ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ”             ผลการค้นหาพบ  34  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 34
คติ
       1. การไป, ทางไป, ความเป็นไป, ทางดำเนิน, วิธี, แนวทาง, แบบอย่าง
       2. ที่ไปเกิดของสัตว์, ภพที่สัตว์ไปเกิด, แบบการดำเนินชีวิต มี ๕ คือ
           ๑. นิรยะ นรก
           ๒. ติรัจฉานโยนิ กำเนิดดิรัจฉาน
           ๓. เปตติวิสัย แดนเปรต
           ๔. มนุษย์ สัตว์มีใจสูงรู้คิดเหตุผล
           ๕. เทพ ชาวสวรรค์ตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราชิกา ถึงอกนิฏฐพรหม
       (ท่านว่าในที่นี้ จัดอสูรเข้าในเปตตวิสัยด้วย)
       ๓ คติแรกเป็น ทุคติ (ที่ไปเกิดอันชั่ว หรือแบบดำเนินชีวิตที่ไม่ดี)
       ๒ คติหลังเป็น สุคติ (ที่ไปเกิดอันดี หรือแบบดำเนินชีวิตที่ดี)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 34
ทิฏฐิ ความเห็น, ทฤษฎี;
       ความเห็นผิดมี ๒ คือ
           ๑. สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง
           ๒. อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ;
       อีกหมวดหนึ่ง มี ๓ คือ
           ๑. อกิริยทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ
           ๒. อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ
           ๓. นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มี คือถืออะไรเป็นหลักไม่ได้ เช่น มารดาบิดาไม่มีเป็นต้น;
       ในภาษาไทยมักหมายถึง การดื้อดึงในความเห็น
       (พจนานุกรมเขียน ทิฐิ);
       (ข้อ ๔ ในสังโยชน์ ๑๐ ตามนัยพระอภิธรรม, ข้อ ๓ ในอนุสัย ๗)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 34
เนตติ แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบธรรมเนียม
       (พจนานุกรมเขียน เนติ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 34
ปีติ ความอิ่มใจ, ความดื่มด่ำในใจ มี ๕ คือ
       ๑. ขุททกปีติ ปีติเล็กน้อยพอขนชันน้ำตาไหล
       ๒. ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะรู้สึกแปลกๆ ดุจฟ้าแลบ
       ๓. โอกกันติกาปีติ ปีติเป็นระลอกรู้สึกซู่ลงมาๆ ดุจคลื่นซัดฝั่ง
       ๔. อุพเพคาปีติ ปีติโลดลอย ให้ใจฟูตัวเบาหรืออุทานออกมา
       ๕. ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน เอิบอาบไปทั่วสรรพางค์เป็นของประกอบกับสมาธิ
       (ข้อ ๔ ในโพชฌงค์ ๗)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 34
พุทธานุสติ ตามระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
       เขียนอย่างรูปเดิมในภาษาบาลีเป็น พุทธานุสสติ
       (ข้อ ๑ ในอนุสติ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 34
ภูมิ
       1. พื้นเพ, พื้น, ชั้น, ที่ดิน, แผ่นดิน
       2. ชั้นของจิต, ระดับจิตใจ, ระดับชีวิต มี ๔ คือ
           ๑. กามาวจรภูมิ ชั้นที่ยังท่องเที่ยวอยู่ในกาม
           ๒. รูปาวจรภูมิ ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูป หรือชั้นของพวกที่ได้รูปฌาน
           ๓. อรูปาวจรภูมิ ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูป หรือชั้นของพวกที่ได้อรูปฌาน
           ๔. โลกุตตรภูมิ ชั้นที่พ้นโลก หรือระดับพระอริยบุคคล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 34
มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิด, ความเห็นที่ผิดจากคลองธรรม เช่นเห็นว่าทำดีได้ชั่ว ทำชั่วได้ดี มารดาบิดาไม่มี เป็นต้น และความเห็นที่ไม่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
       (พจนานุกรมเขียน มิจฉาทิฐิ);
       (ข้อ ๑ ในมิจฉัตตะ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 34
โยนิ กำเนิดของสัตว์มี ๔ จำพวก คือ
       ๑. ชลาพุชะ เกิดในครรภ์ เช่น คน แมว
       ๒. อัณฑชะ เกิดในไข่ เช่น นก ไก่
       ๓. สังเสทชะ เกิดในไคล คือที่ชื้นและสกปรก เช่น หนอนบางอย่าง
       ๔. โอปปาติกะ เกิดผุดขึ้น เช่น เทวดา สัตว์นรก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 34
วิญญัติ
       1. การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมาย, การสื่อความหมาย มี ๒ คือ
           ๑. กายวิญญัติ การให้รู้ความหมายด้วยกาย เช่น พยักหน้า กวักมือ
           ๒. วจีวิญญัติ การให้รู้ความหมายด้วยวาจา คือพูด หรือบอกกล่าว
       2. การออกปากขอของต่อคนไม่ควรขอ หมายถึงภิกษุขอสิ่งของต่อคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ ผู้ไม่ใช่คนปวารณา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 34
วิญญาณฐิติ ภูมิเป็นที่ตั้งของวิญญาณ มี ๗ คือ
       ๑. สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ พวกเทพบางหมู่ พวกวินิปาติกะ บางหมู่
       ๒. สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพผู้อยู่ในจำพวกพรหมผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน
       ๓. สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพอาภัสสระ
       ๔. สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพสุภกิณหะ
       ๕. สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ
       ๖. สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ
       ๗. สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจายตนะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 34
วิบัติ ความเสีย, ความผิดพลาด, ความบกพร่อง, ความเสียหายใช้การไม่ได้
       1. วิบัติความเสียของภิกษุ มี ๔ อย่าง คือ
           ๑. ศีลวิบัติ ความเสียแห่งศีล
           ๒. อาจารวิบัติ ความเสียมรรยาท
           ๓. ทิฏฐิวิบัติ ความเห็นผิดธรรมผิดวินัย
           ๔. อาชีววิบัติ ความเสียหายแห่งการเลี้ยงชีพ
       2. วิบัติคือความเสียหายใช้ไม่ได้ของสังฆกรรม มี ๔ คือ
           ๑. วัตถุวิบัติ เสียโดยวัตถุ เช่น อุปสมบทคนอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี
           ๒. สีมาวิบัติ เสียโดยสีมา เช่น สีมาไม่มีนิมิต
           ๓. ปริสวิบัติ เสียโดยบริษัทคือที่ประชุม เช่น ภิกษุเข้าประชุมไม่ครบองค์สงฆ์
           ๔. กรรมวาจาวิบัติ เสียโดยกรรมวาจา เช่น สวดผิดพลาดตกหล่น สวดแต่อนุสาวนาไม่ได้ตั้งญัตติ เป็นต้น
           (ข้อกรรมวาจาวิบัติบางกรณีแยกเป็นญัตติวิบัติและอนุสาวนาวิบัติ กลายเป็นวิบัติ ๕ ก็มี);
       เทียบ สมบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 34
วิมุตติ ความหลุดพ้น, ความพ้นจากกิเลส มี ๕ อย่าง คือ
       ๑. ตทังควิมุตติ พ้นด้วยธรรมคู่ปรับหรือพ้นชั่วคราว
       ๒. วิกขัมภนวิมุตติ พ้นด้วยข่มหรือสะกดได้
       ๓. สมุจเฉทวิมุตติ พ้นด้วยตัดขาด
       ๔. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ พ้นด้วยสงบ
       ๕. นิสฺสรณวิมุตติ พ้นด้วยออกไป;
           ๒ อย่างแรก เป็น โลกิยวิมุตติ
           ๓ อย่างหลังเป็น โลกุตตรวิมุตติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 34
