฐานนี้ ท่านอธิบายค่อนข้างละเอียดเฉพาะเล่มต้นๆ เท่านั้น เล่มหลังๆ ท่านแสดงไว้แต่หัวข้อหรือแนว และทิ้งไว้ให้ผู้เข้าใจแนวนั้นแล้ว เอาไปแจกแจงโดยพิสดารเอง โดยเฉพาะเล่มสุดท้ายคือภาค ๖ แสดงไว้ย่นย่อที่สุด แม้กระนั้นก็ยังเป็นหนังสือถึง ๖ เล่ม หรือ ๓,๓๒๐ หน้ากระดาษพิมพ์ ถ้าอธิบายโดยพิสดารทั้งหมดจะเป็นเล่มหนังสืออีกจำนวนมากมายหลายเท่าตัว ท่านจึงเรียกปัฏฐานอีกชื่อหนึ่งว่า “มหาปกรณ์” แปลว่า ตำราใหญ่ ใหญ่ทั้งโดยขนาดและโดยความสำคัญ
       พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า พระไตรปิฎกมีเนื้อความทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็น
           พระวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
           พระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และ
           พระอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 80
ไตรเพท พระเวท ๓ อย่าง ซึ่งเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของศาสนาพราหมณ์ ได้แก่
       ๑. ฤคเวท ประมวลบทสวดสรรเสริญเทพเจ้า
       ๒. ยชุรเวท ประกอบด้วยบทสวดอ้อนวอนในพิธีบูชายัญต่างๆ
       ๓. สามเวท ประมวลบทเพลงขับสำหรับสวดหรือร้องเป็นทำนองในพิธีบูชายัญ
       ต่อมาเพิ่ม อถรรพเวท หรือ อาถรรพณเวท อันว่าด้วยคาถาอาคมทรงไสยศาสตร์เข้ามาอีกเป็น ๔

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 80
ไตรสรณคมน์ การถึงสรณะสาม, การถึงรัตนะสาม คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง
       คำถึงไตรสรณะดังนี้ :
           “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” (ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ),
           “ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ” (ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นสรณะ),
           “สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ” (ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ);
           “ทุติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” (ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๒),
           “ทุติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ” (ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๒),
           “ทุติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ” (ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๒);
           “ตติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” (ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๓),
           “ตติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ” (ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๓),
           “ตติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ” (ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 80
ทอดผ้าป่า เอาผ้าถวายโดยทิ้งไว้เพื่อให้พระชักเอาเอง
       ดู ผ้าป่า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 80
เทฺววาจิก “มีวาจาสอง”
       หมายถึง ผู้กล่าววาจาถึงสรณะสอง คือ พระพุทธและพระธรรม ในสมัยที่ยังไม่มีพระสงฆ์
       ได้แก่ พาณิช ๒ คือ ตปุสสะ และภัลลิกะ;
       เทียบ เตวาจิก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 80
ธรรมทายาท ทายาทแห่งธรรม, ผู้รับมรดกธรรม, ผู้รับเอาธรรมของพระพุทธเจ้ามาเป็นสมบัติด้วยการประพฤติปฏิบัติให้เข้าถึง;
       โดยตรง หมายถึง รับเอาโลกุตตรธรรม ๙ ไว้ได้ด้วยการบรรลุเอง
       โดยอ้อม หมายถึง รับปฏิบัติกุศลธรรม จะเป็นทาน ศีล หรือภาวนาก็ตาม ตลอดจนการบูชา ที่เป็นไปเพื่อบรรลุซึ่งโลกุตตรธรรมนั้น;
       เทียบ อามิสทายาท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 80
ธรรมบท บทแห่งธรรม, บทธรรม, ข้อธรรม;
       ชื่อคาถาบาลีหมวดหนึ่ง จัดเป็นคัมภีร์ที่ ๒ ในขุททกนิกาย พระสุตตันตปิฎก มี ๔๒๓ คาถ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 80
ธัมมกามตา ความเป็นผู้ใคร่ธรรม, ความพอใจและในใจในธรรม, ความใฝ่รู้ใฝ่ศึกษาธรรม และใฝ่ในความดี;
       (ข้อ ๖ ในาถกรณธรรม ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 80
ธุวยาคุ ยาคูที่เขาถวายเป็นประจำ เช่นที่นางวิสาขาถวายเป็นประจำหรือที่จัดทำเป็นของวัดแจกกันเอง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 80
นวังคสัตถุศาสน์ คำสั่งสอนของพระศาสดา มีองค์ ๙, พุทธพจน์มีองค์ประกอบ ๙ อย่าง,
       ส่วนประกอบ ๙ อย่างที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ
           ๑. สุตตะ (พระสูตรทั้งหลาย รวมทั้งพระวินัยปิฎกและนิทเทส)
           ๒. เคยยะ (ความที่มีร้อยแก้วและร้อยกรองผสมกัน ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด)
           ๓. เวยยากรณะ (ไวยากรณ์ คือความร้อยแก้วล้วน ได้แก่ พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด และพระสูตรที่ไม่มีคาถาเป็นต้น)
           ๔. าถ (ความร้อยกรองล้วน เช่น ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา เป็นต้น)
           ๕. อุทาน (ได้แก่ พระคาถาพุทธอุทาน ๘๒ สูตร)
           ๖. อิติวุตตกะ (พระสูตรที่เรียกว่าอิติวุตตกะ ๑๑๐ สูตร)
           ๗. ชาตกะ (ชาดก ๕๕๐ เรื่อง)
           ๘. อัพภูตธรรม (เรื่องอัศจรรย์ คือพระสูตรที่กล่าวถึงข้ออัศจรรย์ต่างๆ)
           ๙. เวทัลละ (พระสูตรแบบถามตอบที่ให้เกิดความรู้และความพอใจแล้ว ซักถามยิ่งๆ ขึ้นไป เช่น จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร เป็นต้น);
       เขียนอย่างบาลีเป็น นวังคสัตถุสาสน์;
       ดู ไตรปิฎก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 80
าถ ที่พึ่ง, ผู้เป็นที่พึ่ง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 80
าถกรณธรรม ธรรมทำที่พึ่ง, ธรรมสร้างที่พึ่ง,
       คุณธรรมที่ทำให้พึ่งตนได้ มี ๑๐ อย่าง คือ
           ๑. ศีล มีความประพฤติดี
           ๒. พาหุสัจจะ ได้เล่าเรียนสดับฟังมาก
           ๓. กัลยาณมิตตตา มีมิตรดีงาม
           ๔. โสวจัสสตา เป็นคนว่าง่าย ฟังเหตุผล
           ๕. กิงกรณีเยสุ ทักขตา เอาใจใส่กิจธุระของเพื่อนร่วมหมู่คณะ
           ๖. ธัมมกามตา เป็นผู้ใคร่ธรรม
           ๗. วิริยะ ความขยันหมั่นเพียร
           ๘. สันตุฏฐี มีความสันโดษ
           ๙. สติ มีสติ
           ๑๐. ปัญญา มีปัญญาเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 80
นาลันทา ชื่อเมืองเล็กๆ เมืองหนึ่งในแคว้นมคธ อยู่ห่างจากพระนครราชคฤห์ประมาณ ๑ โยชน์ ณ เมืองนี้ มีสวนมะม่วง ชื่อ ปาวาริกัมพวัน (สวนมะม่วงของปาวาริกเศรษฐี) ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับแรมหลายครั้ง คัมภีร์ฝ่ายมหายานกล่าวว่า พระสารีบุตร อัครสาวก เกิดที่เมืองนาลันทา แต่คัมภีร์ฝ่ายบาลีเรียกถิ่นเกิดของพระสารีบุตรว่า หมู่บ้านนาลกะ หรือ นาลันทคาม
