ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ิฏ ”             ผลการค้นหาพบมากกว่า  80  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 80
กนิฏฐภาดา, กนิษฐภาดา น้องชาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 80
กรรม ๑๒ กรรมจำแนกตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ผล พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ ๑๒ อย่างคือ
       หมวดที่ ๑ ว่าด้วยปากกาล คือ จำแนกตามเวลาที่ให้ผล ได้แก่
           ๑. ิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้
           ๒. อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า
           ๓. อปราปริยเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพต่อๆไป
           ๔. อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล
       หมวดที่ ๒ ว่าโดยกิจ คือจำแนกการให้ผลตามหน้าที่ ได้แก่
           ๕. ชนกกรรม กรรมแต่งให้เกิด หรือกรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด
           ๖. อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุน คือเข้าสนับสนุนหรือซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม
           ๗. อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น คือเข้ามาบีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมนั้นให้แปรเปลี่ยนทุเลาเบาบางหรือสั้นเข้า
           ๘. อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน คือกรรมแรงฝ่ายตรงข้ามที่เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรม ๒ อย่างนั้นให้ขาดหรือหยุดไปทีเดียว
       หมวดที่ ๓ ว่าโดยปากทานปริยาย คือจำแนกตามลำดับความแรงในการให้ผล ได้แก่
           ๙. ครุกกรรม กรรมหนัก ให้ผลก่อน
           ๑๐. พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม กรรมทำมากหรือกรรมชิน ให้ผลรองลงมา
           ๑๑. อาสันนกรรม กรรมจวนเจียน หรือกรรมใกล้ตาย ถ้าไม่มี ๒ ข้อก่อนก็จะให้ผลก่อนอื่น
           ๑๒. กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม กรรมสักว่าทำ คือเจตนาอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้น ให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 80
กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี ไม่คบคนชั่ว
       (ข้อ ๓ ในิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิธรรม ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 80
กุศลกรรมบถ ทางแห่งกรรมดี, ทางทำดี, ทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล,
       กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติมี ๑๐ อย่าง คือ
       ก. กายกรรม ๓ ได้แก่
           ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำลายชีวิต
           ๒. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้
           ๓. กาเมสุมิจฉาจาร เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม
       ข. วจีกรรม ๔ ได้แก่
           ๔. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ
           ๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด
           ๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ
           ๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ
       ค. มโนกรรม ๓ ได้แก่
           ๘. อนภิชฌา ไม่โลภคอยจ้องอยากได้ของเขา
           ๙. อพยาบาท ไม่คิดร้ายเบียดเบียนเขา
           ๑๐. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม
       เทียบ อกุศลกรรมบถ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 80
คติ
       1. การไป, ทางไป, ความเป็นไป, ทางดำเนิน, วิธี, แนวทาง, แบบอย่าง
       2. ที่ไปเกิดของสัตว์, ภพที่สัตว์ไปเกิด, แบบการดำเนินชีวิต มี ๕ คือ
           ๑. นิรยะ นรก
           ๒. ติรัจฉานโยนิ กำเนิดดิรัจฉาน
           ๓. เปตติวิสัย แดนเปรต
           ๔. มนุษย์ สัตว์มีใจสูงรู้คิดเหตุผล
           ๕. เทพ ชาวสวรรค์ตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราชิกา ถึงอกนิฏฐพรหม
       (ท่านว่าในที่นี้ จัดอสูรเข้าในเปตตวิสัยด้วย)
       ๓ คติแรกเป็น ทุคติ (ที่ไปเกิดอันชั่ว หรือแบบดำเนินชีวิตที่ไม่ดี)
       ๒ คติหลังเป็น สุคติ (ที่ไปเกิดอันดี หรือแบบดำเนินชีวิตที่ดี)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 80
ไตรปิฎก “ปิฎกสาม”; ปิฎก แปลตามศัพท์อย่างพื้นๆ ว่า กระจาดหรือตะกร้า อันเป็นภาชนะสำหรับใส่รวมของต่างๆ เข้าไว้ นำมาใช้ในความหมายว่า เป็นที่รวบรวมคำสอนในพระพุทธศาสนาที่จัดเป็นหมวดหมู่แล้ว
       โดยนัยนี้ ไตรปิฎกจึงแปลว่า คัมภีร์ที่บรรจุพระพุทธพจน์ (และเรื่องราวชั้นเดิมของพระพุทธศาสนา) ๓ ชุด หรือ ประมวลแห่งคัมภีร์ที่รวบรวมพระธรรมวินัย ๓ หมวด กล่าวคือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และอภิธรรมปิฎก;
       พระไตรปิฎก จัดแบ่งหมวดหมู่ โดยย่อดังนี้
       ๑. พระวินัยปิฎก ประมวลพุทธพจน์ หมวดพระวินัย คือพุทธบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมและการดำเนินกิจการต่างๆ ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ แบ่งเป็น ๕ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า อา ปา ม จุ ป) คือ
           ๑. อาทิกัมมิกะ หรือ ปาราชิก ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติหนักของฝ่ายภิกษุสงฆ์ ตั้งแต่ ปาราชิกถึงอนิยต
           ๒. ปาจิตตีย์ ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติเบา ตั้งแต่ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ถึงเสขิยะ รวมตลอดทั้งภิกขุนีวิภังค์ทั้งหมด
           ๓. มหาวรรค ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนต้น ๑๐ ขันธกะ หรือ ๑๐ ตอน
           ๔. จุลวรรค ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนปลาย ๑๒ ขันธกะ
           ๕. ปริวาร คัมภีร์ ประกอบหรือคู่มือ บรรจุคำถามคำตอบสำหรับซ้อมความรู้พระวินัย
       พระวินัยปิฎกนี้ แบ่งอีกแบบหนึ่ง เป็น ๕ คัมภีร์เหมือนกัน (จัด ๒ ข้อ ในแบบต้นนั้นใหม่) คือ
           ๑. มหาวิภังค์ หรือ ภิกขุวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ (ศีล ๒๒๗ ข้อ) ฝ่ายภิกษุสงฆ์
           ๒. ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ (ศีล ๓๑๑ ข้อ) ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์
           ๓. มหาวรรค ๔. จุลวรรค ๕. ปริวาร
       บางทีท่านจัดให้ย่นย่อเข้าอีก แบ่งพระวินัยปิฎกเป็น ๓ หมวด คือ
           ๑. วิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ทั้งฝ่ายภิกษุสงฆ์และฝ่ายภิกษุณีสงฆ์
               (คือรวมข้อ ๑ และ ๒ ข้างต้นทั้ง ๒ แบบเข้าด้วยกัน)
           ๒. ขันธกะ ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ ทั้ง ๒๒ ขันธกะหรือ ๒๒ บทตอน
               (คือรวมข้อ ๓ และ ๔ เข้าด้วยกัน)
           ๓. ปริวาร คัมภีร์ประกอบ (คือข้อ ๕ ข้างบน)
       ๒. พระสุตตันตปิฎก ประมวลพุทธพจน์หมวดพระสูตร คือ พระธรรมเทศนา คำบรรยายธรรมต่างๆ ที่ตรัสยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคลและโอกาส ตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่า และเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธศาสนา แบ่งเป็น ๕ นิกาย (เรียกย่อหรือหัวใจว่า ที ม สํ อํ ขุ) คือ
           ๑. ทีฆนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีขนาดยาว ๓๔ สูตร
           ๒. มัชฌิมนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีความยาวปานกลาง ๑๕๒ สูตร
           ๓. สังยุตตนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นกลุ่มๆ เรียกว่าสังยุตหนึ่งๆ ตามเรื่องที่เนื่องกัน หรือตามหัวข้อหรือบุคคลที่เกี่ยวของรวม ๕๖ สังยุต มี ๗,๗๖๒ สูตร
           ๔. อังคุตตรนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นหมวดๆ เรียกว่านิบาตหนึ่งๆ ตามลำดับจำนวนหัวข้อธรรม รวม ๑๑ นิบาต หรือ ๑๑ หมวดธรรม มี ๙,๕๕๗ สูตร
           ๕. ขุททกนิกาย ชุมนุมพระสูตรคาถาภาษิต คำอธิบาย และเรื่องราวเบ็ดเตล็ดที่จัดเข้าใน ๔ นิกายแรกไม่ได้ มี ๑๕ คัมภีร์
       ๓. อภิธรรมปิฎก ประมวลพุทธพจน์หมวดพระอภิธรรม คือ หลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ แบ่งเป็น ๗ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า สํ วิ ธา ปุ ก ย ป) คือ
           ๑. สังคณี หรือ ธัมมสังคณี รวมข้อธรรมเข้าเป็นหมวดหมู่แล้วอธิบายทีละประเภทๆ
           ๒. วิภังค์ ยกหมวดธรรมสำคัญๆ ขึ้นตั้งเป็นหัวเรื่องแล้วแยกแยะออกอธิบายชี้แจงวินิจฉัยโดยละเอียด
           ๓. ธาตุกถา สงเคราะห์ข้อธรรมต่างๆ เข้าในขันธ์ อายตนะ ธาตุ
           ๔. ปุคคลบัญญัติ บัญญัติความหมายของบุคคลประเภทต่างๆ ตามคุณธรรมที่มีอยู่ในบุคคลนั้นๆ
