ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ ปริวาร
ยาวตติยกาบัติเป็นต้น
[๑๒๖๓] ถามว่า เพราะสวดประกาศครบ ๓ จบ เป็นอาบัติเท่าไร? เพราะการกล่าวเป็น ปัจจัย เป็นอาบัติเท่าไร? ภิกษุเคี้ยว ต้องอาบัติเท่าไร? เพราะฉันเป็นปัจจัย เป็น อาบัติเท่าไร? ตอบว่า เพราะสวดประกาศครบ ๓ จบ เป็นอาบัติ ๓ เพราะการกล่าวเป็นปัจจัย เป็นอาบัติ ๖ ภิกษุเคี้ยวต้องอาบัติ ๓ ตัว, เพราะฉันเป็นปัจจัย เป็นอาบัติ ๕.
ฐานะแห่งยาวตติกาบัติเป็นต้น
[๑๒๖๔] ถามว่า ยาวตติยกาบัติทั้งมวล ย่อมถึงฐานะเท่าไร? อาบัติมีแก่คนกี่พวก? และอธิกรณ์ มีแก่คนกี่พวก? ตอบว่า ยาวตติยกาบัติทั้งมวลย่อมถึงฐานะ ๕ อาบัติมีแก่สหธรรมิก ๕ และ อธิกรณ์ มีแก่สหธรรมิก ๕.
วินิจฉัยเป็นต้น
[๑๒๖๕] ถามว่า วินิจฉัยมีแก่บุคคลกี่พวก? การระงับ มีแก่บุคคลกี่พวก? บุคคลกี่พวก ไม่ต้องอาบัติ? และภิกษุย่อมงามด้วยฐานะเท่าไร? ตอบว่า วินิจฉัยมีแก่สหธรรมิก ๕ พวก การระงับมีแก่สหธรรมิก ๕ พวก สหธรรมิก ๕ พวก ไม่ต้องอาบัติและภิกษุย่อมงามด้วยเหตุ ๓ สถาน
อาบัติทางกายในราตรีเป็นต้น
[๑๒๖๖] ถามว่า อาบัติทางกายในราตรีมีเท่าไร? ทางกายในกลางวันมีเท่าไร? ภิกษุแพ่งดูต้อง อาบัติเท่าไร? เพราะบิณฑบาตเป็นปัจจัยเป็นอาบัติเท่าไร? ตอบว่า อาบัติทางกายในราตรีมี ๒ ทางกายในกลางวันมี ๒ ภิกษุเพ่งดูต้อง อาบัติตัวเดียว เพราะบิณฑบาตเป็นปัจจัยเป็นอาบัติตัวเดียว.
ภิกษุที่สงฆ์ยกวัตรเป็นต้น
[๑๒๖๗] ถามว่า ภิกษุเห็นอานิสงส์เท่าไร จึงแสดง เพราะเชื่อผู้อื่น? ภิกษุผู้ถูกยกวัตรตรัส ไว้มีเท่าไร? ความประพฤติชอบมีเท่าไร? ตอบว่า ภิกษุเห็นอานิสงส์ ๘ อย่าง จึงแสดงเพราะเชื่อผู้อื่น ภิกษุผู้ถูกยกวัตร ตรัสไว้ มี ๓ พวก ความประพฤติชอบมี ๔๓ ข้อ
มุสาวาทเป็นต้น
[๑๒๖๘] ถามว่า มุสาวาทถึงฐานะเท่าไร? ที่ตรัสว่าอย่างยิ่งมีเท่าไร? ปาฏิเทสนียะมีกี่สิกขาบท? การแสดงโทษของบุคคลกี่จำพวก? ตอบว่า มุสาวาทถึงฐานะ ๕ ที่ตรัสว่าอย่างยิ่ง มี ๑๔ สิขาบท ปาฏิเทสนียะมี ๑๒ สิกขาบท การแสดงโทษของบุคคล ๕ จำพวก
องค์ของมุสาวาทเป็นต้น
[๑๒๖๙] ถามว่า มุสาวาทมีองค์เท่าไร? องค์อุโบสถมีเท่าไร? องค์ของผู้ควรเป็นทูตมีเท่าไร? ติตถิยวัตร มีเท่าไร? ตอบว่า มุสาวาทมีองค์ ๘ องค์อุโบสถมี ๘ องค์ของผู้ควรเป็นทูตมี ๘ ติตถิยวัตรมี ๘
อุปสัมปทาเป็นต้น
[๑๒๗๐] ถามว่า อุปสัมปทามีวาจาเท่าไร? ภิกษุณีพึงลุกรับภิกษุณีกี่พวก? พึงให้อาสนะ แก่ภิกษุณีกี่พวก? ภิกษุผู้สั่งสอนภิกษุณีต้องประกอบด้วยคุณสมบัติเท่าไร? ตอบว่า อุปสัมปทามีวาจา ๘ ภิกษุณีพึงลุกรับ ภิกษุณี ๘ พวกพึงให้อาสนะแก่ ภิกษุณี ๘ พวก ภิกษุผู้สั่งสอนภิกษุณีต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ ๘
ความขาดเป็นต้น
[๑๒๗๑] ถามว่า ความขาดมีแก่คนเท่าไร? อาบัติถุลลัจจัยมีแก่คนเท่าไร? บุคคลเท่าไร ไม่ต้องอาบัติ? อาบัติและอนาบัติของคนทั้งหมดมีวัตถุอย่างเดียวกัน หรือ? ตอบว่า ความขาดมีแก่คนผู้เดียว อาบัติถุลลัจจัยมีแก่คน ๔ พวก บุคคล ๔ พวก ไม่ต้องอาบัติอาบัติและอนาบัติของคนทั้งหมดมีวัตถุอย่างเดียวกัน