       ภายหลังพุทธกาล ชื่อเมืองนาลันทาเงียบหายไประยะหนึ่ง หลวงจีนฟาเหียน ซึ่งจาริกมาสืบศาสนาในชมพูทวีป ราว พ.ศ. ๙๔๔-๙๕๓ บันทึกไว้ว่าได้พบเพียงสถูปองค์หนึ่งที่นาลันทา
       แต่ต่อมาไม่นาน กษัตริยราชวงศ์คุปตะพระองค์หนึ่งพระนามว่าศักราทิตย์ หรือ กุมารคุปตะที่ ๑ ซึ่งครองราชย์ประมาณ พ.ศ. ๙๕๘-๙๙๘ ได้ทรงสร้างวัดอันเป็นสถานศึกษาขึ้นแห่งหนึ่งที่เมืองนาลันทา และกษัตริย์พระองค์ต่อๆมาในราชวงศ์นี้ก็ได้สร้างวัดอื่นๆ เพิ่มขึ้นในโอกาสต่างๆ จนมีถึง ๖ วัด อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ในที่สุดได้มีการสร้างกำแพงใหญ่อันเดียวล้อมรอบ ทำให้วัดทั้ง ๖ รวมเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว เรียกว่า นาลันทา มหาวิหาร และได้กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ แห่งสำคัญยิ่ง ที่นักประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน เรียกว่าทั่วไปว่า “มหาวิทยาลัยนาลันทา”
       พระเจ้าหรรษวรรธนะ มหาราชาพระองค์หนึ่งของอินเดีย ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๑๑๔๙-๑๑๙๑ ก็ได้ทรงเป็นองค์อุปถัมภก์ของมหาวิทยาลัยนาลันทา หลวงจีนเหี้ยนจัง (พระถังซัมจั๋ง) ซึ่งจาริกมาสืบพระศาสนาในอินเดียในรัชกาลนี้ ในช่วง พ.ศ. ๑๑๗๒-๑๑๘๗ ได้มาศึกษาที่นาลันทามหาวิหาร และได้เขียนบันทึกบรรยายอาคารสถานที่ที่ใหญ่โตและศิลปกรรมที่วิจิตรงดงาม ท่านเล่าถึงกิจกรรมทางการศึกษา ที่รุ่งเรืองยิ่ง นักศึกษามีประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน และมีอาจารย์ประมาณ ๑,๕๐๐ คน พระมหากษัตริย์พระราชทานหมู่บ้าน ๒๐๐ หมู่โดยรอบถวายโดยทรงยกภาษีที่เก็บได้ให้เป็นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย ผู้เล่าเรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น วิชาที่สอนมีทั้งปรัชญา โยคะ ศัพทศาสตร์ เวชชศาสตร์ ตรรกศาสตร์ นิติศาสตร์ นิรุกติศาสตร์ ตลอดจนโหราศาสตร์ ไสยศาสตร์ และตันตระ
       แต่ที่เด่นชัดก็คือนาลันทาเป็นศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน และเพราะความที่มีกิตติศัพท์เลื่องลือมาก จึงมีนักศึกษาเดินทางมาจากต่างประเทศหลายแห่ง เช่น จีน ญี่ปุ่น เอเชียกลาง สุมาตรา ชวา ทิเบต และมองโกเลีย เป็นต้น หอสมุดของนาลันทาใหญ่โตมาก และมีชื่อเสียงไปทั่วโลก เมื่อคราวที่ถูกเผาทำลายในสมัยต่อมา มีบันทึกกล่าวว่าหอสมุดนี้ไหม้อยู่เป็นเวลาหลายเดือน
       หลวงจีนอี้จิงซึ่งจาริกมาในระยะประมาณ พ.ศ. ๑๒๒๓ ก็ได้มาศึกษาที่นาลันทาและได้เขียนบันทึกเล่าไว้อีก นาลันทารุ่งเรืองสืบมาช้านานจนถึงสมัยราชวงศ์ปาละ (พ.ศ. ๑๓๐๓-๑๖๘๕) กษัตริย์ราชวงศ์นี้ก็ทรงอุปถัมภ์มหาวิหารแห่งนี้ เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ โดยเฉพาะโอทันตปุระที่ได้ทรงสถาปนาขึ้นใหม่
       อย่างไรก็ดี ในระยะหลังๆ นาลันทาได้หันไปสนใจการศึกษาพุทธศาสนาแบบตันตระ ที่ทำให้เกิดความย่อหย่อนและหลงเพลินทางกามารมณ์ และทำให้พุทธศาสนากลมกลืนกับศาสนาฮินดู มากขึ้นเป็นเหตุสำคัญอย่างหนึ่งแห่งความเสื่อมโทรมของพระพุทธศาสนา
       ครั้นถึงประมาณ พ.ศ. ๑๗๔๒ กองทัพมุสลิมเติรกส์ได้ยกมารุกรานรบชนะกษัตริย์แห่งชมพูทวีปฝ่ายเหนือ และเข้าครอบครองดินแดนโดยลำดับ กองทัพมุสลิมเติรกส์ได้เผาผลาญทำลายวัดและปูชนียสถานในพุทธศาสนาลงแทบทั้งหมด และสังหารผู้ที่ไม่ยอมเปลี่ยนศาสนา นาลันทามหาวิหารก็ถูกเผาผลาญทำลายลงในช่วงระยะเวลานั้นด้วย
       มีบันทึกของนักประวัติศาสตร์ชาวมุสลิมเล่าว่า ที่นาลันทา พระภิกษุถูกสังหารแทบหมดสิ้นและมหาวิทยาลัยนาลันทาก็ได้ถึงความพินาศสูญสิ้นลงแต่บัดนั้นมา ซากของนาลันทาที่ถูกขุดค้นพบในภายหลังยังประกาศยืนยันอย่างชัดเจนถึงความยิ่งใหญ่ของนาลันทาในอดีต
       ในปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๕ อินเดียได้เริ่มตื่นตัว และตระหนักถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่ได้มีบทบาทอันยิ่งใหญ่ในการสร้างสรรค์อารยธรรมของชมพูทวีป รวมทั้งบทบาทของมหาวิทยาลัยนาลันทานี้ด้วย และใน พ.ศ. ๒๔๙๔ ก็ได้มีการจัดตั้งสถาบันบาลีนาลันทา ชื่อว่า “นวนาลันทามหาวิหาร” (นาลันทามหาวิหารแห่งใหม่) ขึ้น เพื่อแสดงความรำลึกคุณและยกย่องเกียรติแห่งพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่นาลันทามหาวิหาร มหาวิทยาลัยที่ยิ่งใหญ่ในอดีตสมัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 80
นิมิต
       1. เครื่องหมาย ได้แก่วัตถุอันเป็นเครื่องหมายแห่งสีมา,
           วัตถุที่ควรใช้เป็นนิมิตมี ๘ อย่าง ภูเขา ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้ำ น้ำ
       2. (ในคำว่าทำนิมิต) ทำอาการเป็นเชิงชวนให้เขาถวาย, ขอเขาโดยวิธีให้รู้โดยนัย ไม่ขอตรงๆ
       3. เครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนดในการเจริญกรรมฐาน,
           ภาพที่เห็นในใจของผู้เจริญกรรมฐาน,
           ภาพที่เป็นอารมณ์กรรมฐาน มี ๓ คือ
               ๑. บริกรรมนิมิต นิมิตแห่งบริกรรม หรือนิมิตตระเตรียม ได้แก่สิ่งที่เพ่ง หรือกำหนดนึกเป็นอารมณ์กรรมฐาน
               ๒. อุคคหนิมิต นิมิตที่ใจเรียน หรือนิมิตติดตาติดใจ ได้แก่ สิ่งที่เพ่งหรือนึกนั้นเอง ที่แม่นในใจ จนหลับตามองเห็น
               ๓. ปฏิภาคนิมิต นิมิตเสมือน หรือนิมิตเทียบเคียง ได้แก่ อุคคหนิมิตนั้น เจนใจจนกลายเป็นภาพที่เกิดจากสัญญา เป็นของบริสุทธิ์ จะนึกขยาย หรือย่อส่วนก็ได้ตามปรารถนา
       4. สิ่งที่พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นก่อนเสด็จออกบรรพชา ๔ อย่าง;
           ดู เทวทูต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 80
เนรัญชรา ชื่อแม่น้ำสำคัญ พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณที่ภายใต้ต้นโพธิ์ ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำสายนี้ และก่อนหน้านั้นในวันตรัสรู้ ทรงลอยถาดข้าวมธุปายาสที่นางสุชาดาถวายในแม่น้ำสายนี้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 80
บอกวัตร บอกข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนา เมื่อทำวัตรเย็นเสร็จแล้ว ภิกษุรูปเดียวเป็นผู้บอก อาจใช้วิธีหมุนเวียนกันไปทีละรูป
       ข้อความที่บอกว่าเป็นภาษาบาลี กล่าวถึง
           ปฏิบัติบูชา
           าถาโอวาทปาฏิโมกข์
           คุณานิสงส์แห่งขันติธรรม
           คำเตือนให้ใส่ใจในธรรม ในเมื่อได้มีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา
           ความไม่ประมาท
           เร่งเพียรพยายามในทางธรรมเพื่อน้อมไปสู่พระนิพพาน และพ้นจากทุคติ
           แล้วกล่าวถึงพุทธกิจประจำวัน ๕ ประการ
           ลำดับกาลในพระพุทธประวัติ
           สิ่งแทนพระองค์ภายหลังพุทธปรินิพพาน
           ชื่อ วัน เดือน ปี และดาวนักษัตร ๒๗
           จบลงด้วยคำเชื้อเชิญให้ตั้งอยู่ในพระพุทธโอวาท บำเพ็ญปฏิบัติบูชา เพื่อบรรลุสมบัติทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ;
       ธรรมเนียมนี้ บัดนี้เลือนลางไปแล้ว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 80