วิรัติ ความเว้น, งดเว้น;
       เจตนาที่งดเว้นจากความชั่ว;
       วิรติ ๓ คือ
           ๑. สัมปัตตวิรัติ เว้นได้ซึ่งสิ่งที่ประจวบเข้า
           ๒. สมาทานวิรัติ เว้นด้วยการสมาทาน
           ๓. สมุจเฉทวิรัติ เว้นได้โดยเด็ดขาด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 34
วิสุทธิ ความบริสุทธิ์, ความหมดจด,
       การชำระสัตว์ให้บริสุทธิ์ด้วยการบำเพ็ญไตรสิกขาให้บริบูรณ์เป็นขั้นๆ ไปโดยลำดับ จนบรรลุจุดหมายคือพระนิพพาน มี ๗ ขั้น คือ
           ๑. สีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล
           ๒. จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิตต์
           ๓. ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ
           ๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย
           ๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องรู้เห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง
           ๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนิน
           ๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ กล่าวคือ มรรคญาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 34
วุฑฒิ ธรรมเป็นเครื่องเจริญ, ธรรมเป็นเหตุให้ถึงความเจริญ มี ๔ อย่าง คือ
       ๑. สัปปุริสสังเสวะ คบหาสัตบุรุษ
       ๒. สัทธัมมัสสวนะ ฟังสัทธรรม
       ๓. โยนิโสมนสิการ ทำในใจโดยแยบคาย
       ๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม,
       เรียกและเขียนเป็นวุฒิบ้าง วุฑฒิธรรมบ้าง วุฒิธรรมบ้าง,
       ในบาลีเรียกว่า ธรรมที่เป็นไปเพื่อปัญญาวุฑฒิ หรือ ปัญญาวุฒิ คือ เพื่อความเจริญแห่งปัญญา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 34
วุฒิ ความเจริญ, ความงอกงาม, ความเป็นผู้ใหญ่;
       ธรรมให้ถึงความเจริญ; ดู วุฑฒิ
       วุฒิ คือ ความเป็นผู้ใหญ่ ๓ อย่างที่นิยมพูดกันในภาษาไทยนั้น มาในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาและฎีกา ได้แก่
           ๑. ชาติวุฒิ ความเป็นผู้ใหญ่โดยชาติ คือเกิดในชาติกำเนิดฐานะอันสูง
           ๒. วัยวุฒิ ความเป็นผู้ใหญ่โดยวัย คือเกิดก่อน
           ๓. คุณวุฒิ ความเป็นผู้ใหญ่โดยคุณความดีหรือโดยคุณพิเศษที่ได้บรรลุ (ผลสำเร็จที่ดีงาม)
       (อนึ่งในคัมภีร์ท่านมิได้กล่าวถึงภาวะแต่กล่าวถึงบุคคล คือไม่กล่าวถึงวุฒิ แต่กล่าวถึง วุฑฒะ หรือวุฒ เป็นชาติวุฒ วัยวุฒ คุณวุฒ; นอกจากนั้น ในอรรถกถาแห่งสุตตนิบาต ท่านแบ่งเป็น ๔, โดยเพิ่มปัญญาวุฒ ผู้ใหญ่โดยปัญญาเข้ามาอีกอย่างหนึ่ง และเรียงลำดับตามความสำคัญในทางธรรม เมื่อเปลี่ยนวุฒ เป็น วุฒิ จะได้ดังนี้ ๑. ปัญญาวุฒิ ๒. คุณวุฒิ ๓. ชาติวุฒิ ๔. วัยวุฒิ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 34
สมบัติ ความถึงพร้อม, ความครบถ้วน, ความสมบูรณ์
       1. สิ่งที่ได้ที่ถึงด้วยดี, เงินทองของมีค่า, สิ่งที่มีอยู่ในสิทธิอำนาจของตน, ความพรั่งพร้อมสมบูรณ์, สมบัติ ๓ ได้แก่
               มนุษยสมบัติ สมบัติในขั้นมนุษย์
               สวรรคสมบัติ สมบัติในสวรรค์ (เทวสมบัติ หรือทิพยสมบัติ ก็เรียก) และ
               นิพพานสมบัติ สมบัติ คือนิพพาน
       2. ความครบถ้วนของสังฆกรรม เช่น อุปสมบท เป็นต้น ที่จะทำให้สังฆกรรมนั้นถูกต้อง ใช้ได้ มีผลสมบูรณ์ มี ๔ คือ
           ๑. วัตถุสมบัติ วัตถุถึงพร้อม เช่น ผู้อุปสมบทเป็นชายอายุครบ ๒๐ ปี
