ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ุต ”             ผลการค้นหาพบมากกว่า  80  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 80
กตัญญุตา ความเป็นคนกตัญญู, ความเป็นผู้รู้คุณท่าน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 80
กัลลวาลมุตตคาม ชื่อหมู่บ้าน อยู่ในแคว้นมคธ
       พระโมคคัลลานะอุปสมบทได้ ๗ วัน ไปทำความเพียรจนอ่อนใจ นั่งโงกงวงอยู่
       พระพุทธเจ้าเสด็จไปเทศนาโปรด จนได้สำเร็จพระอรหัตที่หมู่บ้านนี้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 80
กัสสปสังยุตต์ ชื่อเรียกพระสูตรหมวดหนึ่ง ในคัมภีร์สังยุตตนิกาย รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับพระมหากัสสปไว้เป็นหมวดหมู่

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 80
กายมุทุตา ความอ่อนโยนแห่งนามกาย,
       ธรรมชาติทำนามกาย คือ เจตสิกทั้งหลายให้นุ่มนวลอ่อนละมุน
       (ข้อ ๑๒ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 80
กายลหุตา ความเบาแห่งนามกาย,
       ธรรมชาติทำนามกาย คือ กองเจตสิกให้เบา
       (ข้อ ๑๐ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 80
กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลา อันสมควรในการประกอบกิจนั้นๆ เช่น รู้ว่าเวลาไหนควรทำอะไร เป็นต้น
       (ข้อ ๕ ในสัปปุริสธรรม ๗)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 80
กุลบุตร ลูกชายผู้มีตระกูลมีความประพฤติดี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 80
คณะธรรมยุต คณะสงฆ์ที่ตั้งขึ้นใหม่ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชเป็นภิกษุในรัชกาลที่ ๓ (เรียกว่า ธรรมยุตติกา หรือ ธรรมยุติกนิกาย ก็มี);
       สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงให้ความหมายว่า “พระสงฆ์ออกจากมหานิกายนั้นเอง แต่ได้รับอุปสมบทในรามัญนิกายด้วย” (การคณะสงฆ์ น.๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 80
คาพยุต ดู คาวุต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 80
คาวุต ซื่อมาตราวัดระยะทางเท่ากับ ๘๐ อุสภะ หรือ ๑๐๐ เส้น (๔ คาวุต เป็น ๑ โยชน์)
       ดู มาตรา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 80
จตุตถฌาน ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ ละสุขเสียได้ มีแต่อุเบกขากับเอกัคคตา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 80
จิตตมุทุตา ความอ่อนแห่งจิต, ธรรมชาติทำจิตให้นมนวลอ่อนละมุน
       (ข้อ ๑๓ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 80
จุติ เคลื่อนจากภพหนึ่งไปสู่ภพอื่น, ตาย (ส่วนมากใช้กับเทวดา)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 80
จุตูปปาตญาณ ปรีชารู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย,
       มีจักษุทิพย์มองเห็นสัตว์กำลังจุติบ้าง กำลังเกิดบ้าง มีอาการดีบ้าง เลวบ้างเป็นต้น ตามกรรมของตน
       เรียกอีกอย่างว่า ทิพพจักขุ
       (ข้อ ๒ ในญาณ ๓ หรือวิชชา ๓, ข้อ ๗ ในวิชชา ๘, ข้อ ๕ ในอภิญญา ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 80
จุนทกัมมารบุตร นายจุนทะ บุตรช่างทอง เป็นชาวเมืองปาวา
       ผู้ถวายภัตตาหารครั้งสุดท้ายแก่พระพุทธเจ้า ในเช้าวันปรินิพพาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 80
เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นแห่งจิต, การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิตหรือด้วยกำลังสมาธิ
       เช่น สมาบัติ ๘ เป็นเจโตวิมุตติอันละเอียดประณีต (สันตเจโตวิมุตติ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 80
ญัตติจตุตถกรรม กรรมมีญัตติเป็นที่ ๔ ได้แก่ สังฆกรรมที่สำคัญ มีการอุปสมบท เป็นต้น ซึ่งเมื่อตั้งญัตติแล้ว ต้องสวดอนุสาวนาคำประกาศขอมติถึง ๓ หน เพื่อสงฆ์คือที่ชุมนุมนั้นจะได้มีเวลาพิจารณาหลายเที่ยว ว่าจะอนุมัติหรือไม่