ปฐมสมโพธิกถา ชื่อคัมภีร์แสดงเรื่องราวของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ประทับอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิต เทวดาอัญเชิญให้มาอุบัติในมนุษยโลก แล้วออกบวชตรัสรู้ประกาศพระศาสนา ปรินิพพาน จนถึงแจกพระธาตุ ต่อท้ายด้วยเรื่องพระเจ้าอโศกยกย่องพระศาสนา และการอันตรธานแห่งพระศาสนาในที่สุด
       ปฐมสมโพธิกถาที่รู้จักกันมากและใช้ศึกษาอย่างเป็นวรรณคดีสำคัญนั้น คือฉบับที่เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพน ทรงรจนาถวายฉลองพระราชศรัทธาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงอาราธนา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๗ ฉบับที่ทรงรจนานี้ ทรงชำระปฐมสมโพธิกถาฉบับของเก่า ทรงตัดและเติม ขยายความสำคัญบางตอน
       เนื้อหามีคติทั้งทางมหายานและเถรวาทปนกันมาแต่เดิม และทรงจัดเป็นบทตอนเพิ่มขึ้น รวมมี ๒๙ ปริจเฉท มีทั้งฉบับภาษาบาลีและฉบับแปลเป็นภาษาไทย (ฉบับภาษาบาลีแบ่งเป็น ๓๐ ปริจเฉท โดยแบ่งปริจเฉทที่ ๑ เป็น ๒ ตอน)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 80
ปณามคาถาถาน้อมไหว้,
       าถาแสดงความเคารพพระรัตนตรัย เรียกกันง่ายๆ ว่า คาถาไหว้ครู
       ซึ่งตามปกติ พระอาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์ภาษาบาลี เช่น อรรถกถา ฎีกา เป็นต้น ถือเป็นธรรมเนียมที่จะเรียบเรียงไว้เป็นเบื้องต้น ก่อนขึ้นเนื้อความของคัมภีร์นั้นๆ ประกอบด้วย
           คำสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย
           คำบอกความมุ่งหมายในการแต่ง
           คำอ้างถึงบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้อาราธนาให้แต่ง
           และข้อควรทราบอื่นๆ เป็นอย่างคำนำ หรือคำปรารภ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 80
ปรมัตถทีปนี ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความใน อุทาน อิติวุตตกะ วิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา และเถรีคาถ
       พระธรรมบาลรจนาขึ้นในสมัยภายหลังพระพุทธโฆษาจารย์ไม่นาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 80
ปรมัตถปฏิปทา ข้อปฏิบัติมีประโยชน์อันยิ่ง, ทางดำเนินให้ถึงปรมัตถ์, ข้อปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงประโยชน์สูงสุดคือบรรลุนิพพาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 80
ปรมาตมัน อาตมันสูงสุด หรออัตตาสูงสุด (บรมอาตมัน หรือ บรมอัตตา) เป็นสภาวะแท้จริง และเป็นจุดหมายสูงสุดตามหลักความเชื่อของศาสนาฮินดู (เดิมคือศาสนาพราหมณ์) ซึ่งถือว่า ในบุคคลแต่ละคนนี้ มีอาตมัน คือ อัตตาหรือตัวตน สิงสู่อยู่ครอง เป็นสภาวะเที่ยงแท้ถาวรเป็นผู้คิดผู้นึก ผู้เสวยเวทนา เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนย่อยที่แบ่งภาคออกมาจากปรมาตมันนั้นเอง เมื่อคนตาย อาตมันนี้ออกจากร่างไป สิงอยู่ในร่างอื่นต่อไป เหมือนถอดเสื้อผ้าเก่าสวมเสื้อผ้าใหม่ หรือออกจากเรือนเก่าไปอยู่ในเรือนใหม่ ได้เสวยสุขหรือทุกข์ เป็นต้น สุดแต่กรรมที่ได้ทำไว้ เวียนว่ายตายเกิดเรื่อยไป จนกว่าจะตระหนักรู้ว่าตนเองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับปรมาตมัน และเข้าถึงความบริสุทธิ์จากบาปโดยสิ้นเชิง จึงจะได้กลับเข้ารวมกับปรมาตมันดังเดิม ไม่เวียนตายเวียนเกิดอีกต่อไป;
       ปรมาตมันนี้ ก็คือ พรหม หรือ พรหมัน นั่นเอง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 80
ปรัตถปฏิบัติ การปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น
       เป็นพุทธคุณอย่างหนึ่ง คือ การทรงบำเพ็ญพุทธกิจเพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นที่พึ่งของชาวโลก (โลกนาถ) ซึ่งสำเร็จด้วยพระมหากรุณาคุณเป็นสำคัญ
       มักเขียนเป็น ปรหิตปฏิบัติ ซึ่งแปลเหมือนกัน;
       เป็นคู่กันกับ อัตตัตถสมบัติ หรือ อัตตหิตสมบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 80
ปริกถา คำพูดหว่านล้อม, การพูดให้รู้โดยปริยาย,
       การพูดอ้อมไปอ้อมมาเพื่อให้เขาถวายปัจจัย ๔ เป็นการกระทำที่ไม่สมควรแก่ภิกษุ
       ถ้าทำปริกถาเพื่อให้เขาถวายจีวรและบิณฑบาต ชื่อว่ามีอาชีวะไม่บริสุทธิ์
       แต่ท่านว่าทำปริกถาในเรื่องเสนาสนะได้อยู่ เช่น พูดว่า “เสนาสนะของสงฆ์คับแคบ”
       อย่างไรก็ตาม ถ้าถือธุดงค์ไม่พึงทำปริกถา อย่างหนึ่งอย่างใดเลย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  42 / 80
ปวัตตมังสะ เนื้อที่มีอยู่แล้ว คือเนื้อสัตว์ที่เขาขายอยู่ตามปกติสำหรับคนทั่วๆ ไป ไม่ใช่ฆ่าเพื่อเอาเนื้อมาถวายพระ;
       ตรงข้ามกับ อุทิสสมังสะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  43 / 80
ปักขิกะ อาหารที่เขาถวายปักษ์ละครั้ง คือ สิบห้าวันครั้งหนึ่ง

ปักขิกภัต ดู ปักขิกะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  44 / 80
ปายาส ข้าวสุกที่หุงด้วยนมโค นางสุชาดาถวายแก่พระมหาบุรุษในเวลาเช้าของวันที่พระองค์จะได้ตรัสรู้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  45 / 80
ปิณโฑลภารทวาชะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง
       เป็นบุตรพราหมณ์มหาศาลภารทวาชโคตร ในพระนครราชคฤห์ เรียนจบไตรเพท ออกบวชในพระพุทธศาสนา ได้สำเร็จพระอรหัต
       เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสติ สมาธิ ปัญญา มักเปล่งวาจาว่า
           “ผู้ใดมีความเคลือบแคลงสงสัยในมรรคก็ดี ผลก็ดี ขอผู้นั้นจงมาถามข้าพเจ้าเถิด”
       พระศาสดาทรงยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางบันลือสีหนาท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  46 / 80
ปุณณสุนาปรันตะ, -ตกะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง ในจำนวนอสีติมหาสาวก ชื่อเดิมว่า ปุณณะ เกิดที่เมืองท่าชื่อ สุปปารกะ ในแคว้นสุนาปรันตะ เมื่อเติบโตขึ้น ได้ประกอบการค้าขายร่วมกับน้องชาย ผลัดกันนำกองเกวียน ๕๐๐ เล่ม เที่ยวค้าขายตามหัวเมืองต่างๆ
       คราวหนึ่ง น้องชายอยู่เฝ้าบ้าน ปุณณะนำกองเกวียนออกค้าขายผ่านเมืองต่างๆ มาจนถึงกรุงสาวัตถี พักกองเกวียนอยู่ใกล้พระเชตวัน รับประทานอาหารเช้าแล้วก็นั่งพักผ่อนกันตามสบาย
       ขณะนั้นเอง ปุณณะมองเห็นชาวพระนครสาวัตถีแต่งตัวสะอาด เรียบร้อย พากันเกิดไปยังพระเชตวันเพื่อฟังธรรม ไต่ถามทราบความก็ดีใจ จึงพาบริวารเดินตามเขาเข้าไปสู่พระวิหาร ยืนอยู่ท้ายสุดที่ประชุม ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าแล้วเลื่อมใสอยากจะบวช
       วันรุ่งขึ้นถวายมหาทานแด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขแล้ว มอบหมายธุระแก่เจ้าหน้าที่คุมของให้นำสมบัติไปมอบให้แก่น้องชาย แล้วออกบวชในสำนักพระศาสดา ตั้งใจทำกรรมฐาน แต่ก็ไม่สำเร็จ คิดจะไปบำเพ็ญภาวนาที่ถิ่นเดิมของท่านเอง จึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลขอพระโอวาท ดังปรากฏเนื้อความใน ปุณโณวาทสูตร
       พระผู้มีพระภาคเจ้าประทานพระโอวาทแสดงวิธีปฏิบัติต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ โดยอาการที่จะมิให้ทุกข์เกิดขึ้น แล้วตรัสถามท่านว่า จะไปอยู่ในถิ่นใด