           ๒. ปริสสมบัติ บริษัทคือที่ประชุมถึงพร้อม สงฆ์ครบองค์กำหนด
           ๓. สีมาสมบัติ เขตชุมนุมถึงพร้อม
               เช่น สีมามีนิมิตถูกต้องตามพระวินัย และประชุมทำในเขตสีมา
           ๔. กรรมวาจาสมบัติ กรรมวาจาถึงพร้อม สวดประกาศถูกต้องครบถ้วน
               (ข้อ ๔ อาจแยกเป็น ๒ ข้อ คือเป็น
               ๔. ญัตติสมบัติ ญัตติถึงพร้อม คือคำเผดียงสงฆ์ถูกต้อง
               ๕. อนุสาวนาสมบัติ อนุสาวนาถึงพร้อมคำหารือตกลงถูกต้อง รวมเป็นสมบัติ ๕);
       เทียบ วิบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 34
สมาธิ ๒ คือ
       ๑. อุปจารสมาธิ สมาธิจวนเจียน หรือสมาธิเฉียดๆ
       ๒. อัปปนาสมาธิ สมาธิแน่วแน่

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 34
สมาธิ ๓ คือ
           ๑. สุญญตสมาธิ
           ๒. อนิมิตตสมาธิ
           ๓. อัปปณิหิตสมาธิ;
       อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่
           ๑. ขณิกสมาธิ
           ๒. อุปจารสมาธิ
           ๓. อัปปนาสมาธิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 34
สังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ (ข้อ ๓ ในอนุสติ ๑๐)
       เขียนอย่างรูปเดิมในภาษาบาลีเป็น สังฆานุสสสติ;
       ดู สังฆคุณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 34
สัปปุริสบัญญัติ ข้อที่ท่านสัตบุรุษตั้งไว้,
       บัญญัติของคนดี มี ๓ คือ
           ๑. ทาน ปันสละของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น
           ๒. ปัพพัชชา ถือบวช เว้นจากการเบียดเบียนกัน
           ๓. มาตาปิตุอุปัฏฐาน บำรุงมารดาบิดาของตนให้เป็นสุข

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 34
สุคติ คติดี, ทางดำเนินที่ดี, สถานที่ที่ดีที่สัตว์โลกซึ่งทำกรรมดีตามแล้วไปเกิด ได้แก่ มนุษย์และเทพ;
       ตรงข้ามกับ ทุคติ; ดู คติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 34
สุทธิ ความบริสุทธิ์, ความสะอาดหมดจด มี ๒ คือ
       ๑. ปริยายสุทธิ บริสุทธิ์โดยเอกเทศ (คือเพียงบางส่วนบางแง่)
       ๒. นิปปริยายสุทธิ บริสุทธิ์โดยสิ้นเชิง (ความบริสุทธิ์ของพระอรหันต์)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 34
อคติ ฐานะอันไม่พึงถึง, ทางความประพฤติที่ผิด,
       ความลำเอียง มี ๔ คือ
           ๑. ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรัก
           ๒. โทสาคติ ลำเอียงเพราะชัง
           ๓. โมหาคติ ลำเอียงเพราะเขลา
           ๔. ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 34
อนุพุทธปวัตติ ประวัติของพระสาวก ผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า;
       เขียนสามัญเป็น อนุพุทธประวัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 34
อนุสติ ความระลึกถึง, อารมณ์ที่ควรระลึกถึงเนืองๆ มี ๑๐ อย่าง คือ
       ๑. พุทธานุสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
       ๒. ธัมมานุสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรม
       ๓. สังฆานุสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์
       ๔. สีลานุสติ ระลึกถึงศีลที่ตนรักษา
       ๕. จาคานุสติ ระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว
       ๖. เทวตานุสติ ระลึกถึงคุณที่ทำคนให้เป็นเทวดา
       ๗. มรณัสสติ ระลึกถึงความตายที่จะต้องมีเป็นธรรม
       ๘. กายคตาสติ ระลึกทั่วไปในกายให้เห็นว่าไม่งาม
