ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ุค ”             ผลการค้นหาพบ  43  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 43
กามสุคติภูมิ กามาวจรภูมิที่เป็นสุคติ คือ มนุษย์และสวรรค์ ๖
       (จะแปลว่า “สุคติภูมิที่ยังเกี่ยวข้องกับกาม” ก็ได้)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 43
คืบพระสุคต ชื่อมาตราวัด ตามอรรถกถานัยว่า เท่ากับ ๓ คืบของคนปานกลาง คือ เท่ากับศอกคืบช่างไม้ แต่มตินี้ไม่สมจริง
       ปัจจุบันยุติกันว่าให้ถือตามไม้เมตร คือ เท่ากับ ๒๕ เซนติเมตร ประมาณกันกับคืบช่างไม้ ซึ่งเป็นการสะดวก และถ้าหากจะสั้นกว่าขนาดจริง ก็ไม่เสีย เพราะจะไม่เกินกำหนด ไม่เสียทางวินัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 43
ถูปารหบุคคล บุคคลผู้ควรแก่สถูป คือ บุคคลที่ควรนำกระดูกบรรจุสถูปไว้บูชา มี ๔ คือ
       ๑. พระพุทธเจ้า
       ๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า
       ๓. พระอรหันตสาวก
       ๔. พระเจ้าจักรพรรดิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 43
ทักขิเณยยบุคคล บุคคลผู้ควรรับทักษิณา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 43
ทักขิไณย ผู้ควรแก่ทักขิณา, ผู้ควรรับของทำบุญที่ทายกถวาย

ทักขิไณยบุคคล บุคคลผู้ควรรับทักษิณา
       ดู ทักขิไณย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 43
ทิฏฐานุคติ การดำเนินตามสิ่งที่ได้เห็น, แบบอย่าง, ตัวอย่าง, การทำตามอย่าง, ทางดำเนินตามที่ได้มองเห็น, เช่นพระผู้ใหญ่ปฏิบัติตนชอบ ก็เป็นทิฏฐานุคติของพระผู้น้อย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 43
ทุคติ คติชั่ว, ภูมิชั่ว, ทางดำเนินที่มีความเดือดร้อน, สถานที่ไปเกิดอันชั่ว,
       ที่เกิดที่ไม่ดีมากไปด้วยความทุกข์ ได้แก่ นรก ดิรัจฉาน เปรต
       (บางทีรวม อสุรกาย ด้วย);
       ตรงข้ามกับ สุคติ;
       ดู คติ, อบาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 43
บาทยุคล คู่แห่งบาท, พระบาททั้งสอง (เท้าสองข้าง)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 43
บุคคล ๔ 1- บุคคล ๔ จำพวก คือ
       ๑. อุคฆฏิตัญญู ผู้รู้เข้าใจได้ฉับพลัน แต่พอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง
       ๒. วิปจิตัญญู ผู้รู้เข้าใจต่อเมื่อท่านขยายความ
       ๓. เนยยะ ผู้ที่พอจะแนะนำต่อไปได้
       ๔. ปทปรมะ ผู้ได้แค่ตัวบทคือถ้อยคำเป็นอย่างยิ่ง ไม่อาจเข้าใจความหมาย
       พระอรรถกถาจารย์เปรียบบุคคล ๔ จำพวกนี้กับบัว ๔ เหล่าตามลำดับ คือ
           ๑. ดอกบัวที่ตั้งขึ้นพ้นน้ำ รอสัมผัสแสงอาทิตย์ก็จะบานในวันนี้
           ๒. ดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอน้ำ จักบานในวันพรุ่งนี้
           ๓. ดอกบัวที่ยังอยู่ในน้ำ ยังไม่โผล่พ้นน้ำจักบานในวันต่อๆ ไป
           ๔. ดอกบัวจมอยู่ในน้ำที่กลายเป็นภักษาแห่งปลาและเต่า
       (ในพระบาลี ตรัสถึงแต่บัว ๓ เหล่าต้นเท่านั้น)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 43
บุคคล ๔ 2- บุคคล ๔ จำพวกที่แบ่งตามประมาณ ได้แก่
       ๑. รูปัปปมาณิกา
       ๒. โฆสัปปมาณิกา
       ๓. ลูขัปปมาณิกา และ
       ๔. ธัมมัปปมาณิกา;
       ดู ประมาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 43
บุคคลหาได้ยาก ๒ คือ
       ๑. บุพการี
       ๒. กตัญญูกตเวที