       ท่านทูลตอบว่า จะไปอยู่ในแคว้นสุนาปรันตะ
       ตรัสถามว่า ชาวสุนาปรันตะเป็นคนดุร้าย ถ้าเขาด่าว่า ท่านจะวางใจต่อคนเหล่านั้นอย่างไร
       ทูลตอบว่า จะคิดว่ายังดีนักหนาที่เขาไม่ตบตี
       ตรัสถามว่า ถ้าเขาตบตีจะวางใจอย่างไร
       ทูลตอบว่า จะคิดว่ายังดีนักหนาที่เขาไม่ขว้างปาด้วยก้อนดิน
       ตรัสถามว่า ถ้าเขาขว้างด้วยก้อนดิน จะวางใจอย่างไร
       ทูลตอบว่า จะคิดว่ายังดีนักหนาที่เขาไม่ทุบตีด้วยท่อนไม้
       ตรัสถามว่า ถ้าเขาทุบตีด้วยท่อนไม้ จะวางใจอย่างไร
       ทูลตอบว่า จะคิดว่ายังดีนักหนาที่เขาไม่ฟันแทงด้วยศัสตรา
       ตรัสถามว่า ถ้าเขาฟันแทงด้วยศัสตรา จะวางใจอย่างไร
       ทูลตอบว่า จะคิดว่ายังดีนักหนาที่เขาไม่เอาศัสตราอันคมฆ่าเสีย
       ตรัสถามว่า ถ้าเขาเอาศัสตราอันคมปลิดชีพเสีย จะวางใจอย่างไร
       ทูลตอบว่า จะคิดว่า มีสาวกบางท่านเบื่อหน่ายร่างกายและชีวิตต้องเที่ยวหาศัสตรามาสังหารตนเอง แต่เราไม่ต้องเที่ยวหาเลย ก็ได้ศัสตราแล้ว
       พระผู้มีพระภาคประทานสาธุการ และตรัสว่า ท่านมีทมะและอุปสมะอย่างนี้ สามารถไปอยู่ในแคว้นสุนาปรันตะได้
       พระโอวาทและแนวคิดของพระปุณณะนี้ เป็นคติอันมีค่ายิ่งสำหรับพระภิกษุผู้จะจาริกไปประกาศพระศาสนาในถิ่นไกล
       พระปุณณะกลับสู่แคว้นสุนาปรันตะแล้ว ได้ย้ายหาที่เหมาะสำหรับการทำกรรมฐานหลายแห่ง จนในที่สุดแห่งที่ ๔ ได้เข้าจำพรรษาแรกที่วัดมกุฬการาม ในพรรษานั้น น้องชายของท่านกับพ่อค้ารวม ๕๐๐ คน เอาสินค้าลงเรือจะไปยังทะเลอื่น ในวันลงเรือ น้องชายมาลาและขอความคุ้มครองจากท่าน ระหว่างทางเรือไปถึงเกาะแห่งหนึ่ง พากันแวะบนเกาะพบป่าจันทร์แดงอันมีค่าสูง จึงล้มเลิกความคิดที่จะเดินทางต่อ ช่วยกันตัดไม้จันทร์บรรทุกเรือจนเต็มแล้วออกเดินทางกลับถิ่นเดิม แต่พอออกเรือมาได้ไม่นาน พวกอมนุษย์ที่สิงในป่าจันทร์ซึ่งโกรธแค้น ได้ทำให้เกิดลมพายุอย่างแรงและหลอกหลอนต่างๆ น้องชายของพระปุณณะระลึกถึงพระพี่ชาย พระปุณณะทราบ จึงเหาะมายืนอยู่ที่หน้าเรือ พวกอมนุษย์ก็พากันหนีไป ลมพายุก็สงบ
       พวกพ่อค้าทั้ง ๕๐๐ คน กลับถึงถิ่นเดิมโดยสวัสดีแล้ว ได้พร้อมทั้งภรรยาพากันประกาศนับถือพระปุณณะและถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ แล้วแบ่งไม้จันทร์แดงส่วนหนึ่งมาถวายท่าน พระปุณณะตอบว่า ท่านไม่มีกิจที่จะต้องใช้ไม้เหล่านั้น และแนะให้สร้างศาลาถวายพระพุทธเจ้า ศาลานั้นเรียกว่า จันทนศาลา เมื่อศาลาเสร็จแล้ว พระปุณณะได้ไปทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าเสด็จมายังแคว้นสุนาปรันตะ พร้อมด้วยพระสาวกจำนวนมาก ระหว่างทางพระผู้มีพระภาคทรงแวะหยุดประทับโปรดสัจจพันธดาบส ที่ภูเขาสัจจพันธ์ก่อนแล้ว นำพระสัจจพันธ์ ซึ่งบรรลุอรหัตตผลแล้วมายังสุนาปรันตะ และประทับที่จันทนศาลา ในมกุฬการาม ๒-๓ วัน เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในหมู่บ้าน แล้วทรงเดินทางกลับ ระหว่างทางเสด็จถึงฝั่งแม่น้ำนัมมทา ได้แสดงธรรมโปรดนัมมทานาคราช นาคราชขอของที่ระลึกไว้บูชา จึงทรงประทับรอยพระบาทไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานั้น จากนั้นเสด็จต่อไปถึงภูเขาสัจจพันธ์ ตรัสสั่งพระสัจจพันธ์ให้อยู่สั่งสอนประชาชน ณ ที่นั้น พระสัจจพันธ์ทูลขอสิ่งที่ระลึกไว้บูชา จึงทรงประทับรอยพระบาทไว้ที่ภูเขานั้นด้วย อันนับว่าเป็นประวัติการเกิดขึ้นของรอยพระพุทธบาท
       เหตุการณ์ที่เล่านี้เกิดขึ้นในพรรษาแรกที่พระปุณณะกลับมาอยู่ในแคว้นสุนาปรันตะ และท่านเองก็ได้บรรลุอรหัตตผลในพรรษาแรกนั้น เช่นกัน ท่านพระปุณณเถระบำเพ็ญจริยาเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชนสืบมาจนถึงปรินิพพาน ณ แคว้นสุนาปรันตะนั้น ก่อนพุทธปรินิพพาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  47 / 80
แผ่เมตตา ตั้งจิตปรารถนาดีขอให้ผู้อื่นมีความสุข;
       คำแผ่เมตตาที่ใช้เป็นหลักว่า
           “สพฺเพ สตฺตา อเวรา อพฺยาปชฺฌา อนีฆา สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ”
       แปลว่า
           “ขอสัตว์ทั้งหลาย, (ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน) หมดทั้งสิ้น,
           (จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด) อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย,
           (จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด) อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย,
           (จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด) อย่าได้มีทุกข์กายทุกข์ใจเลย,
           จงมีความสุขกายสุขใจ, รักษาตน (ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้น) เถิด.”
       ข้อความในวงเล็บ เป็นส่วนที่เพิ่มเข้ามาในคำแปลเป็นภาษาไทย
       ผู้เจริญเมตตาธรรมอยู่เสมอ จนจิตมั่นในเมตตา มีเมตตาเป็นคุณสมบัติประจำใจ จะได้รับอานิสงส์ คือผลดี ๑๑ ประการ คือ
           ๑. หลับก็เป็นสุข
           ๒. ตื่นก็เป็นสุข
           ๓. ไม่ฝันร้าย
           ๔. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย
           ๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย
           ๖. เทวดาย่อมรักษา
           ๗. ไม่ต้องภัยจากไฟ ยาพิษ หรือศัตราวุธ
           ๘. จิตเป็นสมาธิง่าย
           ๙. สีหน้าผ่องใส
           ๑๐. เมื่อจะตาย ใจก็สงบ ไม่หลงใหลไร้สติ
           ๑๑. ถ้ายังไม่บรรลุคุณพิเศษที่สูงกว่า ย่อมเข้าถึงพรหมโลก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  48 / 80
พาราณสี ชื่อเมืองหลวงของแคว้นกาสี อยู่ริมแม่น้ำคงคา
       ปัจจุบันเรียก Banaras หรือ Benares
       ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า สารนาถ อยู่ห่างจากตัวเมืองพาราณสีปัจจุบันประมาณ ๖ ไมล์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  49 / 80
พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก, ความเป็นผู้ได้เรียนรู้มาก หรือคงแก่เรียน มีองค์ ๕ คือ
       ๑. พหุสฺสุตา ได้ยินได้ฟังมาก
       ๒. ธตา ทรงจำไว้ได้
       ๓. วจสา ปริจิตา คล่องปาก
       ๔. มนสานุเปกฺขิตา เจนใจ
       ๕. ทิฏฺฐิยา สุปฏิวิทฺธา ขบได้ด้วยทฤษฎี;
       ดู พหูสูต
       (ข้อ ๒ ในาถกรณธรรม ๑๐, ข้อ ๓ ในเวสารัชชกรณธรรม ๕, ข้อ ๔ ในสัทธรรม ๗, ข้อ ๕ ในอริยทรัพย์ ๗)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  50 / 80
พิมพิสาร พระเจ้าแผ่นดินมคธ ครองราชสมบัติอยู่ที่พระนครราชคฤห์
       เป็นผู้ถวายพระราชอุทยานเวฬุวันเป็นสังฆาราม นับเป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา
       ต่อมาถูกพระราชโอรสนามว่าอชาตศัตรู ปลงพระชนม์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  51 / 80
พุทธการกธรรม ธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ตามปกติหมายถึง บารมี ๑๐ นั่นเอง
       (ในคาถาบางทีเรียกสั้นๆ ว่า พุทธธรรม)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  52 / 80