       ๙. อานาปานสติ ตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก
       ๑๐. อุปสมานุสติ ระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบระงับกิเลสและความทุกข์ คือ นิพพาน;
       เขียนอย่างรูปเดิมในภาษาบาลีเป็น อนุสสติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 34
อบาย, อบายภูมิ ภูมิกำเนิดที่ปราศจากความเจริญ มี ๔ อย่าง คือ
       ๑. นิรยะ นรก
       ๒. ติรัจฉานโยนิ กำเนิดดิรัจฉาน
       ๓. ปิตติวิสัย ภูมิแห่งเปรต
       ๔. อสุรกาย พวกอสุรกาย;
       ดู คติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 34
อริยวัฑฒิ, อารยวัฒิ ความเจริญอย่างประเสริฐ, หลักความเจริญของอารยชน มี ๕ คือ
       ๑. ศรัทธา ความเชื่อ ความมั่นใจในพระรัตนตรัย ในหลักแห่งความจริงความดีงามอันมีเหตุผลและในการที่จะทำความดีงาม
       ๒. ศีล ความประพฤติดี มีวินัย เลี้ยงชีพสุจริต
       ๓. สุตะ การเล่าเรียนสดับฟังศึกษาหาความรู้
       ๔. จาคะ ความเผื่อแผ่เสียสละน้ำใจและใจกว้าง พร้อมที่จะรับฟังและร่วมมือ ไม่คับแคบเอาแต่ตัว
       ๕. ปัญญา ความรอบรู้ รู้คิด รู้พิจารณา เข้าใจเหตุผล รู้จักโลกและชีวิตตามความเป็นจริง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 34
อัคคิ ไฟ, ไฟกิเลส, กิเลสดุจไฟเผาลนจิตใจให้เร่าร้อน มี ๓ คือ
       ๑. ราคัคคิ ไฟคือราคะ
       ๒. โทสัคคิ ไฟคือโทสะ
       ๓. โมหัคคิ ไฟคือโมหะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 34
อัฏฐิ กระดูก, บัดนี้เรียกว่า อัฐิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 34
อัตตหิตสมบัติ ดู อัตตัตถสมบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 34
อานาปานัสสติ สติกำหนดลมหายใจเข้าออก
       (ข้อ ๙ ในอนุสติ ๑๐, ข้อ ๑๐ ในสัญญา ๑๐ เป็นต้น)
       บัดนี้นิยมเขียน อานาปานสติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 34
อาบัติ การต้อง, การล่วงละเมิด, โทษที่เกิดแต่การละเมิดสิกขาบท;
       อาบัติ ๗ คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต;
       อาบัติ ๗ กองนี้จัดรวมเป็นประเภทได้หลายอย่าง
       โดยมากจัดเป็น ๒ เช่น
           ๑. ครุกาบัติ อาบัติหนัก (ปาราชิกและสังฆาทิเสส)
           ๒. ลหุกาบัติ อาบัติเบา (อาบัติ ๕ อย่างที่เหลือ);
       คู่ต่อไปนี้ก็เหมือนกัน คือ
           ๑. ทุฏฐลลาบัติ อาบัติชั่วหยาบ
           ๒. อทุฏฐลลาบัติ อาบัติไม่ชั่วหยาบ;
           ๑. อเทสนาคามินี อาบัติที่ไม่พ้นได้ด้วยการแสดง
           ๒. เทสนาคามินี อาบัติที่พ้นได้ด้วยการแสดง คือเปิดเผยความผิดของตน;
       คู่ต่อไปนี้จัดต่างออกไปอีกแบบหนึ่งตรงกันทั้งหมด คือ
           ๑. อเตกิจฉา เยียวยาแก้ไขไม่ได้ (ปาราชิก)
           ๒. สเตกิจฉา เยียวยาแก้ไขได้ (อาบัติ ๖ อย่างที่เหลือ);
           ๑. อนวเสส ไม่มีส่วนเหลือ
           ๒. สาวเสส ยังมีส่วนเหลือ;
           ๑. อัปปฏิกัมม์ หรือ อปฏิกรรม ทำคืนไม่ได้ คือแก้ไขไม่ได้
           ๒. สัปปฏิกัมม์ หรือ สปฏิกรรม ยังทำคืนได้ คือแก้ไขได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 34
อิทธิ ความสำเร็จ, ความรุ่งเรืองงอกงาม;
       อำนาจที่จะทำอะไรได้อย่างวิเศษ

อิทธิ ๒ ดู ฤทธิ์ ๒


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ิ_
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D4_


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]