           ๕. กถาวัตถุ แถลงและวินิจฉัยทัศนะของนิกายต่างๆ สมัยสังคายนาครั้งที่ ๓
           ๖. ยมก ยกหัวข้อธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ
           ๗. ปัฏฐาน หรือมหาปกรณ์ อธิบายปัจจัย ๒๔ แสดงความสัมพันธ์เนื่องอาศัยกันแห่งธรรมทั้งหลายโดยพิสดาร
       พระไตรปิฎกที่พิมพ์ด้วยอักษรไทย ท่านจัดแบ่งเป็น ๔๕ เล่ม แสดงพอให้เห็นรูปเค้าดังนี้
       ก. พระวินัยปิฎก ๘ เล่ม
       เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ ว่าด้วยปาราชิก สังฆาทิเสส และอนิยตสิกขาบท (สิกขาบทในปาฏิโมกข์ฝ่ายภิกษุสงฆ์ ๑๙ ข้อแรก)
       เล่ม ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ ว่าด้วยสิกขาบทเกี่ยวกับอาบัติเบาของภิกษุ (เป็นอันครบสิกขาบท ๒๒๗ หรือ ศีล ๒๒๗)
       เล่ม ๓ ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบท ๓๑๑ ของภิกษุณี
       เล่ม ๔ มหาวรรค ภาค ๑ มี ๔ ขันธกะ ว่าด้วยการอุปสมบท (เริ่มเรื่องตั้งแต่ตรัสรู้และประดิษฐานพระศาสนา) อุโบสถ จำพรรษา และปวารณา
       เล่ม ๕ มหาวรรค ภาค ๒ มี ๖ ขันธกะ ว่าด้วยเรื่องเครื่องหนัง เภสัช กฐินจีวร นิคคหกรรม และการทะเลาะวิวาทและสามัคคี
       เล่ม ๖ จุลวรรค ภาค ๑ มี ๔ ขันธกะ ว่าด้วยเรื่องนิคคหกรรม วุฏฐานวิธี และการระงับอธิกรณ์
       เล่ม ๗ จุลวรรค ภาค ๒ มี ๘ ขันธกะ ว่าด้วยข้อบัญญัติปลีกย่อย เรื่องเสนาสนะ สังฆเภท วัตรต่างๆ การงดสวดปาฏิโมกข์ เรื่องภิกษุณี เรื่องสังคายนาครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒
       เล่ม ๘ ปริวาร คู่มือถามตอบซ้อมความรู้พระวินัย
       ข. พระสุตตันตปิฎก ๒๕ เล่ม
       ๑. ทีฆนิกาย ๓ เล่ม
       เล่ม ๙ สีลขันธวรรค มีพระสูตรขนาดยาว ๑๓ สูตร หลายสูตรกล่าวถึงจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล
       เล่ม ๑๐ มหาวรรค มีพระสูตรยาว ๑๐ สูตร ส่วนมากชื่อเริ่มด้วย “มหา” เช่น มหาปรินิพพานสูตร มหาสติปัฏฐานสูตร เป็นต้น
       เล่ม ๑๑ ปาฏิกวรรค มีพระสูตรยาว ๑๑ สูตร เริ่มด้วยปาฏิกสูตร หลายสูตรมีชื่อเสียงเช่น จักกวัตติสูตร อัคคัญญสูตร สิงคาลกสูตร และสังคีติสูตร
       ๒. มัชฌิมนิกาย ๓ เล่ม
       เล่ม ๑๒ มูลปัณณาสก์ บั้นต้น มีพระสูตรขนาดกลาง ๕๐ สูตร
       เล่ม ๑๓ มัชฌิมปัณณาสก์ บั้นกลาง มีพระสูตรขนาดกลาง ๕๐ สูตร
       เล่ม ๑๔ อุปริปัณณาสก์ บั้นปลาย มีพระสูตรขนาดกลาง ๕๒ สูตร
       ๓. สังยุตตนิกาย ๕ เล่ม
       เล่ม ๑๕ สคาถวรรค รวมคาถาภาษิตที่ตรัสและกล่าวตอบบุคคลต่างๆ เช่น เทวดา มาร ภิกษุณี พราหมณ์ พระเจ้าโกศล เป็นต้น จัดเป็นกลุ่มเรื่องตามบุคคลและสถานที่ มี ๑๑ สังยุต
       เล่ม ๑๖ นิทานวรรค ครึ่งเล่มว่าด้วยเหตุปัจจัย คือหลักปฏิจจสมุปบาท นอกนั้น มีเรื่องธาตุ การบรรลุธรรมสังสารวัฏ ลาภสักการะเป็นต้น จัดเป็น ๑๐ สังยุต
       เล่ม ๑๗ ขันธวาวรรค ว่าด้วยเรื่องขันธ์ ๕ ในแง่มุมต่างๆ มีเรื่องเบ็ดเตล็ด รวมทั้งเรื่อง สมาธิและทิฏฐิต่างๆ ปะปนอยู่บ้าง จัดเป็น ๑๓ สังยุต
       เล่ม ๑๘ สฬายตนวรรค เกือบครึ่งเล่มว่าด้วยอายตนะ ๖ ตามแนวไตรลักษณ์ เรื่องอื่นมีเบญจศีล ข้อปฏิบัติให้ถึงอสังขตะ อันตคาหิกทิฏฐิ เป็นต้น จัดเป็น ๑๐ สังยุต
       เล่ม ๑๙ มหาวารวรรค ว่าด้วยโพธิปักขิยธรรม ๓๗ แต่เรียงลำดับเป็นมรรค โพชฌงค์ สติปัฏฐาน อินทรีย์ สัมมัปปธาน พละ อิทธิบาท รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น นิวรณ์ สังโยชน์ อริยสัจ ฌาน ตลอดถึงองค์คุณของพระโสดาบันและอานิสงส์ของการบรรลุโสดาปัตติผล จัดเป็น ๑๒ สังยุต (พึงสังเกตว่าคัมภีร์นี้เริ่มต้นด้วยการย้ำความสำคัญของความมีกัลยาณมิตรเป็นจุดเริ่มต้นเข้าสู่มรรค)
       ๔. อังคุตตรนิกาย ๕ เล่ม
       เล่ม ๒๐ เอก-ทุก-ติกนิบาต ว่าด้วยธรรม หมวด ๑ หมวด ๒ หมวด ๓ รวมทั้งเรื่องเอตทัคคะ
       เล่ม ๒๑ จตุกกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๔
       เล่ม ๒๒ ปัญจก-ฉักกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๕-๖
       เล่ม ๒๓ สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๗-๘-๙
       เล่ม ๒๔ ทสก-เอกาทสกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๑๐-๑๑
       ในอังคุตตรนิกายมีข้อธรรมหลากหลายลักษณะ ตั้งแต่ทิฏฐธัมมิกัตถะถึงปรมัตถะ ทั้งสำหรับบรรพชิตและสำหรับคฤหัสถ์ กระจายกันอยู่โดยเรียงตามจำนวน
       ๕. ขุททกนิกาย ๙ เล่ม
       เล่ม ๒๕ รวมคัมภีร์ย่อย ๕ คือ
           ขุททกปาฐะ (บทสวดย่อยๆ โดยเฉพาะมงคลสูตร รตนสูตร กรณียเมตตสูตร)
           ธรรมบท (เฉพาะตัวคาถาทั้ง ๔๒๓)
           อุทาน (พุทธอุทาน ๘๐)
           อิติวุตตกะ (พระสูตรที่ไม่ขึ้นต้นด้วย “เอวมฺเม สุตํ” แต่เชื่อมความเข้าสู่คาถาด้วยคำว่า “อิติ วุจฺจติ” รวม ๑๑๒ สูตร) และ
           สุตตนิบาต (ชุมนุมพระสูตรชุดพิเศษ ซึ่งเป็นคาถาล้วนหรือมีความนำเป็นร้อยแก้ว รวม ๗๑ สูตร)
       เล่ม ๒๖ มีคัมภีร์ย่อยที่เป็นคาถาล้วน ๔ คือ
           วิมานวัตถุ (เรื่องผู้เกิดในสวรรค์ อยู่วิมาน เล่าการทำความดีของตนในอดีต ที่ทำให้ได้ไปเกิดเช่นนั้น ๘๕ เรื่อง)
           เปตวัตถุ (เรื่องเปรตเล่ากรรมชี่วในอดีตของตน ๕๑ เรื่อง)
           เถรคาถา (คาถาของพระอรหันตเถระ ๒๖๔ รูปที่กล่าวแสดงความรู้สึกสงบประณีตในการบรรลุธรรม เป็นต้น)
           เถรีคาถา (คาถาของพระอรหันตเถรี ๗๓ รูปที่กล่าวแสดงความรู้สึกเช่นนั้น)
       เล่ม ๒๗ ชาดก ภาค ๑ รวมคาถาแสดงคติธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสเมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ในอดีตชาติ และมีคาถาภาษิตของผู้อื่นปนอยู่บ้าง ภาคแรก ตั้งแต่เรื่องที่มีคาถาเดียว (เอกนิบาต) ถึงเรื่องมี ๔๐ คาถา (จัตตาฬีสนิบาต) รวม ๕๒๕ เรื่อง
       เล่ม ๒๘ ชาดก ภาค ๒ รวมคาถาอย่างในภาค ๑ นั้น เพิ่มอีก แต่เป็นเรื่องอย่างยาว ตั้งแต่เรื่องมี ๕๐ คาถา (ปัญญาสนิบาต) ถึงเรื่องมีคาถามากมาย (มหานิบาต) จบลงด้วยมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งมี ๑,๐๐๐ คาถา รวมอีก ๒๒ เรื่อง บรรจบทั้ง ๒ ภาคเป็น ๕๔๗ ชาดก
       เล่ม ๒๙ มหานิทเทส ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความพระสูตร ๑๖ สูตร ในอัฏฐกวรรคแห่งสุตตนิบาต
       เล่ม ๓๐ จูฬนิทเทส ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความพระสูตร ๑๖ สูตรในปารายนวรรคและขัคควิสาณสูตรในอุรควรรค แห่งสุตตนิบาต
       เล่ม ๓๑ ปฏิสัมภิทามรรค ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายข้อธรรมที่ลึกซึ้งต่างๆ เช่น เรื่อง ญาณ ทิฏฐิ อานาปาน อินทรีย์ วิโมกข์ เป็นต้น อย่างพิสดาร เป็นทางแห่งปัญญาแตกฉาน
       เล่ม ๓๒ อปทาน ภาค ๑ คาถาประพันธ์แสดงประวัติโดยเฉพาะในอดีตชาติ
           เริ่มด้วยพุทธอปทาน (ประวัติของพระพุทธเจ้า)
           ปัจเจกพุทธอปทาน (เรื่องราวของพระปัจเจกพุทธเจ้า)
           ต่อด้วยเถรอปทาน (อัตตประวัติแห่งพระอรหัตเถระ)
           เรียงลำดับเริ่มแต่พระสารีบุตร ตามด้วยพระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ พระอนุรุทธะ พระปุณณมันตานีบุตร พระอุบาลี พระอัญญาโกณฑัญญะ พระปิณโฑลภารทวาชะ พระขทิรวนิยเรวตะ พระอานนท์ ต่อเรื่องไปจนจบภาค ๑ รวม พระอรหันตเถระ ๔๑๐ รูป
       เล่ม ๓๓
           อปทาน ภาค ๒ คาถาประพันธ์แสดงอัตตประวัติพระอรหันตเถระ ต่ออีกจนถึงรูปที่ ๕๕๐
               ต่อนั้นเป็นเถรีอปทานแสดงเรื่องราวของพระอรหันตเถรี ๔๐ เรื่อง
               เริ่มด้วยพระเถรีที่ไม่คุ้นนาม ๑๖ รูป
               ต่อด้วยพระเถรีที่สำคัญเรียงลำดับคือพระมหาปชาบดีโคตมี พระเขมา พระอุบลวรรณา พระปฏาจารา พระกุณฑลเกสี พระกีสาโคตมี พระธรรมทินนา พระสกุลา พระนันทา พระโสณา พระภัททกาปิลานี พระยโสธรา และท่านอื่นๆ ต่อไปจนจบ ครั้นจบอปทานแล้ว ท้ายเล่ม ๓๓ นี้ มี
           คัมภีร์ พุทธวงศ์ เป็นคาถาประพันธ์แสดงเรื่องของพระพุทธเจ้าในอดีต ๒๔ พระองค์ที่พระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันเคยได้ทรงเฝ้าและได้รับพยากรณ์จนถึงประวัติของพระองค์เองรวมเป็นพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ จบแล้วมี
           คัมภีร์สั้นๆ ชื่อ จริยาปิฎก เป็นท้ายสุด แสดงพุทธจริยาในอดีตชาติ ๓๕ เรื่องที่มีแล้วในชาดก แต่เล่าด้วยคาถาประพันธ์ใหม่ ชี้ตัวอย่างการบำเพ็ญบารมีบางข้อ
       ค. พระอภิธรรมปิฎก ๑๒ เล่ม
       เล่ม ๓๔ ธัมมสังคณี
           ต้นเล่มแสดงมาติกา (แม่บท) อันได้แก่บทสรุปแห่งธรรมทั้งหลายที่จัดเป็นชุดๆ มีทั้ง
           ชุด ๓ เช่นจัดทุกสิ่งทุกอย่างประดามี
               เป็นกุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากฤตธรรม ชุดหนึ่ง
               เป็นอดีตธรรม อนาคตธรรม ปัจจุบันธรรม ชุดหนึ่ง ฯลฯ และ
           ชุด ๒ เช่นจัดทุกสิ่งทุกอย่างเป็น
               สังขตธรรม อสังขตธรรม ชุดหนึ่ง
               รูปีธรรม อรูปีธรรม ชุดหนึ่ง
               โลกิยธรรม โลกุตตรธรรม ชุดหนึ่งเป็นต้น
               รวมทั้งหมดมี ๑๖๔ ชุด หรือ ๑๖๔ มาติกา