พุทธกิจ ๔๕ พรรษา ในระหว่างเวลา ๔๕ ปีแห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปประทับจำพรรษา ณ สถานที่ต่างๆ ซึ่งท่านได้ประมวลไว้ พร้อมทั้งเหตุการณ์สำคัญบางอย่างอันควรสังเกต ดังนี้
       พรรษาที่ ๑ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้กรุงพาราณสี (โปรดพระเบญจวัคคีย์)
       พ.๒-๓-๔ พระเวฬุวัน กรุงราชคฤห์ (ระยะประดิษฐานพระศาสนา เริ่มแต่โปรดพระเจ้าพิมพิสาร ได้อัครสาวก ฯลฯ เสด็จนครกบิลพัสดุ์ครั้งแรก ฯลฯ อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นอุบาสกถวายพระเชตวัน พรรษาที่ ๓ น่าจะประทับที่พระเชตวัน นครสาวัตถี)
       พ.๕ กูฎาคารในป่ามหาวัน นครเวสาลี (โปรดพุทธบิดาปรินิพพานที่กรุงกบิลพัสดุ์ โปรดพระญาติที่วิวาทเรื่องแม่น้ำโรหิณี มหาปชาบดีผนวช เกิดภิกษุณีสงฆ์)
       พ.๖ มกุลบรรพต (ภายหลังทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ที่นครสาวัตถี)
       พ.๗ ดาวดึงสเทวโลก (แสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา)
       พ.๘ เภสกลาวัน ใกล้เมืองสุงสุมาคีรี แคว้นภัคคะ (พบนกุลบิดาและนกุลมารดา)
       พ.๙ โฆสิตาราม เมืองโกสัมพี
       พ.๑๐ ป่าตำบลปาริเลยยกะ ใกล้เมืองโกสัมพี (ในคราวที่ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีทะเลาะกัน)
       พ.๑๑ หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อเอกนาลา
       พ.๑๒ เมืองเวรัญชา
       พ.๑๓ จาลิยบรรพต
       พ.๑๔ พระเชตวัน (พระราหุลอุปสมบทคราวนี้)
       พ.๑๕ นิโครธาราม นครกบิลพัสดุ์
       พ.๑๖ เมืองอาฬวี (ทรมานอาฬวกยักษ์)
       พ.๑๗ พระเวฬุวัน นครราชคฤห์
       พ.๑๘-๑๙ จาลิยบรรพต
       พ.๒๐ พระเวฬุวัน นครราชคฤห์ โปรดมหาโจรองคุลิมาล, พระอานนท์ได้รับหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐากประจำ)
       พ.๒๑-๔๔ ประทับสลับไปมา ณ พระเชตวันกับบุพพาราม พระนครสาวัตถี (รวมทั้งคราวก่อนนี้ด้วย อรรถกถาว่าพระพุทธเจ้าประทับที่เชตวนาราม ๑๙ พรรษา ณ บุพพาราม ๖ พรรษา)
       พ.๔๕ เวฬุวคาม ใกล้นครเวสาลี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  53 / 80
พุทธมามกะ “ผู้ถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นของเรา”, ผู้รับเอาพระพุทธเจ้าเป็นของตน, ผู้ประกาศตนว่าเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา;
       พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงเรียบเรียงตั้งเป็นแบบไว้ ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดจะส่งเจ้านายคณะหนึ่งออกไปศึกษาในทวีปยุโรป ทรงถือตามคำแสดงตนเป็นอุบาสกของเดิม แต่แก้บท อุบาสก ที่เฉพาะผู้ใหญ่ผู้ได้ศรัทธาเลื่อมใสด้วยตนเอง เป็น พุทธมามกะ และได้เกิดเป็นประเพณีนิยมแสดงตนเป็นพุทธมามกะสืบต่อกันมา โดยจัดทำในกรณีต่างๆ โดยเฉพาะ
           ๑. เมื่อบุตรหลานพ้นวัยทารก อายุ ๑๒-๑๕ ปี
           ๒. เมื่อจะส่งบุตรหลานไปอยู่ในถิ่นที่มิใช่ดินแดนของพระพุทธศาสนา
           ๓. โรงเรียนประกอบพิธีให้นักเรียนที่เข้าศึกษาใหม่แต่ละปีเป็นหมู่
           ๔. เมื่อบุคคลผู้เคยนับถือศาสนาอื่นต้องการประกาศตนเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา;
       ท่านวางระเบียบพิธีไว้สรุปได้ดังนี้
       ก. มอบตัว (ถ้าเป็นเด็กให้ผู้ปกครองนำตัวหรือครูนำรายชื่อไป) โดยนำดอกไม้ธูปเทียนใส่พานไปถวายพระอาจารย์เป็นอย่างน้อย ๔ รูป
       ข. จัดสถานที่ ในอุโบสถ หรือวิหาร ศาลาการเปรียญ หรือ หอประชุมที่มีโต๊ะบูชามีพระพุทธรูปประธาน และจัดอาสนะสงฆ์ให้เหมาะสม
       ค. พิธีการ ให้ผู้แสดงตน จุดธูปเทียนเปล่งวาจาบูชาพระรัตนตรัยว่า
           “อิมินา สกฺกาเรน, พุทฺธํ ปูเชมิ”
           (แปลว่า) “ข้าพเจ้าขอบูชาพระพุทธเจ้าด้วยเครื่องสักการะนี้” (กราบ)
           “อิมินา สกฺกาเรน, ธมฺมํ ปูเชมิ”
           (แปลว่า) “ข้าพเจ้าขอบูชาพระธรรมด้วยเครื่องสักการะนี้” (กราบ)
           “อิมินา สกฺกาเรน, สงฺฆํ ปูเชมิ”
           (แปลว่า) “ข้าพเจ้าขอบูชาพระสงฆ์ด้วยเครื่องสักการะนี้” (กราบ)
       จากนั้นเข้าไปสู่ที่ประชุมสงฆ์ ถวายพานเครื่องสักการะแก่พระอาจารย์ กราบ ๓ ครั้งแล้ว คงนั่งคุกเข่า กล่าวคำปฏิญาณว่า:
           “นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส” (๓ หน)
           “ข้าพเจ้าขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น” (๓ หน)
           “เอสาหํ ภนฺเต, สุจิรปรินิพฺพุตมฺปิ, ตํ ภควนฺตํ สรณํ คจฺฉามิ, ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ, พุทฺธมามโกติ มํ สงฺโฆ ธาเรตุ”
           แปลว่า
           “ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้ปรินิพพานนานแล้ว ทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ เป็นสรณะที่ระลึกนับถือ
           ขอพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นพุทธมามกะ ผู้รับเอาพระพุทธเจ้าเป็นของตน คือผู้นับถือพระพุทธเจ้า”
           (ถ้าเป็นหญิงคนเดียวเปลี่ยน พุทฺธมามโกติ เป็น พุทฺธมามกาติ;
           ถ้าปฏิญญาณพร้อมกันหลายคน ชายเปลี่ยน เอสาหํ เป็น เอเต มยํ หญิงเป็น เอตา มยํ;
           และทั้งชายและหญิงเปลี่ยน คจฺฉามิ เป็น คจฺฉาม, พุทฺธมามโกติ เป็น พุทฺธมามกาติ, มํ เป็น โน)
       จากนั้นฟังพระอาจารย์ให้โอวาท จบแล้วรับคำว่า “สาธุ”
       ครั้นแล้วกล่าวคำอาราธนาเบญจศีลและสมาทานศีลพร้อมทั้งคำแปล จบแล้วกราบ ๓ หน ถวายไทยธรรม (ถ้ามี) แล้วกรวดน้ำเมื่อพระสงฆ์อนุโมทนา รับพรเสร็จแล้ว คุกเข่ากราบพระสงฆ์ ๓ ครั้ง เป็นเสร็จพิธี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  54 / 80
โพธิ, โพธิพฤกษ์ ต้นโพธิ์, ต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าได้ประทับ ณ ภายใต้ร่มเงาในคราวตรัสรู้, ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้และต้นไม้อื่นที่เป็นชนิดเดียวกันนั้น
       สำหรับพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์ไม้อัสสัตถะ (ต้นโพ) ต้นที่อยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลคยา;
       ต้นโพธิ์ ตรัสรู้ที่เป็นหน่อของต้นเดิมที่คยา ได้ปลูกเป็นต้นแรกในสมัยพุทธกาล (ปลูกจากเมล็ด) ที่ประตูวัดพระเชตวัน โดยพระอานนท์เป็นผู้ดำเนินการตามความปรารภของอนาถบิณฑิกเศรษฐี และเรียกชื่อว่า อานันทโพธิ;
       หลังพุทธกาล ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระนาง สังฆมิตตาเถรี ได้นำกิ่งด้านขวาของต้นมหาโพธิ์ที่คยานั้นไปมอบแด่พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ทรงปลูกไว้ ณ เมืองอนุราธปุระ ในลังกาทวีป ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นต้นไม้เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน;
       ในประเทศไทย สมัยราชวงศ์จักรี พระสมณทูตไทยในสมัยรัชกาลที่ ๒ ได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์ที่เมืองอนุราธปุระมา ๖ ต้น ใน พ.ศ. ๒๓๕๗ โปรดให้ปลูกไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช ๒ ต้น นอกนั้นปลูกที่วัดมหาธาตุ วัดสุทัศน์ วัดสระเกศและที่เมืองกลันตัน แห่งละ ๑ ต้น;