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 80
ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา การอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม ได้แก่วิธีอุปสมบทที่สงฆ์เป็นผู้กระทำอย่างที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยภิกษุประชุมครบองค์กำหนด ในเขตชุมนุมซึ่งเรียกว่าสีมา กล่าววาจาประกาศเรื่องความที่จะรับคนนั้นเข้าหมู่ และได้รับความยินยอมของภิกษุทั้งปวงผู้เข้าประชุม เป็นสงฆ์นั้น;
       พระราธะ เป็นบุคคลแรกที่ได้รับอุปสมบทอย่างนี้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 80
ญัตติทุติยกรรม กรรมมีญัตติเป็นที่ ๒ หรือกรรมมีวาจาครบ ๒ ทั้งญัตติ,
       กรรมอันทำด้วยตั้งญัตติแล้วสวดอนุสาวนาหนเดียว เช่น การสมมติสีมา การสังคายนา และการมอบให้ผ้ากฐิน เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 80
ญาณวิปปยุต ปราศจากญาณ, ไม่ประกอบด้วยปัญญา, ปราศจากปรีชาหยั่งรู้, ขาดความรู้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 80
ตทังควิมุตติ “พ้นด้วยองค์นั้นๆ”
       หมายความว่า พ้นจากกิเลสด้วยอาศัยธรรมตรงกันข้ามที่เป็นคู่ปรับกัน เช่น เกิดเมตตา หายโกรธ เกิดสังเวช หายกำหนัด เป็นต้น
       เป็นการหลุดพ้นชั่วคราว และเป็นโลกิยวิมุตติ
       ดู วิมุตติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 80
ทัพพมัลลบุตร พระเถระมหาสาวกองค์หนึ่งในอสีติมหาสาวก เป็นพระราชโอรสของพระเจ้ามัลลราช
       เมื่อพระชนม์ ๗ พรรษา มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้บรรพชาเป็นสามเณร
       เวลาปลงผม พอมีดโกนตัดกลุ่มผม
           ครั้งที่ ๑ ได้บรรลุโสดาปัตติผล
           ครั้งที่ ๒ ได้บรรลุสกทาคามิผล
           ครั้งที่ ๓ ได้บรรลุอนาคามิผล
           พอปลงผมเสร็จก็ได้บรรลุพระอรหัต
       ท่านรับภาระเป็นเจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์ในตำแหน่งเสนาสนปัญญาปกะ (ผู้ดูแลจัดสถานที่พักอาศัยของพระ) และภัตตุเทศก์
       ได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในบรรดา เสนาสนปัญญาปกะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 80
ทัสสนานุตตริยะ การเห็นที่ยอดเยี่ยม
       (ข้อ ๑ ในอนุตตริยะ ๓ หมายถึงปัญญาอันเห็นธรรม ตลอดถึงเห็นนิพพาน; ข้อ ๑ ในอนุตตริยะ ๖ หมายถึง เห็นพระตถาคต ตถาคตสาวก และสิ่งอันบำรุงจิตใจให้เจริญ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 80
ทุติยฌาน ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ ละวิตก วิจารได้ คงมีแต่ ปีติ สุข อันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคคตา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 80
ทุติยสังคายนา การร้อยกรองพระธรรมวินัยครั้งที่ ๒ ราว ๑๐๐ ปี แต่พุทธปรินิพพาน;
       ดู สังคายนา ครั้งที่ ๒

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 80
ทุติยสังคีติ การสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยครั้งที่ ๒