           จากนั้นขยายความมาติกาที่ ๑ เป็นตัวอย่าง แสดงให้เห็นกุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากฤตธรรม ที่กระจายออกไปโดย จิต เจตสิก รูป และนิพพาน
           ท้ายเล่มมีอีก ๒ บท แสดงคำอธิบายย่อหรือคำจำกัดความข้อธรรมทั้งหลายในมาติกาที่กล่าวถึงข้างต้นจนครบ ๑๖๔ มาติกา ได้คำจำกัดความข้อธรรมใน ๒ บท เป็น ๒ แบบ
           (แต่บทท้ายจำกัดความไว้เพียง ๑๒๒ มาติกา)
       เล่ม ๓๕ วิภังค ยกหลักธรรมสำคัญๆ ขึ้นมาแจกแจงแยกแยะอธิบายกระจายออกให้เห็นทุกแง่จนชัดเจนจบไปเป็นเรื่องๆ รวมอธิบายทั้งหมด ๑๘ เรื่อง คือ
           ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อริยสัจ ๔ อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาท สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ ฌานอัปปมัญญา ศีล ๕ ปฏิสัมภิทา ๔ ญาณประเภทต่างๆ และ
           เบ็ดเตล็ด ว่าด้วยอกุศลธรรมต่างๆ อธิบายเรื่องใด ก็เรียกว่าวิภังค์ของเรื่องนั้นๆ
               เช่น อธิบายขันธ์ ๕ ก็เรียกขันธวิภังค์ เป็นต้น
           รวมมี ๑๘ วิภังค์
       เล่ม ๓๖
           ธาตุกถา นำข้อธรรมในมาติกาทั้งหลายและข้อธรรมอื่นๆ อีก ๑๒๕ อย่าง มาจัดเข้าในขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘ ว่าข้อใดได้หรือไม่ได้ในอย่างไหนๆ และ
           ปุคคลบัญญัติ บัญญัติความหมายของชื่อที่ใช้เรียกบุคคลต่างๆ ตามคุณธรรม เช่นว่า “โสดาบัน” ได้แก่ บุคคลผู้ละสังโยชน์ ๓ ได้แล้ว ดังนี้เป็นต้น
       เล่ม ๓๗ กถาวัตถุ คัมภีร์ที่พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ประธานการสังคายนาครั้งที่ ๓ เรียบเรียงขึ้น เพื่อแก้ความเห็นผิดของนิกายต่างๆ ในพระพุทธศาสนาครั้งนั้น ซึ่งได้แตกแยกกันออกไปแล้วถึง ๑๘ นิกาย เช่น ความเห็นว่า
               พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้
               เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการเกิดได้
               ทุกอย่างเกิดจากกรรม เป็นต้น
           ประพันธ์เป็นคำปุจฉาวิสัชนา มีทั้งหมด ๒๑๙ กถา
       เล่ม ๓๘ ยมก ภาค ๑ คัมภีร์อธิบายหลักธรรมสำคัญให้เห็นความหมายและขอบเขตอย่างชัดเจน และทดสอบความรู่อย่างลึกซึ้ง ด้วยวิธีตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ (ยมก แปลว่า คู่)
           เช่น ถามว่า
               ธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศล เป็นกุศลมูล หรือว่าธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศลมูล เป็นกุศล,
               รูป (ทั้งหมด) เป็นรูปขันธ์ หรือว่ารูปขันธ์ (ทั้งหมด) เป็นรูป,
               ทุกข์ (ทั้งหมด) เป็นทุกขสัจ หรือว่าทุกขสัจ (ทั้งหมด) เป็นทุกข์
           หลักธรรมที่นำมาอธิบายในเล่มนี้มี ๗ คือ มูล (เช่นกุศลมูล) ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ สังขาร อนุสัย ถามตอบอธิบายเรื่องใด ก็เรียกว่ายมกของเรื่องนั้นๆ เช่น มูลยมก ขันธยมก เป็นต้น
           เล่มนี้ จึงมี ๗ ยมก
       เล่ม ๓๙ ยมก ภาค ๒ ถามตอบอธิบายหลักธรรมเพิ่มเติมจากภาค ๑ อีก ๓ เรื่อง คือ
               จิตตยมก ธรรมยมก (กุศล-อกุศล-อัพยากตธรรม) อินทรียยมก
           บรรจบเป็น ๑๐ ยมก
       เล่ม ๔๐ ปัฏฐาน ภาค ๑
           คัมภีร์ปัฏฐาน อธิบายปัจจัย ๒๔ โดยพิสดาร แสดงความสัมพันธ์อิงอาศัยเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแง่ด้านต่างๆ
           ธรรมที่นำมาอธิบายก็คือข้อธรรมที่มีในมาติกาคือแม่บทหรือบทสรุปธรรม ซึ่งกล่าวไว้แล้วในคัมภีร์สังคณีนั่นเอง แต่อธิบายเฉพาะ ๑๒๒ มาติกาแรกที่เรียกว่า อภิธรรมมาติกา
           ปัฏฐาน เล่มแรกนี้ อธิบายความหมายของปัจจัย ๒๔ เป็นการปูพื้นความเข้าใจเบื้องต้นก่อน
           จากนั้นจึงเข้าสู่เนื้อหาของเล่ม คือ
           อนุโลมติกาปัฏฐาน อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) โดยปัจจัย ๒๔ นั้น เช่นว่า
               กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย
                    (เพราะศรัทธา จึงให้ทาน จึงสมาทานศีล จึงบำเพ็ญฌาน จึงเจริญวิปัสสนา ฯลฯ)
               กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย
                    (คิดถึงทานที่ตนได้ให้ ศีลที่ได้รักษาแล้ว ดีใจ ยึดเป็นอารมณ์แน่นหนาจนเกิดราคะ ทิฏฐิ,
                    มีศรัทธา มีศีล มีปัญญา แล้วเกิดมานะ ว่า ฉันดีกว่า เก่งกว่า หรือเกิดทิฏฐิว่า ต้องทำอย่างเรานี้เท่านั้นจึงถูกต้อง ฯลฯ)
               อกุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย
                    (เพราะความอยากบางอย่าง หรือเพราะมานะหรือทิฏฐิ จึงให้ทาน จึงรักษาศีล จึงทำฌานให้เกิด ฯลฯ)
               กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยอารัมมณปัจจัย
                    (คิดถึงฌานที่ตนเคยได้แต่มาเสื่อมไปเสียแล้ว เกิดความโทมนัส ฯลฯ)
               อย่างนี้เป็นต้น
           (เล่มนี้อธิบายแต่ในเชิงอนุโลมคือตามนัยปกติไม่อธิบายตามนัยปฏิเสธจึงเรียกว่าอนุโลมปัฏฐาน)
       เล่ม ๔๑ ปัฏฐาน ภาค ๒ อนุโลมติกปัฏฐาน ต่อ คือ
           อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทชุด ๓ ต่อจากเล่ม ๔๐ เช่น
               อดีตธรรมเป็นปัจจัยแก่ปัจจุบันธรรม โดยอารัมมณปัจจัย
               (พิจารณารูปเสียงเป็นต้นที่ดับเป็นอดีตไปแล้วว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกิดความโทมนัสขึ้น ฯลฯ) เป็นต้น
       เล่ม ๔๒ ปัฏฐาน ภาค ๓ อนุโลมทุกปัฏฐาน
           อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กัน แห่งธรรมทั้งหลาย ในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) เช่น
               โลกิยธรรมเป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม โดยอารัมมณปัจจัย
               (รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ) ดังนี้ เป็นต้น
       เล่ม ๔๓ ปัฏฐาน ภาค ๔ อนุโลมทุกปัฏฐาน ต่อ
       เล่ม ๔๔ ปํฏฐาน ภาค ๕ ยังเป็นอนุโลมปัฏฐาน
           แต่อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทต่างๆ ข้ามชุดกันไปมา ประกอบด้วย
           อนุโลมทุกติกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) กับธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา)
               เช่น อธิบาย “กุศลธรรมที่เป็นโลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมที่เป็นปัจจุบันธรรม” เป็นอย่างไร เป็นต้น
           อนุโลมทุกทุกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) กับธรรมในบทชุด ๒ (ทุกมาติกา) โยงระหว่างต่างชุดกัน
               เช่น ชุดโลกิยะ โลกุตตระ กับชุดสังขตะอสังขตะ เป็นต้น
       เล่ม ๔๕ ปัฏฐาน ภาค ๖ เป็นปัจจนียปัฏฐาน คืออธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายอย่างเล่มก่อนๆ นั่นเอง แต่อธิบายแง่ปฏิเสธ แยกเป็น
           ปัจจยนียปัฏฐาน คือ ปฏิเสธ+ปฏิเสธ เช่นว่า ธรรมที่ไม่ใช่กุศล อาศัยธรรมที่ ไม่ใช่กุศลเกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร
           อนุโลมปัจจนียปัฏฐาน คือ อนุโลม+ปฏิเสธ เช่นว่า อาศัยโลกิยธรรม ธรรมที่ไม่ใช่โลกุตตรธรรม เกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร
           อนุโลมปัจจนียปัฏฐาน คือ อนุโลม+ปฏิเสธ เช่นว่า อาศัยโลกิยธรรม ธรรมที่ไม่ใช่โลกุตตรธรรม เกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร
           ปัจจนียานุโลมปัฏฐาน คือ ปฏิเสธ+อนุโลม เช่นว่า อาศัยธรรมที่ไม่ใช่กุศล ธรรมที่เป็นอกุศล เกิดขึ้น โดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร
           และในทั้ง ๓ แบบ นี้ แต่ละแบบ จะอธิบายโดยใช้ธรรมในแม่บทชุด ๓ แล้วต่อด้วยชุด ๒ แล้วข้ามชุดระหว่างชุด ๒ กับชุด ๓ ชุด ๓ กับชุด ๒ ชุด ๓ กับชุด ๓ ชุด ๒ กับ ชุด ๒ จนครบทั้งหมดเหมือนกัน ดังนั้น แต่ละแบบจึงแยกซอยละเอียดออกไปเป็น ติก ทุก ทุกติก ติกทุก ติกติกา ทุกทุก ตามลำดับ
           (เขียนให้เต็มเป็น ปัจจนียติกปัฏฐาน ปัจจนียทุกปํฏฐาน ปัจจนียทุกติกปัฏฐาน ฯลฯ ดังนี้เรื่อยไป จนถึงท้ายสุดคือ ปัจจนียานุโลมทุกทุกปัฏฐาน)
       คัมภีร์ปัฏฐานนี้ ท่านอธิบายค่อนข้างละเอียดเฉพาะเล่มต้นๆ เท่านั้น เล่มหลังๆ ท่านแสดงไว้แต่หัวข้อหรือแนว และทิ้งไว้ให้ผู้เข้าใจแนวนั้นแล้ว เอาไปแจกแจงโดยพิสดารเอง โดยเฉพาะเล่มสุดท้ายคือภาค ๖ แสดงไว้ย่นย่อที่สุด แม้กระนั้นก็ยังเป็นหนังสือถึง ๖ เล่ม หรือ ๓,๓๒๐ หน้ากระดาษพิมพ์ ถ้าอธิบายโดยพิสดารทั้งหมดจะเป็นเล่มหนังสืออีกจำนวนมากมายหลายเท่าตัว ท่านจึงเรียกปัฏฐานอีกชื่อหนึ่งว่า “มหาปกรณ์” แปลว่า ตำราใหญ่ ใหญ่ทั้งโดยขนาดและโดยความสำคัญ
       พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า พระไตรปิฎกมีเนื้อความทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็น
           พระวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
           พระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และ
           พระอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 80
ิฏฐธัมมเวทนียกรรม กรรมอันให้ผลในปัจจุบัน, กรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งให้ผลทันตาเห็น
       (ข้อ ๑ ใน กรรม ๑๒)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 80
ิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ในปัจจุบัน, ประโยชน์สุขสามัญที่มองเห็นกันในชาตินี้ ที่คนทั่วไปปรารถนา มีทรัพย์ ยศ เกียรติ ไมตรี เป็นต้น อันจะสำเร็จด้วยธรรม ๔ ประการ คือ
       ๑. อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น
       ๒. อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา
       ๓. กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี
       ๔. สมชีวิตา การเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้;
           มักเรียกคล่องปากว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 80
ิฏฐานุคติ การดำเนินตามสิ่งที่ได้เห็น, แบบอย่าง, ตัวอย่าง, การทำตามอย่าง, ทางดำเนินตามที่ได้มองเห็น, เช่นพระผู้ใหญ่ปฏิบัติตนชอบ ก็เป็นทิฏฐานุคติของพระผู้น้อย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 80
ิฏฐาวิกัมม์ การทำความเห็นให้แจ้ง
       ได้แก่ แสดงความเห็นแย้ง คือ ภิกษุผู้เข้าประชุมในสงฆ์บางรูปไม่เห็นร่วมด้วยคำวินิจฉัยอันสงฆ์รับรองแล้วก็ให้แสดงความเห็นแย้งได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 80
ิฏฐิ ความเห็น, ทฤษฎี;
       ความเห็นผิดมี ๒ คือ
           ๑. สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง
           ๒. อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ;
       อีกหมวดหนึ่ง มี ๓ คือ
           ๑. อกิริยทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ
           ๒. อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ
           ๓. นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มี คือถืออะไรเป็นหลักไม่ได้ เช่น มารดาบิดาไม่มีเป็นต้น;
       ในภาษาไทยมักหมายถึง การดื้อดึงในความเห็น
       (พจนานุกรมเขียน ทิฐิ);
       (ข้อ ๔ ในสังโยชน์ ๑๐ ตามนัยพระอภิธรรม, ข้อ ๓ ในอนุสัย ๗)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 80
ิฏฐิบาป ความเห็นลามก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 80
ิฏฐิปปัตตะ ผู้ถึงทิฏฐิ คือ บรรลุสัมมาทิฏฐิ,
       พระอริยบุคคลตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป จนถึงผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค ที่เป็นผู้มีปัญญินทรีย์แรงกล้า ไม่ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ (ถ้าบรรลุอรหัตตผล กลายเป็นปัญญาวิมุต);
       ดู อริยบุคคล ๗

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 80
ิฏฐิมานะ
       ิฏฐิ แปลว่า “ความเห็น” ในที่นี้หมายถึง ความเห็นดื้อดึง ถึงผิดก็ไม่ยอมแก้ไข
       มานะ ความถือตัว
       รวม ๒ คำ เป็นทิฏฐิมานะ หมายถึง ถือรั้น อวดดี หรือดึงดื้อถือตัว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 80
ิฏฐิวิบัติ วิบัตแห่งทิฐิ, ความผิดพลาดแห่งความคิดเห็น, ความเห็นคลาดเคลื่อน ผิดธรรมผิดวินัย ทำให้ประพฤติตนนอกแบบแผน ทำความผิดอยู่เสมอ
       (ข้อ ๓ ในวิบัติ ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 80
ิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งความเห็น
       คือ เกิดความรู้ความเข้าใจ มองเห็นนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริง คลายความหลงผิดว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน ลงได้
       (ข้อ ๓ ในวิสุทธิ ๗)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 80
ิฏฐิสามัญญตา ความเป็นผู้มีความเสมอกันโดยทิฐิ, มีความเห็นร่วมกัน, มีความคิดเห็นลงกันได้
       (ข้อ ๖ ในสารณียธรรม ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 80
ิฏฐุชุกัมม์ การทำความเห็นให้ตรง, การแก้ไขปรับปรุงความคิดเห็นให้ถูกต้อง
       ข้อ ๑๐ ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 80
ิฏฐุปาทาน ความถือมั่นในทิฏฐิ, ความยึดติดฝังใจในลัทธิ ทฤษฎี และหลักความเชื่อต่างๆ
       (ข้อ ๒ ในอุปาทาน ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 80
ธรรมคุณ คุณของพระธรรม มี ๖ อย่าง คือ
       ๑. สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว
       ๒. สนฺทิฏฺฐิโก อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง
       ๓. อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาล
       ๔. เอหิปสฺสิโก ควรเรียกให้มาดู
       ๕. โอปนยิโก ควรน้อมเข้ามา
       ๖. ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 80
ธัมมานุสารี “ผู้แล่นไปตามธรรม”, “ผู้แล่นตามไปด้วยธรรม”,
       พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ที่มีปัญญินทรีย์แรงกล้า
       (ถ้าบรรลุผล กลายเป็นิฏฐิปปัตตะ);
       ดู อริยบุคคล ๗

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 80
นวกัมมาธิฏฐายี ผู้อำนวยการก่อสร้าง เช่น ที่พระโมคคัลลานะได้รับมอบหมายจากพระบรมศาสดาให้เป็นผู้อำนวยการสร้างบุพพารามที่นางวิสาขาบริจาคทุนสร้างที่กรุงสาวัตถี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 80
นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มี
       เช่น เห็นว่า ผลบุญผลบาปไม่มี บิดามารดาไม่มี ความดีความชั่วไม่มี
       เป็นมิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิด ที่ร้ายแรงอย่างหนึ่ง;
       ดู ิฏฐิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 80
บุญกิริยาวัตถุ สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ, เรื่องที่จัดเป็นการทำบุญ, ทางทำความดี,
       หมวด ๓ คือ
           ๑. ทานมัย ทำบุญด้วยการให้
           ๒. สีลมัย ทำบุญด้วยการรักษาศีลและประพฤติดี
           ๓. ภาวนามัย ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา ;
       หมวด ๑๐ คือ
           ๑. ทานมัย ทำบุญด้วยการให้
           ๒. สีลมัย ทำบุญด้วยการรักษาศีลและประพฤติดี
           ๓. ภาวนามัย ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา
           ๔. อปจายนมัย ด้วยการประพฤติอ่อนน้อม
           ๕. เวยยาวัจจมัย ด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้
           ๖. ปัตติทานมัย ด้วยการเฉลี่ยส่วนความดีให้ผู้อื่น
           ๗. ปัตตานุโมทนามัย ด้วยความยินดี ความดีของผู้อื่น
           ๘. ธัมมัสสวนมัย ด้วยการฟังธรรม
           ๙. ธัมมเทสนามัย ด้วยการสั่งสอนธรรม
           ๑๐. ิฏฐุชุกัมม์ ด้วยการทำความเห็นให้ตรง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 80
ปฏิกโกสนา การกล่าวคัดค้านจังๆ
       (ต่างจากิฏฐาวิกัมม์ ซึ่งเป็นการแสดงความเห็นแย้ง ชี้แจงความเห็นที่ไม่ร่วมด้วยเป็นส่วนตัว แต่ไม่ได้คัดค้าน)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 80
ปปัญจะ กิเลสเครื่องเนิ่นช้า,
       กิเลสที่ทำให้คิดปรุงแต่งยืดเยื้อพิสดาร หมายถึง ตัณหา มานะ ทิฏฐิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 80
ปรมัตถประโยชน์ ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ พระนิพพาน;
       เป็นคำเรียกกันมาติดปาก
           ความจริงคือ ปรมัตถะ แปลว่า “ประโยชน์อย่างยิ่ง”
           เหมือนทิฏฐธัมมิกัตถะ แปลว่า “ประโยชน์ปัจจุบัน”
           และสัมปรายิกัตถะ แปลว่า “ประโยชน์เบื้องหน้า”
           ก็มักเรียกกันว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ และสัมปรายิกัตถประโยชน์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 80
ปรัตถะ ประโยชน์ผู้อื่น, ประโยชน์เพื่อคนอื่น อันพึงบำเพ็ญด้วยการช่วยให้เขาเป็นอยู่ด้วยดี พึ่งตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นทิฏฐธัมมิกัตถะหรือสัมปรายิกัตถะ หรือ ปรมัตถะก็ตาม;
       เทียบ อัตตัตถะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 80
ปวารณา
       1. ยอมให้ขอ, เปิดโอกาสให้ขอ
       2. ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือน, เปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือน,
           ชื่อสังฆกรรมที่พระสงฆ์ทำในวันสุดท้ายแห่งการจำพรรษา คือ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เรียกว่าวันมหาปวารณา โดยภิกษุทุกรูปจะกล่าวปวารณา คือ เปิดโอกาสให้กันและกันว่ากล่าวตักเตือน ได้ดังนี้
           “สงฺฆมฺภนฺเต ปวาเรมิ, ทิฏฺเฐน วา สุเตน วา ปริสงฺกาย วา; วทนฺตุ มํ, อายสฺมนฺโต อนุกมฺปํ อุปาทาย; ปสฺสนฺโต ปฏิกฺกริสฺสามิ. ทุติยมฺปิ ภนฺเต สงฺฆํ ปวาเรมิ,.... ตติยมฺปิ ภนฺเต สงฺฆํ ปวาเรมิ,....”