       ต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ประเทศไทยได้พันธุ์ต้นมหาโพธิจากคยาโดยตรงครั้งแรก ได้ปลูกไว้ ณ วัดเบญจมบพิตรและวัดอัษฎางคนิมิตร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  55 / 80
ภพ โลกเป็นที่อยู่ของสัตว์, ภาวะชีวิตของสัตว์ มี ๓ คือ
       ๑. กามภพ ภพของผู้ยังเสวยกามคุณ
       ๒. รูปภพ ภพของผู้เข้าถึงรูปฌาน
       ๓. อรูปภพ ภพของผู้เข้าถึงอรูปฌาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  56 / 80
ภัททิยะ
       1. ชื่อภิกษุรูปหนึ่งในคณะปัญจวัคคีย์ เป็นพระอรหันต์รุ่นแรก
       2. กษัตริย์ศากยวงศ์ โอรสของนางกาฬิโคธา สละราชสมบัติที่มาถึงตามวาระแล้วออกบวชพร้อมกับพระอนุรุทธะ สำเร็จอรหัตตผล ได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้มาจากตระกูลสูง และจัดเป็นมหาสาวกองค์หนึ่งในจำนวน ๘๐

ภัททิยศากยะ ดู ภัททิยะ 2

แสดงผลการค้น ลำดับที่  57 / 80
ภาวนา การทำให้มีขึ้นเป็นขึ้น, การทำให้เกิดขึ้น, การเจริญ, การบำเพ็ญ
       1. การฝึกอบรม ตามหลักพระพุทธศาสนา มี ๒ อย่าง คือ
           ๑. สมถภาวนา ฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ
           ๒. วิปัสสนาภาวนา ฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้เข้าใจตามเป็นจริง,
       อีกนัยหนึ่ง จัดเป็น ๒ เหมือนกันคือ
           ๑. จิตตภาวนา การฝึกอบรมจิตใจให้เจริญงอกงามด้วยคุณธรรม มีความเข้มแข็งมั่นคง เบิกบาน สงบสุขผ่องใส พร้อมด้วยความเพียร สติ และสมาธิ
           ๒. ปัญญาภาวนา การฝึกอบรมเจริญปัญญา ให้รู้เท่าทันเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง จนมีจิตใจเป็นอิสระ ไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสและความทุกข์
       2. การเจริญสมถกรรมฐานเพื่อให้เกิดสมาธิ มี ๓ ขั้น คือ
           ๑. บริกรรมภาวนา ภาวนาขั้นตระเตรียม คือกำหนดอารมณ์กรรมฐาน
           ๒. อุปจารภาวนา ภาวนาขั้นจวนเจียน คือเกิดอุปจารสมาธิ
           ๓. อัปปนาภาวนา ภาวนาขั้นแน่วแน่ คือเกิดอัปปนาสมาธิเข้าถึงฌาน
       3. ในภาษาไทย ความหมายเลือนมาเป็น การท่องบ่นหรือว่าซ้ำๆ ให้ขลัง ก็มี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  58 / 80
มงคล สิ่งที่ทำให้มีโชคดี,
       ตามหลักพระพุทธศาสนา หมายถึง ธรรมที่นำมาซึ่งความสุขความเจริญ,
       มงคล ๓๘ ประการ หรือเรียกเต็มว่า อุดมมงคล (มงคลอันสูงสุด) ๓๘ ประการ มีดังนี้
       คาถาที่ ๑ =
           ๑. อเสวนา จ พาลานํ ไม่คบคนพาล
           ๒. ปณฺฑิตานญฺจเสวนา คบบัณฑิต
           ๓. ปูชา จ ปูชนียานํ บูชาคนที่ควรบูชา
       คาถาที่ ๒ =
           ๔. ปฏิรูปเทสวาโส จ อยู่ในปฏิรูปเทส, อยู่ในถิ่นมีสิ่งแวดล้อมดี
           ๕. ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา ได้ทำความดีให้พร้อมไว้ก่อน, ทำความดีเตรียมพร้อมไว้แต่ต้น
           ๖. อตฺตสมฺมาปณิธิ จ ตั้งตนไว้ชอบ
       คาถาที่ ๓ =
           ๗. พาหุสจฺจญฺจ เล่าเรียนศึกษามาก, ทรงความรู้กว้างขวาง, ใส่ใจสดับตรับฟังค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ
           ๘. สิปฺปญฺจ มีศิลปวิทยา, ชำนาญในวิชาชีพของตน
           ๙. วินโย จ สุสิกฺขิโต มีระเบียบวินัย, ได้ฝึกอบรมตนไว้ดี
           ๑๐. สุภาสิตา จ ยา วาจา วาจาสุภาษิต, รู้จักใช้วาจาพูดให้เป็นผลดี
       คาถาที่ ๔ =
           ๑๑. มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ บำรุงมารดาบิดา
           ๑๒/๑๓. ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห =
               ปุตฺตสงฺคห สงเคราะห์บุตรและ ทารสงฺคห สงเคราะห์ภรรยา
           ๑๔. อนากุลา จ กมฺมนฺตา การงานไม่อากูล
       คาถาที่ ๕ =
           ๑๕. ทานญฺจ รู้จักให้, เผื่อแผ่แบ่งปัน, บริจาคสงเคราะห์และบำเพ็ญประโยชน์
           ๑๖. ธมฺมจริยา จ ประพฤติธรรม, ดำรงอยู่ในศีลธรรม
           ๑๗. ญาตกานญฺจ สงฺคโห สงเคราะห์ญาติ
           ๑๘. อนวชฺชานิ กมฺมานิ การงานที่ไม่มีโทษ, กิจกรรมที่ดีงาม เป็นประโยชน์ ไม่เป็นทางเสียหาย
       คาถาที่ ๖ =
           ๑๙. อารตี วิรตี ปาปา เว้นจากความชั่ว
           ๒๐. มชฺชปานา จ สญฺญโม เว้นจากการดื่มน้ำเมา
           ๒๑. อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย
       คาถาที่ ๗ =
           ๒๒. คารโว จ ความเคารพ, การแสดงออกที่แสดงถึงความเป็นผู้รู้จักถึงคุณค่าของบุคคล สิ่งของหรือกิจการนั้นๆ และรู้จักให้ความสำคัญและความใส่ใจเอื้อเฟื้อโดยเหมาะสม
           ๒๓. นิวาโต จ ความสุภาพอ่อนน้อม, ถ่อมตน
           ๒๔. สนฺตุฏฺฐี จ ความสันโดษ, ความเอิบอิ่มพอใจในผลสำเร็จที่ได้สร้างขึ้นหรือในปัจจัยลาภที่แสวงหามาได้ ด้วยเรี่ยวแรงความเพียรพยายามของตนเองโดยทางชอบธรรม
           ๒๕. กตญฺญุตา มีความกตัญญู
           ๒๖. กาเลน ธมฺมสฺสวนํ ฟังธรรมตามกาล, หาโอกาสแสวงหาความรู้ ในเรื่องที่แสดงหลักความจริง
       คาถาที่ ๘ =
           ๒๗. ขนฺตี จ มีความอดทน
           ๒๘. โสวจสฺสตา เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย
           ๒๙. สมณานญฺจ ทสฺสนํ พบเห็นสมณะ, เยี่ยมเยือนเข้าหาท่านผู้สงบกิเลส
           ๓๐. กาเลน ธมฺมสากจฺฉา สนทนาธรรมตามกาล, หาโอกาสสนทนาถกเถียงเกี่ยวกับหลักความจริงและหลักความถูกต้องดีงาม
       คาถาที่ ๙ =
           ๓๑. ตโป จ มีความเพียรเผากิเลส, รู้จักบังคับควบคุมตน ไม่ปรนเปรอตามใจอยาก
           ๓๒. พฺรหฺมจริยญฺจ ประพฤติพรหมจรรย์, ดำเนินตามอริยมรรค, การรู้จักควบคุมตนในทางเพศ หรือถือเมถุนวิรัติตามควร
           ๓๓. อริยสจฺจานทสฺสนํ เห็นอริยสัจ, เข้าใจความจริงของชีวิต
           ๓๔. นิพฺพานสจฺฉิกิริยา จ ทำพระนิพพานให้แจ้ง, บรรลุนิพพาน
       คาถาที่ ๑๐ =
           ๓๕. ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ ถูกโลกธรรม จิตไม่หวั่นไหว
           ๓๖. อโสกํ จิตไร้เศร้า
           ๓๗. วิรชํ จิตปราศจากธุลี
           ๓๘. เขมํ จิตเกษม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  59 / 80
มรณสติ ระลึกถึงความตายอันจะต้องมีมาถึงตนเป็นธรรมดา พิจารณาให้ใจสงบจากอกุศลธรรม เกิดความไม่ประมาท และไม่หวาดกลัว คิดเร่งขวนขวายบำเพ็ญกิจ และทำความดี
       (ข้อ ๗ ในอนุสติ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  60 / 80
มหรคต “อันถึงความเป็นสภาพใหญ่” “ซึ่งถึงความยิ่งใหญ่” หรือ “ซึ่งดำเนินไปด้วยฉันทะวิริยะจิตตะและปัญญาอย่างใหญ่” คือ เข้าถึงฌาน, เป็นรูปาวจร หรืออรูปาวจร, ถึงระดับวิกขัมภนวิมุตติ
       (เขียนอย่างบาลีเป็น มหัคคตะ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  61 / 80
มหาสุทธันตปริวาส สุทธันตปริวาสที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายคราวด้วยกันจนจำจำนวนอาบัติและจำนวนวันที่ไม่ได้เลย อยู่ปริวาสจนกว่าจะเห็นว่าบริสุทธิ์