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 80
เทพบุตร เทวดาผู้ชาย, ชาวสวรรค์เพศชาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 80
เทวบุตร เทวดาผู้ชาย, ชาวสวรรค์เพศชาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 80
เทวปุตตมาร มารคือเทพบุตร, เทวบุตรเป็นมาร เพราะเทวบุตรบางตนที่มุ่งร้าย คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไว้ไม่ให้สละความสุขออกไปบำเพ็ญคุณธรรมที่ยิ่งใหญ่ ทำให้บุคคลนั้นพินาศจากความดี,
       คัมภีร์สมัยหลังๆ ออกชื่อว่า พญาวสวัตตีมาร
       (ข้อ ๕ ในมาร ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 80
ธรรมเทศนาปฏิสังยุต ธรรมเนียมที่เกี่ยวกับการแสดงธรรม (หมวดที่ ๓ แห่งเสขิยวัตร มี ๑๖ สิกขาบท)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 80
ธรรมยุต, ธรรมยุติกนิกาย ดู คณะธรรมยุต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 80
ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ เช่น รู้จักว่า สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งสุข สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งทุกข์;
       ตามอธิบายในบาลี หมายถึง รู้หลักหรือรู้หลักการ เช่น ภิกษุเป็นธัมมัญญู คือ รู้หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่จัดเป็นนวังคสัตถุศาสน์;
       ดู สัปปุริสธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 80
นหุต ชื่อมาตรานับ เท่ากับหนึ่งหมื่น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 80
นันทมารดา ชื่ออุบาสิกาคนหนึ่งเป็นอนาคามี เป็นผู้ชำนาญในฌาน ๔
       ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะทางบำเพ็ญฌาน
       ชื่อเต็มว่า อุตตรา นันทมารดา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 80
นานาธิมุตติกญาณ ปรีชาหยั่งรู้อัธยาศัยของสัตว์ ที่โน้มเอียง เชื่อถือ สนใจ พอใจต่างๆ กัน
       (ข้อ ๕ ในทศพลญาณ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 80
นิครนถนาฏบุตร คณาจารย์เจ้าลัทธิคนหนึ่งในจำนวนครูทั้ง ๖ มีคนนับถือมาก
       มีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น วรรธมานบ้าง พระมหาวีระบ้าง
       เป็นต้นศาสนาเชน ซึ่งยังมีอยู่ในประเทศอินเดีย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 80
นิคัณฐนาฏบุตร ดู นิครนถนาฏบุตร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 80
นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในภาษา คือเข้าใจภาษา รู้จักใช้ถ้อยคำให้คนเข้าใจ ตลอดทั้งรู้ภาษาต่างประเทศ
       (ข้อ ๓ ในปฏิสัมภิทา ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 80
นิสสรณวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยออกไปเสีย หรือสลัดออกได้
       เป็นการพ้นที่ยั่งยืนตลอดไป ได้แก่ นิพพาน,
       เป็นโลกุตตรวิมุตติ
       (ข้อ ๕ ในวิมุตติ ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 80
นิสัยมุตตกะ ภิกษุผู้พ้นการถือนิสัยหมายถึงภิกษุมีพรรษาพ้น ๕ แล้ว มีความรู้ธรรมวินัยพอรักษาตัวได้แล้ว ไม่ต้องถือนิสัยในอุปัชฌาย์ หรืออาจารย์ต่อไป;
       เรียกง่ายว่า นิสัยมุตก์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 80
ปฏิปทานุตตริยะ การปฏิบัติอันยอดเยี่ยม
       ได้แก่ การปฏิบัติธรรมที่ได้เห็นแล้วในข้อทัสสนานุตตริยะ ทั้งส่วนที่จะพึงละและพึงบำเพ็ญ;
       ดู อนุตตริยะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  42 / 80
ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยสงบระงับ ได้แก่
       การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอริยผล
       เป็นการหลุดพ้นที่ยั่งยืน ไม่ต้องขวนขวายเพื่อละอีก เพราะกิเลสนั้นสงบไปแล้ว
       เป็นโลกุตตรวิมุตติ
       (ข้อ ๔ ในวิมุตติ ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  43 / 80
ปริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประชุมชน และกิริยาที่จะต้องปฏิบัติต่อประชุมชนนั้นๆ
       เช่นรู้จักว่า ประชุมชนนี้ เมื่อเข้าไป จะต้องทำกิริยาอย่างนี้ จะต้องพูดอย่างนี้ เป็นต้น
       (ข้อ ๖ ในสัปปุริสธรรม ๗)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  44 / 80
ปัญญาวิมุต “ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา”
       หมายถึง พระอรหันต์ผู้สำเร็จด้วยบำเพ็ญวิปัสสนาโดยมิได้อรูปสมาบัติมาก่อน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  45 / 80
ปัญญาวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยปัญญา,
       ความหลุดพ้นที่บรรลุด้วยการกำจัดอวิชชาได้ ทำให้สำเร็จอรหัตตผล
       และทำให้เจโตวิมุตติ เป็นเจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบ คือ ไม่กลับกลายได้อีกต่อไป;
       เทียบ เจโตวิมุตติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  46 / 80
ปาฏลีบุตร เมืองหลวงของแคว้นมคธ สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช

แสดงผลการค้น ลำดับที่  47 / 80
ปาตลีบุตร ชื่อเมืองหลวงของพระเจ้าอโศกมหาราช;
       เขียน ปาฏลีบุตร ก็มี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  48 / 80
ปาริจริยานุตตริยะ การบำเรออันเยี่ยม
       ได้แก่ การบำรุงรับใช้พระตถาคตและตถาคตสาวกอันประเสริฐกว่า การที่จะบูชาไฟหรือบำรุงบำเรออย่างอื่น เพราะช่วยให้บริสุทธิ์หลุดพ้นจากทุกข์ได้จริง
       (ข้อ ๕ ในอนุตตริยะ ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  49 / 80
ปุคคลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักบุคคล คือ รู้ความแตกต่างแห่งบุคคล ว่าโดยอัธยาศัย ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น เป็นอย่างไร ควรคบควรใช้ควรสอนอย่างไร
       (ข้อ ๗ ในสัปปุริสธรรม ๗)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  50 / 80
ปุณณมันตานีบุตร พระมหาสาวกองค์หนึ่ง ได้ชื่ออย่างนี้ เพราะเดิมชื่อปุณณะ เป็นบุตรของนางมันตานี
       ท่านเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาลในหมู่บ้านพราหมณ์ชื่อโทณวัตถุ ไม่ไกลจากเมืองกบิลพัสดุ์ เป็นหลานของพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บรรพชาเมื่อพระเถระผู้เป็นลุงเดินทางมายังเมืองกบิลพัสดุ์
       บวชแล้วไม่นานก็บรรลุอรหัตตผล เป็นผู้ปฏิบัติตนตามหลักกถาวัตถุ ๑๐ และสอนศิษย์ของตนให้ปฏิบัติเช่นนั้นด้วย
       ท่านได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะ ในบรรดาพระธรรมกถึก
       หลักธรรมเรื่องวิสุทธิ ๗ ก็เป็นภาษิตของท่าน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  51 / 80
ปุตตะ เป็นชื่อนรกขุมหนึ่งของลัทธิพราหมณ์ พวกพราหมณ์ถือว่าชายใดไม่มีลูกชาย ชายนั้นตายไปต้องตกนรกขุม “ปุตตะ” ถ้ามีลูกชาย ลูกชายนั้นช่วยป้องกันไม่ให้ตกนรกขุมนั้นได้
       ศัพท์ว่า บุตร จึงใช้เป็นคำเรียกลูกชาย สืบมา แปลว่า “ลูกผู้ป้องกันพ่อจากขุมนรก ปุตตะ”