           แปลว่า “ข้าพเจ้าขอปวารณกะสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ตาม ด้วยได้ยินก็ตาม ด้วยน่าระแวงสงสัยก็ตาม, ขอท่านผู้มีอายุทั้งหลายจงว่ากล่าวกะข้าพเจ้าด้วยอาศัยความหวังดี, เอ็นดู, เมื่อข้าพเจ้ามองเห็น จักแก้ไข แม้ครั้งที่สอง... แม้ครั้งที่สาม...” (ภิกษุผู้มีพรรษาสูงสุดในที่ประชุมว่า อาวุโส แทน ภนฺเต)
       ปวารณาเป็นสังฆกรรมประเภทญัตติกรรม คือ ทำโดยตั้งญัตติ (คำเผดียงสงฆ์) อย่างเดียว ไม่ต้องสวดอนุสาวนา (คำขอมติ); เป็นกรรมที่ต้องทำโดยสงฆ์ปัญจวรรค คือ มีภิกษุตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป
       ปวารณา ถ้าเรียกชื่อตามวันที่ทำแบ่งได้เป็น ๓ อย่าง คือ
           ๑. ปัณณรสิกา ปวารณา (ปวารณาที่ทำโดยปกติในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ คือวันออกพรรษา)
           ๒. จาตุททสิกา ปวารณา (ในกรณีที่มีเหตุสมควร ท่านอนุญาตให้เลื่อนปวารณาออกไปปักษ์หนึ่งหรือเดือนหนึ่งโดยประกาศให้สงฆ์ทราบ ถ้าเลื่อนออกไปปักษ์หนึ่งก็ตกในแรม ๑๔ ค่ำ เป็นจาตุททสิกา แต่ถ้าเลื่อนไปเดือนหนึ่งก็เป็นปัณณรสิกาอย่างข้อแรก)
           ๓. สามัคคีปวารณา (ปวารณาที่ทำในวันสามัคคี คือ ในวันที่สงฆ์ซึ่งแตกกันแล้ว กลับปรองดองเข้ากันได้ อันเป็นกรณีพิเศษ)
       ถ้าแบ่งโดยการก คือ ผู้ทำปวารณาแบ่งเป็น ๓ อย่าง คือ
           ๑. สังฆปวารณา (ปวารณาที่ทำโดยสงฆ์คือมีภิกษุ ๕ รูปขึ้นไป)
           ๒. คณปวารณา (ปวารณาที่ทำโดยคณะคือมีภิกษุ ๒-๔ รูป)
           ๓. ปุคคลปวารณา (ปวารณาที่ทำโดยบุคคลคือมีภิกษุรูปเดียว)
       และ โดยนัยนี้ อาการที่ทำปวารณาจึงมี ๓ อย่าง คือ
           ๑. ปวารณาต่อที่ชุมนุม (ได้แก่ สังฆปวารณา)
           ๒. ปวารณากันเอง (ได้แก่ คณปวารณา)
           ๓. อธิษฐานใจ (ได้แก่ ปุคคลปวารณา)
       ในการทำสังฆปวารณา ต้องตั้งญัตติคือ ประกาศแก่สงฆ์ก่อน แล้วภิกษุทั้งหลายจึงจะกล่าวคำปวารณาอย่างที่แสดงไว้ข้างต้น ตามธรรมเนียมท่านให้ปวารณารูปละ ๓ หน แต่ถ้ามีอันตรายคือเหตุฉุกเฉินขัดข้องจะทำอย่างนั้นไม่ได้ตลอด (เช่น แม้แต่ทายกมาทำบุญ) จะปวารณารูปละ ๒ หน หรือ ๓ หน หรือ พรรษาเท่ากันว่าพร้อมกันก็ได้ ทั้งนี้ จะปวารณาอย่างไรก็พึงประกาศให้สงฆ์รู้ด้วยญัตติก่อน
       โดยนัยนี้ การตั้งญัตติในสังฆปวารณา จึงมีต่างๆ กัน ดังมีอนุญาตไว้ดังนี้
           ๑. เตวาจิกา ญัตติ คือ จะปวารณา ๓ หน พึงตั้งญัตติว่า :
               “สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ, อชฺช ปวารณา ปณฺณรสี, ยทิ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺลํ, สงฺโฆ เตวาจิกํ ปวาเรยฺย”
               แปลว่า “ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ปวารณาวันนี้ที่ ๑๕ ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงปวารณาอย่างกล่าววาจา ๓ หน”
               (ถ้าเป็นวันแรม ๑๔ ค่ำ หรือวันสามัคคีก็พึงเปลี่ยน ปณฺณรสี เป็น จาตุทฺทสี หรือ สามคฺคี ตามลำดับ)
           ๒. เทฺววาจิกาญัตติ คือจะปวารณา ๒ หน ตั้งญัตติอย่างเดียวกัน แต่เปลี่ยน เตวาจิกํ เป็น เทฺววาจิกํ
           ๓. เอกวาจิกา ญัตติ คือจะปวารณาหนเดียว ตั้งญัตติอย่างเดียวกันนั้น แต่เปลี่ยน เตวาจิกํ เป็น เอกวาจิกํ
           ๔. สมานวัสสิกา ญัตติ คือ จัดให้ภิกษุที่มีพรรษาเท่ากัน ปวารณาพร้อมกัน ตั้งญัตติก็เหมือน แต่เปลี่ยน เตวาจิกํ เป็น สมานวสฺสิกํ (๓ หน ๒ หน หรือ หนเดียวได้ทั้งนั้น)
           ๕. สัพพสังคาหิกา ญัตติ คือ แบบตั้งครอบทั่วไป ไม่ระบุว่ากี่หน ตั้งญัตติคลุมๆ โดยลงท้ายว่า.....สงฺโฆ ปวาเรยฺย (ตัดคำว่า เตวาจิกํ ออกเสีย และไม่ใส่คำใดอื่นแทนลงไป อย่างนี้จะปวารณากี่หนก็ได้);
       ธรรมเนียมคงนิยมแต่แบบที่ ๑,๒ และ ๔ และท่านเรียกชื่อปวารณาตามนั้นด้วยว่า เตวาจิกา ปวารณา, เทฺววาจิกา ปวารณา, สมานวัสสิกา ปวารณา ตามลำดับ
       ในการทำคณปวารณา ถ้ามีภิกษุ ๓-๔ รูป พึงตั้งญัตติก่อนว่า:
           “สุณนฺตุ เม อายสฺมนฺโต, อชฺช ปวารณา ปณฺณรสี, อทายสฺมนฺตานํ ปตฺตกลฺลํ, มยํ อญฺญมญฺญํ ปวาเรยฺยาม”
           แปลว่า “ท่านเจ้าข้า ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ปวารณาวันนี้ที่ ๑๕ ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว เราทั้งหลายพึงปวารณากันเถิด”
           (ถ้า ๓ รูปว่า อายสฺมนฺตา แทน อายสฺมนฺโต)
       จากนั้นแต่ละรูปปวารณา ๓ หน ตามลำดับพรรษาดังนี้:
           มี ๓ รูปว่า “อหํ อาวุโส อายสฺมนฺเต ปวาเรมิ ฯเปฯ วทนฺตุ มํ อายสฺมนฺตา อนุกมฺปํ อุปาทาย, ปสฺสนฺโต ปฏิกฺกริสฺสามิ. ทุติยมฺปิ อาวุโส ฯเปฯ ตติยมฺปิ อาวุโส ฯเปฯ ปฏิกฺกริสฺสามิ” (ถ้ารูปอ่อนกว่าว่า เปลี่ยน อาวุโส เป็น ภนฺเต) ;
           มี ๔ รูป เปลี่ยน อายสฺมนฺเต และ อายสฺมนฺตา เป็น อายสฺมนฺโต อย่างเดียว;
           ถ้ามี ๒ รูป ไม่ต้องตั้งญัตติ คำปวารณาก็เหมือนอย่างนั้น เปลี่ยนแต่ อายสฺมนฺเต เป็น อายสฺมนฺตํ, อายสฺมนฺตา เป็น อายสฺมา และ วทนฺตุ เป็น วทตุ
       ถ้าภิกษุอยู่รูปเดียว เธอพึงตระเตรียมสถานที่ไว้ และคอยภิกษุอื่นจนสิ้นเวลา เมื่อเห็นว่าไม่มีใครอื่นแล้ว พึงทำ ปุคคลปวารณา โดยอธิษฐาน คือกำหนดใจว่า
           “อชฺช เม ปวารณา” แปลว่า “ปวารณาของเราวันนี้”
       เหตุที่จะอ้างเพื่อเลื่อนวันปวารณาได้ คือ จะมีภิกษุจากที่อื่นมาสมทบปวารณาด้วย โดยหมายจะคัดค้านผู้นั้นผู้นี้ให้เกิดอธิกรณ์ขึ้น หรืออยู่ด้วยกันผาสุก ถ้าปวารณาแล้วต่างก็จะจาริกจากกันไปเสีย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 80
ปาฏิโมกข์ย่อ มีพุทธานุญาตให้สวดปาฏิโมกข์ย่อได้ ในเมื่อมีเหตุจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ในเหตุ ๒ อย่าง คือ
       ๑. ไม่มีภิกษุจำปาฏิโมกข์ได้จนจบ (พึงสวดเท่าอุเทศที่จำได้)
       ๒. เกิดเหตุฉุกเฉินขัดข้องที่เรียกว่าอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่งในอันตรายทั้ง ๑๐
           (กำลังสวดอุเทศใดค้างอยู่ เลิกอุเทศนั้นกลางคันได้ และพึงย่อตั้งแต่อุเทศนั้นไปด้วยสุตบท คือ คำว่า สุต ที่ประกอบรูปเป็น สุตา ตามไวยากรณ์ ทั้งนี้ยกเว้นนิทานุทเทสซึ่งต้องสวดให้จบ)
       สมมติว่าสวดปาราชิกุทเทสจบแล้ว ถ้าสวดย่อตามแบบที่ท่านวางไว้ จะได้ดังนี้:
       สุตา โข อายสฺมนฺเตหิ เตรส สงฺฆาทิเสสา ธมฺมา, สุตา โข อายสฺมนฺเตหิ เทฺว อนิยตา ธมฺมา, ฯเปฯ
       ลงท้ายว่า เอตฺตกํ ตสฺส ภควโต ฯเปฯ สิกฺขิตพฺพํ
       แบบที่วางไว้เดิมนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ไม่ทรงเห็นด้วยในบางประการ และทรงมีพระมติว่า ควรสวดย่อดังนี้
       (สวดปาราชิกุทเทสจบแล้ว สวดคำท้ายทีเดียว):
       “อุทฺทิฏฺฐํ โข อายสฺมนฺโต นิทานํ, อุทฺทิฏฺฐา จตฺตาโร ปาราชิกา ธมฺมา, สุตา เตรส สงฺฆาทิเสสา ธมฺมา, ฯเปฯ สุตา สตฺตาธิกรณสมถา ธมฺมา, เอตฺตกํ ฯเปฯ สิกฺขิตพฺพํ”;
       ดู อันตราย ๑๐

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 80
ปิยรูป สาตรูป สภาวะที่น่ารักน่าชื่นใจ มุ่งเอาส่วนที่เป็นอิฏฐารมณ์ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งตัณหามี ๑๐ หมวดๆ ละ ๖ อย่าง คือ
       อายตนะภายใน ๖
       อายตนภายนอก ๖
       วิญญาณ ๖
       สัมผัส ๖
       เวทนา ๖
       สัญญา ๖
       สัญเจตนา ๖ มีรูปสัญเจตนา เป็นต้น
       ตัณหา ๖ มีรูปตัณหา เป็นต้น
       วิตก ๖ มีรูปวิตกเป็นต้น
       วิจาร ๖ มีรูปวิจาร เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 80
พรหมโลก ที่อยู่ของพรหม
       ตามปกติหมายถึงรูปพรหม ซึ่งมี ๑๖ ชั้น (เรียกว่า รูปโลก) ตามลำดับดังนี้
           ๑. พรหมปาริสัชชา
           ๒. พรหมปุโรหิตา
           ๓. มหาพรหมา
           ๔. ปริตตาภา
           ๕. อัปปมาณาภา
           ๖. อาภัสสรา
           ๗. ปริตตสุภา
           ๘. อัปปมาณสุภา
           ๙. สุภกิณหา
           ๑๐. อสัญญีสัตตา
           ๑๑. เวหัปผลา
           ๑๒. อวิหา
           ๑๓. อตัปปา
           ๑๔. สุทัสสา
           ๑๕. สุทัสสี
           ๑๖. อกนิฏฐา;
       นอกจากนี้ยังมีอรูปพรหม ซึ่งแบ่งเป็น ๔ ชั้น (เรียกว่า อรูปโลก) คือ
           ๑. อากาสานัญจายตนะ
           ๒. วิญญาณัญจายตนะ
           ๓. อากิญจัญญายตนะ
           ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 80
พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก, ความเป็นผู้ได้เรียนรู้มาก หรือคงแก่เรียน มีองค์ ๕ คือ
       ๑. พหุสฺสุตา ได้ยินได้ฟังมาก
       ๒. ธตา ทรงจำไว้ได้
       ๓. วจสา ปริจิตา คล่องปาก
       ๔. มนสานุเปกฺขิตา เจนใจ
       ๕. ทิฏฺฐิยา สุปฏิวิทฺธา ขบได้ด้วยทฤษฎี;
       ดู พหูสูต
       (ข้อ ๒ ในนาถกรณธรรม ๑๐, ข้อ ๓ ในเวสารัชชกรณธรรม ๕, ข้อ ๔ ในสัทธรรม ๗, ข้อ ๕ ในอริยทรัพย์ ๗)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 80
ภวตัณหา ความอยากเป็นนั่นเป็นนี่ หรืออยากเกิดอยากมีอยู่คงอยู่ตลอดไป,
       ความทะยานอยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ
       (ข้อ ๒ ในตัณหา ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 80
ภวทิฏฐิ ความเห็นเนื่องด้วยภพ,
       ความเห็นว่า อัตตาและโลกจักมีอยู่คงอยู่เที่ยงแท้ตลอดไป เป็นพวกสัสสตทิฏฐิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 80
มโนทุจริต ความประพฤติชั่วด้วยใจ, ความทุจริตทางใจมี ๓ อย่าง
       ๑. อภิชฌา ความเพ่งเล็งอยากได้จ้องจะเอาของเขา
       ๒. พยาบาท ความขัดเคืองคิดร้าย
       ๓. มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดจากคลองธรรม
       (ข้อ ๓ ในทุจริต ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 80
มโนสุจริต ความประพฤติชอบด้วยใจ, ความสุจริตทางใจ มี ๓ อย่าง คือ
       ๑. อนภิชฌา ไม่โลภอยากได้ของเขา
       ๒. อพยาบาท ไม่พยาบาทปองร้ายเขา
       ๓. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม
       (ข้อ ๓ ในสุจริต ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 80
มรรค ทาง, หนทาง
       1. มรรค ว่าโดยองค์ประกอบ คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่าทางมีองค์ ๘ ประการอันประเสริฐ เรียกสามัญว่า มรรคมีองค์ ๘ คือ
           ๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ
           ๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ
           ๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ
           ๔. สัมมากัมมันตะ ทำการชอบ
           ๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ
           ๖. สัมมาวายามะ เพียรชอบ
           ๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ
           ๘. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ;
           ดู โพธิปักขิยธรรม
       2. มรรค ว่าโดยระดับการให้สำเร็จกิจ คือ ทางอันให้ถึงความเป็นอริยบุคคลแต่ละขั้น, ญาณที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด เป็นชื่อแห่งโลกุตตรธรรม คู่กับผล มี ๔ ชั้นคือ
           โสดาปัตติมรรค ๑
           สกทาคามิมรรค ๑
           อนาคามิมรรค ๑
           อรหัตตมรรค ๑

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 80
มละ มลทิน, เครื่องทำให้มัวหมอง เปรอะเปื้อน, กิเลสดุจสนิมใจ มี ๙ อย่าง คือ
       ๑. โกธะ ความโกรธ
       ๒. มักขะ ความลบหลู่คุณท่าน
       ๓. อิสสา ความริษยา
       ๔. มัจฉริยะ ความตระหนี่
       ๕. มายา มารยา
       ๖. สาเถยยะ ความโอ้อวดหลอกเขา
       ๗. มุสาวาท การพูดเท็จ
       ๘. ปาปิจฉา ความปรารถนาลามก
       ๙. มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 80
มหาบุรุษลักษณะ ลักษณะของมหาบุรุษมี ๓๒ ประการ มาในมหาปทานสูตร แห่งทีฆนิกาย มหาวรรค และลักขณสูตร แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระสุตตันตปิฎก โดยย่อ คือ
       ๑. สุปติฏฺฐิตปาโท มีฝ่าพระบาทราบเสมอกัน
       ๒. เหฏฺฐาปาทตเลสุ จกฺกานิ ชาตานิ ลายพื้นพระบาทเป็นจักร
       ๓. อายตปณฺหิ มีส้นพระบาทยาว (ถ้าแบ่ง ๔, พระชงฆ์ตั้งอยู่ในส่วนที่ ๓)
       ๔. ทีฆงฺคุลิ มีนิ้วยาวเรียว (หมายถึงนิ้วพระหัตถ์และพระบาทด้วย)
       ๕. มุทุตลนหตฺถปาโท ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม
       ๖. ชาลหตฺถปาโท ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจตาข่าย
       ๗. อุสฺสงฺขปาโท มีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ อัฐิข้อพระบาทตั้งลอยอยู่หลังพระบาท กลับกลอกได้คล่อง เมื่อทรงดำเนินผิดกว่าสามัญชน
       ๘. เอณิชงฺโฆ พระชงฆ์เรียวดุจแข้งเนื้อทราย
       ๙. ฐิตโก ว อโนนมนฺโต อุโภหิ ปาณิตเลหิ ชณฺณุกานิ ปรามสติ เมื่อยืนตรง พระหัตถ์ทั้ง ๒ ลูบจับถึงพระชานุ
       ๑๐. โกโสหิตวตฺถคุยฺโห มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก
       ๑๑. สุวณฺณวณฺโณ มีฉวีวรรณดุจสีทอง
       ๑๒. สุขุมจฺฉวิ พระฉวีละเอียด ธุลีละอองไม่ติดพระกาย
       ๑๓. เอเกกโลโม มีเส้นพระโลมาเฉพาะขุมละเส้นๆ
       ๑๔. อุทฺธคฺคโลโม เส้นพระโลมาดำสนิท เวียนเป็นทักษิณาวัฏ มีปลายงอนขึ้นข้างบน
       ๑๕. พฺรหฺมุชุคตฺโต พระกายตั้งตรงดุจท้าวมหาพรหม
       ๑๖. สตฺตุสฺสโท มีพระมังสะอูมเต็มในที่ ๗ แห่ง (คือ หลังพระหัตถ์ทั้ง ๒, และหลังพระบาททั้ง ๒, พระอังสาทั้ง ๒, กับลำพระศอ)
       ๑๗. สีหปุพฺพฑฺฒกาโย มีส่วนพระสรีรกายบริบูรณ์ (ล่ำพี) ดุจกึ่งท่อนหน้าแห่งพญาราชสีห์
       ๑๘. ปีตนฺตรํโส พระปฤษฎางค์ราบเต็มเสมอกัน
       ๑๙. นิโคฺรธปริมณฺฑโล ส่วนพระกายเป็นปริมณฑล ดุจปริมณฑลแห่งต้นไทร (พระกายสูงเท่ากับวาของพระองค์)
       ๒๐. สมวฏฺฏกฺขนฺโธ มีลำพระศอกลมงามเสมอตลอด
       ๒๑. รสคฺคสคฺคี มีเส้นประสาทสำหรับรับรสพระกระยาหารอันดี
       ๒๒. สีหหนุ มีพระหนุดุจคางแห่งราชสีห์ (โค้งเหมือนวงพระจันทร์)
       ๒๓. จตฺตาฬีสทนฺโต มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ (ข้างละ ๒๐ ซี่)
       ๒๔. สมทนฺโต พระทนต์เรียบเสมอกัน
       ๒๕. อวิวรทนฺโต พระทนต์เรียบสนิทมิได้ห่าง
       ๒๖. สุสุกฺกทาโฐ เขี้ยวพระทนต์ทั้ง ๔ ขาวงามบริสุทธิ์
       ๒๗. ปหูตชิวฺโห พระชิวหาอ่อนและยาว (อาจแผ่ปกพระนลาฏได้)
       ๒๘. พฺรหฺมสโร กรวิกภาณี พระสุรเสียงดุจท้าวมหาพรหม ตรัสมีสำเนียงดุจนกการเวก
       ๒๙. อภินีลเนตฺโต พระเนตรดำสนิท
       ๓๐. โคปขุโม ดวงพระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด
       ๓๑. อุณณา ภมุกนฺตเร ชาตา มีอุณาโลมระหว่างพระโขนง เวียนขวา เป็นทักษิณาวัฏ
       ๓๒. อุณฺหิสสีโส มีพระเศียรงามบริบูรณ์ดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์
       ดู อนุพยัญชนะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 80
มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง,
       ข้อปฏิบัติเป็นกลางๆ ไม่หย่อนจนเกินไป และไม่ตึงจนเกินไป ไม่ข้องแวะที่สุด ๒ อย่างคือ กามสุขัลลิกานุโยค และ อัตตกิลมถานุโยค,
       ทางแห่งปัญญา (เริ่มด้วยปัญญา, ดำเนินด้วยปัญญา นำไปสู่ปัญญา) อันพอดีที่จะให้ถึงจุดหมาย คือ ความดับกิเลสและความทุกข์ หรือความหลุดพ้นเป็นอิสระสิ้นเชิง ได้แก่มรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น สัมมาสมาธิเป็นที่สุด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  42 / 80
มาร
       1. สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากความดีหรือจากผลที่หมายอันประเสริฐ, ตัวการที่กำจัดหรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี มี ๕ คือ
           ๑. กิเลสมาร มารคือกิเลส
           ๒. ขันธมาร มารคือเบญจขันธ์
           ๓. อภิสังขารมาร มารคืออภิสังขารที่ปรุงแต่งกรรม
           ๔. เทวปุตตมาร มารคือเทพบุตร
           ๕. มัจจุมาร มารคือความตาย
       2. พระยามารที่มีเรื่องราวปรากฏบ่อยๆ ในคัมภีร์ คอยมาแทรกแซงเหตุการณ์ต่างๆ ในพุทธประวัติ เช่น ยกพลเสนามาผจญพระมหาบุรุษในวันที่จะตรัสรู้ พระองค์ชนะพระยามารได้ด้วยทรงนึกถึงบารมี ๑๐ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา
           มารในกรณีเช่นนี้ บางทีท่านอธิบายออกชื่อว่าเป็นวสวัตดีมาร ซึ่งครองแดนหนึ่งในสวรรค์ชั้นสูงสุด แห่งระดับกามาวจรคือปรนิมิตวสวัตดี เป็นผู้คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไว้ มิให้ล่วงพ้นจากแดนกามซึ่งอยู่ในอำนาจครอบงำของตน
           อย่างไรก็ดี ผู้ศึกษาพึงพิจารณาเทียบจากมาร ๕ ในความหมายที่ 1. ด้วย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  43 / 80
มิจฉัตตะ ความเป็นผิด, ภาวะที่ผิดมี ๑๐ อย่าง คือ
       ๑. มิจฉาทิฏฐิ
       ๒. มิจฉาสังกัปปะ
       ๓. มิจฉาวาจา
       ๔. มิจฉากัมมันตะ
       ๕. มิจฉาอาชีวะ
       ๖. มิจฉาวายามะ
       ๗. มิจฉาสติ
       ๘. มิจฉาสมาธิ
       ๙. มิจฉาญาณ
       ๑๐. มิจฉาวิมุตติ;
       ตรงข้ามกับ สัมมัตตะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  44 / 80
มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิด, ความเห็นที่ผิดจากคลองธรรม เช่นเห็นว่าทำดีได้ชั่ว ทำชั่วได้ดี มารดาบิดาไม่มี เป็นต้น และความเห็นที่ไม่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
       (พจนานุกรมเขียน มิจฉาทิฐิ);
       (ข้อ ๑ ในมิจฉัตตะ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  45 / 80
โยคะ
       1. กิเลสเครื่องประกอบ คือประกอบสัตว์ไว้ในภพ หรือผูกสัตว์ดุจเทียมไว้กับแอก
           มี ๔ คือ ๑. กาม ๒. ภพ ๓. ทิฏฐิ ๔. อวิชชา
       2. ความเพียร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  46 / 80
รูปนันทา พระราชบุตรีของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางปชาบดีโคตมี เป็นพระกนิฏฐภคินีต่างพระมารดาของพระสิทธัตถะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  47 / 80
วสี ความชำนาญ มี ๕ อย่าง คือ
       ๑. อาวัชชนวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการนึก ตรวจองค์ฌานที่ตนได้ออกมาแล้ว
       ๒. สมาปัชชนวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการที่เข้าฌานได้รวดเร็วทันที
       ๓. อธิฏฐานวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการที่จะรักษาไว้มิให้ฌานจิตต์นั้นตกภวังค์
       ๔. วุฏฐานวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการจะออกจากฌานเมื่อใดก็ได้ตามต้องการ
       ๕. ปัจจเวกขณวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการพิจารณาทบทวนองค์ฌาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  48 / 80
วิบัติ ความเสีย, ความผิดพลาด, ความบกพร่อง, ความเสียหายใช้การไม่ได้
       1. วิบัติความเสียของภิกษุ มี ๔ อย่าง คือ
           ๑. ศีลวิบัติ ความเสียแห่งศีล
           ๒. อาจารวิบัติ ความเสียมรรยาท
           ๓. ิฏฐิวิบัติ ความเห็นผิดธรรมผิดวินัย
           ๔. อาชีววิบัติ ความเสียหายแห่งการเลี้ยงชีพ
       2. วิบัติคือความเสียหายใช้ไม่ได้ของสังฆกรรม มี ๔ คือ
           ๑. วัตถุวิบัติ เสียโดยวัตถุ เช่น อุปสมบทคนอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี
           ๒. สีมาวิบัติ เสียโดยสีมา เช่น สีมาไม่มีนิมิต
           ๓. ปริสวิบัติ เสียโดยบริษัทคือที่ประชุม เช่น ภิกษุเข้าประชุมไม่ครบองค์สงฆ์
           ๔. กรรมวาจาวิบัติ เสียโดยกรรมวาจา เช่น สวดผิดพลาดตกหล่น สวดแต่อนุสาวนาไม่ได้ตั้งญัตติ เป็นต้น
           (ข้อกรรมวาจาวิบัติบางกรณีแยกเป็นญัตติวิบัติและอนุสาวนาวิบัติ กลายเป็นวิบัติ ๕ ก็มี);
       เทียบ สมบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  49 / 80
วิปลาส, พิปลาส กิริยาที่ถือโดยอาการวิปริตผิดจากความเป็นจริง, ความเห็นหรือความเข้าใจคลาดเคลื่อนจากสภาพที่เป็นจริง มีดังนี้;
       ก. วิปลาสด้วยอำนาจจิตต์และเจตสิก ๓ ประการ คือ