       โดยกะเอา ตั้งแต่บวชมาถึงเวลาใดยังไม่เคยต้องสังฆาทิเสสเลย เป็นช่วงแรก
       แล้วถอยหลังจากปัจจุบันไปจนตลอดเวลาที่ไม่ได้ต้อง อีกช่วงหนึ่ง
       กำหนดเอาระหว่างช่วงทั้งสองนี้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  62 / 80
มหาอุทายี พระเถระผู้ใหญ่องค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์ในเมืองกบิลพัสดุ์ เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า เมื่อคราวที่พระองค์เสด็จไปโปรดพระญาติ จึงออกบวชและได้สำเร็จอรหัตตผล
       ท่านเป็นพระธรรมกถึกองค์หนึ่ง มีเรื่องเกี่ยวกับการที่ท่านแสดงธรรมบ้าง สนทนาธรรมบ้าง ปรากฏในพระไตรปิฎกหลายแห่ง
       คราวหนึ่งพระอานนท์เห็นท่านนั่งแสดงธรรมอยู่ มีคฤหัสถ์ล้อมฟังอยู่เป็นชุมนุมใหญ่ จึงได้กราบทูลเล่าถวายพระพุทธเจ้า เป็นข้อปรารภให้พระองค์ทรงแสดง ธรรมเทศกธรรม หรือองค์คุณของธรรมกถึก ๕ ประการ คือ
       ๑. แสดงธรรมไปโดยลำดับ ไม่ตัดลัดให้ขาดความ
       ๒. อ้างเหตุผลให้ผู้ฟังเข้าใจ
       ๓. มีจิตเมตตาปรารถนาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง
       ๔. ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ
       ๕. ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  63 / 80
มิลักขะ คนป่าเถื่อน, คนดอย, คนที่ยังไม่เจริญ, พวกเจ้าถิ่นเดิมของชมพูทวีป มิใช่ชาวอริยกะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  64 / 80
มุนี นักปราชญ์, ผู้สละเรือนและทรัพย์สมบัติแล้ว มีจิตใจตั้งมั่นเป็นอิสระไม่เกาะเกี่ยวติดพันในสิ่งทั้งหลาย สงบเย็น ไม่ทะเยอทะยานฝันใฝ่ ไม่แส่พร่านหวั่นไหว มีปัญญาเป็นกำลัง และมีสติรักษาตน, พระสงฆ์หรือนักบวชที่เข้าถึงธรรมและดำเนินชีวิตอันบริสุทธิ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  65 / 80
ยาคู ข้าวต้ม, เป็นอาหารเบาสำหรับฉันรองท้องก่อนถึงเวลาฉันอาหารหนัก เป็นของเหลว ดื่มได้ ซดได้ ไม่ใช่ของฉันให้อิ่ม เช่น ภิกษุดื่มยาคูก่อนแล้วไปบิณฑบาต ยาคูสามัญอย่างนี้
       ที่จริงจะแปลว่าข้าวต้มหาถูกแท้ไม่ แต่แปลกันมาอย่างนั้นพอให้เข้าใจง่ายๆ ข้าวต้มที่ฉันเป็นอาหารมื้อหนึ่งได้อย่างที่ฉันกันอยู่โดยมาก มีชื่อเรียกต่างออกไปอีกอย่างหนึ่งว่า โภชชยาคู

แสดงผลการค้น ลำดับที่  66 / 80
ยาวกาลิก ของที่อนุญาตให้ฉันได้ตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน;
       ดู กาลิก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  67 / 80
โยคเกษม, โยคเกษมธรรม “ธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ”
       ความหมายสามัญว่า ความปลอดโปร่งโล่งใจหรือสุขกายสบายใจ เพราะปราศจากภัยอันตรายหรือล่วงพ้นสิ่งที่น่าพรั่นกลัว มาถึงสถานที่ปลอดภัย;
       ในความหมายขั้นสูงสุด มุ่งเอาพระนิพพาน อันเป็นธรรมที่เกษมคือโปร่งโล่งปลอดภัยจากโยคกิเลสทั้ง ๔ จำพวก;
       ดู โยคะ, เกษมจากโยคธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  68 / 80
โยนิโสมนสิการ การทำในใจโดยแยบคาย, กระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย,
       การพิจารณาโดยแยบคาย คือพิจารณาเพื่อเข้าถึงความจริง โดยสืบค้นหาเหตุผลไปตามลำดับจนถึงต้นเหตุ แยกแยะองค์ประกอบ จนมองเห็นตัวสภาวะและความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย หรือตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีที่ชั่ว ยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้นโดยอุบายที่ชอบ ซึ่งจะมิให้เกิดอวิชชาและตัณหา,
       ความรู้จักคิด, คิดถูกวิธี;
       เทียบ อโยนิโสมนสิการ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  69 / 80
รองเท้า ในพระวินัยกล่าวถึงรองเท้าไว้ ๒ ชนิด คือ
       ๑. ปาทุกา แปลกันว่า “เขียงเท้า” (รองเท้าไม้หรือเกี๊ยะ) ซึ่งรวมไปถึงรองเท้าโลหะ รองเท้าแก้ว หรือรองเท้าประดับแก้วต่างๆ ตลอดจนรองเท้าสาน รองเท้าถักหรือปักต่างๆ
           สำหรับพระภิกษุห้ามใช้ปาทุกาทุกอย่าง ยกเว้นปาทุกาไม้ที่ตรึงอยู่กับที่สำหรับถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะและเป็นที่ชำระ ขึ้นเหยียบได้
       ๒. อุปาหนา รองเท้าสามัญ สำหรับพระภิกษุทรงอนุญาตรองเท้าหนังสามัญ
           (ถ้าชั้นเดียว หรือมากชั้นแต่เป็นของเก่าใช้ได้ทั่วไป ถ้ามากชั้นเป็นของใหม่ ใช้ได้เฉพาะแต่ในปัจจันตชนบท)
           มีสายรัด หรือใช้คีบด้วยนิ้ว ไม่ปกหลังเท้า ไม่ปกส้น ไม่ปกแข็ง นอกจากนั้น ตัวรองเท้าก็ตาม หูหรือสายรัดก็ตาม จะต้องไม่มีสีที่ต้องห้าม (คือ สีขาบ เหลือง แดง บานเย็น แสด ชมพู ดำ) ไม่ขลิบด้วยหนังสัตว์ที่ต้องห้าม (คือ หนังราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง ชะมด นาค แมว ค่าง นกเค้า) ไม่ยัดนุ่น ไม่ตรึงหรือประดับด้วยขนนกกระทาขนนกยูง ไม่มีหูเป็นช่อดังเขาแกะเขาแพะหรือง่ามแมลงป่อง
           รองเท้าที่ผิดระเบียบเหล่านี้ ถ้าแก้ไขให้ถูกต้องแล้ว เช่น สำรอกสีออก เอาหนังที่ขลิบออกเสีย เป็นต้น ก็ใช้ได้ รองเท้าที่ถูกลักษณะทรงอนุญาตให้ใช้ได้ในวัด ส่วนที่มิใช่ต้องห้ามและในป่า ห้ามสวมเข้าบ้าน และถ้าเป็นอาคันตุกะเข้าไปในวัดอื่นก็ให้ถอด ยกเว้นแต่ฝ่าเท้าบางเหยียบพื้นแข็งแล้วเจ็บ หรือในฤดูร้อน พื้นร้อนเหยียบแล้วเท้าพอง หรือในฤดูฝนไปในที่แฉะ ภิกษุผู้อาพาธด้วยโรคกษัยสวมกันเท้าเย็นได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  70 / 80
เลียบเคียง พูดอ้อมค้อมหาทางให้เขาถวายของ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  71 / 80
โลกนาถ ผู้เป็นที่พึ่งของโลก หมายถึง พระพุทธเจ้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  72 / 80
วาสนา อาการกายวาจา ที่เป็นลักษณะพิเศษของบุคคล ซึ่งเกิดจากกิเลสบางอย่าง และได้สั่งสมอบรมมาเป็นเวลานานจนเคยชินติดเป็นพื้นประจำตัว แม้จะละกิเลสนั้นได้แล้ว แต่ก็อาจจะละอาการกายวาจาที่เคยชินไม่ได้ เช่น คำพูดติดปาก อาการเดินที่เร็ว หรือเดินต้วมเตี้ยม เป็นต้น
       ท่านขยายความว่า วาสนา ที่เป็นกุศล ก็มี เป็นอกุศล ก็มี เป็นอัพยากฤต คือ เป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ก็มี
       ที่เป็นกุศลกับอัพยากฤตนั้น ไม่ต้องละ
       แต่ที่เป็นอกุศลซึ่งควรจะละนั้น แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่จะเป็นเหตุให้เข้าถึงอบายกับส่วนที่เป็นเหตุให้เกิดอาการแสดงออกทางกายวาจาแปลกๆ ต่างๆ ส่วนแรก พระอรหันต์ทุกองค์ละได้ แต่ส่วนหลัง พระพุทธเจ้าเท่านั้นละได้ พระอรหันต์อื่นละไม่ได้
       จึงมีคำกล่าวว่า พระพุทธเจ้าเท่านั้นละกิเลสทั้งหมดได้ พร้อมทั้งวาสนา;
       ในภาษาไทย คำว่า วาสนา มีความหมายเพี้ยนไป กลายเป็นอำนาจบุญเก่า หรือกุศลที่ทำให้ได้รับลาภยศ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  73 / 80
วิญญาณฐิติ ภูมิเป็นที่ตั้งของวิญญาณ มี ๗ คือ
       ๑. สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ พวกเทพบางหมู่ พวกวินิปาติกะ บางหมู่
       ๒. สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพผู้อยู่ในจำพวกพรหมผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน
       ๓. สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพอาภัสสระ
       ๔. สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพสุภกิณหะ
       ๕. สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ
       ๖. สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ
       ๗. สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจายตนะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  74 / 80
วิญญาณัญจายตนะ ฌานอันกำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้
       (ข้อ ๒ ในอรูป ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  75 / 80
วิภัชชวาที “ผู้กล่าวจำแนก”, “ผู้แยกแยะพูด”,
       เป็นคุณบท คือคำแสดงคุณลักษณะอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า
       หมายความว่า ทรงแสดงธรรมแยกแยะแจกแจงออกไป ให้เห็นว่า สิ่งทั้งหลายเกิดจากส่วนประกอบย่อยๆ มาประชุมกันเข้าอย่างไร เช่น
           แยกแยะกระจายนามรูปออกเป็นขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ เป็นต้น
           สิ่งทั้งหลายมีด้านที่เป็นคุณและด้านที่เป็นโทษอย่างไร
           เรื่องนั้นๆ มีข้อจริงข้อเท็จอะไรบ้าง
           การกระทำอย่างนั้นๆ มีแง่ถูกแง่ผิด แง่ที่ดีและแง่ไม่ดีประการใด เป็นต้น
       เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจสิ่งนั้นเรื่องนั้นอย่างชัดเจน มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามที่เป็นจริง เช่น มองเห็นความเป็นอนัตตา เป็นต้น ไม่มองอย่างตีคลุมหรือเห็นแต่ด้านเดียว แล้วยึดติดในทิฏฐิต่างๆ อันทำให้ไม่เข้าถึงความจริงแท้ตามสภาวะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  76 / 80
วิมุตติสุข สุขเกิดแต่ความหลุดพ้นจากกิเลส อาสวะ และปวงทุกข์;
       พระพุทธเจ้าภายหลังตรัสรู้แล้วใหม่ๆ ได้เสวยวิมุตติสุข ๗ สัปดาห์ตามลำดับคือ
           สัปดาห์ที่ ๑ ประทับภายใต้ร่มไม้มหาโพธิ์ ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท
           สัปดาห์ที่ ๒ เสด็จไปประทับยืนด้านอีสาน ทรงจ้องดูต้นมหาโพธิ์ไม่กระพริบพระเนตร ที่นั้นเรียกว่า อนิมิสเจดีย์
           สัปดาห์ที่ ๓ ทรงนิรมิตที่จงกรมขึ้นระหว่างกลางแห่งพระมหาโพธิ์และอนิมิสเจดีย์ เสด็จจงกรมตลอด ๗ วัน ที่นั้นเรียก รัตนจงกรมเจดีย์
           สัปดาห์ที่ ๔ ประทับนั่งขัดบัลลังก์พิจารณาพระอภิธรรมปิฎก ณ เรือนแก้วที่เทวดานิรมิตในทิศพายัพแห่งต้นมหาโพธิ์ ที่นั้นเรียก รัตนฆรเจดีย์
           สัปดาห์ที่ ๕ ประทับใต้ร่มไม้ไทร ชื่ออชปาลนิโครธ ทรงตอบปัญหาของพราหมณ์หุํหุกชาติ แสดงสมณะและพราหมณ์ที่แท้ พร้อมทั้งธรรมที่ทำให้เป็นสมณะและเป็นพราหมณ์ พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่าธิดามาร ๓ ตน ได้มาประโลมพระองค์ ณ ที่นี้
           สัปดาห์ที่ ๖ ประทับใต้ต้นไม้จิก ชื่อ มุจจลินท์ มีฝนตก มุจจลินทนาคราชมาวงขนดแผ่พังพานปกป้องพระองค์ ทรงเปล่งอุทานแสดงความสุขทีแท้ อันเกิดจากการไม่เบียดเบียนกัน เป็นต้น
           สัปดาห์ที่ ๗ ประทับใต้ต้นไม้เกต ชื่อ ราชายตนะ พาณิช ๒ คน คือ ตปุสสะ และภัลลิกะ เข้ามาถวายสัตตุผล สัตตุก้อน และได้แสดงตนเป็นปฐมอุบาสกถึงสรณะ ๒
       เมื่อสิ้นสัปดาห์ที่ ๗ ที่นี้แล้ว เสด็จกลับไปประทับใต้ต้นอชปาลนิโครธอีก ทรงดำริถึงความลึกซึ้งแห่งธรรมที่ตรัสรู้คือ ปฏิจจสมุปบาทและนิพพาน แล้วน้อมพระทัยที่จะไม่แสดงธรรม เป็นเหตุให้สหัมบดีพรหมมากราบทูลอาราธนา
       และ ณ ที่นี้เช่นกัน ได้ทรงพระดำริเกี่ยวกับสติปัฏฐาน ๔ ที่เป็นเอกายนมรรคและอินทรีย์ ๕ อันมีอมตธรรมเป็นที่หมาย;
       พึงสังเกตว่า เรื่องในสัปดาห์ที่ ๒-๓-๔ นั้น เป็นส่วนที่พระอรรถกถาจารย์กล่าวแทรกเข้ามา
       ความนอกนั้น มาในมหาวรรค แห่งพระวินัยปิฎก
       (เรื่องดำริถึงสติปัฏฐานและอินทรีย์ มาในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค พระสุตตันตปิฎก)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  77 / 80
วิริยารัมภะ ปรารภความเพียร คือลงมือทำความเพียรอย่างเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว, ระดมความเพียร
       (ข้อ ๔ ในเวสารัชชกรณธรรม ๕, ข้อ ๗ ในลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘, ข้อ ๕ ในสัทธรรม ๗, ข้อ ๗ ในาถกรณธรรม ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  78 / 80
วิสสาสะ
       1. ความคุ้นเคย, ความสนิทสนม การถือว่าเป็นกันเอง, ในทางพระวินัย การถือเอาของของผู้อื่นที่จัดว่าเป็นการถือวิสสาสะ มีองค์ ๓ คือ
           ๑. เคยเห็นกันมา เคยคบกันมา หรือได้พูดกันไว้
           ๒. เจ้าของยังมีชีวิตอยู่
           ๓. รู้ว่าของนั้นเราถือเอาแล้ว เขาจักพอใจ,
       บัดนี้นิยมเขียน วิสาสะ
       2. ความนอนใจ ดังพุทธดำรัสว่า “ภิกษุเธอยังไม่ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว อย่าได้ถึง วิสสาสะ (ความนอนใจ)”

แสดงผลการค้น ลำดับที่  79 / 80
วิสุทธิมรรค ปกรณ์พิเศษอธิบายศีล สมาธิ ปัญญา ตามแนววิสุทธิ ๗ พระพุทธโฆษาจารย์ พระอรรถกถาจารย์ชาวอินเดียเป็นผู้แต่งที่มหาวิหารในเกาะลังกา;
       พระพุทธโฆษาจารย์ผู้นี้เป็นบุตรพราหมณ์ เกิดที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้พุทธคยา อันเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในแคว้นมคธ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๙๕๖ เรียนจบไตรเพทมีความเชี่ยวชาญมาก
       ต่อมาพบกับพระเรวตเถระ ได้โต้ตอบปัญหากัน สู้พระเรวตเถระไม่ได้ จึงขอบวชเพื่อเรียนพุทธวจนะ มีความสามารถมาก ได้รจนาคัมภีร์ญาโณทัย เป็นต้น พระเรวตเถระจึงแนะนำให้ไปเกาะลังกา เพื่อแปลอรรถกถาสิงหฬ กลับเป็นภาษามคธ ท่านเดินทางไปที่มหาวิหาร เกาะลังกา เมื่อขออนุญาตแปลคัมภีร์ ถูกพระเถระแห่งมหาวิหารให้คาถามา ๒ บท เพื่อแต่งทดสอบความรู้
       พระพุทธโฆษาจารย์จึงแต่งคำอธิบายคาถาทั้งสองนั้นขึ้นเป็นคัมภีร์วิสุทธิมรรค จากนั้นก็ได้รับอนุญาตให้ทำงาน แปลอรรถกถาได้ตามประสงค์ เมื่อทำงานเสร็จสิ้นแล้ว ท่านก็เดินทางกลับสู่ชมพูทวีป
       พระพุทธโฆษาจารย์เป็นพระอรรถกถาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด มีผลงานมากที่สุด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  80 / 80
วิเหสกกรรม กรรมที่จะพึงกระทำแก่ภิกษุผู้ทำสงฆ์ให้ลำบาก คือ ภิกษุประพฤติอนาจาร สงฆ์เรียกตัวมาถาม นิ่งเฉยเสียไม่ตอบ เรียกว่าเป็นผู้ทำสงฆ์ให้ลำบาก,
       สงฆ์ยกวิเหสกกรรมขึ้น คือสวดประกาศการที่เธอทำตัวเช่นนั้น ด้วยญัตติทุติยกรรม เมื่อสงฆ์สวดประกาศแล้วเธอยังขืนทำอย่างนั้นอยู่อีก ย่อมต้องอาบัติปาจิตตีย์
       (สิกขาบทที่ ๒ ในภูตคามวรรคที่ ๒);
       คู่กับ อัญญวาทกกรรม


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=าถ&detail=on
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D2%B6&detail=on


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]