ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก  หนังสือธรรมะ
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
มิลินทปัญหา
เสฏฐธัมมปัญหา ที่ ๗
             สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ภาสิตํ เจตํ พระพุทธฎีกาที่สมเด็จพระมหากรุณาตรัสแก่วาเสฏฐ- มาณพว่า โลกุตรธรรมนี้ถ้าผู้ใดสำเร็จแล้วประเสริฐนัก อาจให้เกิดผลเป็นทิฏฐธรรมเห็น ประจักษ์ในชาตินี้ และจะให้ผลแผ่ไปในปรโลกแก่คนทั้งหลายอันสักการบูชา แล้วพระองค์ตรัส ใหม่เล่าว่า คีหิ โสตาปนฺโน คฤหัสถ์ได้พระโสดานั้นละบาปกรรมได้เสร็จสิ้นแล้ว จะตายไปสู่ อบายภูมิทั้ง ๔ นั้นหาบ่มิได้ เป็นผู้เห็นแท้ในธรรมจะได้สงสัยในคำพระตถาคตว่า ไม่เปลื้องปลด ให้พ้นสังสารวัฏหาบ่มิได้ พระโสดาบันฆราวาสนั้น ย่อมไหว้และลุกรับภิกษุและสามเณรที่เป็น ปุถุชน อันยังหนาด้วยกิเลส นี่แหละพระพุทธฎีกาทั้งสองนี้ไม่ต้องกัน เดิมว่าผู้ที่ได้โลกุตรธรรม นั้น ประเสริฐในปุถุชนจะบูชา ควรที่ปุถุชาจะบูชา ครั้นว่าจะเชื่อกระแสพระพุทธฎีกานี้ พระพุทธฎีกาที่ ได้โปรดไว้ทีหลังว่า พระโสดาบันคฤหัสถ์ย่อมนมัสการและลุกรับพระภิกษุสามเณรเป็นปุถุชน กระแสพระพุทธฎีกาภายหลังนี้จะเป็นมิจฉา ครั้นจะเชื่อกระแสพระพุทธฎีกาภายหลังเล่า พระ พุทธฎีกาที่ตรัสไว้ก่อนว่า พระโลกุตรธรรมเสริฐในปุถุนชน ควรปุถุนชาจะบูชา พระพุทธฎีกานี้จะ เป็นมิจฉา อยํ ปญฺโห อันว่าปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ คือเป็นสองเงื่อน นิมนต์พระผู้เป็นเจ้า โปรดวิสัชนาก่อน              พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ดูกรบพิตรผู้ประเสริฐ เดิมสมเด็จพระบรม- โลกนาถศาสดา มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า พระนวโลกุตรธรรมประเสริฐ ควรปุถุชนทั้งหลายจะไหว้ จะบูชา พระพุทธฎีกานี้ตรัสแน่นอนกระนี้ ปุน จ ครั้นต่อมาเล่า สมเด็จพระพิชิตมารมุนีเจ้ามี พระพุทธฎีกาตรัสว่าคฤหัสถ์ได้พระโสดาเป็นผู้ละบาปกรรมได้เสร็จนั้น กระทำกาลกิริยาไม่รู้ไป อบายทั้ง ๔ คือ มั่นในคุณพระศรีรัตนตรัย แต่ยังเคารพนบไหว้พระภิกษุสามเณรผู้เป็นปุถุชน ดังนี้ ขอถวายพระพร คำทั้งสองนี้สมเด็จพระทศพลตรัสพระสัทธรรมเทศนาไว้จริง มิได้ผิดและ พระพุทธภาษิตทั้งสองนั้น จะแย้งกันเป็นอันหามิได้ มหาบพิตรจงทราบพระญาณตามเหตุอันมี อยู่ ที่อาตมาภาพจะถวายวิสัชนาต่อไป กตเมตํ การณํ เหตุนั้นเป็นไฉน ได้แก่อะไร วีสติโย ปนิเย มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรผู้ประเสริฐ คือภิกษุสามเณรนั้นเป็นผู้มีสมกรณีย- ธรรม ๒๐ ประการ ที่เป็นธรรมสำหรับสมณะประพฤติ และเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งเพศอันอุดม ๒ อย่าง อันสมควรจะกราบไหว้เคารพบูชาสักการะและนับถือ ก็แหละสมณกรณียธรรม ๒๐ ประการ และเพศ ๒ อย่างนั้นเป็นไฉนเล่า เสฏฺฐภูมิสโย คือตั้งอยู่ในภูมิอันประเสริฐประกอบด้วย กรุณาและความสัตย์เป็นต้นประการ ๑ อคฺเค นิยโม คือนิยมในกิจอันเลิศประการ ๑ จาโร คือ มีความประพฤติประการ ๑ วิหาโร คือมีวิหารธรรมและอิริยาบถอันสมควรประการ ๑ สญฺญโม คือสำรวมอินทรีย์ประการ ๑ สํวโร คือสำรวมปาติโมกขสังวรศีลประการ ๑ ขนฺติ คือ ประกอบด้วยอดใจประการ ๑ โสรจฺจํ คือความเป็นผู้เป็นสงบเสงี่ยมประการ ๑ เอกนฺตา- ภิรติ คือยินดีในธรรมเป็นอันแท้ประการ ๑ เอกนฺตจริยา คือประพฤติธรรมเที่ยงแท้ประการ ๑ ปติสลฺลินี คือมีปรกติเข้าที่เร้นประการ ๑ หิริ คือละอายแก่บาปประการ ๑ โอตฺตปฺปํ คือสะดุ้งแก่บาปประการ ๑ วิริยํ คือมีเพียรประการ ๑ อปฺปมาโท คือเล่าเรียนบอกกล่าวอรรถกถา อุทฺเทโส คือบอกผ้ากาสาวพัสตร์ประการ ๑ มุณฺฑภาโว คือมีศีรษะโล้นประการ ๑ รวมเป็น ประการ ๑ สีลาทิรติ คือยืนดีในคุณพระธรรมทั้งหลายมีศีลคุณเป็นต้นประการ ๑ นิราลยตา คือภาวะไม่มีอาลัยประการ ๑ สิกฺขาปทปาริปูรี คือบริบูรณ์ ด้วยสิกขาบทประกร ๑ ภณฺฑ- ภาโว คือทรงด้วยกาสาวพัสตร์ประการ ๑ มุณิฑภาโว คือมีศีรษะโล้นประการ ๑ รวมเป็น ๒๒ ประการด้วยกัน สมณกรณียธรรม ๒๐ ประการและเพศ ๒ ประการนั้นดังนี้แล ขอถวาย พระพร พระภิกษุสามเณรประกอบสมาทานประพฤติคุณเหล่านี้ให้บริบูรณ์เต็มที่ มิให้บกพร่อง แล้วก็อาจสามารถจะย่างลงสู่อเสขภูมิและอรหัตภูมิได้ เมื่อภิกษุสามเณรนั้น เป็นผู้ถึงระหว่าง แห่งตำแหน่งอันประเสริฐ จะได้บรรลุความเป็นพระอรหันต์ได้ต่อไปเช่นนี้ อุบาสกผู้เป็น โสดาบันจึงควรจะกราบไหว้บูชาและลุกรับ ด้วยเหตุที่มาจินตนาการว่า สามญฺญํ อุปคโต ท่านผู้นี้เข้าถึงซึ่งความเป็นผู้เสมอ เทียมเทียบเปรียบด้วยขีณาสพทั้งหลาย ความถึงพร้อม เช่นนี้จะได้มีแก่เราเป็นอันว่าหามิได้ ประการหนึ่ง อุบาสกที่เป็นโสดาบัน ควรกราบไหว้บูชา และลุกรับภิกษุที่เป็นปุถุชน ด้วยมาจิตนาการว่า ภิกษุนี้เข้าถึงซึ่งความเป็นบริษัทอันเลิศ และ ได้เพื่อจะฟังปาติโมกขุทเทศ เป็นผู้สามารถจะให้บรรพชาอุปสมบทกุลบุตรเหล่าอื่น บำรุงพระ พุทธศาสนาให้เจริญยืนดำรงอยู่สืบไป สิกฺขาปเทสุ สมคฺคการี เป็นผู้ปฏิบัติรักษาสิกขาบท ทั้งหลายไม่มีประมาณ ให้บริบูรณ์ไม่ด่างพร้อย การที่จะให้กระทำและปฏิบัติเช่นนี้ หามีแก่เราไม่ ประการหนึ่งเล่า ภิกษุนี้ทรงไว้ซึ่งเพศแห่งสรณะ ตั้งอยู่ในความประสงค์ของพระพุทธเจ้า อุปรุฬฺหนขโลโม เป็นผู้ตัดเล็บและมีหนวดเคราอันตัดถอนแล้วมิได้ทาแป้งแต่งตัวประดับประดา อนุปลิตฺตสีลคนฺโธ มีกลิ่นคือศีลหอมขจรไปไม่ต้องลูบไล้ของหอม ตัวของอาตมานี้พร้อมไปในที่ จะประดับประดา มีนุ่งผ้าห่มผ้าอันงดงามใช่ผู้มักน้อยสันโดษ ไม่สามารถจะปฏิบัติให้เหมือน ท่านได้ เหตุฉะนี้พระโสดาจึงไหว้พระภิกษุที่เป็นปุถุชนนั้น ประการหนึ่ง พระโสดาอุบาสกมาวิตก คิดว่า พระภิกษุทั้งหลายประการด้วยเหตุแห่งสมณะ ๒๐ ประการ และเพศ ๒ ประการแล้ว ยังผู้อื่นให้เล่าเรียนสิกขาบทต่อไปได้ อาตมานี้สั่งสอนให้คนทั้งหลายรู้ซึ่งสิกขาบทเหมือน พระภิกษุไม่มี เหตุฉะนี้พระโสดาอุบาสกจึงไหว้นบพระภิกษุปุถุชนนั้น มหาราช ขอถวายพระพร โส อตฺโถ อันว่าเนื้อความนี้ ควรที่จะรู้ด้วยอุปมา ราชปุตฺโต ปานดุจราชบุตรแห่งบรมกษัตรา ธิราชไปเล่าเรียนศิลปศาสตร์ในสำนักพราหมณ์ปุโรหิตผู้ใหญ่ ครั้นราชบุตรเรียนไปก็จำเริญด้วย ศิลปศาสตร์ ครั้นราชบุตรนั้นได้ราชาภิเษกเป็นใหญ่ขึ้นก็ไหว้นบเคารพปุโรหิต ด้วยคำว่า ปุโรหิตได้เป็นครู บอกความรู้วิชา ยถา มีครุวนาฉันใด พระโสดาอุบาสกก็วิตกว่า พระภิกษุนั้น ทรงศีลสังวรได้สั่งสอนอาตมาอยู่ รำพังกระนี้พระโสดาจึงไหว้นบพระภิกษุปุถุชนนั้น อปิจ ประการหนึ่ง มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรผู้ประเสริฐ อันภูมิภิกษุนี้ลำเสิศหาภูมิอื่นเสมอ บ่มิได้ ควรที่พระโสดาจะได้ไว้นบ ด้วยภูมิภิกษุเป็นภูมิใหญ่ ถ้าว่าอุบาสกผู้โสดาได้เป็นพระ อรหันต์ จะทรงไว้ได้ก็แต่ภูมิภิกษุนี้เป็นมหัจตภูมิใหญ่เสียก็จะต้องเข้านิพพาน มีคติ สองประการกระนี้ จึงว่าภูมิภิกษุเป็นมหันตภูมิใหญ่ไพศาลควรอุบาสกโสดาจะนมัสการ บพิตรพระราชสมภารจงพระสันนิษฐานเข้าพระทัยด้วยประการดังนี้              สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดีพระราชโองการสรรเสริญพระนาคเสนว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ล้ำเลิศ สธุสะปัญญาของพระผู้เป็นเจ้านี้พระเสริฐนักหนา มาแก้อรรถปัญหานี้ได้แจ่มแจ้ง ปัญญาแต่พอดีพอร้ายใครจะแก้ได้ อญฺโญ โกจิ ผู้ใดอื่น นับหมื่นโกฏิ นอกจากพระผู้เป็นเจ้า มิอาจแก้ปัญหานี้ได้ โยมนี้รับไว้ตามที่พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนา นั้นทุกประการ
เสฏฐธัมมปัญหา คำรบ ๗ จบเพียงนี้

             เนื้อความมิลินทปัญหา หน้าที่ ๒๖๓ - ๒๖๕. http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=111              สารบัญมิลินทปัญหา http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=0#item_111

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]