           ๑. วิปลาสด้วยอำนาจสำคัญผิด เรียกว่า “สัญญาวิปลาส”
           ๒. วิปลาสด้วยอำนาจคิดผิด เรียกว่า “จิตตวิปลาส”
           ๓. วิปลาสด้วยอำนาจเห็นผิด เรียกว่า “ิฏฐิวิปลาส”
       ข. วิปลาสด้วยสามารถวัตถุเป็นที่ตั้ง ๔ ประการ คือ
           ๑. วิปลาสในของที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง
           ๒. วิปลาสในของที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข
           ๓. วิปลาสในของที่ไม่ใช่ตน ว่าเป็นตน
           ๔. วิปลาสในของที่ไม่งาม ว่างาม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  50 / 80
วิภวตัณหา ความอยากในวิภพ คือความทะยานอยากในความไม่มีไม่เป็น อยากไม่เป็นนั่นไม่เป็นนี่ อยากตายเสีย อยากขาดสูญ อยากพรากพ้นไปจากภาวะที่ตนเกลียดชังไม่ปรารถนา,
       ความทะยานที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิ หรืออุจเฉททิฏฐิ
       (ข้อ ๓ ในตัณหา ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  51 / 80
วิภัชชวาที “ผู้กล่าวจำแนก”, “ผู้แยกแยะพูด”,
       เป็นคุณบท คือคำแสดงคุณลักษณะอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า
       หมายความว่า ทรงแสดงธรรมแยกแยะแจกแจงออกไป ให้เห็นว่า สิ่งทั้งหลายเกิดจากส่วนประกอบย่อยๆ มาประชุมกันเข้าอย่างไร เช่น
           แยกแยะกระจายนามรูปออกเป็นขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ เป็นต้น
           สิ่งทั้งหลายมีด้านที่เป็นคุณและด้านที่เป็นโทษอย่างไร
           เรื่องนั้นๆ มีข้อจริงข้อเท็จอะไรบ้าง
           การกระทำอย่างนั้นๆ มีแง่ถูกแง่ผิด แง่ที่ดีและแง่ไม่ดีประการใด เป็นต้น
       เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจสิ่งนั้นเรื่องนั้นอย่างชัดเจน มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามที่เป็นจริง เช่น มองเห็นความเป็นอนัตตา เป็นต้น ไม่มองอย่างตีคลุมหรือเห็นแต่ด้านเดียว แล้วยึดติดในทิฏฐิต่างๆ อันทำให้ไม่เข้าถึงความจริงแท้ตามสภาวะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  52 / 80
วิวาทมูล รากเหง้าแห่งการเถียงกัน,
       เหตุที่ก่อให้เกิดวิวาท กลายเป็นวิวาทาธิกรณ์ขึ้น มี ๒ อย่าง คือ
           ๑. ก่อวิวาทขึ้นด้วยความปรารถนาดี เห็นแก่ธรรมวินัย มีจิตประกอบด้วยอโลภะ อโทสะ อโมหะ
           ๒. ก่อวิวาทด้วยความปรารถนาเลว ทำด้วยทิฏฐิมานะ มีจิตประกอบด้วยโลภะ โทสะ โมหะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  53 / 80
วิสุทธิ ความบริสุทธิ์, ความหมดจด,
       การชำระสัตว์ให้บริสุทธิ์ด้วยการบำเพ็ญไตรสิกขาให้บริบูรณ์เป็นขั้นๆ ไปโดยลำดับ จนบรรลุจุดหมายคือพระนิพพาน มี ๗ ขั้น คือ
           ๑. สีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล
           ๒. จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิตต์
           ๓. ิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ
           ๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย
           ๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องรู้เห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง
           ๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนิน
           ๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ กล่าวคือ มรรคญาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  54 / 80
สกทาคามิผล ผลที่ได้รับจากการละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กับทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง ซึ่งสืบเนื่องมาแต่สกทาคามิมรรค,
       สกิทาคามิผล ก็เขียน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  55 / 80
สกทาคามิมรรค ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผล คือความเป็นพระสกทาคามี,
       ญาณ คือความรู้เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กับทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง,
       สกิทาคามิมรรค ก็เขียน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  56 / 80
สมชีวิตา มีความเป็นอยู่พอเหมาะพอดี
       คือ เลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้ ไม่ฝืดเคืองนัก ไม่ฟูมฟายนัก
       (ข้อ ๔ ในิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  57 / 80
สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน,
       ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน เช่น เห็นรูปเป็นตน เห็นเวทนาเป็นตน เป็นต้น
       (ข้อ ๑ ในสังโยชน์ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  58 / 80
สังคายนา “การสวดพร้อมกัน”, การร้อยกรองพระธรรมวินัย, การประชุมตรวจชำระสอบทานและจัดหมวดหมู่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าวางลงเป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียว;
       สังคายนา ครั้งที่ ๑ ถึง ๕ มีดังนี้:
       ครั้งที่ ๑ ปรารภเรื่องสุภัททภิกษุผู้บวชเมื่อแก่กล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัย และปรารภที่จะทำให้ธรรมรุ่งเรืองอยู่สืบไป พระอรหันต์ ๕๐๐ รูป มีพระมหากัสสปะเป็นประธาน และเป็นผู้ถาม พระอุบาลีเป็นผู้วิสัชนาพระวินัย พระอานนท์เป็นผู้วิสัชนาพระธรรม ประชุมสังคายนาที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ภูเขาเวภารบรรพต เมืองราชคฤห์ เมื่อหลังพุทธปรินิพพาน ๓ เดือน
           โดยพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นศาสนูปถัมภก์ สิ้นเวลา ๗ เดือนจึงเสร็จ
       ครั้งที่ ๒ ปรารภพวกภิกษุวัชชีบุตรแสดงวัตถุ ๑๐ ประการ นอกธรรม นอกวินัย พระยศกากัณฑกบุตรเป็นผู้ชักชวน ได้พระอรหันต์ ๗๐๐ รูปพระเรวตะเป็นผู้ถาม พระสัพพกามีเป็นผู้วิสัชนา ประชุมทำที่วาลิการาม เมืองเวสาลี เมื่อ พ.ศ ๑๐๐
           โดยพระเจ้ากาลาโศกราช เป็นศาสนูปถัมภก์ สิ้นเวลา ๘ เดือนจึงเสร็จ
       ครั้งที่ ๓ ปรารภเดียรถีย์มากมายปลอมบวชในพระศาสนาเพราะมีลาภสักการะเกิดขึ้นมาก พระอรหันต์ ๑,๐๐๐ รูป มีพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นประธาน ประชุมทำที่อโศการามเมืองปาฏลีบุตร เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๔ (พ.ศ. ๒๑๘ เป็นปีที่พระเจ้าอโศกขึ้นครองราชย์)
           โดยพระเจ้าอโศก หรือ ศรีธรรมาโศกราชเป็นศาสนูปถัมภก์ สิ้นเวลา ๙ เดือนจึงเสร็จ
       ครั้งที่ ๔ ปรารภจะให้พระศาสนาประดิษฐานมั่นคงในลังกาทวีป พระสงฆ์ ๖๘,๐๐๐ รูป มีพระมหินทเถระเป็นประธานและเป็นผู้ถาม พระอริฏฐะเป็นผู้วิสัชนา ประชุมทำที่ถูปาราม เมืองอนุราธบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖
           โดยพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะเป็นศาสนูปถัมภก์ สิ้นเวลา ๑๐ เดือนจึงเสร็จ
       ครั้งที่ ๕ ปรารภพระสงฆ์แตกกันเป็น ๒ พวกคือ พวกมหาวิหารกับพวกอภัยคีรีวิหาร และคำนึงว่าสืบไปภายหน้ากุลบุตรจะถอยปัญญา ควรจารึกพระธรรมวินัยลงในใบลาน พระอรหันต์ ๕๐๐ รูป ประชุมกันสวดซ้อมแล้วจารพุทธพจน์ลงในใบลาน ณ อาโลกเลณสถาน ในมลยชนบท ในลังกาทวีป เมื่อ พ.ศ. ๔๕๐ (ว่า ๔๓๖ ก็มี)
           โดยพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัยเป็นศาสนูปถัมก์;
           บางคัมภีร์ว่า สังคายนาครั้งนี้จัดขึ้นในความคุ้มครองของคนที่เป็นใหญ่ในท้องถิ่น
       (ครั้งที่ ๔ ได้รับความยอมรับในแง่เหตุการณ์น้อยกว่าครั้งที่ ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  59 / 80
สังโยชน์ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ
       ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่
           ๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน
           ๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
           ๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต
           ๔. กามราคะ ความติดใจในกามคุณ
           ๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ
       ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่
           ๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต
           ๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม
           ๘. มานะ ความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่
           ๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
           ๑๐. อวิชชา ความไม่รู้จริง;
       พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้,
       พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย,
       พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด,
       พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ;
       ในพระอภิธรรมท่านแสดงสังโยชน์อีกหมวดหนึ่ง คือ
           ๑. กามราคะ
           ๒. ปฏิฆะ
           ๓. มานะ
           ๔. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด)
           ๕. วิจิกิจฉา
           ๖. สีลัพพตปรามาส
           ๗. ภวราคะ (ความติดใจในภพ)
           ๘. อิสสา (ความริษยา)
           ๙. มัจฉริยะ (ความตระหนี่)
           ๑๐. อวิชชา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  60 / 80
สัญญา ๑๐ ความกำหนดหมาย, สิ่งที่ความกำหนดหมายไว้ในใจ มี ๑๐ อย่าง คือ
       ๑. อนิจจสัญญา กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร
       ๒. อนัตตสัญญา กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง
       ๓. อสุภสัญญา กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย
       ๔. อาทีนวสัญญา กำหนดหมายโทษแห่งกาย คือมีอาพาธต่างๆ
       ๕. ปหานสัญญา กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรม
       ๖. วิราคสัญญา กำหนดหมายวิราคะ คืออริยมรรคว่าเป็นธรรมอันสงบประณีต