แสดงผลการค้น ลำดับที่  52 / 80
พหุปุตตเจดีย์ เจดียสถานแห่งหนึ่งอยู่ทางเหนือของเมืองเวสาลี นครหลวงของแคว้นวัชชี เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเคยทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  53 / 80
พหุปุตตนิโครธ ต้นไทรอยู่ระหว่างกรุงราชคฤห์และเมืองนาลันทา ปิปผลิมาณพได้พบพระพุทธเจ้าและขอบวชที่ต้นไทรนี้;
       เขียนว่า พหุปุตตกนิโครธ ก็มี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  54 / 80
โภชนปฏิสังยุต ธรรมเนียมที่เกี่ยวกับโภชนะ,
       ข้อที่ภิกษุสามเณรควรประพฤติปฏิบัติเกี่ยวกับการรับบิณฑบาตและฉันอาหาร,
       เป็นหมวดที่ ๒ แห่งเสขิยวัตร มี ๓๐ สิกขาบท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  55 / 80
โภชเนมัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร,
       รู้จักประมาณในการกิน คือ กินเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายให้ชีวิตเป็นอยู่ได้ผาสุก มิใช่เพื่อสนุกสนานมัวเมา
       (ข้อ ๒ ในอปัณณกปฏิปทา ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  56 / 80
มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ คือความพอเหมาะพอดี
       เช่น รู้จักประมาณในการแสวงหา รู้จักประมาณในการใช้จ่ายพอเหมาะพอควร เป็นต้น;
       ดู สัปปุริสธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  57 / 80
มันตานีบุตร บุตรของนางมันตานี หมายถึงพระปุณณมันตานีบุตร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  58 / 80
มิจฉาวิมุตติ พ้นผิด เช่นการระงับกิเลสบาปธรรมได้ชั่วคราว เพราะกลัวอำนาจพระเจ้าผู้สร้างโลก การระงับกิเลสนั้นดี แต่การระงับเพราะกลัวอำนาจพระเจ้าสร้างโลกนั้น ผิดทาง ไม่ทำให้พ้นทุกข์ได้จริง
       (ข้อ ๑๐ ในมิจฉัตตะ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  59 / 80
มุตตะ ดู มูตร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  60 / 80
โมคคัลลีบุตรติสสเถระ พระเถระผู้ใหญ่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
       ท่านได้อาศัยพระบรมราชูปถัมภ์กำจัดพวกเดียรถีย์ที่เข้ามาปลอมบวชในสังฆมณฑล และเป็นประธานในการสังคายนาครั้งที่ ๓

แสดงผลการค้น ลำดับที่  61 / 80
ยศกากัณฑกบุตร พระเถระองค์สำคัญ ผู้ชักชวนให้ทำสังคายนาครั้งที่ ๒ หลังพุทธปรินิพพาน ๑๐๐ ปี;
       เดิมชื่อยศ เป็นบุตรกากัณฑกพราหมณ์;
       ดู สังคายนาครั้งที่ ๒

แสดงผลการค้น ลำดับที่  62 / 80
ยส, ยสะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรเศรษฐีเมืองพาราณสีมีความเป็นอยู่อย่างสุขสมบูรณ์
       วันหนึ่งเห็นสภาพในห้องนอนของตน เป็นเหมือนป่าช้า เกิดความสลดใจคิดเบื่อหน่าย จึงออกจากบ้านไปพบพระพุทธเจ้าที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในเวลาใกล้รุ่ง พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาอนุบุพพิกถา และอริยสัจจ์โปรด ยสกุลบุตรได้ดวงตาเห็นธรรม
       ต่อมาได้ฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่เศรษฐีบิดาของตน ก็ได้บรรลุอรหัตตผลแล้วขออุปสมบท
       เป็นภิกษุสาวกองค์ที่ ๖ ของพระพุทธเจ้า

ยสกุลบุตร พระยสะเมื่อก่อนอุปสมบท เรียกว่า ยสกุลบุตร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  63 / 80
ยุติธรรม ความเที่ยงธรรม, ความชอบธรรม, ความชอบด้วยเหตุผล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  64 / 80
ราชบุตร ลูกชายของพระเจ้าแผ่นดิน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  65 / 80
ราชบุตรี ลูกหญิงของพระเจ้าแผ่นดิน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  66 / 80
ลาภานุตตริยะ การได้ที่ยอดเยี่ยม เช่น ได้ศรัทธาในพระพุทธเจ้า ได้ดวงตาเห็นธรรม
       (ข้อ ๓ ในอนุตตริยะ ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  67 / 80
โลกิยวิมุตติ วิมุตติที่เป็นโลกีย์ คือความพ้นอย่างโลกๆ ไม่เด็ดขาด ไม่สิ้นเชิง กิเลสและความทุกข์ยังกลับครอบงำได้อีก ได้แก่วิมุตติ ๒ อย่างแรกคือ ตทังควิมุตติ และ วิกขัมภนวิมุตติ;
       ดู วิมุตติ, โลกุตตรวิมุตติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  68 / 80
โลกุดร, โลกุตตระ โลกุตระ พ้นจากโลก, เหนือโลก, พ้นวิสัยของโลก, ไม่เนื่องในภพทั้ง ๓
       (พจนานุกรมเขียน โลกุตตร);
       คู่กับ โลกิยะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  69 / 80
โลกุตตมาจารย์ อาจารย์ผู้สูงสุดของโลก, อาจารย์ยอดเยี่ยมของโลก หมายถึงพระพุทธเจ้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  70 / 80
โลกุตตรธรรม ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก, สภาวะพ้นโลก
       มี ๙ ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑;
       คู่กับ โลกิยธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  71 / 80
โลกุตตรปัญญา ปัญญาที่สัมปยุตด้วยโลกุตตรมรรค, ความรู้ที่พ้นวิสัยของโลก, ความรู้ที่ช่วยคนให้พ้นโลก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  72 / 80
โลกุตตรภูมิ ชั้นที่พ้นจากโลก, ระดับจิตใจของพระอริยเจ้า
       (ข้อ ๔ ในภูมิ ๔ อีก ๓ ภูมิ คือ กามวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  73 / 80
โลกุตตรวิมุตติ วิมุตติที่เป็นโลกุตตระ คือ ความหลุดพ้นที่เหนือวิสัยโลก ซึ่งกิเลสและความทุกข์ที่ละได้แล้ว ไม่กลับคืนมาอีก ไม่กลับกลาย
       ได้แก่ วิมุตติ ๓ อย่างหลัง คือ สมุจเฉทวิมุตติ, ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ และนิสสรณวิมุตติ
       ดู วิมุตติ, โลกิยวิมุตติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  74 / 80
โลกุตตรสุข, โลกุตรสุข ความสุขอย่างโลกุตตระ, ความสุขที่เหนือกว่าระดับของชาวโลก, ความสุขที่เหนือกว่าระดับของชาวโลก, ความสุขเนื่องด้วยมรรคผลนิพพาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  75 / 80
โลกุตตราริยมรรคผล อริยมรรคและอริยผลที่พ้นวิสัยของโลก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  76 / 80
วัชชีบุตร ชื่อภิกษุพวกหนึ่งชาวเมืองเวสาลี แสดงวัตถุ ๑๐ ประการ ละเมิดธรรมวินัย
       เป็นต้นเหตุแห่งการสังคายนาครั้งที่ ๒

แสดงผลการค้น ลำดับที่  77 / 80
วิกขัมภนวิมุตติ พ้นด้วยข่มหรือสะกดไว้
       ได้แก่ ความพ้นจากกิเลสและอกุศลธรรมได้ด้วยกำลังฌาน อาจสะกดไว้ได้นานกว่าตทังควิมุตติ แต่เมื่อฌานเสื่อมแล้ว กิเลสอาจเกิดขึ้นอีก จัดเป็นโลกิยวิมุตติ
       (ข้อ ๒ ในวิมุตติ ๕; ในบาลีเป็นข้อ ๑ ถึงชั้นอรรถกถา จึงกลายมาเป็นข้อ ๒)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  78 / 80
วิขัมภนวิมุตติ ดู วิกขัมภนวิมุตติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  79 / 80
วิมุต อักขระที่ว่าปล่อยเสียงเช่น สุณาตุ, เอสา ญตฺติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  80 / 80
วิมุตตานุตตริยะ การพ้นอันเยี่ยมคือหลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์ ได้แก่ พระนิพพาน
       (ข้อ ๓ ในอนุตตริยะ ๓)


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ุต
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D8%B5


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]