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 43
บุคคลาธิษฐาน มีบุคคลเป็นที่ตั้ง, เทศนายกบุคคลขึ้นตั้ง คือ วิธีแสดงธรรมโดยยกบุคคลขึ้นอ้าง;
       คู่กับ ธรรมาธิษฐาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 43
บุคลิก เนื่องด้วยบุคคล, จำเพาะคน (= ปุคคลิก)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 43
ปาฏิบุคลิก ดู ปาฏิปุคคลิก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 43
ปาฏิปุคคลิก เฉพาะบุคคล, ไม่ทั่วไป, ถวายเป็นส่วนปาฏิปุคคลิก คือ ถวายเจาะจงบุคคลไม่ใช่ถวายแก่สงฆ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 43
ปุคคลสัมมุขตา ความเป็นต่อหน้าบุคคล,
       ในวิวาทาธิกรณ์ หมายความว่า คู่วิวาทอยู่พร้อมหน้ากัน;
       ดู สัมมุขาวินัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 43
ปุคคลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักบุคคล คือ รู้ความแตกต่างแห่งบุคคล ว่าโดยอัธยาศัย ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น เป็นอย่างไร ควรคบควรใช้ควรสอนอย่างไร
       (ข้อ ๗ ในสัปปุริสธรรม ๗)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 43
ปุคคลิก ดู บุคลิก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 43
ปูชนียบุคคล บุคคลที่ควรบูชา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 43
พร้อมหน้าบุคคล บุคคลผู้เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นอยู่พร้อมหน้ากัน
       เช่น คู่วิวาทหรือคู่ความพร้อมหน้ากันในวิวาทาธิกรณ์และในอนุวาทาธิกรณ์ เป็นต้น
       (ปุคคลสัมมุขตา)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 43
ภัพพบุคคล คนที่ควรบรรลุธรรมพิเศษได้;
       เทียบ อภัพบุคคล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 43
มาตุคาม ผู้หญิง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 43
ยุค คราว, สมัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 43
ยุคล คู่, ทั้งสอง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 43
ยุคลบาท, บาทยุคล เท้าทั้งสอง, เท้าทั้งคู่

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 43
สอุปาทิเสสบุคคล บุคคลผู้ยังมีเชื้อกิเลสเหลืออยู่,
       ผู้ยังไม่สิ้นอุปาทาน ได้แก่ พระเสขะ คือ พระอริยบุคคลทั้งหมด ยกเว้นพระอรหันต์;
       เทียบ อนุปาทิเสสบุคคล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 43
สุคต ผู้เสด็จไปดีแล้ว, เป็นพระนามพระพุทธเจ้า;
       ดู สุคโต ด้วย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 43
สุคตประมาณ ขนาดหรือประมาณของพระสุคต คือ พระพุทธเจ้า,
       เกณฑ์หรือมาตราวัดของพระสุคต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 43
สุคตาณัตติพจน์ พระดำรัสสั่งของพระสุคต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 43
สุคติ คติดี, ทางดำเนินที่ดี, สถานที่ที่ดีที่สัตว์โลกซึ่งทำกรรมดีตามแล้วไปเกิด ได้แก่ มนุษย์และเทพ;
       ตรงข้ามกับ ทุคติ; ดู คติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 43
สุคโต “เสด็จไปดีแล้ว” คือ ทรงมีทางเสด็จที่ดีงามอันได้แก่อริยมรรค,
       เสด็จไปสู่ที่ดีงาม กล่าวคือพระนิพพาน,
       เสด็จไปด้วยดีโดยชอบ กล่าวคือ
           ทรงดำเนินรุดหน้าไม่หวนกลับคืนมาสู่กิเลสที่ทรงละได้แล้ว
           ทรงดำเนินสู่ผลสำเร็จไม่ถอยหลัง ไม่กลับตกจากฐานะที่ลุถึง
           ทรงดำเนินในทางอันถูกต้องคือมัชฌิมาปฏิปทา ไม่เฉเชือนไปในทางผิด คือ กามสุขัลลิกานุโยคและอัตตกิลมถานุโยค
           เสด็จไปดี เสด็จที่ใดก็ทรงทำประโยชน์ให้แก่มหาชนในที่นั้น เสด็จไปโดยสวัสดีและนำให้เกิดความสวัสดี แม้แต่พบองคุลิมาลมหาโจรร้าย ก็ทรงกลับใจให้เขากลายเป็นคนดีไม่มีภัย
           เสด็จผ่านไปแล้วด้วยดี ได้ทรงบำเพ็ญพุทธกิจไว้บริบูรณ์ ประดิษฐานพระพุทธศาสนาไว้ เพื่อชาวโลก ให้เป็นเครื่องเผล็ดประโยชน์แก่ประชาชนทั้งปวงผู้เกิดมาในภายหลัง,
       ทรงมีพระวาจาดี หรือตรัสโดยชอบ คือ ตรัสแต่คำจริงแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ในกาลที่ควรตรัส และแก่บุคคลที่ควรตรัส
       (ข้อ ๔ ในพุทธคุณ ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 43
สุคนธชาติ ของหอม, เครื่องหอม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 43
สุคนธวารี น้ำหอม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 43
เสขบุคคล บุคคลที่ยังต้องศึกษาอยู่;
       ดู เสขะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 43
อธิษฐานอุโบสถ อุโบสถที่ทำด้วยการอธิษฐาน ได้แก่ อุโบสถที่ภิกษุรูปเดียวทำ
       กล่าวคือ เมื่อในวัดมีภิกษุรูปเดียวถึงวันอุโบสถ เธอพึงอธิษฐานคือตั้งใจหรือกำหนดใจว่า
           “อชฺช เม อุโปสโถ” แปลว่า “วันนี้อุโบสถของเรา”
       เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปุคคลอุโบสถ (อุโบสถของบุคคล หรือทำโดยบุคคล);
       ดู อุโบสถ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 43
อนุปาทิเสสบุคคล บุคคลผู้ไม่มีเชื้อกิเลสเหลือ,
       ผู้หมดอุปาทานสิ้นเชิง ได้แก่ พระอเสขะ คือ พระอรหันต์;
       เทียบ สอุปาทิเสสบุคคล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 43
อภัพบุคคล บุคคลผู้ไม่สมควร, มีความหมายตามข้อความแวดล้อม
       เช่น คนที่ไม่อาจบรรลุโลกุตตรธรรมได้ คนที่ขาดคุณสมบัติ ไม่อาจให้อุปสมบทได้ เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 43
อริยบุคคล บุคคลผู้เป็นอริยะ,
       ท่านผู้บรรลุธรรมวิเศษมีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น มี ๔ คือ
           ๑. พระโสดาบัน
           ๒. พระสกทาคามี (หรือสกิทาคามี)
           ๓. พระอนาคามี
           ๔. พระอรหันต์ ;
       แบ่งพิสดารเป็น ๘ คือ
           พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค และพระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล คู่ ๑,
           พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิมรรค และพระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล คู่ ๑,
           พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค และพระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล คู่ ๑,
           พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค และพระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล คู่ ๑

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 43
อริยบุคคล ๗ บุคคลผู้เป็นอริยะ, บุคคลผู้ประเสริฐ,
       ท่านผู้บรรลุธรรมวิเศษ มีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น
       นัยหนึ่ง จำแนกเป็น ๗ คือ
       สัทธานุสารี ธัมมานุสารี สัทธาวิมุต ทิฏฐิปปัตตะ กายสักขี ปัญญาวิมุต และ อุภโตภาควิมุต
       (ดูคำนั้นๆ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 43
อเสขบุคคล บุคคลผู้ไม่ต้องศึกษา;
       ดู อเสขะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 43
อาลยสมุคฺฆาโต ความถอนขึ้นด้วยดีซึ่งอาลัย, การถอนอาลัย คือตัณหาได้เด็ดขาด
       (เป็นไวพจน์แห่งวิราคะ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  42 / 43
อุคคหนิมิต นิมิตติดตา หมายถึง นิมิต (อารมณ์กรรมฐาน) ที่นึกกำหนดจนแม่นใจ หรือที่เพ่งดูจนติดตาติดใจ แม้หลับตาก็เห็น
       (ข้อ ๒ ในนิมิต ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  43 / 43
อุคฆฏิตัญญู ผู้อาจรู้ได้ฉับพลัน แต่พอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง
       คือ มีปัญญาเฉียบแหลม พูดให้ฟังเพียงหัวข้อก็เข้าใจ
       (ข้อ ๑ ในบุคคล ๔)


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ุค
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D8%A4


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]