       ๗. นิโรธสัญญา กำหนดหมายนิโรธ คืออริยผล ว่าเป็นธรรมอันสงบประณีต
       ๘. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง
       ๙. สัพพสังขาเรสุ อนิฏฐสัญญา กำหนดหมายความไม่น่าปรารถนาใน สังขารทั้งปวง
       ๑๐. อานาปานัสสติ สติกำหนดลมหายใจเข้าออก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  61 / 80
สตฺถา เทวมนุสฺสานํ ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย,
       ทรงเป็นครูของบุคคลทั้งชั้นสูงและชั้นต่ำ,
       ทรงประกอบด้วยคุณสมบัติของครู และทรงทำหน้าที่ของครูเป็นอย่างดี คือทรงพร่ำสอนด้วยมหากรุณาหวังให้ผู้อื่นได้ความรู้อย่างแท้จริง,
       ทรงสอนมุ่งความจริงและประโยชน์เป็นที่ตั้ง ทรงแนะนำเวไนยสัตว์ด้วยประโยชน์ทั้งทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ และปรมัตถะ,
       ทรงรู้จริงและปฏิบัติด้วยพระองค์เองแล้ว จึงทรงสอนผู้อื่นให้รู้และปฏิบัติตาม ทรงทำกับตรัสเหมือนกัน ไม่ใช่ตรัสสอนอย่างหนึ่งทำอย่างหนึ่ง,
       ทรงฉลาดในวิธีสอน,
       และทรงเป็นผู้นำหมู่ดุจนายกองเกวียน
       (ข้อ ๗ ในพุทธคุณ ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  62 / 80
สนฺทิฏฺฐิโก พระธรรมอันผู้ได้บรรลุย่อมเห็นเองรู้เอง ประจักษ์แจ้งกับตน ไม่ต้องขึ้นต่อผู้อื่น ไม่ต้องเชื่อต่อถ้อยคำของใคร
       (ข้อ ๒ ในธรรมคุณ ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  63 / 80
สัพพสังขาเรสุอนิฏฐสัญญา กำหนดหมายถึงความไม่น่าปรารถนาในสังขารทั้งปวง
       (ข้อ ๙ ในสัญญา ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  64 / 80
สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ คือ เห็นอริยสัจจ์ ๔,
       เห็นชอบตามคลองธรรมว่า
           ทำดีมีผลดี
           ทำชั่วมีผลชั่ว
           มารดาบิดามี (คือมีคุณความดีควรแก่ฐานะหนึ่งที่เรียกว่ามารดาบิดา)
           ฯลฯ,
       เห็นถูกต้องตามที่เป็นจริงว่า ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยงเป็นต้น
       (ข้อ ๑ ในมรรค)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  65 / 80
สัมมาทิฏฐิสูตร พระสูตรแสดงความหมายต่างๆ แห่งสัมมาทิฏฐิ เป็นภาษิตของพระสารีบุตร
       (สูตรที่ ๙ ในมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระสุตตันตปิฎก)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  66 / 80
สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง คือความเห็นว่า อัตตาและโลก เป็นสิ่งเที่ยงแท้ยั่งยืน คงอยู่ตลอดไป
       เช่น เห็นว่าคนและสัตว์ตายไปแล้ว ร่างกายเท่านั้นทรุดโทรมไป ส่วนดวงชีพหรือเจตภูตหรือมนัสเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นสืบไป เป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่ง;
       ตรงข้ามกับ อุจเฉททิฏฐิ
       (ข้อ ๑ ในิฏฐิ ๒)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  67 / 80
สาธุชน คนดี, คนมีศีลธรรม, คนมีสัมมาทิฏฐิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  68 / 80
สาราณียธรรม ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง, ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำให้มีความเคารพกัน ช่วยเหลือกัน และสามัคคีพร้อมเพรียงกันมี ๖ อย่างคือ
       ๑. ตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนภิกษุสามเณร
       ๒. ตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนภิกษุสามเณร
       ๓. ตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนภิกษุสามเณร
       ๔. แบ่งปันลาภที่ได้มาโดยชอบธรรม
       ๕. รักษาศีลบริสุทธิ์เสมอกับเพื่อนภิกษุสามเณร (มีสีลสามัญญตา)
       ๖. มีความเห็นร่วมกันได้กับภิกษุสามเณรอื่นๆ (มีทิฏฐิสามัญญตา);
           สารณียธรรม ก็เขียน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  69 / 80
สิลิฏฐพจน์ คำสละสลวย, คำไพเราะ,
       ได้แก่ คำควบกับอีกคำหนึ่งเพื่อให้ฟังไพเราะในภาษา หาได้มีใจความพิเศษออกไปไม่
       เช่น คำว่า “คณะสงฆ์” คณะ ก็คือ สงฆ์ ซึ่งแปลว่าหมู่ หมายถึงหมู่แห่งภิกษุจำนวนหนึ่ง
       คำว่า คณะ ในที่นี้เรียกว่าเป็นสิลิฏฐพจน์
       ในภาษาไทยเรียกว่า คำติดปาก ไม่ได้เพ่งเนื้อความ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  70 / 80
สุทธาวาส ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์ คือ ที่เกิดของพระอนาคามี
       ได้แก่ พรหม ๕ ชั้นที่สูงสุดในขั้นรูปาวจร
       คือ อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  71 / 80
โสดาปัตติผล ผลคือการถึงกระแสสู่นิพพาน,
       ผลที่ได้รับจากการละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ด้วยโสดาปัตติมรรค ทำให้ได้เป็นพระโสดาบัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  72 / 80
โสดาปัตติมรรค ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผล คือความเป็นพระโสดาปัน,
       ญาณ คือความรู้เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส

แสดงผลการค้น ลำดับที่  73 / 80
เห็นชอบ ดู สัมมาทิฏฐิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  74 / 80
อกิริยทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ, เห็นว่าการกระทำไม่มีผล
       อธิบายอย่างง่าย เช่น ทำชั่ว หากไม่มีคนรู้คนเห็น ไม่มีคนชม ไม่มีคนลงโทษ ก็ชื่อว่าไม่เป็นอันทำ
       เป็นมิจฉาทิฏฐิร้ายแรงอย่างหนึ่ง
       (ข้อ ๑ ในิฏฐิ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  75 / 80
อกุศลกรรมบถ ทางแห่งกรรมชั่ว, ทางแห่งกรรมที่เป็นอกุศล,
       กรรมชั่วอันเป็นทางนำไปสู่ทุคติ มี ๑๐ อย่าง คือ
       ก. กายกรรม ๓ ได้แก่
           ๑. ปาณาติบาต การทำลายชีวิต
           ๒. อทินนาทาน ถือเอาของที่เขามิได้ให้
           ๓. กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม
       ข. วจีกรรม ๔ ได้แก่
           ๔. มุสาวาท พูดเท็จ
           ๕. ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด
           ๖. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ
           ๗. สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ
       ค. มโนกรรม ๓ ได้แก่
           ๘. อภิชฌา ละโมบคอยจ้องอยากได้ของเขา
           ๙. พยาบาท คิดร้ายเขา
           ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม;
       เทียบ กุศลกรรมบถ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  76 / 80
อกุศลเจตสิก เจตสิกอันเป็นอกุศล ได้แก่ ความชั่วที่เกิดขึ้นภายในใจ แต่งจิตให้เป็นบาป
       มี ๑๔ อย่าง แยกเป็น
       ก. สัพพากุศลสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับอกุศลจิตทุกดวง) ๔ คือ
           โมหะ อหิริกะ(ไม่ละอายต่อบาป) อโนตตัปปะ(ไม่กลัวบาป) อุทธัจจะ
       ข. ปกิณณกอกุศลเจตสิก (อกุศลเจตสิกที่เกิดกับอกุศลจิตเรี่ยรายไป) ๑๐ คือ
           โลภะ ทิฏฐิ มานะ โทสะ อิสสา(ริษยา)
           มัจฉริยะ กุกกุจจะ(เดือดร้อนใจ) ถีนะ(หดหู่) มิทธะ(ง่วงงุน) วิจิกิจฉา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  77 / 80
องค์มรรค (บาลีว่า มคฺคงฺค) องค์ประกอบของมรรค,
       องค์ธรรม ๘ อย่าง มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น ที่ประกอบกันเข้าเป็นมรรค
       หรือที่เรียกชื่อเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค;
       ดู มรรค 1.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  78 / 80
อธิษฐาน
       1. ในทางพระวินัย แปลว่า การตั้งเอาไว้หรือตั้งใจกำหนดเอาไว้ คือ ตั้งเอาไว้เป็นของนั้นๆ หรือตั้งใจกำหนดเอาไว้ว่าจะใช้เป็นของประจำตัวชนิดนั้นๆ
           เช่น ได้ผ้ามาผืนหนึ่ง ตั้งใจว่าจะใช้เป็นอะไร คือจะเป็นสังฆาฏิ อุตตราสงค์ อันตรวาสก ก็อธิษฐานเป็นอย่างนั้นๆ เมื่ออธิษฐานแล้ว ของนั้นเรียกว่าเป็นของอธิษฐาน เช่น เป็นสังฆาฏิอธิษฐาน จีวรอธิษฐาน (นิยมเรียกกันว่า จีวรครอง) ตลอดจนบาตรอธิษฐาน
           ส่วนของชนิดนั้น ที่ได้เพิ่มมาอีกหรือเกินจากนั้นไปก็เป็นอติเรก เช่น เป็นอติเรกจีวร อติเรกบาตร,
           คำอธิษฐาน เช่น “อิมํ สงฺฆาฏึ อธิฏฺฐามิ”
           (ถ้าอธิษฐานของอื่น ก็เปลี่ยนไปตามชื่อของนั้น เช่น เป็น อุตฺตราสงฺคํ, อนฺตรวาสกํ เป็นต้น)
       2. ความตั้งใจมั่น, การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว, ความมั่นคง เด็ดเดี่ยว แน่วแน่ในทางดำเนินและจุดมุ่งหมายของตน (ข้อ ๘ ในบารมี ๑๐),
           ในภาษาไทยมักใช้ในความหมายว่า ความตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, ความตั้งจิตปรารถนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  79 / 80
อนาคามี พระอริยบุคคลผู้ได้บรรลุอนาคามิผล มี ๕ ประเภท คือ
       ๑. อันตราปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ถึงกึ่ง (หมายถึงโดยกิเลสปรินิพพาน)
       ๒. อุปหัจจปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานเมื่อจวนจะถึงสิ้นอายุ
       ๓. อสังขารปรินิพพายี ผู้นิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก
       ๔. สสังขารปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรมาก
       ๕. อุทธังโสโต อกนิฏฐคามี ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  80 / 80
อนิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา, สิ่งที่คนไม่อยากได้ไม่อยากพบ
       แสดงในแง่ตรงข้ามกับกามคุณ ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่าชอบใจ
       แสดงในแง่โลกธรรม ได้แก่ ความเสื่อมลาภ ความเสื่อมยศ การนินทา และความทุกข์;
       เทียบ ิฏฐารมณ์


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ิฏ&detail=on
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D4%AF&detail=on


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]