กรรมเนื่องด้วยญัตติเป็นต้น
[๑๒๗๒] ถามว่า อาฆาตวัตถุมีเท่าไร? สงฆ์แตกกัน ด้วยเหตุเท่าไร? อาบัติชื่อปฐมาปัตติกา ในศาสนานี้มีเท่าไร? ทำด้วยญัตติมีเท่าไร? ตอบว่า อาฆาตวัตถุมี ๙ สงฆ์แตกกันด้วยเหตุ ๙ อย่าง อาบัติชื่อปฐมาปัตติกา ในศาสนานี้มี ๙ อย่าง ทำด้วยญัตติมี ๙.
บุคคลไม่ควรกราบไหว้เป็นต้น
[๑๒๗๓] ถามว่า บุคคลเท่าไร อันภิกษุไม่พึงกราบไหว้ และไม่พึงทำอัญชลีกรรมและสามี จิกรรม? เพราะทำแก่บุคคลเท่าไร ต้องอาบัติทุกกฏ? ทรงจีวรมีกำหนดเท่าไร? ตอบว่า บุคคล ๑๐ พวก อันภิกษุไม่พึงกราบไหว้ ไม่พึงทำอัญชลีกรรม และสามี จิกรรม เพราะทำแก่บุคคล ๑๐ พวก ต้องอาบัติทุกกฏทรงจีวรมีกำหนด ๑๐ วัน
ให้จีวรเป็นต้น
[๑๒๗๔] ถามว่า จีวรควรให้แก่บุคคลในศาสนานี้ ผู้จำพรรษาแล้วกี่พวก? เมื่อมีผู้รับแทนควรให้ แก่บุคคลกี่พวก? และไม่ควรให้แก่บุคคลกี่พวก? ตอบว่า จีวรควรให้แก่สหธรรมิก ๕ ในศาสนานี้ ผู้จำพรรษาแล้วเมื่อมีผู้รับแทน ควรให้แก่บุคคล ๗ พวก ไม่ควรให้แก่บุคคล ๑๖ พวก
ภิกษุอยู่ปริวาส
[๑๒๗๕] ถามว่า ชั่ว ๑๐๐ ราตรี ภิกษุอยู่ปริวาสปิดอาบัติไว้กี่ร้อย? ต้องอยู่ปริวาสกี่ราตรี จึงจะพ้น? ตอบว่า ชั่ว ๑๐๐ ราตรี ภิกษุอยู่ปริวาสปิดอาบัติไว้ ๑๐ ร้อยราตรีต้องอยู่ปริวาส ๑๐ ราตรี จึงจะพ้น
โทษแห่งกรรม
[๑๒๗๖] ถามว่า โทษแห่งกรรม อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ เท่าไร? กรรมไม่เป็นธรรมทั้งหมดที่ตรัสไว้ในเรื่องวินัย ในพระนครจัมปามีเท่าไร? ตอบว่า โทษแห่งกรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้มี ๑๒ กรรมที่ตรัสไว้ในเรื่องวินัยในพระนครจัมปาล้วนไม่เป็นธรรม.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๑๒๗๑๐-๑๒๗๗๙ หน้าที่ ๔๙๐-๔๙๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=8&A=12710&Z=12779&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka1/m_siri.php?B=8&siri=121              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1242              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [1263-1276] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=8&item=1263&items=14              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=11863              The Pali Tipitaka in Roman :- [1263-1276] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=8&item=1263&items=14              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=11863              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr19/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-pvr19/en/horner-brahmali

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :