ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก  หนังสือธรรมะ
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
มิลินทปัญหา
สมณทุสสีลคีหิทุสสีลปัญหา ที่ ๔
             ราชา อาห สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสถามปัญหาอื่นว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชาญาณ คฤหัสถ์ทุศีลกับสมณะทุศีลนั้น โกจิ วิเสโส ข้างไหนจะดีกว่ากัน ตกว่าสมณะทุศีลคฤหัสถ์ทุศีล ๒ จำพวกนั้น จะมีคติมีผลเสมอกันหรือ ว่าจะต่างกัน              พระนาคเสนผู้ประกอบไปด้วยปัญญาจึงวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตร พระราชสมภารผู้ประเสริฐ คฤหัสถ์ทุศีลนั้นจะเหมือนสมณะทุศีลหามิได้ อันสมณะทุศีลมีคุณ ๑๐ ประการ มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อันว่าคุณ ๑๐ ประการแห่งสมณะ ทุศีลนั้น กตเม เป็นดังฤๅ อันว่าคุณแห่งสมณะทุศีล ๑๐ ประการนั้น พุทฺเธ สคารโว คือ สมณะทุศีลนั้นเคารพในพระพุทธเจ้าประการ ๑ ธมฺเม สคารโว คือสมณะทุศีลนั้นเคารพใน พระธรรมประการ ๑ สงฺเฆ สคารโว คือสมณะทุศีลนั้นเคารพในพระสงฆ์ประการ ๑ สพฺรหฺม- จารีสุ สคารโว คือสมณะทุศีลนั้นเคารพเพื่อนพรหมจารีประการ ๑ อุทฺเทสปริปุจฺฉาย วายมติ คือสมณะทุศีลนั้นเพียรที่จะบอกกล่าวเล่าเรียนพระบาลีและอรรถกถาประการ ๑ สวนพหุโล คือสมณะทุศีลนั้นมากในการฟังธรรมประการ ๑ ภินฺนสีโลปิ สมณะทุศีลนั้นตัวสิ เป็นศีลเภท แล้ว แม้จะมาสู่สำนักบริษัท ย่อมตั้งไว้ซึ่งอากัปกิริยาเหมือนมีศีลบริสุทธิ์ สำรวมกาย วาจามิให้ มีครหาเกิดขึ้นได้ประการ ๑ ปธานาภิมุขํ สมณะทุศีลนั้นตั้งไว้ซึ่งจิตเป็นประธานประการ ๑ สามญฺญํ อุปคโต สมณะทุศีลนั้นเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งสมณเพศประการ ๑ ปาปํ ปฏิจฺฉนฺน อาจรติ สมณะทุศีลนั้น แม้จะกระทำความชั่ว ก็ย่อมกระทำในที่ลับประดุจสตรีผู้มีสามี แอบสามีประ พฤติความชั่วฉะนั้นประการ ๑ สมณะทุศีลดีกว่าคฤหัสถ์ที่ทุศีลด้วยคุณ ๑๐ ประการดังวิสัชนา มาฉะนี้ ใช่แต่เท่านั้น สมณะทุศีลดีกว่าคฤหัสถ์ที่ทุศีล ด้วยจะให้สำเร็จผลแห่งทักษิณาทานอันยิ่ง ของทายกได้ด้วยเหตุ ๑๐ ประการ อวชฺชปธารณตาย คือสมณะทุศีลให้สำเร็จทักษิณาทานของ ทายกได้ ้ด้วยเพศสมณะอันหาได้โทษมิได้ อันตนทรงไว้ให้ทายกเลื่อมใส ประการ ๑ สมณะทุศีล ยังทักษิณาทานของทายกให้มีผล ด้วยเหตุทรงเพศสมณะของท่านที่แสวงหาคุณธรรม เป็นไม้ เท้าที่ยึดหน่วงจับต้องแห่งทายกทั้งหลายประการ ๑ สมณะทุศีลยังทักษิณาทานของทายก ให้สำเร็จผล ด้วยภาวะคือตนปฏิบัติตามลัทธิของพระสงฆ์ คือ การที่จะกระทำวัตรปฏิบัติน้อย ใหญ่ เคยกระทำฉันใดก็กระทำฉันนั้นประการ ๑ สมณะทุศีลย่อมยังทักษิณาทานของทายก ให้สำเร็จผล ด้วยภาวะที่ตนยังถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้าเป็นที่พึ่งประการ ๑ สมณะทุศีลยัง ทักษิณาทานของทายกให้สำเร็จผล ด้วยภาวะถืออนิเกตวาสี คือไม่สถิตอยู่ติดถิ่น มิได้มี ความห่วงใยในที่อยู่ อาศัยอนิเกตวาสีนี้เป็นประธารประการ ๑ สมณะทุศีล ยังทักษิณาทาน ของทายกให้สำเร็จผล ด้วยภาวะที่ตนยังแสวงหาชินศาสนธรรม เป็นคำสั่งสอนของสมเด็จพระ ทศพลผู้ผจญมารชนะมารนั้นประการ ๑ สมณะทุศีลยังทักษิณาทานของทายกให้สำเร็จผล ด้วยตนสำแดงซึ่งบวรธรรม คือเทศนาสวดมนต์ประการ ๑ สมณะทุศีลยังทักษิณาทานของ ทายกให้สำเร็จผล ด้วยถึงซึ่งภาวะมีธรรมเป็นที่พึ่งเป็นหัวหน้าประการ ๑ สมณะทุศีลยังทัก- ษิณาทานของทายกให้สำเร็จผล ด้วยตนที่ทิฐิเห็นเที่ยงเห็นตรงว่า อคฺโค พุทโธ สมเด็จพระ พุทธองค์ทรงพระคุณอันล้ำเลิศประเสริฐกว่ามนุษย์นิกรเทวดา หาผู้ใดที่จะเปรียบมิได้ทั้ง ๓ ภพประการ ๑ สมณะทุศีลยังทักษิณาทานของทายกให้สำเร็จผล คือตนกวาดพระอุโบสถ เสมออยู่ประการ ๑ สิริได้เหตุ ๑๐ ประการเท่านี้ มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราช สมภาร อุทกํ สุพหลมฺปิ กลลกทฺทมํ ธรรมดาว่าอุทกังอันเป็นน้ำ ก็ย่อมจะล้างชำระเปือกตม และเหงื่อไคลได้ ยถา มีครุวนาฉันใด สมณะทุศีลอันปฏิบัติผิดเป็นปาราชิกนั้น ก็ยังทานของ ทายกให้สำเร็จผลได้ เอวเมว โข มีอุปไมยดังน้ำอันชำระเปือกตมและเหงื่อไคลได้นั้น มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ ธรรมดาว่าน้ำร้อย สุกุฏฺฐิตมฺปิ อันเดือดพลุ่ง พล่าน ก็อาจสามารถที่จะดับเพลิงกองใหญ่ให้ดับได้ ยถา มีครุวนาฉันใด สมณะทุศีลนั้นไซร้ ก็อาจยังทักษิณาทานของทายกให้ผ่องใสสำเร็จผล ดุจอุทกังร้อนอันบุคคลดับซึ่งมหาอัคคีกอง เพลิงอันใหญ่นั้น ดูกรบพิตรพระราชสมภาร อีกประการหนึ่ง สมณะทุศีลย่อมยังทักษิณาทาน ของทายกให้สำเร็จผลได้เหมือนโภชนะแม้นปราศจากโอชารสก็ยังบรรเทาความหิวของผู้บริโภคได้ ข้อนี้ยุติด้วยกระแสบรรยายพระพุทธฎีกา อันสมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์ตรัสจำแนกไว้ ในเวยยากรณคาถาในทักขิณาวิภังคสูตร ในมัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ว่า                           โย สีลวา ทุสฺสีเลสุ ททาติ ทานํ                           ธมฺเมน ลทฺธํ สุปสนฺนจิตฺโต                           อภิสทฺทหิ กมฺมผลํ อุฬารํ                           สา ทกฺขิณา ทายกโต วิสุชฺฌตีติ แปลว่า โย ทายโก อันว่าทายกผู้ใด สีลวา ตั้งอยู่ในศีล ๕ ประการ ๘ ประการ มีศีลสมาทาน เป็นอันมั่น มีจิตเลื่อมใสเป็นอันดีแล้ว ย่อมให้ซึ่งทานที่ตนได้มาโดยธรรมแก่สมณะทุศีลทั้ง หลายและเชื่อกรรมเชื่อผลอันยิ่ง สา ทกฺขิณา อันว่าทักษิณา คือทานของทายกนั้นย่อมบริ- สุทธิ์โดยผู้ให้ คือสามารถจะยังผลอันเจริญให้สำเร็จแก่ทายกนั้น ดังนี้ เพราะเหตุนี้ สมณะทุศีล จึงชื่อว่ายังทักษิณาของทายกให้สำเร็จผลได้ ขอถวายพระพร              สมเด็จพระบรมจอมไตรมิลินทราชทรงฟังก็ประสาทเลื่อมใสสาธุการว่า สาธุ ควรอัศจรรย์ ด้วยปัญหาผู้เป็นเจ้าผู้ปรีชาวิสัชนาให้รู้ด้วยเหตุอุปมา สวนูปตฺตํ อกาสิ ผู้เป็นเจ้ากระทำ อมฤตมธุรสให้ปรากฏควรที่จะสวนาการฟัง เป็นที่จะบังเกิดโสมนัสปรีดา ยถา สูโท ธรรม- ดาว่าพ่อครัวที่ฉลาดได้ซึ่งมังสังสิ่งเดียว ก็อาจกระทำด้วยเครื่องปรุงอันมีประการต่างๆ คือต้ม แกงคั่วเจียวปิ้งย่าง กระทำต่างๆ เป็นราชบริโภคได้ ยถา มีครุวนาอุปมาฉันใด โยมได้ถาม ปัญหาข้อเดียวเท่านี้ ผู้เป็นเจ้าชักเอาเหตุมาเปรียบเทียบให้สิ้นสงสัย กระทำอมฤตรส ให้ปรากฏควรซึ่งอันฟัง มีอุปไมยฉันนั้น
สมณทุสสลีลคีหิทุสสีลปัญหา คำรบ ๔ จบเพียงนี้

             เนื้อความมิลินทปัญหา หน้าที่ ๓๘๓ - ๓๘๕. http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=158              สารบัญมิลินทปัญหา http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=0#item_158

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]